หักภาษีจากเงินเดือน คิดยังไง

ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

หักภาษีจากเงินเดือน คิดยังไง

  • ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
  • ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
  • Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
  • ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
  • ดูรีวิวจากลูกค้า
  • About me

สารบัญ

  1. การหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร
  2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร
  3. วิธีคำนวณการหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา (กรณีเงินเดือน)
  4. สรุปการหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา

การหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ผู้จ่ายเงินต้องหักเงินผู้รับเอาไว้บางส่วนหากเป็นเงินได้ตามที่กฎหมายกำหนดให้หัก ณ ที่จ่าย และนำเงินที่หักเอาไว้นั้นนำส่งให้แก่กรมสรรพากร

ดังนั้นในกรณีที่บริษัทมีการจ่ายเงินเดือนและค่าแรงให้แก่พนักงาน ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หรือ 40 (2) ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้บริษัทที่เป็นนายจ้างเป็นผู้ที่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ให้ทำการหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปด้วยแบบ ภงด.1

โดยอัตราที่ต้องใช้ในการคำนวณ การหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา กรณีจ่ายเงินเดือน ค่าจ้างให้แก่พนักงานนั้นจะต้องหัก ณ ที่จ่ายโดยใช้อัตราก้าวหน้า

ทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายได้ที่นี่ : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืออะไร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีบุคคลที่ทุกคนจะต้องเสียให้แก่รัฐหากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด โดยวิธีในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 วิธีดังต่อไปนี้

  1. วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเหมา
  2. วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิแบบขั้นบันได

โดยหลักการจะต้องมีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้ง 2 วิธีข้างต้นนี้เปรียบเทียบกัน โดยวิธีใดได้ตัวเลขภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่สูงกว่า ให้ใช้วิธีดังกล่าวในการคำนวณเพื่อเสียภาษี

ทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้ที่นี่ : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณอย่างไร

วิธีคำนวณการหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา (กรณีเงินเดือน)

ตามที่ได้อธิบายไปแล้ว ว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา กรณีเงินเดือนนั้นจะหัก ณ ที่จ่ายโดยใช้อัตราก้าวหน้า ซึ่งจะเป็นการหัก ณ ที่จ่ายที่แตกต่างจากเงินได้ประเภทอื่นที่จะนำจำนวนเงินได้ มาคูณกับอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด

สำหรับหลักการคำนวณ การหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดาแบบอัตราก้าวหน้า คือบริษัทจะต้องทำการประมาณการเงินได้ของพนักงานทั้งปี หักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานทั้งปีออกมา หลังจากนั้นให้นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาหาร 12 เพื่อเฉลี่ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากรายปีให้เป็นรายเดือน ตัวเลขที่คำนวณได้นี้จะเป็น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดากรณีเงินเดือนของแต่ละเดือนที่ทางบริษัทจะต้องหักจากพนักงานและนำส่งกรมสรรพากร

ยกตัวอย่างเช่น นาย A มีเงินได้พึงประเมินจากเงินเดือน 40(1) เดือนละ 200,000 บาท ต่อเดือน

สำหรับรายละเอียดค่าลดหย่อนของนาย A มีดังนี้

  1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  2. ค่าลดหย่อนบิดา 30,000 บาท
  3. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป 40,000 บาท
  4. ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย 20,000 บาท

ขั้นแรก :  ลองคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งปีของนาย A

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

เงินได้พึงประเมิน = 200,000 x 12 = 2,400,000 บาท

ค่าใช้จ่าย = ตามกฎหมายการหักค่าใช้จ่ายเงินเดือน 40(1) หักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้นนาย A จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ที่ 100,000 บาท

ค่าลดหย่อนตามที่ตัวอย่างกำหนด = ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 + ค่าลดหย่อนบิดา 30,000 + เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป 40,000 + ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย 20,000 = ค่าลดหย่อนทั้งสิ้น 150,000 บาท

