การพัฒนาศักยภาพของตนเองมีกี่ด้าน

4.1 ความหมายและความสำคัญของการสร้างศักยภาพของตนเอง

                ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหายของคำว่า ศักยภาพ ไว้ว่าอำนาจหรือคุณสมบัติที่มีแฝงอยู่ในสิ่งต่างๆ อาจทำให้พัฒนาหรือให้ปรากฏเป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้
                จากความหมายดังกล่าว หากนำมาอธิบายความหมายที่เกี่ยวกับศักยภาพและการสร้างศักยภาพของคนเราจะได้ภาพรวมของความหมายดังนี้
                ศักยภาพของตนเอง หมายถึง ความสามารถที่อยู่ภายในตัวเอง ซึ่งถ้ามีการพัฒนาให้ดีและนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศได้
                ส่วนคำว่า การสร้างศักยภาพของตนเอง  หมายถึง การสร้างเสริมความสามารถที่มีอยู่ในตนเองให้มีมากขึ้น หรือการพัฒนาความสามารถที่มีอยู่ให้มีมากขึ้น เพื่อที่จะได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งถ้าบุคคลใดมีการสร้างศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอจะส่งผลให้บุคคลนั้นสามารถประกอบกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับตัวและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข
                จากความหายที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ศักยภาพและการสร้างศักยภาพมีความสำคัญและจำเป็นที่คนเราจะต้องหาแนวทางในการสร้างเสริมหรือส่งเสริมให้เกิดขึ้นในตนเอง

4.2 แนวทางในการสร้างศักยภาพให้เกิดขึ้นกับตนเอง

                การสร้างศักยภาพให้เกิดขึ้นกับตนเองนั้น มีแนวทางในการพัฒนาอยู่ 3 ด้าน ดังนี้

                1. การพัฒนาตนเองทางด้านร่างกาย เป็นการสร้างเสริมศักยภาพของตนเองโดยใช้การพัฒนาตนเองให้มีร่างกายแข็งแรง เพื่อให้มีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะส่งผลให้คนเรามีศักยภาพในการทงานที่ดีอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากถ้าเมื่อใดที่คนเรามีสุขภาพร่างกายที่ไม่ดีศักยภาพในการทำงานย่อมลดลง และไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการพัฒนาร่างกายจึงเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งของการเสริมสร้างศักยภาพให้กับตนเอง
                การพัฒนาตนเองให้มีร่างกายที่แข็งแรงและมีสมรรถภาพทางกายที่ดี มีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
                1) การรับประทานอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีหลากหลาย มีประโยชน์และมีคุณค่า เช่น การเลือกรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ รับประทานอาหารและปรุงสุกใหม่ๆ

การพัฒนาศักยภาพของตนเองมีกี่ด้าน


                2) การออกกำลังกาย ควรที่จะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เพื่อช่วยให้มีร่างกายที่แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค และมีสมรรถภาพทางกายที่ดี สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาศักยภาพของตนเองมีกี่ด้าน


                3) การนอนหลับให้เพียงพอ ควรที่จะมีการนอนหลับให้เพียงพอ เนื่องจากการนอนหลับอย่างเพียงพอจะช่วยให้ระบบอวัยวะต่างๆภายในร่างกายหนักมาตลอดทั้งวันได้หยุดพักผ่อน และฟื้นคืนกลับเข้าสู่การพักผ่อนนอนหลับของคนเราไม่ควรน้อยกว่าคืนละ ชั่วโมง

การพัฒนาศักยภาพของตนเองมีกี่ด้าน


                2. การพัฒนาตนเองทางด้านจิตใจ เป็นการพัฒนาตนเองให้มีสุขภาพจิตที่ดี เนื่องจากคนที่มีสุขภาพจิตที่ดีย่อมสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คนที่มีสุขภาพจิตที่ดีย่อมให้มีสุขภาพกายที่ดีด้วย สำหรับการพัฒนาตนเองทางด้านจิตใจนั้น มีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
                1) รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองและรู้จักใช้เหตุผล โดยต้องฝึกจิตใจให้รู้จักระงับอารมณ์ที่ไม่ดีและอารมณ์โกรธของตนเอง มีสติ ใจเย็น พิจารณาถึงเหตุและผลของสถานการณ์ต่างๆ ที่ตนเองไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือไม่เป็นไปตามที่คาดหวังว่าเกิดจากสาเหตุใด แล้วหาหนทางแก้ไข 
                2) มองโลกในแง่ดีและมองในหลายๆแง่มุม การมองโลกในแง่ดีและการมองโลกในหลายๆมุม ทำให้อารมณ์และจิตใจเบิกบาน เพราะการมองโลกในแง่ดีทำให้ไม่เกิดอคติทำให้ไม่เกิดอคติกับคำพูดหรือการแสดงออกของบุคคลอื่นๆ สามารถร่วมสังคมกับบุคคลอื่นๆได้อย่างราบรื่น และเมื่อมีเรื่องที่ไม่ชอบใจก็ให้มองโลกในมุมอื่นๆบ้าง เช่น ถ้าเพื่อนตำหนิเราก็ควรมองว่าเพื่อนหวังดี และทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตนเอง เพื่อนำมาปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น
                3) รู้จักพอ ไม่อิจฉาริษยาผู้อื่น การรู้จักพอในสิ่งที่ตนเองมีย่อมทำให้จิตใจสงบสุขและมีความสุข ไม่เกิดความเครียด และควรมีความปรารถนาที่ดีกับความสุข ความสำเร็จของบุคคลอื่นด้วย เพราะทุกคนย่อมต้องการความปรารถนาดีที่มีต่อกัน
                4) รู้จักให้อภัย มีความเอื้อเผื่อเผื่อแผ่และเห็นอกเห็นใจในผู้อื่น การรู้จักให้อภัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่นจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล อีกทั้งยังทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี เพราะการให้ภัยเกิดจากจิตใจที่ปล่อยวาง ลดความอาฆาตแค้น ควรมองว่าการให้อภัยทำให้จิตใจสบาย และพิจารณาว่าตัวเองก็มีส่วนผิดด้วยเช่นกัน
                3. การพัฒนาตนเองทางด้านสติปัญญา เป็นการพัฒนาตนเองให้รู้จักคิดให้เป็น และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติได้ สำหรับการพัฒนาตนเองทางด้านสติปัญญา มีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
                1) รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
                2) รู้จักคิดพิจารณาไตร่ตรองสิ่งต่างๆอย่างละเอียดรอบคอบด้วยเหตุและผล
                3) รู้จักหาความรู้เพิ่มเติมทั้งในและนอกห้องเรียน และมีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาค้นคว้าสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ
                4) พยายามหาทางที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยสติปัญญาของตนเองก่อนทุกครั้ง