กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก สรุป

คีย์เวิร์ดยอดนิยมของ มัธยมปลาย

ค้นหาเนื้อหาที่ต้องการไม่เจอเหรอ? ลองค้นหาใน Q&A ดูสิ!

คำสำคัญ: การเปลี่ยนแปลงภายในโลก

・ตรวจสอบความถูกต้องของการสะกดคำ
・ลองใช้คีย์เวิร์ดอื่น
・ค้นหาจากประเภทของสมุดโน้ตที่เผยแพร่ในหน้าบนสุด หรือจากอันดับรายสัปดาห์

พบ - เนื้อหาที่ตรงกันบน Q&A

บางครั้งหินหลอมละลายสามารถเคลื่อนที่ผ่านรอยแตกหรือโพรงขนาดใหญ่ใต้ผิวโลก ทำให้การเคลื่อนที่รวดเร็วกว่าอัตราการเย็นตัว ดังนั้นจึงโผล่ขึ้นมาบนผิวโลกในลักษณะที่ยังเป็นหินหลอมละลายเรียกว่าลาวา จากนั้นจึงเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสัมผัสกับอากาศหรือน้ำที่เป็นตัวพาความร้อนที่ดีมาก เกิดเป็นหินอัคนีพุ (Extrusive igneous rock)

ในหินหลอมละลายปกติมีอยู่ 3 สถานะ ส่วนใหญ่เป็นของเหลว คือเนื้อหินหลอมละลาย กับมีของแข็งเป็นผลึกแร่อุณหภูมิสูงกว่าลอยแขวนอยู่ และก๊าซ



การเกิดหินแปร

ก๊าซและของเหลวที่ออกมาจากมวลหินหลอมละลายก็อาจทำปฏิกิริยากับเนื้อหินที่อยู่รอบด้าน หินดานจึงแสดงการเปลี่ยนแปลงสถานะทางกายภาพ เรียกว่าการแปรด้วยความร้อน หินดานจึงเปลี่ยนเป็นหินแปรชนิดแปรด้วยความร้อน การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นโดยที่ตลอดเวลาหินจะอยู่ในสถานะของแข็ง แตกต่างจากหินอัคนีที่เกิดจากมวลหินหลอมละลายแปรเปลี่ยนเป็นของแข็งด้วยการสูญเสียความร้อน ลักษณะสำคัญของหินแปรจำพวกนี้ คือมีแร่ใหม่เกิดขึ้นบ้าง หรือผลึกแร่ที่มีอยู่แล้วเติบโตผิดไปจากเดิมได้อีก

นอกจากการแปรด้วยความร้อนแล้ว บางครั้งยังมีแรงกดชนิดมีทิศทางเกิดขึ้นใต้ผิวโลกด้วย กระบวนการนี้มักเกิดพร้อมกับการเคลื่อนไหวของชั้นธรณีภาค แรงกดผสมกับความร้อนจะทำให้เกิดการแปรของหินแข็ง ทำให้เกิดเป็นหินแปรชนิดแปรด้วยแรงกดและความร้อน มักจะยังมีส่วนประกอบทางเคมีโดยรวมเหมือนหินดั้งเดิม ส่วนหินแปรชนิดสุดท้าย คือหินแปรที่มักเกิดร่วมกับบริเวณแนวเขตแรงเฉือน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแรงกดชนิดเฉือนเป็นหลัก กับอาจมีความร้อนที่เกิดจากแรงเสียดทานเข้ามาประกอบบ้าง หินแปรชนิดนี้เรียกว่าหินแปรจากแรงกด ลักษณะทางกายภาพจึงมักแสดงการเฉือนหรือบดขยี้กับมีการหลอมละลายแล้วเย็นตัวใหม่อย่างรวดเร็ว

ทฤษฎีทวีปเลื่อน (Continental Drift)

