วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

25654

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

1.ด.ช.จิตวัฒน์ ตัณฑะตะนัย ม.1/2 เลขที่ 4

2.ด.ญ.ชัญญารัสมิ์ ปิ่นแก้ว ม.1/2 เลขที่ 20

3.ด.ญ.ธวัลรัตน์ ปิ่นทอง ม.1/2 เลขที่ 22

4.ด.ญ.ธิติพร ธำรงวกุล ม.1/2 เลขที่ 23

5.ด.ญ.พศรินทร์ ตรีไพชยนต์ศักดิ์ ม.1/2 เลขที่ 27

เสนอ

อาจารย์พิทยา อึ้งบุญชู

ประเทศไทยมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา วรรณคดี ศิลปะ ดนตรี การแต่งกาย อาหาร ล้วนเป็นสิ่งที่บบรพบุรุษสั่งสมมาแต่อดีต

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

วัฒนธรรม 4 ภาค

1) ภาคเหนือ ได้รับอิทธิพลบางส่วนมาจากเมียนมาและไทยใหญ่ พูด(อู้) ภาษาคำเมือง



วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีวัฒนธรรมบางส่วนคล้ายคลึงกับลาวและเขมร พูด(เว้า) ภาษาอีสาน

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

3) ภาคกลาง
พูดภาษากลาง ตัวอย่างวัฒนธรรมภาคกลาง เช่น บ้านจะมีใต้ถุนสูง หน้าต่างกว้าง

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

4) ภาคใต้
ได้รับวัฒนธรรมบางส่วนมาจากมาเลเซีย นับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาอิสลาม พูดภาษาใต้ (แหลงใต้)

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

ที่มาของวัฒนธรรมไทย

๑)สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
เนื่องจากการมีที่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1
 ั

๒)อิทธิพลจากพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 เป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่เคารพนับถือ

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1


๓)อิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นนอีกศาสนาที่เข้ามาทีบทบาทตั้งแต่สมัยอดีต ทำให้เกิดวัฒนธรรมด้านลัทธิ
ความเชื่อหลายอย่าง

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

๔)ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
สังคมไทยมมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ก่อนพุทธศตวรรษที่ 17 ทำให้มรดกทางวัฒนธรรมบางอย่างได้กลายเป็นรากฐานที่สสำคัญของวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

๕)การรับเอาวัฒนธรรมอื่นมาปรับใช้ วัฒนธรรมภายนอกที่คนไทยรับเอาเข้ามา ปรับใช้ในช่วงแรกจะเป็นวัฒนธรรมอินเดีย และมีการติดต่อกับจีนและชาติตะวันตก

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

ลักษณะของวัฒนธรรมไทย

๑)เป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม ประเทศไทยมีความเกี่ยวข้องกับน้ำ ผู้คนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1


๒)เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือพิธีกรรม
การกระทำกิจกรรมหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินชีวิตในสังคมไทย จะมีการประกอบพิธีกรรมด้วยเสมอ

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1


๓)เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือการกุศล
ตามหลักศาสนา คนไทยนิยมทำบุญในงาน
เทศกาลต่างๆ เพื่อเป็นสิริมงคลให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1


๔)เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือเครือญาติเอาวุโส
สังคมไทยมมีความสัมพันธ์ที่ดีงาม โดยยึดหลักอาวุโส คนที่มีอายุน้อยกว่าจะให้ความเคารพผู้ที่อายุมากกว่า
วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

๕)เป็นวัฒนธรรมที่มีการผสมผสาน วัฒนธรรมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นได้รับการผสมผสานทางวัฒนธรรมมาจากสังคมอื่น

๖)เป็นวัฒนธรรมที่นิยมความสนุกสนาน
กิจกรรมของสังคมไทยส่วนใหญ่                                                          จะมีการสอดแทรกความสนุกสนานไว้เสมอ

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

วัฒนธรรมในประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น มีความน่าสนใจ
หลายอย่าง ซึ่งมีทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างไปจากวัฒนธรรมไทย และเป็นสิ่งที่น่าสนใจและแปลกใหม่
ซึ่งควรที่จะเรียนรู้ไว้

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

ลักษณะของวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน

ลักษณะของประเทศเพื่อนบ้านนั้น โดยรวมสามารถสรุปได้ดังนี้
1)เป็นวัฒนธรรมสังคมเกษตรกรรม : ประเทศเพื่อนบ้านของไทยนั้น ส่วนใหญ่จะมีอาชีพการเพาะปลูก เป็นหลักซึ่งผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกมีหลากหลายชนิด โดยมีข้าวเป็นผลผลิตที่สำคัญ วิถีชีวิตของคนในภูมิภาคนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมหลักเป็นหลัก

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

2)เป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน แต่จะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง โดยมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมแบบผสมผสาน เพราะมีผลมาจากการนำวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาปรับใช้ โดยวัฒนธรรมนั้นก็จะแตกต่างกันไปแต่ถ้าประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากแหล่งเดียวกัน ก็จะมีวัฒนธรรมคล้ายกัน   เช่น ประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน รับวัฒนธรรมมาจากอิสลามเหมือนกัน ทำให้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

