Merchant ipay ธนาคารกรุงเทพ

ในปัจจุบันที่เกิดสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 แบบนี้ต้องยอมรับเลยว่า การซื้อสินค้าผ่านระบบเว็บไซต์ออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ จากเมื่อก่อนนักช้อปออนไลน์ทั้งหลายจะมีการพรีออเดอร์สินค้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการสั่งซื้อเป็นเวลานาน แต่ในสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 แบบนี้ ทำให้คนไทยทั้งหลายหันมาซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว เนื่องจากมีความสะดวกสบาย รวดเร็ว และสามารถป้องกันการพบกันเพื่อป้องกันโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ได้อีกด้วย ซึ่งทำให้ร้านค้าที่มีการขายแบบออฟไลน์จำนวนมาก ต้องมีการปรับตัวให้ออกมาในรูปแบบร้านค้าออนไลน์มากยิ่งขึ้น และสิ่งสำคัญในระบบร้านค้าออนไลน์อีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ Payment Gateway จึงเข้ามามีบทบาทในธุรกิจออนไลน์มากขึ้นในปัจจุบันนั่นเอง แต่ก็มีหลายๆ คนยังไม่เข้าใจระบบนี้กันอยู่ใช่ไหมว่ามันคืออะไร และทำงานยังไง งั้นตามมาฟังกันได้เลย


🔸Payment Gateway คืออะไร

เป็นช่องทางของการชำระเงินออนไลน์ ที่สามารถช่วยในการชำระค่าบริการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย และยังสามารถช่วยลดเวลาในการสั่งซื้อสินค้าบนหน้าระบบเว็บไซต์ และในปัจจุบันระบบเพย์เมนท์เกตเวย์จะมีให้บริการอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ นั่นก็คือ การชำระเงินออนไลน์แบบเชื่อมต่อกับธนาคารโดยตรง หรือเรียกอีกอย่างว่า Bank เช่น Merchant iPay ของธนาคารกรุงเทพ และการชำระเงินออนไลน์ผ่านตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคาร อย่าง Paypal และ GB Prime Pay นั่นเอง


🔸ทำไม Payment Gateway ถึงสำคัญกับเว็บไซต์ออนไลน์?

เนื่องจากในปัจจุบันระบบร้านค้าออนไลน์ มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก และแน่นอนว่าคู่แข่งทางธุรกิจก็เติบโตขึ้นไปตามๆ กัน ซึ่งการแข่งขันทางธุรกิจย่อมสูงขึ้นเป็นธรรมดา เราจึงต้องมีการพัฒนาทางด้านระบบเว็บไซต์ให้ทันสมัย และตรงต่อความต้องการ และต้องอำนวยความสะดวกสบายของลูกค้าให้ได้มากยิ่งขึ้น การใช้งานระบบเพย์เมนท์เกตเวย์จึงตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตประจำวัน และเหมาะสมกับสถานการณ์ ณ ปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญทำให้ร้านค้าออนไลน์ของเราสามารถรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตได้ และช่วยให้ปิดการขายได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย


🔸Payment Gateway แบบ Bank และ Non-Bank ต่างกันอย่างไร?

Payment Gateway Bank ระบบชำระเงินออนไลน์ที่เชื่อมต่อกับธนาคารโดยตรง จะช่วยให้ธุรกิจ และเว็บไซต์ของคุณมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น มีความปลอดภัย อีกทั้งยังมีค่าธรรมเนียมต่อรายการที่ค่อนข้างต่ำ


แต่การเชื่อมต่อกับธนาคารโดยตรง ทำให้มีเงื่อนไขในข้อใช้งานเยอะ ต้องมีเงินฝากค้ำประกัน โดยคำต่ำจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท


ทำให้รูปแบบนี้เหมาะกับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนมากกว่า เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านทุนจดทะเบียนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย


Payment Gateway Non-Bank ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ใหญ่ ไปจนถึงห้างหุ้นส่วน สามารถติดตั้งได้ง่ายๆ แถมไม่ต้องมีเงินฝากค้ำประกัน แต่ค่าธรรมเนียมต่อรายการนั้นจะสูงกว่าประเภท Bank


🔸Payment Gateway Bank

- Merchant iPay (ธนาคารกรุงเทพ)

บริการรับชำระเงินออนไลน์จากธนาคารกรุงเทพ รองรับการชำระด้วยสกุลเงินต่างประเทศทั่วโลกได้ถึง 27 สกุลเงิน รองรับชำระผ่านบัตรเครดิต และเดบิต VISA, MasterCard, UnionPay, JCB และ TPN ให้ลูกค้าของคุณเลือกจ่ายได้อย่างอิสระ


เมื่อลูกค้าชำระสินค้าบนเว็บไซต์ ธนาคารจะโอนเงินเข้าบัญชีร้านค้าโดยตรง สามารถตรวจสอบรายการได้ทันทีจากรายงาน iPay บนเว็บไซต์ของธนาคาร


Merchant iPay นั้นจะมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 1,500 บาท รายปีอีก 1,000 บาท และต้องมีเงินค้ำประกันอีก 100,000 บาท


อัตราค่าธรรมเนียมต่อรายการอยู่ที่ 3 – 5%


สำหรับลูกค้า MakeWebEasy ที่สนใจ Merchant iPay


- K-Payment Gateway (ธนาคารกสิกรไทย)

