การกําหนดอัตราค่าบริการขนส่งมีกี่ประเภท

บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Freight Service)

           การส่งทางอากาศเหมาะสำหรับสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้า  หรือ สินค้าที่มีขนาดเล็ก และไม่ต้องการเสี่ยงกับความเสียหายระหว่างขนส่งไปยังประเทศไทย การจัดส่งสินค้ามีระยะเวลาประมาณ 7 -14 วันทำการ (ระยะเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลง) หลังจากส่งออกจากโกดังสินค้าที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย  ไร้ความกังวล สินค้าจะถูกส่งตรงถึงบ้าน  และราคาประหยัด สำหรับลูกค้าทุกท่าน

Show

อัตราค่าบริการขนส่งสินค้าทางอากาศ

เริ่มต้นที่ 1.50 กิโลกรัม (ปัดเศษขึ้นทุก 0.5 กิโลกรัม เช่น พัสดุหนัก 1.23 กก. ปัดเป็น 1.5 กก.)

  1. น้ำหนัก         1.50-19   กิโลกรัม           $22.99/กิโลกรัม
  2. น้ำหนัก         20 กิโลกรัมขึ้นไป            $21.99/กิโลกรัม

อัตราค่าบริการส่วนอื่น

  1. ค่าส่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล / ที่อยู่ / รอบบิน
  • - 1.5 - 19 KG     >> $15.00/ รอบ
  • - 20 KG  ขึ้นไป  >> $30.00/ รอบ
  1. ค่าจัดส่งต่างจังหวัด :  ค่าดําเนินการในการจัดส่งต่างจังหวดต่อรอบ $15  + ค่าจัดส่งตามอัตราต่อกล่อง
  • - S >> 1.5 - 9 KG        กล่องละ $ 6
  • - M >> 10 - 19 KG     กล่องละ $12
  • - L >> 20 KG  ขึ้นไป  กล่องละ $18
      • เรทของน้ำหนักปริมาตรที่เกินมา (Volume Weight Charge)  $7.5/ KG
      • (เฉพาะในกรณีที่น้ำหนักสินค้าน้อยกว่าน้ำหนักปริมาตรที่กล่องบรรุจุได้)
      • ค่ารีแพ็คจะมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่อัตราค่าบริการเพิ่มเติม

      ** บริการรีแพ็คจะเป็นการบริการเพื่อป้องกันสินค้าเสียหาย  และทางเราไม่มีประกันรับผิดชอบความเสียหายครับ**

      วิธีการคำนวณค่าขนส่งทางอากาศ มี 2 ประเภท

      1. การคำนวณการส่งแบบนํ้าหนักจริงของพัสดุมากกว่านํ้าหนักปริมาตรของพัสดุ 

      ตัวอย่าง:  สินค้ามีน้ำหนัก 3.64 KG จะปัดเป็น 4 กิโลกรัม  จะคำนวณราคาค่าขนส่ง ดังนี้

            ส่วนที่ 1: คิดราคาค่าส่งทางอากาศตามน้ำหนักจริง 4 kg x $22.99 = $91.96 (ค่าส่งทางอากาศ $22.99 ต่อกิโลกรัม)

            ส่วนที่ 2: ค่าบริการขนส่งในกทมต่อรอบ = $15

            ดังนั้นค่าบริการขนส่งทางอากาศทั้งหมดเท่ากับ $91.96 + $15 = $106.96

      2. การคำนวณการส่งแบบพัสดุที่มีขนาดใหญ่ นํ้าหนักจริงของพัสดุน้อยกว่านํ้าหนักปริมาตรของพัสดุ (จะมีการบวกค่านํ้าหนักปริมาตรที่เกินมา Volume Weight Charge)

         *** ในกรณีนี้จะมีการคำนวณราคาค่าขนส่งอยู่ 2 ส่วน คือส่วนของนํ้าหนักจริง(ปัดเศษขึ้นทุก 0.5 กิโลกรัม) + ส่วนของนํ้าหนักปริมาตรที่เกินมา ***