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน 2,400,000 – ค่าใช้จ่าย 100,000 – ค่าลดหย่อน 150,000 = เงินได้สุทธิ 2,150,000 บาท

ขั้นที่ 2 : เมื่อคำนวณเงินได้สุทธิแล้ว ให้นำเงินได้สุทธิดังกล่าวไปเข้าตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อคำนวณภาษีทั้งปีของนาย A ซึ่งแสดงได้ตามตารางดังต่อไปนี้

หักภาษีจากเงินเดือน คิดยังไง

ขั้นที่ 3 : เมื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งปีออกมาแล้ว ให้นำภาษีที่คำนวณได้ยอด 410,000 บาท นำมาเฉลี่ยเป็นรายเดือน ดังนี้

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายบุคคล = 410,000 / 12 = 34,166.67 บาท ต่อเดือน

ดังนั้นในการจ่ายเงินเดือนในแต่ละรอบ ทางบริษัทจะต้องหักเงินนาย A เอาไว้เดือนละ 34,166.67 บาท และนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา โดยใช้แบบ ภงด.1 และนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

รายได้รวมตลอดทั้งปี ตั้งแต่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม ทั้งรายได้จากงานประจำและรายได้เสริมอื่น ๆ เช่น ปล่อยค่าบ้าน

หักภาษีจากเงินเดือน คิดยังไง

ต้นทุนในการทำธุรกิจ หรือหากรับเป็นเงินเดือนสามารถหักลดค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยไม่เกิน 100,000 บาท 

หักภาษีจากเงินเดือน คิดยังไง

สิทธิขอลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนพื้นฐาน, ครอบครัว, การลงทุน, กองทุน หรือแม้แต่การทำประกัน 

หักภาษีจากเงินเดือน คิดยังไง

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคิดอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได หรือแบบเหมาจ่าย ขึ้นอยู่กับว่าแบบใดจะเสียภาษีมากกว่าให้ยึดจ่ายตามนั้น

คำนวณหาเงินได้สุทธิบุคคลธรรมดา

สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนเริ่มคำนวณภาษีคือการคำนวณรายได้สุทธิ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการลดภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปี แถมยังช่วยให้เราได้เงินคืนหากเราถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งมีสูตรง่าย ๆ ดังนี้

สูตรการคำนวณหาเงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งปี-หักค่าใช้จ่าย-หักค่าลดหย่อน

สมมติว่า นาย A เป็นพนักงานเงินเดือนมีรายได้ทั้งปีรวมกัน 300,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 100,000 บาท และมีรายการลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท ประกันสังคม 9,000 บาท ไม่มีกองทุนหรือประกันอื่น ๆ

เงินได้สุทธิ  = เงินได้ทั้งปี-หักค่าใช้จ่าย-หักค่าลดหย่อน

300,000-100,000-(60,000+9,000) = 131,000 บาท

เท่ากับว่า นาย A จะมีรายได้สุทธิ 131,000 บาทต่อปี ก็จะนำจำนวนดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับตารางภาษีขั้นบันไดแล้วดูว่าตัวเองต้องเสียภาษีถึงขั้นไหน ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าถ้าเรานำค่าเบี้ยประกัน หรือกองทุนที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ นอกจากจะช่วยลดภาษีในแต่ละขั้นลงแล้ว จะช่วยลดภาษีที่ต้องจ่ายได้มากเลยทีเดียว เนื่องจากการคำนวณอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันไดจะคิดไล่จากปริมาณภาษีที่ละขั้น โดยไล่จากขั้นที่น้อยที่สุดไปหาขั้นที่สูงขึ้น สรุปก็คือยิ่งจำนวนขั้นภาษีที่ต้องจ่ายน้อยเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเสียภาษีน้อยเท่านั้น

