พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรีมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าชายสิทธัตถะอย่างไร

พระนางมหาปชาบดีโคตมี

        พระนางประชาบดีโคตมีเป็นพระน้าของพระพุทธเจ้าเมื่อพระนางสิริมหามายาสวรรคต พระเจ้าสุทโธทนะได้อภิเษกสมรสกับพระนางประชาบดีโคตมี พระนางได้เป็นแม่เลี้ยงนางนมของเจ้าชายสิทธัตถะครั้นยังทรงวัยเยาว์ หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จสวรรคตและถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตามีได้ทรงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่นิโครธาราม เพื่อทูลขอให้สตรีบวชใในพระพุทธศาสนา แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต พระนางอ้อนวอนหลายครั้งแต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงอนุญาต จึงทำให้พระนางเสียพระทัยจนกระทั่งกันแสงแล้วเสด็จกลับไป  แล้วพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองเวสาลีและไปประทับที่ป่ามหาวัน ฝ่ายพระนางประชาบดีโคตามีพอเสด็จกลับถึงพระตำหนักก็ทรงตัดสินพระทัยปลงพระเกศาของพระองค์ แล้วทรงผ้ากาสาวพัสตร์อธิฐานเพศเป็นนักบวชจำเพราะพระศาสดา พร้อมด้วยเจ้าหญิงจากศากยวงศ์ (สากิยานี) เป็นจำนวนมาก จากนั้นก็พากันเดินไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถึง เมืองเวสาลแล้วพากันประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูป่ามหาวัน พระอานนท์พบเข้าก็ได้สอบถามข้อเท็จจริงแล้วบอกให้พระนางเจ้าพร้อมทั้งสากิยานีรออยู่ที่ซุ้มประตูนั้นก่อน จากนั้นพระอานนท์ ก็เข้าไปกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางมหาปชาบดีโคตามีพร้อมด้วยสากินีจำนวนมาก พากันตัดเกศา นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวาร มีจิตใจแน่วแน่จะขออุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ ขอพระองค์จงโปรดให้พระนางบวชเถิด แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงอนุญาต  พระอานนท์สงสารและเห็นใจหญิงเหล่านั้น จึงคิดหาเหตุผลที่จะให้พระองค์ทรงอนุเคราะห์สตรีเหล่านั้นจึงทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สตรีถ้าบวชได้แล้วจะทำมรรคผลได้สำเร็จหรือไม่?” พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า "ได้ " พระอานนท์จึงอ้างเหตุผลที่พระนางมหาปชาปดีโคตามี ซึ่งเป็นน้าของพระพุทธเจ้าได้ทรงเลี้ยงพระองค์ในวัยเยาว์ จึงมีคุณ ฉะนั้นจึงทูลขอให้สตรีบวชได้ พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสว่าถ้าพระนางปชาบดีโคตามียอมรับ ครุธรรม ๘ ประการ ได้ก็จะให้บวช ซึ่งได้แก่

1. นางภิกษุณีแม้บวชนานพรรษา 100 ก็ต้องกราบไหว้พระภิกษุที่บวชแม้ในวันนั้น 

2. นางภิกษุณีอย่าพึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีพระภิกษุ 

3. นางภิกษุณีต้องหวังธรรม 2 ประการคือ ถามวันอุโบสถ 1 เข้าไปฟังคำสั่งสอนแต่พระสงฆืทุกกึ่ง 1 เดือน 

4. นางภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์ 2 ฝ่ายคือ ทั้งในฝ่ายภิกษุณีด้วยกันเองและในฝ่ายภิกษุ 

5. นางภิกษุณีต้องอาบัติ(โทษทางวินัย)หนักแล้ว ต้องประพฤติมานัด(กล่าวประจานตน)ในสงฆ์ 2 ฝ่าย เป็นเวลาฝ่ายละ 15 วัน 

6. นางภิกษุณีต้องอุปสมบทในสงฆ์ 2 ฝ่าย คือบวชกับภิกษุณีด้วยกันแล้ว ต้องบวชกับภิกษุอีก 

7. นางภิกษุณีห้ามด่าหรือแสดงอาการรังเกียจอย่างใดอย่างหนึ่ง 

8. ห้ามภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุแต่ภิกษุว่ากล่าวนางภิกษุณีได้ 

        ครุธรรมทั้ง ๘ ประการนี้ ภิกษุณีพึงสักการะเคารพตลอดชีวิต พระนางมหาปชาบดีโคตามีทรงยอมรับด้วยความยินดี โดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือข้อแม้ใดๆ   ผู้ที่บวชเป็นภิกษุณีนั้นต้องปฏิบัติตนเป็น นางขมานา อย่างเคร่ง ๒ ปี คือ รักษาศีลข้อที่หนึ่ง(งดเว้นจากการฆ่าสัตว์) ถึงข้อที่หก (ไม่รับประทานอาหารตั้งแต่เที่ยงถึงเช้าวันใหม่) ถ้าขาดตกบกพร่องข้อหนึ่งข้อใดก็ให้เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ซึ่งพระนางก็ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและปฏิบัติสมณธรรมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์   

พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรีมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าชายสิทธัตถะอย่างไร

พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นราชธิดาของพระเจ้าอัญชนะ เป็นพระกนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา เป็นพระน้านางของเจ้าชายสิทธัตถะ

พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรีมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าชายสิทธัตถะอย่างไร

เมื่อเจ้าชายประสูติได้ ๗ วัน พระราชมารดาก็ได้สิ้นพระชนม์ พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบภาระให้พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านาง เลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะประดุจหนึ่งว่าเป็นพระโอรสของพระองค์เอง พระเจ้าสุทโธทนะทรงมีพระโอรสกับพระนางมหาปชาดีโคตมีองค์หนึ่ง พระนามว่า นันทะ และพระธิดาอีกองค์หนึ่ง พระนามว่า รูปนันทา

เมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จนิวัตพระนครกบิลพัสดุ์หลังจากตรัสรู้ และหลังจากได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงในแคว้นมคธแล้ว เจ้าชายในศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ อาทิ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายมหานามะและเจ้าชายเทวทัตได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์

พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรีมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าชายสิทธัตถะอย่างไร

พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระประสงค์จะบวชบ้างแต่ถูกพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ

พระนางมิได้ย่อท้อ ยังคงมีปณิธานอย่างแน่วแน่ว่าจะต้องบวชให้ได้

ดังนั้น ในเวลาต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่กุฎาคาร ในป่ามหาวัน นอกเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี พระนางมหาปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยเหล้านางสากิยานีจำนวนมาก ปลงผม นุ่งห่มกาสาวพัสตร์ พากันเดินมุ่งหน้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และทูลขออุปสมบท

พระนางมหาปชาบดีโคตมี เจ้งความประสงค์ให้พระอานนท์พุทธอนุชาทราบ และให้นำความกราบทูลพระพุทธองค์ขออุปสมบท พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต พระอานนท์ทูลอ้อนวอนอย่างไรก็ไม่อนุญาต

ในที่สุดพระอานนท์กราบทูลถามว่าบุรุษกับสตรีมีความสามารถไม่ทัดเทียมกันใช่หรือไม่ สตรีไม่สามารถบรรลุมรรคผลชั้นสูงเฉกเช่นบุรุษใช่หรือไม่

พระพุทธองค์ตรัสว่า ในเรื่องนี้ไม่มีข้อแตกต่างกัน สตรีก็ทัดเทียมกับบุรุษ พระอานนท์จึงทูลถามว่า ถ้าเช่นนั้นทำไมพระองค์มิทรงอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีบวช ในเมื่อพระนางก็สามารถที่จะบรรลุมรรคผลชั้นสูงได้ พระพุทธองค์จึงทรงยินยอมตามที่พระอานนท์ทูลขอ

แต่ก็ทรงวางกฎเหล็กกันเรียกว่า “ครุธรรม ๘ ประการ” ไว้ว่า ถ้าปชาบดีโคตมีสามารถปฏิบัติครุธรรม ๘ ประการนี้ได้ พระองค์ก็ทรงยินดีประทานอุปสมบทให้ เมื่อพระนางมหาปชาบดีทราบก็กราบทูลยืนยันว่า ยินดีปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

ครุธรรม ๘ ประการนั้น คือ
๑. ภิกษุณีแม้จะมีพรรษา ๑๐๐ ก็ต้องกราบไหว้พระภิกษุซึ่งบวชในวันนั้น
๒. ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้
๓. ภิกษุณีจงไปถามวันอุโบสถ และฟังโอวาทจากภิกษุ
๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษา แล้วต้องปวารณาสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้งสามคือ โดยได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัย
(ในข้อนี้หมายความว่าต้องยอมให้ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนได้ ถ้าได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าภิกษุณี ทำผิดสิกขาบทนั้นๆ)
๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก (ทำผิดวินัยร้ายแรง) ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย
(คือ ลงโทษกักบริเวณตัวเอง ตามกรรมวิธีของสงฆ์) เป็นเวลา ๑๕ วัน
๖. ภิกษุณีจะต้องได้รับอุปสมบทจากสงฆ์สองฝ่าย (คือบวชจากภิกษุณีสงฆ์ครั้งหนึ่ง แล้วให้ภิกษุสงฆ์บวชอีกครั้งหนึ่ง)
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่ากรณีใดๆ
๘. ภิกษุณีไม่พึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุ แต่ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนภิกษุณีได้

ทั้งนี้ เพราะพระพุทธองค์ไม่มีพุทธประสงค์จะให้มี “พระผู้หญิง” ทรงเกรงว่าถ้าอยู่ใกล้ชิดกันมากจะมีปัญหาในหมู่ภิกษุและภิกษุณี เพราะ “พรหมจรรย์” จะต้องเว้นขาดจากความเกี่ยวข้องทางกามารมณ์ พระภิกษุและภิกษุณีที่ยังมีภูมคุ้มกันไม่แข็งแรงพอ ก็อาจจะเผลอไผลละเมิดสิกขาบทได้