      ตัวอย่าง:  สินค้ามีน้ำหนัก 4 กิโลกรัม และมีขนาดกล่องของสินค้าอยู่ที่ 15" x 14" x 13"

        น้ำหนักปริมาตรของกล่องหรือ Volume Weight* 

      = (15 x 14 x 13)/366 = 7.46 กิโลกรัม        

      • 2.1 เริ่มคิดราคาที่น้ำหนักจริงของพัสดุ

      • = น้ำหนักจริง x เรทการส่งของนํ้าหนักจริง

      • = 4 กิโลกรัม x $22.99

      • = $91.96  

      •   2.2 ตามด้วยคิดราคาของนํ้าหนักปริมาตรที่เกินมา (Volume Weight Charge)

      • = (น้ำหนักปริมาตร - น้ำหนักจริง)  x Volume Weight Rate

      • = (7.46 กิโลกรัม - 4 กิโลกรัม) x $7.5

      • = $25.95

      • 2.3 เอาค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วนด้านบนมารวมกันจะเป็นค่าใช้จ่ายในการขนส่งทั้งหมด

      • = $91.96 + $25.95

      • = $117.91

      • ***ยังไม่รวมค่าจัดส่งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล $15***

      ***พัสดุจัดส่งต่างจังหวัดมีค่าใช้จ่ายในการจัดส่งภายในประเทศเพิ่มเติม

      Note:  วิธีการคำนวณน้ำหนักปริมาตรกล่อง = กว้าง x ยาว x สูง (นิ้ว) / 366 

      • *** เรทน้ำหนักปริมาตรในส่วนที่เกิน =$7.5/กิโลกรัม ***
      •  

      • หมายเหตุ: เนื่องด้วยทาง Air Cargo ของสายการบินเองมีพื้นที่จำกัดในการจัดวางสินค้า ทางสายการบินจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการคิดค่าใช้จ่ายน้ำหนักปริมาตรในส่วนที่เกิน (Volume Weight Charge) เพิ่มเติมสำหรับสินค้าที่มีขนาดใหญ่แต่น้ำหนักเบา เป็นมาตรฐานในการคํานวนค่าใช้จ่ายสากลของทุกสายการบิน

        ปัจจุบัน การขนส่ง (Transportation) เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก โดยการขนส่งมีความเจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการมากยิ่งขึ้น มีวิธีการขนส่งให้ผู้ประกอบธุรกิจเลือกหลายวิธี ผู้ประกอบธุรกิจต้องเลือกวิธีการขนส่งให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง

        ประเภทของการขนส่ง (Transportation) แบ่งออก 5 ประเภท

        1. การขนส่งทางน้ำ (Water Transportation)

        เป็นวิธีการขนส่งเก่าแก่มีมาตั้งสมัยโบราณ โดยการใช้แม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้า รวมถึงการขนส่งทางทะเล ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การขนส่งทางน้ำนี้เหมาะสมกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ขนส่งได้ปริมาณมากเป็นสินค้าที่ยากแก่การเสียหาย เช่น ทราย แร่ ข้าวเปลือก เครื่องจักร ยางพารา เป็นต้น

        สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

        • เส้นทางเดินเรือภายในประเทศ
        • เส้นทางเดินเรือชายฝั่งทะเล
        • เส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศ ข้อดี ข้อเสียของการขนส่งทางน้ำ

        ข้อดี

        1. อัตราค่าขนส่งถูกกว่าเมื่อเทียบกับการขนส่งทางอื่น

        2. ขนส่งได้ปริมาณมาก

        3. มีความปลอดภัย

        4. สามารถส่งได้ระยะไกล ๆ

        ข้อเสีย

        1. มีความล่าช้าในการขนส่งมาก

        2. ในฤดูน้ำลดหรือฤดูร้อน น้ำอาจมีน้อย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง เพราะเรือเกยตื้นได้

        3. ไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนในการขนส่งได้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศ และ ภูมิประเทศ

        2.การขนส่งทางบก (Road or Motor Transportation) 