ได้มีผู้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับลักษณะของชายฝั่งทะเลที่น่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งไว้นานหลายร้อยปีแล้ว อาทิ Francis Bacon ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ในปี ค.. 1620 ถึงการที่สองฟากมหาสมุทรแอตแลนติกมีลักษณะสอดคล้องกันอย่างยิ่ง ต่อมาในปี 1668 P. Placet จึงพยายามอธิบายว่าสองฟาก มหาสมุทรแอตแลนติกน่าจะเชื่อมกันมาก่อน แต่ยังไม่มีผู้ใดมีหลักฐานข้อมูลใดสนับสนุนนอกจากอาศัยลักษณะคล้ายคลึงสอดคล้องกันของชายฝั่งมหาสมุทรเท่านั้น ในปี 1858 Antonio Snider ได้อาศัยข้อมูลชั้นหินยุคคาร์บอนิเฟอรัสในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือมาเทียบสัมพันธ์กันจึงต่อแผ่นดินเหล่านี้เข้าเป็นผืนเดียวกัน แล้วให้แผ่นดินค่อยแยกออกจากกันในภายหลัง

ในปี 1908 Frank B. Taylor ได้อธิบายปรากฏการณ์ของการที่มหาทวีป 2 แห่ง ซึ่งเคยวางตัวอยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือและใต้แตกแยกออกเป็นทวีปขนาดเล็กกว่าและเคลื่อนที่มาทางเส้นศูนย์สูตร นั่นคือมหาทวีปลอเรเซีย (Laurasia) ซึ่งอยู่ทางเหนือและมหาทวีปกอนด์วานา (Gondwanaland) ซึ่งอยู่ทางใต้ โดยเป็นการเคลื่อนที่เฉพาะของเปลือกโลกไซอัล และผลักดันตะกอนทำให้เกิดแนวเทือกเขาทางด้านหน้าที่ทวีปเคลื่อนที่ไปประกอบกับร่องรอยการแตกแยกของทวีปทางด้านหลัง สำหรับแรงที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของทวีปนั้นอธิบายว่ามาจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ซึ่งเข้ามาอยู่ใกล้ชิดโลกมากในยุคครีเทเชียส

ต่อมาในปี 1910 Alfred Wegener ได้สร้างแผนที่มหาทวีปใหม่เพียงแห่งเดียว โดยอาศัยรูปร่างแผนที่ของ Snider และตั้งชื่อว่ามหาทวีปพันเจีย ล้อมรอบอยู่ด้วยมหาสมุทรพันธาลาสซา (Panthalassa) แล้วจึงแตกออกและเคลื่อนที่ไปอยู่ ณ ตำแหน่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ขณะเคลื่อนที่ก็เกิดเทือกเขาด้านหน้า การแตกแยกด้านหลังเหมือนคำอธิบายของ Taylor นอกจากนี้ยังอธิบายว่ารอยชิ้นทวีปที่ขาดหล่นปรากฏเป็นเกาะแก่ง หรือรอยฉีกที่พบเป็นร่องลึกยังปรากฏอยู่บนพื้นมหาสมุทร เป็นต้น ขณะเดียวกับที่มีการแทรกดันขึ้นมาของเปลือกโลกไซมา ที่มีมวลตั้งต้นมาจากชั้นเนื้อโลก สำหรับแรงกระทำ กำหนดให้มาจากแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ รวมกับแรงดึงดูดเนื่องจากแรงโน้มถ่วงภายในโลกประกอบกัน



ทฤษฎีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ (Plate Tectonics)