3)เป็นวัฒนธรรมที่มีศาสนาและลัทธิความเชื่อเป็นรากฐาน วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านมีรากฐาน
ที่สำคัญมาจากศาสนา และลัทธิความเชื่อที่ประชากรส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ ติดต่อกันมาตั้งแต่อดีต

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

4)เป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของตน เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย
ส่วนใหญ่มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์มา
อย่างยาวนาน
ซึ่งการที่ไทยเป็นชาติเก่าแก่ ทำให้มีมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมมาก ดังนั้น ถึงจะอยู่พรมแดนติดต่อกัน แต่หลายประเทศก็จะมีเอกลักษณ์
เป็นของตนไม่เหมือนเพื่อนบ้านใกล้เคียง ดังนั้นจึงมีหลายๆอย่างที่เป็นเอกลักษณ์
เฉพาะ
ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านต่างก็มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
โดยก็จะมีบางอย่างคล้ายคลึงกัน ซึ่งสะท้อนได้ว่าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน มีการแลกเปลี่ยน รวมไปถึงการผสมผสานทางวัฒนธรรมอย่างลงตัว ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เรานึกถึงบรรพบุรุษของตน

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรม 

วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน มีทั้งที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมไทย ขณะเดียวกันก็มีความแตกต่างด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

๑) วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย เนื่องจากเป็นสังคมที่อยู่ในเขตร้อน ลักษณะวัฒนธรรมในการก่อสร้าง
เลยคล้ายคลึงกัน นั่นคือใช้วัสดุที่เป็นไม้สร้างบ้าน ยกพื้นให้สูงขึ้นจากพื้นดิน พื้นบ้านปูด้วยไม้กระดาน เป็นต้น

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

๒) วัฒนธรรมด้านการนับถือศาสนา ศาสนาสำคัญที่เผยแพร่เข้ามาและได้รับการยอมรับนับถือ
จากกลุ่มคนในภูมิภาค ได้แก่ พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็ดดกศาสนาผู้คนส่วนใหญ่นับถือ ดังนั้นประเพณีของ
ประเทศที่นับถือศาสนานี้นั้น จะมีลักษณะวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

3)วัฒนธรรมด้านประเพณีและพิธีกรรม หากประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกัน นับถือศาสนาเดียวกัน
ก็จะมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน โดยบางประเพณีอาจจะไม่เหมือน แต่อาจจะมีต้นแบบมาจากที่เดียวกันทำให้มีบางประเพณีที่คล้ายคลึงกัน

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

4)วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย
การแต่งกายของผู้คนในภูมิภาคนั้น ถ้าหากไม่นับชุดพื้นเมืองและชุดประจำชาติก็จะแต่งกายไม่ต่างกัน คือ ในสังคมเมืองผู้ชายนิยมสวมเสื้อกับกางเกง ผู้หญิงสวมเสื้อกับกางเกง หรือกระโปรง แต่ใช้ชนบท ส่วนมากผู้หญิงยังนุ่งผ้าซิ่นอยู่

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

๕) วัฒนธรรมด้านภาษา ประเทศเพื่อนบ้านที่มีภาษาพูดและเขียนคล้ายคลึงกับไทยก็คือลาวเพียงชาติเดียว ส่วนชาติอื่นจะใช้ภาษาของตน ไม่ว่าจะเป็นเมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยที่ภาษาอังกฤษและภาษาจีน
จะเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อกันได้ทั่วทั้งภูมิภาค

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

๖) วัฒนธรรมด้านอาหาร ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยข้าว พืชผักและเนื้อสัตว์ ที่สามารถหาง่ายได้ในท้องถิ่น การปรุงอาหารส่วนใหญ่จะใช้กะทิและเครื่องเทศเป็นเครื่องปรุงรส

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

 วัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยในการสร้างความสัมพันธ์อันดี

1).วัฒนธรรมทางด้านศาสนา ทุกศาสนานั้นล้วนมีคำสอนสำคัญ ที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือการละเว้นความชั่ว ทำความดี มีจิตใจเมตตา ดังนั้น จึงควรนำวัฒนธรรมทางด้านศาสนามาเป็นแนวทางปฏิบัติตน คือ ไม่กล่าวประเทศเพื่อนบ้านไปในทางที่เสื่อมเสีย หรือช่วยเหลือเพื่อนบ้าน เป็นต้น

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

Cr.http://www.dmc.tv/pages/latest_update/20110511-

2).วัฒนธรรมทางด้านภาษา ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมนั้นทำให้การใช้ภาษามีความแตกต่างกันตามไปด้วย ซึ่งหากใช้ภาษาที่มีความหมายในทางบวกก็ต้องมีภาษาที่มีความหมายทางลบด้วย ดังนั้น จึงควรมีการส่งเสริมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาระหว่างกัน