        2.1 การขนส่งทางรถไฟ (Railroads) การขนส่งทางรถไฟ เป็นเส้นทางการลำเลียงที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย ดำเนินงานโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าหนัก ๆ ปริมาณมากและในระยะทางไกล อัตราค่าบริการไม่แพง การขนส่งทางรถไฟจะมีกำหนดเวลาออกและถึงจุดหมายปลายทางในระยะเวลาแน่นอนและมีความปลอดภัยจากการเสียหายของสินค้า

        • รถปิด คือ รถไฟที่ปิดทุกด้าน เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่เสียหายง่ายเมื่อถูกแดดถูกฝน
        • รถเปิด รถไฟที่ไม่มีหลังคา เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่ไม่เสียหายเมื่อถูกแดด ถูกฝน
        • รถเฉพาะกิจ คือ รถไฟที่ออกแบบสำหรับใช้เฉพาะงาน เช่น รถบรรทุกน้ำมัน รถบรรทุกปูนซีเมนต์ รถบรรทุกน้ำมัน เป็นต้น – เส้นทางรถไฟ ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศข้อดีข้อเสียของการขนส่งทางรถไฟ

        ข้อดี

        1. ประหยัด ขนส่งสินค้าได้จำนวนมากหลายชนิด

        2. รวดเร็ว สามารถขนส่งสินค้าได้ทันตามกำหนดเวลาที่ต้องการ

        3. สะดวก เพราะมีตู้หลายชนิดให้เลือกเพื่อความเหมาะสมกับสินค้า

        4. ปลอดภัยสูง เมื่อเทียบกับเส้นทางอื่น

        5. ขนส่งได้ทุกสภาพดินฟ้าอากาศ

        ข้อเสีย

        1. ไม่สามารถขนส่งสินค้าให้ถึงที่ต้องการขนถ่ายได้

        2. ความยืดหยุ่นมีน้อย เพราะมีเส้นทางตายตัว

        3. มีความคล่องตัวน้อยกว่าการขนส่งแบบอื่น เพราะมีกฏระเบียบมาก

        4. ไม่เหมาะสมกับผู้ส่งสินค้ารายย่อย ปริมาณน้อย

        2.2 การขนส่งทางรถยนต์ (Motor Transportation) หรือรถบรรทุก (Truck Transportation)การขนส่งทางรถยนต์หรือทางรถบรรทุก ถือว่าเป็นหัวใจของการขนส่งทางบก ทั้งนี้ในปัจจุบันรัฐบาลได้มีการสร้างถนน ขยายถนนเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง  ซึ่งการขนส่งทางรถยนต์หรือทางรถบรรทุกสามารถแก้ปัญหาในด้านการจำหน่ายสินค้าของพ่อค้าได้เป็นอันมา เพราะการขนส่งสินค้าสะดวก รวดเร็ว สามารถส่งสินค้าไปถึงผู้ใช้ได้โดยตรง

        ข้อดี

        1. บริการได้ถึงที่โดยไม่ต้องมีการขนถ่าย

        2. ขนส่งสินค้าได้ตลอดเวลาตามความต้องการของลูกค้า

        3. สะดวก รวดเร็ว

        4. เหมาะกับการขนส่งระยะสั้นและระยะกลาง

        5. เป็นตัวเชื่อมในการขนส่งแบบอื่นที่ไม่สามารถไปถึงจุดหมาย ได้โดยตรง

        ข้อเสีย

        1. ค่าขนส่งสูงเมื่อเทียบกับการขนส่งทางรถไฟ

        2. มีความปลอดภัยต่ำ เกิดอุบัติเหตุบ่อย

        3. ขนส่งสินค้าได้ปริมาณและขนาดจำกัด

        4. กำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจรและดินฟ้าอากาศ

        3.การขนส่งทางอากาศ (Air Tiansportation)