พระพุทธองค์ตรัสว่า สำหรับบุรุษสตรีเป็นความเศร้าหมองของพรหมจรรย์ ในทำนองเดียวกันสำหรับสตรีบุรุษก็เป็นอันตรายของพรหมจรรย์เช่นกัน

พระนางมหาปชาบดีโคตมียืนยันว่า จะบวชและปฏิบัติตาม “กฎเหล็ก” นั้น พระพุทธองค์จึงประทานอุปสมบทให้พระนาง และรังสั่งให้ภิกษุสงฆ์บวชให้สตรีบริวาร เมื่อพระอานนท์กราบทูลถามภายหลังถึงเหตุผลที่ทรงรีรอให้การประทานอุปสมบทแก่สตรี พระพุทธองค์ทรงให้เหตุผลว่า พรหมจรรย์จะอยู่ไม่ได้นาน ถ้าสตรีบวชในพระพุทธศาสนา

หลังจากอุปสมบทแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมีรับเอากรรมฐานจากพระพุทธองค์ไปปฏิบัติ ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล แม้ภิกษุณีที่อุปสมบทพร้อมกับพระเถรี ต่างก็ได้บรรลุธรรมในวาระแตกต่างกัน ในเวลาต่อมา

พระนางมหาปชาบดีโคตมีเคยนำผ้าไปถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าปฏิเสธ พระนางเสียใจมาก เมื่อพระอานนท์เข้าไปกราบทูลถาม ทรงแนะให้นำไปถวายพระสงฆ์ ทรงอธิบายว่า การถวายแก่พระสงฆ์มีอานิสงส์มากกว่าถวายแก่พระพุทธเจ้า ในฐานที่เป็นปัจเจกบุคคลเสียอีก ทรงแสดงทักขิณาวิภังคสูตร ทรงสรรเสริญสังฆทาน (การถวายแก่สงฆ์ส่วนรวม) ว่ามีอานิสงส์มากกว่าปาฏิบุคลิกทาน (การถวายเป็นส่วนตัว) ที่จริงแล้ว พระพุทธองค์ทรงมีพระเมตตาต่อพระน้านางมาก เวลาพระนางประชวรพระพุทธองค์ก็เสด็จไปเยี่ยมดูแล ดังหนึ่งเป็นพระพุทธมารดานั่นเอง

พระนางมหาปชาบดีโคตมีก็มีความเคารพในพระพุทธองค์ยิ่ง ถึงกับกราบทูลว่าในทางรูปกาย พระนางเป็นมารดาผู้ให้น้ำนมเลี้ยงดูพระองค์มา แต่ในทางนามกาย คือในทางธรรม พระพุทธเจ้าทรงเป็นบิดาของพระนาง

พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี ในอัตทัคคะ (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) ในทาง “รัตตัญญู” คือ ผู้รู้ราตรีนาน คล้ายๆ จะบอกว่ายกย่อง ให้เป็นผู้อาวุโสกว่าภิกษุอื่นๆ แต่ความหมายที่แท้จริงน่าจะหมายถึง ความเป็นผู้มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ใช่แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน หากแต่เป็นผู้แก่เฒ่าที่มีประสบการณ์ชีวิตมากมาย อันจะเป็นประโยชน์ในการแนะนำพร่ำสอนแก่คนรุ่นหลัง

พระนางมหาปชาบดีโคตมี นิพพานเมื่ออายุได้ ๑๒๐ ปี

พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระเถรีที่มีปฏิปทา ควรถือเป็นแบบอย่างหลายประการ เช่น
๑. เป็นผู้มีความตั้งใจแน่วแน่ พระนางตั้งใจจะบวชก็ไม่ย่อท้อ แม้ตอนแรกๆ จะได้รับการปฏิเสธ ก็พยายามจนกระทั่งได้รับพุทธานุญาตในที่สุด
๒. มีความอดทนเป็นเลิศ พระนางมีความอดทนต่อความทุกข์ยากลำบาก ต้องเดินเท้าเปล่าจากเมืองกบิลพัสดุ์ไปยังเมืองไพศาลี เพื่อทูลขอบวช แม้พระพุทธองค์ทรงวาง ครุธรรม ซึ่งยากต่อการปฏิบัติ พระนางก็เต็มใจปฏิบัติด้วยความอดทนยิ่ง
๓. มีความเคารพในธรรมอย่างยิ่ง แม้พระนางจะเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้า ก็มิได้แสดงตนในฐานะเป็น “แม่” ของพระองค์
กลับวางตนเป็นสาวิกาที่ดีคอยฟังพระพุทธโอวาท และปฏิบัติตามที่ทรงแนะนำ