การศึกษาสภาพธรณีวิทยาของพื้นผิวโลกทำให้ยืนยันได้ว่าผิวโลกต่อเนื่องลงไปถึงด้านล่าง ได้เกิดมีการเคลื่อนที่จริงๆ การเคลื่อนที่มีทั้งไปทางด้านข้างและขึ้นลงตามแนวดิ่ง แต่การแปรเปลี่ยนของผิวโลกตามทฤษฎีการแยกตัวของทวีปก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากโดยมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและผู้ที่คัดค้าน ขณะเดียวกันก็มีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างของโลกมากขึ้นอีก จุดหักเหของทฤษฎีเกี่ยวกับธรณีแปรสัณฐานเกิดขึ้นในช่วงประมาณ ค.. 1960 เมื่อมีผู้นำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการแยกตัวของพื้นมหาสมุทร (Seafloor spreading) เช่น B.C. Heezen, H.H. Hess และ R.S. Dietz เป็นต้น โดยทฤษฎีนี้มีใจความสำคัญมาจากการแยกตัวที่พื้นมหาสมุทรออกจากกันเป็นแนวยาวโดยมีวัสดุจากใต้ชั้นเปลือกโลกแทรกขึ้นมา เย็นตัวแข็งเกิดเป็นพื้นมหาสมุทรใหม่แล้วก็แยกจากกันออกไปอีกเรื่อย ๆ ในทิศทางตั้งฉากกับรอยแยกนี้ วัสดุที่แทรกขึ้นมานี้ทำให้เกิดเป็นโครงสร้างเทือกเขากลางสมุทร (Mid-Oceanic Ridge) การเคลื่อนที่ออกจากกันของพื้นมหาสมุทรถูกนำไปสัมพันธ์กับลักษณะของเปลือกโลกบริเวณร่องลึกที่พื้นมหาสมุทร (Trench) แนวภูเขาไฟรูปโค้ง (Volcanic arcs) และเทือกเขาสูงใกล้ขอบทวีปแล้วจึงทำให้เกิดเป็นแนวคิดต่อเนื่องว่าชั้นส่วนบนของโลกน่าจะมีลักษณะเป็นแผ่นประสานกัน แผ่นนี้มีทั้งส่วนที่เป็นทวีปและพื้นมหาสมุทร มีการเกิดขึ้นในบางส่วนของแผ่น มีการเคลื่อนที่และถูกทำลายไปในอีกส่วนหนึ่ง แผ่นเปลือกโลก (Plate) นี้ประกอบด้วยชั้นธรณีภาค (Lithophere) วางตัวอยู่บนชั้นฐานธรณีภาค (Asthenophere) ซึ่งภายในมีการเคลื่อนที่ของมวลเป็นกระแสหมุนวน (Convection current) ขึ้นลง กระแสนี้ช่วยพัดพาแผ่นเปลือกโลกให้เคลื่อนที่ไปขนานกับผิวโลก สำหรับขอบของแผ่นเปลือกโลกมักจะแสดงด้วยแนวโครงสร้างสำคัญคือเทือกเขากลางสมุทร ร่องลึกพื้นสมุทร และรอยเลื่อนเฉือนขนาดใหญ่ (Transform faults) และมีปรากฏการณ์ประกอบคือแนวของกลุ่มแผ่นดินไหวยุคปัจจุบันรวมกับปรากฏการณ์อื่น ได้แก่แนวเกาะภูเขาไฟหรือบริเวณแนวที่มีค่าความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความลึกของโลกสูงมาก จากแนวกำหนดนี้จึงทำให้ X. LePichon ระบุในปี 1968 ว่าแผ่นเปลือกโลกมีอยู่ 6 แผ่นใหญ่ แต่ในยุคต่อ ๆ มาได้มีความพยายามกำหนดแผ่นเปลือกโลกเพิ่มขึ้นอีกโดยอาศัยจุดกำเนิดแผ่นดินไหวที่สามารถกำหนดเป็นแนวได้ รวมทั้งการเทียบเคียงลักษณะทางธรณีวิทยาโครงสร้างต่างๆ ดังที่กล่าวถึงแล้ว

มหาทวีปในกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน

แม้แนวคิดตามทฤษฎีเพลทเทคโทนิกส์จะเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่ยังพบว่าทฤษฎีนี้มีจุดจำกัดอยู่มากมายโดยเฉพาะการไม่สามารถอธิบายถึงปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกจากแผ่นเปลือกโลกที่กำลังเกิดขึ้นและทำลายไปเมื่ออายุตามธรณีวิทยาประวัติเก่ากว่า 200 ล้านปีมาแล้ว โดยเฉพาะยังไม่มีการยืนยันการพบเห็นแผ่นเปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นมหาสมุทรอายุเก่าแก่ ขณะที่มีเพียงข้อมูลของเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปซี่งมีอายุย้อนหลังไปได้ถึงหลายพันล้านปี เมื่อพิจารณาดูข้อมูลเหล่านี้ก็สามารถระบุได้ถึงการเคยอยู่ร่วมกันแล้วแยกออกจากกันของส่วนต่างๆที่เป็นทวีป รวมทั้งลักษณะของการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนเหล่านี้ที่มีทั้งเป็นแนวตรง แนวโค้ง ตลอดจนการหมุนวน ดังนั้นจึงทำให้ทฤษฎีของการแยกตัวของทวีปยังไม่สูญหายหรือเสื่อมความนิยมไปอย่างสิ้นเชิง ตรงกันข้ามกลับมีความพยายามคิดถึงการมีอยู่ของมหาทวีป การแตกตัว การเคลื่อนที่และการเข้าชนกันหรือรวมกันโดยอาศัยปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการในแนวคิดของทฤษฎีเพลทเทคโทนิกส์ ตลอดเวลายังมีการค้นหาข้อมูลทางธรณีวิทยาเพิ่มเติมว่าแผ่นดินใดเคยเกาะติดอยู่กับแผ่นดินใดในช่วงเวลาใด แยกออกจากกันเมื่อใด เคลื่อนที่ไปในทิศทางใด จึงมาเป็นแผ่นดินที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ การศึกษาดังกล่าวจึงทำให้สร้างสมมติฐานเป็นปรากฏการณ์ธรณีวิทยาประวัติ กล่าวคือการมีอยู่ของมหาทวีปโรดิเนีย (Rodinia) ซึ่งเป็นเพียงมหาทวีปโบราณแห่งเดียวในยุคก่อนแคมเบรียนคือเมื่อประมาณ 1.6 พันล้านปีมาแล้ว มหาทวีปนี้แตกตัวออกก่อนยุคแคมเบรียนเล็กน้อย เป็นชิ้นทวีปเล็กๆ หลายชิ้นเคลื่อนที่ไปชนและประกอบกันเข้าเป็นมหาทวีปกอนด์วานาแลนด์และลอเรเซีย(หรือแพงเกีย) เมื่อประมาณ 500 ล้านปีมาแล้ว จากนั้นก็แตกตัวออกอีกเมื่อต้นยุคจูแรสซิก (ประมาณ 200 ล้านปีมาแล้ว)ก่อนเคลื่อนที่เข้าชนประกอบกันอีกในยุคเทอร์เชียรี(ประมาณ 70 ล้านปีมาแล้ว) เรื่อยมาจนกระทั่งเกิดเป็นรูปร่างของแผ่นดินในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามแม้แนวคิดของการแตกตัวของทวีปผสมกับทฤษฎีเพลทเทคโทนิกส์จะมีผู้ยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังมีความไม่สมบูรณ์ในคำอธิบายเช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลกเกิดจากกระบวนการใด

สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลกได้แก่ น้ำ ลม ความโน้มถ่วงโลก และสิ่งมีชีวิต ซึ่งตัวการข้างต้นจะทำให้เกิดการผุพัง (weathering) (ภาพที่ 1.21) การกร่อน (erosion) (ภาพที่ 1.22) การพัดพา (transportation) และการสะสมตัว (deposition) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผิวโลกให้อยู่ในสภาพสมดุล การเปลี่ยนแปลงภูมิลักษณ์บนพื้นผิว ...

กระบวนการเปลี่ยนแปลงของภูเขาไฟมีลักษณะอย่างไร

"ภูเขาไฟ" นั้น เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัด จนหินหนืดแทรกรอยแตกขึ้นมาสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น สิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่าง ๆ โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ หินหนืดที่พุ่งออกมานี้จะเรียกว่า "ลาวา" แต่หากยังอยู่ใต้ผิวโลกจะ ...

การแปรสัณฐานของแผ่นธรณีเกิดขึ้นได้อย่างไร

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกนั้นมีสาเหตุมาจากการรวมตัวและแตกออกของทวีปเมื่อผ่านช่วงเวลาหนึ่ง ๆ รวมถึงการรวมตัวของมหาทวีปในบางครั้ง ซึ่งได้รวมทุกทวีปเข้าด้วยกัน มหาทวีปโรดิเนีย (Rodinia) นั้นคาดว่าก่อตัวขึ้นเมื่อหนึ่งพันล้านปีที่ผ่านมา และได้ครอบคลุมผืนดินส่วนใหญ่บนโลก จากนั้นจึงเกิดการแตกตัวไปเป็นแปดทวีปเมื่อ 600 ล้าน ...

การกระทำภายในเปลือกโลกจะทำให้เกิดสิ่งใด

2.1แรงกระทำจากภายในเปลือกโลก เกิดการเคลื่อนตัวของของเหลวภายในเปลือกโลก การหดหรือขยายตัวของของเหลวร้อนภายใต้เปลือกโลกทำให้เกิดแรงดันและปริมาณความร้อนมหาศาลที่กระทำต่อเปลือกโลกได้ 2 ลักษณะ 1) กระบวนการโก่งตัวของเปลือกโลก 2) กระบวนการเคลื่อนตัวของหินละลายภายในเปลือกโลก