สูตรการคำนวณหาเงินได้สุทธิ

ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

โดยปกติการคำนวณภาษีจะใช้การคำนวณแบบอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันไดเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นผู้ที่เสียภาษีนั้นมีรายได้เพิ่มขึ้นจากช่องทางอื่น ๆ เช่น ค่าปล่อยเช่าบ้าน ค่างานพิเศษ หรืองานเสริม จึงจะต้องคำนวณภาษีอีกแบบเพิ่มขึ้นมานั้นก็คือ การคำนวณภาษีแบบเหมา 

วิธีที่ 1 คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบขั้นบันได (ฉบับย่อ)

เนื่องจากการคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดมีวิธีการคำนวณที่ยุ่งยากหลายขั้นตอน อาจไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ เพราะต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจ อาจสับสนได้ยิ่งเวลามีตัวเลขเยอะ ๆ วันนี้จึงขอนำเสนอสูตรคำนวณภาษีง่าย ๆ ที่สามารถคำนวณได้ด้วยตัวเอง 

สูตรการคำนวณหาภาษีที่ต้องจ่าย

[ (เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิสูงสุดในขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี ] + ภาษีสะสมที่ต้องจ่ายในขั้นก่อนหน้า

เพียงหารายได้สุทธิที่ผ่านการหักลบค่าลดหย่อนภาษีเรียบร้อยแล้ว นำมาเปรียบเทียบตารางด้านล่างว่าอยู่ในช่วงไหน จากนั้นก็นำเงินได้สุทธิของตัวเองไปคำนวณในสูตรได้เลย เพียงเท่านี้เราก็จะรู้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในปีนั้นแล้ว

(เงินได้สุทธิ – 150,000) x 0.05

[ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x 0.10 ] + 7,500

[ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x 0.15 ] + 27,500

[ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x 0.20 ] + 65,000

[ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x 0.25 ] + 115,000

[ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x 0.30 ] + 365,000

[ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x 0.35 ] + 1,265,000

วิธีที่ 2 คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบเหมา 0.5%

หากผู้ที่มีเงินได้จากช่องทางอื่น ๆ นอกจากเงินได้ประเภทที่ 1 หรือเงินเดือน รวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป จะต้องคำนวณภาษีแบบเหมาในอัตราร้อยละ 0.5 ด้วยโดยนำรายได้ต่าง ๆ มารวมกันแล้วคูณด้วย 0.005 เพื่อที่จะหาค่าภาษีที่ต้องจ่าย และถ้าหากไม่เกิน 5,000 บาทจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าไม่มีรายได้อื่น ๆ สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย

ภาษีแบบเหมา = (เงินได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.005

เมื่อคำนวณเสร็จแล้วให้นำภาษีที่ต้องจ่ายมาเปรียบเทียบกันดูว่าวิธีไหนต้องเสียภาษีมากกว่า ให้เลือกเสียภาษีตามวิธีนั้น

หักภาษีเงินเดือน คิดยังไง

ให้นายจ้างคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายโดยอิงจากฐานเงินเดือนของพนักงานที่จะได้รับตลอดทั้งปี แล้วหักด้วยสิทธิหัก ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน ที่แจ้งว่าจะใช้สิทธิ์ตลอดทั้งปี เมื่อคำนวณได้ค่าภาษีประจำปีแล้ว จึงนำมาหารเฉลี่ยตามจำนวนงวดที่จ่าย ค่าภาษีที่คํานวณได้ ÷ จํานวนงวด = ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เงินเดือน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ไหม

- เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี - เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี - เงินเดือนเกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี หักภาษี ณ ที่จ่าย และต้องเสียภาษี - หากไม่ได้จ่ายประกันสังคม และเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี

ภงด.2 หักกี่เปอร์เซ็นต์

สำหรับอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายนั้นอยู่ที่ 15% ยกเว้นเงินปันผลอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอยู่ที่ 10%

แบบ ภ.ง.ด.53 คืออะไร

.ง.ด.53 คือแบบที่ใช้สำหรับการยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้รับเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล