โครงการตามพระราชประสงค์ มีกี่โครงการ

การดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริ และบรรลุวัตถุประสงค์ มีหลักการสำคัญ ดังนี้

    ๑. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า    โครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มุ่งช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่ราษฎรกำลังประสบอยู่ในขณะนั้น ซึ่งเป็นการแก้ไขอย่างรีบด่วน เช่น กรณีเขตพื้นที่อำเภอ ละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่ง เป็นเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาและเป็นพื้นที่ยากจนในเขตอิทธิพลของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่ขบวนการพัฒนาของ รัฐยังเข้าไปไม่ถึง ในช่วงระยะเวลานั้น ภายหลังจากมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เข้าไปดำเนินการแล้ว ปัญหาความมั่นคงที่เคยมีอยู่ก็ลดน้อยถอยลง และหมดสิ้นไปในที่สุด แม้กระทั่งปัจจุบัน โครงการที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และจะมีผลระยะ ยาวต่อไปคือ การแก้ไขปัญหาจราจร และการป้อง กันน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นต้น    ๒. การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน    พระองค์ทรงเน้นการพัฒนาที่สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ในลักษณะของการพึ่งตนเอง โดยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือราษฎรตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสถานภาพ เมื่อราษฎรสามารถพึ่งตนเองได้ ก็จะสามารถออกมาสู่สังคมภายนอกอย่างไม่ลำบาก    ๓. การพึ่งตนเอง
    เมื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้แล้ว ก็จะเป็นการพัฒนาเพื่อให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้ตามสภาพ ในลักษณะของการพึ่งตนเอง ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เน้นหลัก "การพึ่งตนเอง" เพื่อพัฒนาแก้ไข ปัญหาความยากจนของราษฎร เช่น โครงการธนาคารข้าว โครงการธนาคารโค-กระบือ และโครงการพัฒนาที่ดินตาม พระราชประสงค์ "หุบกระพง" อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งดำเนินการเพื่อให้ประชา ชนมีที่อยู่อาศัยทำกิน และรวมตัวกันในรูปของกลุ่มสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน และการทำมาหากินร่วมกัน เป็นต้น นอกจากนั้น โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ ในระยะหลังก็ล้วนแต่เพื่อให้ประชาชนสามารถช่วยตัวเองได้ เพราะเป็นโครงการ ที่ สนับสนุนให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพให้ได้ผล และมีประสิทธิภาพ เช่น การ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การให้การอบรมความรู้สาขาต่าง ๆ ทั้งด้านการเกษตร และศิลปาชีพพิเศษ เป็นต้น    ๔. การส่งเสริมความรู้ และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม    ด้วยพระราชประสงค์ที่ต้องการให้ราษฎรได้รับในสิ่งที่ขาดแคลน และต้องมีตัวอย่างของความสำเร็จ จึงทรงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษา ทดลอง วิจัย และแสวงหาความรู้สมัยใหม่ที่ราษฎรรับได้ และนำไปดำเนินการเองได้ โดยต้องเป็นวิธีการที่ประหยัด เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม    ๕. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ    จากการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลงโดยมิได้มีการฟื้นฟูขึ้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงสนพระราชหฤทัยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ของราษฎรในพื้นที่ต่างๆ    ๖. การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม    จากการที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศได้เปลี่ยนไป สู่การผลิตที่มีภาคอุตสาหกรรม และบริการเป็นหลัก ทำให้สังคมไทยเริ่ม เปลี่ยนจากสังคมชนบท สู่ความเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ปัญหาที่เกิดตามมาคือปัญหาทางด้านความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการ กำจัดน้ำเสีย ใน กรุงเทพมหานคร และในเมืองหลัก ในต่างจังหวัดด้วยวิธีการต่าง ๆ

     โครงการตามพระราชประสงค์ คือ โครงการซึ่งทรงศึกษาและทดลองปฏิบัติเป็นการส่วนพระองค์ ทรงปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้น ๆ แสวงหาวิธีทดลอง พัฒนา ส่งเสริม เมื่อได้ผลดีว่าจะเกิดประโยชน์แก่ประชาชน ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลรับดำเนินการต่อไป ทรงตระหนักในปัญหาที่ใหญ่ที่สุด ปัญหาหนึ่งของประเทศไทย คือ ปัญหาชาวไร่ชาวนาไม่มีที่ดินทำกินของตนเองเป็นหลักแหล่งอย่างเพียงพอ จึงทรงดำเนินการพัฒนาที่ดินที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งหมดสภาพป่าสงวนของชาติแล้ว ให้มีสภาพเป็นที่ดินอุดมสมบูรณ์ แล้วนำมาจัดสรรให้ชาวไร่ชาวนาที่ต้องการจะช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้ได้เข้ามาหากินเป็นการถาวร โดยดำเนินการในรูปสหกรณ์การเกษตร ให้สมาชิกมีสิทธิในการครอบครองทำมาหากินในที่ดินได้ชั่วลูกชั่วหลานแต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของสหกรณ์ หลักการและวิธีดำเนินการดังกล่าวทำให้เกษตรกรสามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น โครงการที่ยังคงใช้คำว่า “ตามพระราชประสงค์” มีอยู่ 4 แห่ง คือ

1. โครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หนองพลับ-กลัดหลวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดเพชรบุรี
2. โครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี
3. โครงการตามพระราชประสงค์ดอนขุนห้วย จังหวัดเพชรบุรี
4. โครงการตามพระราชประสงค์หมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าเด็ง-ป่าละอู จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดเพชรบุรี

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการตามพระราชประสงค์หมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าเด็ง-ป่าละอู หุบกะพง ดอนขุนห้วย หนองพลับ-กลัดหลวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดเพชรบุรี (ชุดใหม่) โดยมีพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานกรรมการอำนวยการโครงการตามพระราชประสงค์หมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าเด็ง-ป่าละอู หุบกะพง ดอนขุนห้วย หนองพลับ-กลัดหลวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดเพชรบุรี ตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานโครงการ ฯ

โครงการในพระราชดาริมีกี่ลักษณะ อะไรบ้าง

ลักษณะโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
๑) โครงการตามพระราชประสงค์ ... .
๒) โครงการหลวง ... .
๓) โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ ... .
๔) โครงการตามพระราชดำริ.

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีกี่โครงการอะไรบ้าง

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแต่ปี ๒๔๙๕-๒๕๖๐ (มีจำนวน ๔,๗๔๑ โครงการ /กิจกรรม ข้อมูล ณ เดือนกันยายน ๒๕๖๐) รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้ ... ประเภทของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

โครงการในพระราชดำริมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

โครงการตามพระราชดำริ หมายถึง โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางแผนพัฒนา และทรงเสนอแนะให้รัฐบาลหรือหน่วยงานราชการพิจารณาความเป็นไปได้ และร่วมดำเนินการ เพื่อพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ต่อมาได้เปลี่ยนใช้คำว่า "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" เป็นส่วนใหญ่

โครงการในพระราชดําริ ร.9 ทั้งหมดมีกี่โครงการ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 5,151 โครงการ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ ดูโครงการทั้งหมด ค้นหาโครงการฯ แผนที่โครงการ โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริทั้งหมด จำนวน 5,151 โครงการ ภาค กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ใต้ อื่นๆ รวมทั้งสิ้น จำนวนโครงการ 855 โครงการ 1,295 โครงการ 1,960 โครงการ 994 โครงการ 47 โครงการ ...