สุดยอดระบบรับชำระเงินออนไลน์จากธนาคารกสิกรไทย สามารถแปลงสกุลเงินได้อัตโนมัติสำหรับบัตรเครดิตต่างชาติ รองรับได้ถึง 35 สกุลเงินทั่วโลก รองรับการชำระทั้งบัตรเครดิต และเดบิต VISA, MasterCard, JCB และ UnionPay ให้ลูกค้าของคุณช้อปออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง


ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปี แต่ต้องมีเงินฝากค้ำประกัน 200,000 บาท


อัตราค่าธรรมเนียมต่อรายการอยู่ที่ 3 – 5%


เมื่อใช้คู่กับบริการเสริม SMS ขยันบอก ของธนาคารกสิกรไทย จะทำให้คุณรู้ได้ทันทีเมื่อลูกค้าชำระเงินบนเว็บไซต์


- Krungsri Biz Payment Gateway

ระบบรับชำระเงินออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูงจากธนาคารกรุงศรี รองรับ 13 สกุลเงิน มาพร้อมกับระบบรักษาความปลอดภัย แจ้งข้อมูลทันทีเมื่อเกิดรายการทุจริต


สามารถเลือกปฏิเสธรายการที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการทุจริตของบัตรสูงได้ มี User ID และ Password ให้สำหรับตรวจสอบข้อมูลการชำระเงินของแต่ละรายการ


มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 5,000 บาท ค่าธรรมเนียมรายปี 10,000 หรือ 25,000 ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ทางธนาคารกำหนด และต้องมีเงินค้ำประกันอีก 200,000 บาท


อัตราค่าธรรมเนียมต่อรายการอยู่ที่ 3 – 5%


🔸Payment Gateway Non-Bank

- PayPal

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่เป็นนักช้อปออนไลน์เหมือนกันต้องรู้จัก Paypal อย่างแน่นอน!


ระบบรับชำระเงินออนไลน์ของ Paypal เป็นที่นิยมของธุรกิจทั่วโลก ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน หรือผู้ซื้อสินค้าด้วย PayPal กว่า 200 ล้านคนทั่วโลก รองรับได้กว่า 25 สกุลเงิน สามารถแปลงสกุลเงินได้อัตโนมัติ รองรับการชำระจากบัตรเครดิต และเดบิต PayPal, Visa, Mastercard, AMEX, Discover และ UnionPay


อีกทั้งลูกค้าของคุณสามารถชำระเงินได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชี PayPal อีกด้วย


ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 4.4% + $0.3USD และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมอื่นๆ

- GB Prime Pay

ระบบรับชำระเงินออนไลน์สายเลือดไทย ที่มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล รองรับสกุลเงินต่างประเทศได้มากกว่า 30 สกุลเงิน มีระบบวิเคราะห์ข้อมูลการขาย เพื่อนำไปใช้วางแผนการตลาด และพัฒนาต่อยอดธุรกิจ


ค่าธรรมเนียมเริ่มต้นที่ 3% แตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ


เมื่อชำระไม่เกิน 50,000 บาท เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท


หากมีการชำระเงินมากกว่า50,000 บาท จะฟรีค่าธรรมเนียม (เฉพาะการชำระด้วยบัตรเครดิตเท่านั้น)


- Omise

ระบบรับชำระเงินออนไลน์มีฟังก์ชันหลากหลายตอบโจทย์ธุรกิจ หากเป็นธุรกิจ SME จะคิดค่าธรรมเนียม 3.65% และถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มียอดขาย หรือยอดเฉลี่ยต่อรายการสูง Omise จะคิดค่าบริการให้เป็นพิเศษ ไม่มีค่าบริการอื่นๆ ไม่มีกำหนดยอดขั้นต่ำ


นอกจากนี้ Omise ยังมีฟีเจอร์ Recipient ที่ทำสามารถโอนเงินได้หลายบัญชี เป็นการโอนเงินออกจากบัญชี Omise ไปยังธนาคาร เหมาะกับธุรกิจที่มีร้านค้ารายย่อยให้เราสามารถจัดการเงินได้สะดวกยิ่งขึ้น


ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 3.65%


หากต้องการโอนเงินจาก Omise เพื่อเข้าธนาคารจะมีการคิดค่าธรรมเนียมการโอน

30 บาท สำหรับรายการโอนที่ไม่ถึง 2 ล้านบาท

150 บาท สำหรับรายการโอนที่มากกว่า 2 ล้านบาท


- 2C2P

ระบบรับชำระเงินออนไลน์ที่มีค่าธรรมเนียมถูกที่สุด! หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อนี้กัน แต่รู้หรือไม่ว่า 2C2P ถือได้ว่าเป็นเจ้าแรกๆ ที่ให้บริการประเทศไทย บริษัทใหญ่ๆ เกือบทั้งหมดในไทยล้วนใช้บริการของ 2C2P รวมถึง Facebook เองก็เป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับ 2C2P ด้วยเช่นกัน


รองรับการชำระด้วยบัตรเครดิต และเดบิต Visa, MasterCard, American Express, Discover, Diners Club, JCB, และ UnionPay


ค่าธรรมเนียมของ 2C2P จะอยู่ที่ 2.75%

- Pay Solution

ระบบชำระเงินออนไลน์ที่หลายธุรกิจเลือก ระบบชำระเงินมีความเสถียร ไม่ค่อยมีปัญหา รวมทั้งมีระบบความปลอดภัย SSL (Secure Sockets Layer) ที่เป็นมาตรฐานสากล ทำให้ร้านค้าออนไลน์มั่นใจในการใช้บริการ


ค่าธรรมเนียมของ Pay Solution อยู่ที่ 3.60%


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง