ผู้บริหารมีการบริหารอย่างไร

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ผู้บริหาร   คือ   บุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตามกระบวนการบริหาร ประกอบด้วยกลุ่มของกิจกรรมต่างๆ อันประกอบด้วย การวางแผน การจัดการ การสั่งการ และการควบคุม สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
            1) ผู้บริหารระดับสูง
            2) ผู้บริหารระดับกลาง
            3) ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (หัวหน้างาน)

ผู้บริหารมีการบริหารอย่างไร

ภาพที่ 2.1 องค์กร 3 ระดับ

                ผู้บริหารระดับสูง กำหนดภารกิจมอบให้ผู้บริหารระดับรองลงมาปฏิบัติตามลำดับขั้นจนถึงระดับปฏิบัติการ   ส่วนการวางแผนปฏิบัติการให้รวบรวมแผนงานจากระดับปฏิบัติการ เพื่อกำหนดเป็นกลยุทธ์เสนอระดับสูงขึ้นไปในระดับผู้บริหารเบื้องต้น   เรียกการบริหารเหล่านี้ว่า การบริหารจากล่างขึ้นบน
                1) ผู้บริหารระดับสูง คือ ผู้ที่ใช้ทักษะด้านความคิด ใช้ความสามารถในการบริหารองค์การวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ    ปรับปรุงแก้ไข   เพิ่มประสิทธิภาพนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นผู้นำขององค์กร
                2) ผู้บริหารระดับกลาง คือ ผู้ที่ต้องใช้ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ในการประสานสัมพันธ์ทำให้เกิดการทำงานในระบบของกลุ่มหรือฝ่ายโดยใช้ความเข้าใจการจูงใจในลักษณะของผู้นำ
                3) ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ คือ ผู้ที่ต้องใช้ทักษะด้านความรู้ความสามารถในการใช้วิธีการเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ จากความชำนาญประสบการณ์ ใช้ทักษะด้านเทคนิค  รู้กรรมวิธี ขั้นตอนการผลิตอย่างดี ทักษะเหล่านี้ถือเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการงาน
            โดยทั่วไปในองค์กรขนาดใหญ่ จะมีผู้บริหารทั้งสามระดับ แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบผู้บริหารระดับปฏิบัติการจะเป็นผู้ใกล้ชิดพนักงานมากที่สุดดังนั้น จึงถือเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจก้าวสู่ความสำเร็จได้ง่ายหากทุกคนร่วมใจทุ่มเทและผู้บริหารในระดับสูงจะเป็นผู้นำ กำหนดแนวทางให้ธุรกิจนั้นมุ่งสู่เป้าหมายนั้นได้
             ความสัมพันธ์ของการบริหารในการวางแผน
 โครงสร้างของการบริหารงานภายในองค์กรนี้แบ่งออกเป็นผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหารระดับกลางคือระดับฝ่าย และผู้บริหารระดับปฏิบัติการคือระดับแผนก  แยกย่อยลงมาตามลำดับ
            บทบาทของผู้บริหารและวงจรในการบริหารธุรกิจ
            - บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหาร
องค์กรธุรกิจต้องมีการบริหาร   จัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ผู้บริหารต่างๆ จะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบใน 4 ด้าน ได้แก่
            1) การวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนแรกในการกำหนดทางเลือกต่างๆ ที่จะทำให้ธุรกิจไปสู่เป้าหมายอาจเป็นตัวเลขทางการเงินหรือไม่ใช่ตัวเลขทางการเงิน เช่น ผลกำไรสำหรับผู้ถือหุ้น การนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพในราคาตำ ทั้งนี้อยู่ที่ผู้บริหารต้องพิจารณาตามความเหมาะสม โดยปกติการกำหนดแผนงานขององค์กรจะอยู่ในรูปแบบของงบประมาณ ซึ่งการจัดทำงบประมาณเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนธุรกิจโดยมีแผนกบัญชี หรือแผนกงบประมาณ  หรือแผนกพัฒนาธุรกิจซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะจัดทำงบประมาณเป็นรายเดือนและรายปี
            2) การจัดหาทรัพยากร (Organizing Resources) หลังจากพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับกิจการ ผู้บริหารจะต้องพิจารณาถึงทรัพยากร อันได้แก่   ความพร้อมในเรื่องของสถานที่ บุคลากร เงินทุน ในการที่จะวางแผนอย่างระมัดระวัง โดยอาศัยนักบัญชีบริหารเสนอแนะ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการขาย  รายได้ ต้นทุน กำไร และการตัดสินใจกำหนดเป็นแผนงานขององค์กรในรูปของงบประมาณ  งบประมาณจึงเป็นสื่อที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยดูความพร้อมของตนเอง
            3) การสั่งการและการจูงใจ (Directing) นอกจากการบริหารซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับการตัดสินใจแล้วผู้บริหารยังมีหน้าที่ดูแลงานประจำวันให้ดำเนินไปด้วยความราบรื่นโดยอาศัยความสามารถในการชี้นำ ชักจูง สร้างแรงจูงใจ ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้มีการรายงานยอดขายประจำวัน เนื่องจากเป็นลักษณะงานที่เกิดขึ้นประจำวัน เพื่อปรับกลยุทธ์การแข่งขันแบบวันต่อวัน
            4) การควบคุมการดำเนินงาน (Controlling Operations) เป็นการประเมินและติดตามแผนงานเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่ามีการปฏิบัติงานจริงตามแผนที่ตั้งไว้หรือไม่ สิ่งสำคัญของการควบคุมก็คือ ข้อมูลย้อนกลับ จะเป็นสัญญานบอกถึงการปฏิบัติงานว่าสามารถปฏิบัติได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่อาจอยู่ในรูปของรายงานการปฏิบัติงาน หรือ รายงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งแสดงการเปรียบเทียบผลงานที่ปฏิบัติจริงกับงบประมาณที่กำหนดไว้ล่วงหน้ารายงานนี้จะบอกถึงข้อดีข้อเสียเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไข ให้เกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นซึ่งผลต่างที่เกิดขึ้นจะต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขเช่น การดำเนินงานขายของสาขา ใหม่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ก็ต้องมีการกลับไปทบทวนในเรื่องวิธีการขายการส่งเสริมการขาย หรืออาจกำหนดเพื่อเป็นแนวทางสำหรับแผนงานปีต่อไป

ผู้บริหาร ต้องมีอะไรบ้าง

คุณสมบัติ 10 ข้อ สำหรับการก้าวเป็นผู้บริหารที่ดีมีลักษณะอย่างไร?.
มีภาวะผู้นำ ... .
มีเมตตาธรรม ... .
ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง ... .
เป็นนักคิด นักวิเคราะห์ ... .
มีการสร้างวิสัยทัศน์ ... .
มีทักษะหลายด้าน ... .
รอบรู้และมีข้อมูลที่ทันสมัย ... .
รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ทันสมัย.

ผู้บริหารระดับต้น มีอะไรบ้าง

(ผู้บริหารระดับต้น หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่ง รองคณบดีฝ่ายต่างๆ หัวหน้าภาควิชา ผู้อำนวยการ

ผู้บริหารมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ผู้บริหาร คือ บุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตามกระบวนการบริหาร ประกอบด้วยกลุ่มของกิจกรรมต่างๆ อันประกอบด้วย การวางแผน การจัดการ การสั่งการ และการควบคุม สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ผู้บริหารระดับสูง 2) ผู้บริหารระดับกลาง 3) ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (หัวหน้างาน)

หน้าที่การบริหารประกอบด้วยอะไรบ้าง

หน้าที่ของนักบริหารปรากฏอยู่ในคำจำกัดความที่ว่า "การบริหารหมายถึงศิลปะแห่งการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยคนอื่น" นักบริหารมีหน้าที่วางแผน จัดองค์การอำนวยการและควบคุมทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรอื่นๆ ให้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้