หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

ภายในหนึ่งประเทศ ก็จะต้องมีการแบ่งหน้าที่ดูแลออกเป็นกรม, กอง รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ของตนพร้อมดูแลตามงานที่ได้รับมอบหมายในด้านต่างๆ อย่างดีที่สุด ซึ่งหนึ่งในกรมของประเทศไทยที่มีความสำคัญ มีหน้าที่ช่วยในการดูแลกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมทั้งดูแลในเรื่องของการค้าขาย ดูแลกิจการธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทย ก็คือกรมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับวันนี้เรามาทำความรู้จักกับความเป็นมาและหน้าที่ของกรมการค้าต่างประเทศ ของไทยให้ดีมากขึ้นกันดีกว่า

กรมการค้าต่างประเทศแห่งประเทศไทย

กรมการค้าต่างประเทศในประเทศไทย ได้รับการก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2485 โดยมีจุดมุ่งหมายในช่วงแรก คือ งานทางด้านดูแลเศรษฐกิจ รวมทั้งการค้า,การส่งออก, การนำเข้า ต่างๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นไปตามกฎหมาย พร้อมทั้งรักษาสิทธิ์ผลประโยชน์ของผู้ประกอบการในประเทศ

เป็นเวลาอันแสนยาวนานกว่า 75 ปีแล้ว จากระยะเวลาที่เช่นนี้ จึงทำให้กรมการค้าต่างประเทศแห่งประเทศไทย จำเป็นต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงาน เพื่อให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ต่อมาในปี 2019 ซึ่งเป็นประเทศไทยในยุค 4.0 ก็ทำให้กรมการค้าต่างประเทศต้องมีการปรับตัวอีกรอบหนึ่งเพื่อให้เข้ากับยุค 4.0

หน้าที่ของกรมการค้าต่างประเทศแห่งประเทศไทย ทั้ง 4 ยุค

  • ยุค 1.0 หน้าที่หลัก คือ คอยควบคุมสินค้า การส่งออกของสินค้า ในยุคนั้นซึ่งเป็นสินค้าเกษตรกรรม
  • ยุค 2.0 หน้าที่หลัก คือ กำหนดระเบียบสินค้าให้เป็นไปตามระบบที่วางรากฐานเอาไว้ ซึ่งสินค้าหลักในยุคนี้ก็คืออุตสาหกรรมเบา
  • ยุค 3.0 หน้าที่หลัก คือ คอยอำนวยความสะดวกให้แก่สินค้าหลัก ซึ่งก็คืออุตสาหกรรมหนัก โดยเน้นในการส่งออกไปยังต่างประเทศ
  • 0 หน้าที่หลัก คือ เป็นผู้ให้คำปรึกษาในเรื่องเกี่ยวกับสินค้าส่งออก – นำเข้า รวมทั้งการบริการที่เน้นในเรื่องของนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นหลัก

เพราะฉะนั้นเมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ ก็ทำให้สามารถสรุปได้ว่า ภารกิจหลักและงานที่กรมการค้าต่างประเทศปฏิบัติเป็นหลักตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน คือ การควบคุมการนำเข้าสินค้า ด้วยการกำหนดรายการสินค้าที่จะควบคุมโดยควบคุมงานนำเข้าเอาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าทางด้านเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรมก็ตาม สามารถอนุญาตให้เป็นสินค้านำเข้าทั่วไปได้ โดยไม่ต้องรอขอใบอนุญาตหากแต่สินค้าที่เหลือต้องขอใบอนุญาต เพื่อทำให้ตรวจสอบได้ในยามที่เกิดปัญหา และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง แต่ไม่ว่าจะเป็นยุคไหนก็ตามหน้าที่ ของกรมการค้าต่างประเทศแห่งประเทศไทย ก็คือ จำต้องบริหารจัดการการส่งออกสินค้า ‘ข้าว’ ในประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุดพร้อมทั้งต่อต้านต่อต้านสินค้าที่จะเข้ามาทำตลาด เนื่องจากข้าวคือสินค้าส่งออกหลักอีกประเภทหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทางกรมการค้าต่างประเทศ จำต้องใช้มาตรการเข้มแข็ง ในการปกป้องอุตสาหกรรมภายในให้ส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง โดยสินค้านำเข้าปัจจุบันที่เป็นยุค 4.0 นี้ กรมการค้าต่างประเทศอาจไม่ได้มีภาระหน้าที่หลัก ในการกำกับดูแลการผลิตสินค้าอีกต่อไปแล้ว แต่จะเน้นดำเนินเศรษฐกิจที่เดินหน้าด้วยนวัตกรรมแทน