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

Cr.http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000020165

3).วัฒนธรรมด้านขนมธรรมเนียมประเพณี ขนมธรรมเนียมประเพณีเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของทุกสังคม เป็นเครื่องมือในการทำให้คนมีจิตใจที่สงบ สดชื่น ดังนั้น จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เพื่อเชื่อความสัมพันธ์ เพราะจะช่วยให้ผู้คนของประเทศต่างๆมีความสนิทสนมรักใครกลมเกลียวกันมากขึ้น

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

Cr. http://www.ceted.org/tutorceted/

4). วัฒนธรรมด้านการศึกษา เป็นอีกอย่างที่เราควรส่งเสริมให้ประชากรของประเทศนั้นได้มีการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นการช่วยสร้างความเจริญงอกงามทางด้านสติปัญญาให้แก่ทุกคน ดังนั้นเราจึงควรส่งเสริมให้ประชากรในประเทศได้มีการศึกษาเรื่องราวของประเทศเพื่อนบ้านอย่างกว้างขวาง

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

Cr.http://www.commonsenseforpubliceducation.org/page/2/

5).วัฒนธรรมด้านเนติธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัฒนธรรมด้านกฎหมายที่มีความสำคัญหรือการกระทำบางอย่างที่ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ แต่ถ้าใครทำเข้าก็เป็นที่รังเกียจของสังคม

วัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยที่อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดต่อกัน

1).วัฒนธรรมทางด้านภาษา ไม่ควรนำเอาภาษาของชาติเพื่อนบ้านมาใช้ทำนองล้อเลียน ดูหมิ่นที่กระทำการใดๆไปในทางที่เสียหาย รวมทั้งถ้าไม่แน่ใจและขาดความรู้อย่างเพียงพอในการใช้ภาษานั้นๆแล้ว ก็ไม่ควรนำภาษาของชาติเพื่อนบ้านมาใช้สื่อสาร เพราะอาจทำให้ให้เกิดความเข้าใจผิดต่อกันก็ได้

2).วัฒนธรรมเกี่ยวกับการปลุกกระแสชาตินิยม    การแสดงออกถึงความรักชาติเป็นสิ่งที่ดี แต่ในบางครั้งก็มีการนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ โดยปลุกกระแสชาตินิยมมีการกล่างอ้างถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ จนนำไปสู่ความเข้าใจผิดกับประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นได้

3).วัฒนธรรมทางด้านศาสนา ไม่ควรพาดพิงศาสนาอื่น ไม่ว่าจะด้วยคำพูดหรือการกระทำ เพราะจะเป็นต้นเหตุนำไปสู่ความบาดหมางได้ง่าย และเมื่อต้องไปอยู่ในสังคมของคนที่นับถือศาสนาอื่นก็ต้องจะมีส่วนร่วม ไม่กระทำสิ่งใดๆที่ขัดกับบัญญัติของศาสนานั้น

4).วัฒนธรรมด้านความเชื่อและทัศนคติเชิงลบ ไม่ควรดูหมิ่นการกระทำ การแสดงออกหรือนำไปเปรียบเทียบการกระทำต่างๆที่สื่อออกมาแล้วมีความหมายไปในทางเชิงลบ

5).วัฒนธรรมด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เราต้องพึงตระหนักไว้ว่า เรื่องบางอย่างในอีกวัฒนธรรมหนึ่งทำได้ แต่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจจะทำไม่ได้ เช่น บริเวณศาสนสถานของบางประเทศไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าไป

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

Cr.http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=5009&filename=index

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัฒนธรรม

มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลายก็เพราะมนุษย์มีวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากการสร้างสรรค์จากสิ่งที่เป็นธรรมชาติมาปรับปรุงให้เป็นสิ่งของ เครื่องใช้ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียม เพื่อใช้ตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และสั่งสมแล้วส่งผ่านไปยังอนุชนรุ่นหลังได้ใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต

     Cr. www.dhammajak.net                                   Cr. http://www.m-culture.go.th

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ม. 1

วัฒนธรรมของแต่ละสังคมจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันบางส่วน หรือที่เรียกว่า “วัฒนธรรมพื้นฐาน”

และแตกต่างกันบางส่วน ความแตกต่างกันนี้เป็นเพราะแต่ละสังคมมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่เหมือนกัน

     วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นภูมิปัญญาที่ผู้คนในแต่ละสังคมในรุ่นก่อนๆ คิดสร้างสรรค์ และพัฒนาขึ้นจากของเดิม แล้วถ่ายทอดสืบต่อมายังคนรุ่นหลัง

     กล่าวได้ว่า วัฒนธรรมมีความสำคัญต่อมนุษย์มากนับตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะวัฒนธรรมเป็นแบบแผนที่ดีงามในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ วัฒนธรรมแต่ละสังคมอาจมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อม ความเชื่อ ค่านิยม ของสังคมนั้นๆ แต่วัฒนธรรมของทุกสังคมล้วนสะท้อนวิถีชีวิตที่ดีงามของคนในสังคมนั้น ทำให้ต้องเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อคนรุ่นหลังจะได้รับรู้และสานต่อวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป

ข้อมูล Cr. หนังสือหน้าที่พลเมืองม.1 อักษรเจริญทัศน์ อจก.