        การขนส่งทางอากาศมีความสำคัญมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะการขนส่งระหว่างประเทศเพราะทำการขนส่งได้รวดเร็วกว่าการขนส่งประเภทอื่นๆ ไม่เสียเวลาในการขนส่งนาน สะดวกและปลอดภัย เหมาะกับการขนส่งสินค้าประเภทที่สูญเสียง่าย เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ เป็นต้น หรือสินค้าต้องการสั่งจองมาด้วยความรวดเร็วแก่การใช้งาน ถ้าล่าช้าอาจเกิดความเสียหายได้ไม่เหมาะกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมากและสินค้าราคาถูกๆ ไม่รีบร้อนในการขนส่ง ซึ่งการขนส่งประเภทนี้ทำให้ธุรกิจสามารถขยายตัวได้รวดเร็วทั้งในและต่างประเทศ แต่ค่าใช้จ่ายแพงกว่าการขนส่งประเภทอื่นส่วนประกอบของการขนส่งทางอากาศ

        3.1 ผู้ประกอบการ

        3.2 อุปกรณ์ในการขนส่ง

        3.3 เส้นทางบิน

        3.4 สถานีในการขนส่งหรือท่าอากาศยาน

        ข้อดี

        1. สะดวก รวดเร็วที่สุด

        2. สามารถขนส่งกระจายไปทั่วถึงได้อย่างกว้างขวางทั้งใน ประเทศและระหว่างประเทศ

        3. สามารถขนส่งไปในท้องถิ่นที่การขนส่งประเภทอื่นไปไม่ถึงหรือไปยากลำบาก

        4. เหมาะกับการขนส่งระยะไกลๆ

        5. เหมาะกับการขนส่งสินค้าที่เสียง่าย จำเป็นต้องถึงปลายทางรวดเร็ว

        6. ขนส่งได้หลายเที่ยวในแต่ละวัน เพราะเครื่องบินขึ้นลงได้รวดเร็ว

        ข้อเสีย

        1. ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงกว่าประเภทอื่น

        2. จำกัดขนาดและน้ำหนักของสินค้าที่บรรทุกจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากไม่ได้

        3. บริการขนส่งได้เฉพาะเมืองที่มีท่าอากาศยานเท่านั้น

        4. การขนส่งขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ

        5. การลงทุนและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอุปกรณ์สูง

        6. มีความเสี่ยงภัยอันตรายสูง

        4.การขนส่งทางท่อ (Pipeline Transportation)

        เป็นการขนส่งสิ่งของประเภทของเหลวและก๊าซผ่านสายท่อ เช่น น้ำประปา น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งการขนส่งทางท่อจะแตกต่างกับการขนส่งประเภทอื่น คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งไม่ต้องเคลื่อนที่

        โดยเส้นทางขนส่งทางท่ออาจจะอยู่บนดิน ใต้ดินหรือใต้น้ำ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ประเทศแรกที่ใช้ระบบการขนสงทางท่อ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้สำหรับขนส่งสินค้าประเภทเชื้อเพลิง ปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบการขนส่งทางท่อสำหรับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ
        ส่วนประกอบของการขนส่งทางท่อ

        4.1 ผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการที่สำคัญ ได้แก่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)

        4.2 อุปกรณ์ในการขนส่ง ได้แก่ ท่อ หรือสายท่อ แบ่งเป็น – ท่อหลัก – ท่อย่อย

        4.3 สถานีในการขนส่ง ได้แก่ สถานีต้นทาง สถานีปลายทาง สถานีแยก สถานีสูบดันข้อดีและข้อเสียของการขนส่งทางท่อ

        ข้อดี

        1. ประหยัดต้นทุน เวลาในการขนย้ายสินค้า

        2. สามารถขนส่งได้ทุกสภาพภูมิอากาศ

        3. สามารถขนส่งได้ไม่จำกัดเวลาและปริมาณ

        4. มีความปลอดภัยสูงจากการสูญหายหรือลักขโมย

        5. กำหนดเวลาการขนส่งได้แน่นอนชัดเจน

        6. ประหยัดค่าแรง เพราะใช้กำลังคนน้อย

        ข้อเสีย

        1.ใช้ขนส่งได้เฉพาะสินค้าที่เป็นของเหลวหรือก๊าซเท่านั้น

        2. ค่าใช้จ่ายในการลงทุนครั้งแรกสูง

        3. ตรวจสอบหาจุดบกพร่องทำได้ยาก

        4. ท่อหลักที่ใช้ขนส่งเมื่อวางแล้วเคลื่อนย้ายเปลี่ยนเส้นทางไม่ได้

        5. ไม่เหมาะกับการขนส่งในภูมิประเทศที่มีแผ่นดินไหวบ่อย

        5.การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ (Container System) 

         การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ เป็นการพัฒนาการขนส่งอีกขั้นหนึ่ง โดยการบรรจุสินค้าที่จะขนส่งลงในตู้หรือกล่องเหล็กขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า คอนเทนเนอร์ แล้วทำการขนส่งโดยรถบรรทุก รถไฟ หรือเครื่องบิน ไปยังจุดหมายปลายทางโดยไม่มีการขนถ่ายสินค้าออกจากตู้ระหว่างทำการขนส่งเที่ยวนั้น

        ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์ต้องสร้างจากเหล็กที่ทนทานต่อสภาพลมฟ้าอากาศ สามารถวางไว้กลางแจ้ง ได้โดยปกติจะสร้างให้มีลักษณะแข็งแรงมาก เพื่อให้ทนทานต่อการยกขนถ่ายสินค้าและสับเปลี่ยนบรรทุกระหว่างรถบรรทุก รถไฟหรือเรือ ในการเคลื่อนย้ายตู้นี้จะใช้ปั้นจั่น ในการขนย้าย และจากคุณสมบัติดังกล่าว ตู้คอนเทนเนอร์ จึงสามารถป้องกันสินค้าชำรุดเสียหายได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ

        5.1 ตู้แห้งหรือตู้สินค้าทั่วไป เป็นตู้ทึบไม่มีแผ่นฉนวนอยู่ด้านใน ไม่มีเครื่องทำความเย็นติดตั้งหน้าตู้ ใช้บรรทุกสินค้าแห้งหรือสินค้าทั่วไป

        5.2 ตู้ควบคุมอุณหภูมิ แบ่งได้ดังนี้- ตู้ห้องเย็น จะมีเครื่องทำความเย็นในตู้ ภายในระบุฉนวนทุกด้าน เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู้ด้านใน นิยมเก็บผักสด ผลไม้- ตู้ฉนวน ภายในจะบุฉนวนด้วยโฟมทุกด้านเพื่ออป้องกันความร้อนแผ่เข้าตู้ นิยมบรรทุกผัก- ตู้ระบายอากาศ เหมือนกับตู้เย็นแต่มีพัดลมมแทนเครื่องทำความเย็น พัดลมจะดูดก๊าซอีเทอร์ลีนที่ระเหยออกจากตัวสินค้า

        5.3 ตู้พิเศษ ได้แก่- ตู้แท็งก์เกอร์หรือตู้บรรจุของเหลว- ตู้เปิดหลังคา- ตู้แพลตฟอร์ม- ตู้เปิดข้าง- ตู้บรรทุกรถยนต์- ตู้บรรทุกหนังเค็ม- ตู้สูงหรือจัมโบ้ประโยชน์ของระบบตู้คอนเทนเนอร์

        1. ทำให้ขนถ่ายสินค้าได้รวดเร็ว

        2. ลดความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งและป้องกันการถูกโจรกรรมได้

        3. ประหยัดค่าใช้จ่าย

        4. สามารถขนส่งได้ปริมาณมาก

        5. การสั่งจองเรือระวางเพื่อขนส่งสินค้าทำได้สะดวก

        6. ตรวจนับสินค้าได้ง่าย

        ieProsoft โซลูชั่นครบวงจรด้านการบริหารการผลิตในอุตสาหกรรม

        บริษัท ไออี บิสซิเนส โซลูชั่น จำกัด (IEBS) เป็นผู้ให้บริการระบบซอฟแวร์ทางด้านการจัดการอุตสาหกรรม การวางแผนการผลิตโดยลงลึกไปจนถึงการจัดตารางการผลิต มาตรฐานการการทำงาน การจัดสมดุลการผลิต รวมไปถึงการบริหารจัดการคลังสินค้า ครอบคุลมการบริการในด้านต่างๆที่สำคัญต่อการนำระบบไปใช้ในภาคธุรกิจ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ดูแลตั้งแต่การติดตั้ง การให้ปรึกษา การนำไปใช้งานจริง (Implementation) รวมถึงการวิเคราะห์ผลลัพธ์ต่างๆ เราสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ยุค ดิจิทัล ด้วยเครื่องมือในกลุ่ม ieProsoft อาทิเช่น ieSmart WI, ieLineBalancing, ieInventory และ ieInventory ซึ่งซอฟแวร์ทั้งหมดนี้ เป็นตัวช่วยให้สามารถบริหารการจัดการผลิตได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มกำไรให้บริษัทได้เป็นอย่างดี

        ปัจจุบัน IEBS มีการให้บริการซอฟแวร์ทั้งแบบบริการผ่านซอฟต์แวร์แบบ สแตนด์อโลน (Stand-alone Software) ไปจนถึงชุดซอฟต์แวร์เต็มรูปแบบ (Full-Blown) แบบคลาวด์โซลูชั่น (Cloud Solution) ได้แก่

        • ieSmart WI

          โปรแกรมสร้างมาตรฐานการทำงาน ที่ช่วยให้การสร้างงานฐานในโรงงานง่ายขึ้น เวลาได้มาตรฐานที่ชัดเจน สะดวก และเป็นองค์ความรู้สำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี

        การกําหนดอัตราค่าบริการขนส่งมีกี่ประเภท

        • ieLineBalancing

          โปรแกรมจัดสมดุลสายการผลิต เหมาะสำหรับวิศวกร หรือเจ้าหน้าที่วางแผนการผลิตใช้ในการจัดวางแผนสายการผลิต ภายใต้ความต้องการที่ไม่แน่นอน และกำลังคนที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา

        การกําหนดอัตราค่าบริการขนส่งมีกี่ประเภท

        • ieInventory

          โปรแกรมจัดการคลังสินค้า ที่ช่วยให้การบริหารคลังในระดับอุตสาหกรรมเป็นเรื่องที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก ผ่านแฟลตฟอร์มออนไลน์ด้วยฐานข้อมูลบนคลาวด์

        การกําหนดอัตราค่าบริการขนส่งมีกี่ประเภท

        • ieScheduling

        โปรแกรมจัดตารางการผลิต เครื่องมือช่วยในการจัดการผลิตในระดับปฎิบัติการ ควบคุม และติดตามงานแบบทันเวลา (Realtime) และประเมินกำลังการผลิตได้รวดเร็ว

          บทความล่าสุด
          • Value management “การบริหารเชิงคุณค่า”

          • SAP (Systems Applications and Products in data processing)

          • การบริหารโครงการ (Project Management)

          • การวางแผน การควบคุมการผลิต PPC+ (Production Planning and Control)

          • Little’s Law

          ป้ายกำกับ

          IEBS IEBS SmartIE ieLab Inventory Inventory Control Inventory Management Just In Time (JIT) leadtime Linebalacing Linebalancing Logistics OEE SmartIE SmartWI Warehouse Work Study การขนส่ง การขนส่งสินค้า การจัดการผลิต การจัดการวิศวกรรม การปรับสมดุลสายการผลิต การผลิต การวางแผนการผลิต การวิเคราะห์การบวนการ การวิเคราะห์งาน คลังสินค้า คู่มือการทำงาน จัดสมดุลสายการผลิต ชุดปฎิบัติการ ซอฟแวร์ ประเภทของการวางแผนการผลิต มาตรฐานการทำงาน วิธีการวางแผนการผลิตที่โรงงานควรใช้ วิศวกร วิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ สมดุลการผลิต สายการผลิต อุตสาหกรรม เทคโนโลยี เวลามาตรฐาน โปรแกรม โปรแกรมการจัดการคลังสินค้า โปรแกรมสต๊อกสินค้า โรงงาน