ปี 2495 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมการค้าต่างประเทศในกระทรวงเศรษฐการ พ.ศ.2495 ให้ไว้ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2495 โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 7 กอง ได้แก่ สำนักงานเลขานุการกรม กองการค้าขาเข้า กองการค้าขาออก กองมาตรฐานสินค้า กองควบคุมสินค้า กองพาณิชยกิจต่างประเทศและสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    2497

    ปี 2497 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมการค้าต่างประเทศ ในกระทรวงเศรษฐการ พ.ศ.2497 ให้ไว้ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2497 โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 6 กอง โดยโอนสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศไปขึ้นกับสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    2515

    ปี 2515 ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 266 ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 โดยแบ่งส่วนราชการกรมการค้าต่างประเทศออกเป็น 7 กอง ได้แก่ สำนักงานเลขานุการกรม กองการค้าข้าว กองการค้าขาเข้า กองส่งเสริมสินค้าออก กองควบคุมสินค้า กองมาตรฐานสินค้า และกองพาณิชยกิจต่างประเทศ

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    2522

    ปี 2522 ก.พ. ได้อนุมัติให้ตำแหน่งใหม่ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2523 ให้กับสำนักงานการค้าต่างประเทศ ณ ท่าอาศยานเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานการค้าต่างประเทศ ณ ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยให้เป็นหน่วยงานสังกัดราชการบริหารส่วนกลาง แต่มี สำนักงานตั้งอยู่ที่ส่วนภูมิภาค ปฏิบัติงานในฐานะตัวแทนของกรมในภูมิภาค มีสาขางานขึ้นตรงต่อกรมการค้าต่างประเทศ

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    2528

    ปี 2528 กรมได้แบ่งงานใหม่เป็นการภายในโดยงานของกองส่งเสริมสินค้าออกที่เกี่ยวกับงานบริหารโควตาสิ่งทอทั้งหมดกำหนดให้เป็นหน่วยงานแยกต่างหากจากกองส่งเสริมสินค้าออก เป็น สำนักสิ่งทอ และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกองการค้าสิ่งทอ และได้จัดตั้งหน่วยงานในภูมิภาคเพิ่มขึ้นคือสำนักงานการค้าต่างประเทศภาคใต้ จังหวัดสงขลา สำนักงานมาตรฐานสินค้าสาขาภาคตะวันออกก จังหวัดชลบุรี หน่วยตรวจสอบมาตรฐานสินค้าภาคใต้ จังหวัดสงขลาและ หน่วยตรวจสอบมาตรฐานสินค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    2532

    ปี 2532 ได้จัดตั้งสำนักงานการค้าต่างประเทศ จังหวัดขอนแก่น

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    2533

    ปี 2533 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2533 ให้ไว้ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2533 โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 12 กอง ได้แก่ สำนักงานเลขานุการกรม กองคลัง กองการค้าธัญพืช กองการค้าสิ่งทอ กองการค้าสินค้าข้อตกลง กองการค้าสินค้าทั่วไป 1 กองการค้าสินค้าทั่วไป 2 กองตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและกองสิทธิประโยชน์ทางการค้า

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    2534

    ปี 2534 ได้จัดตั้งหน่วยงานและแบ่งงานภายในขึ้นใหม่รวม 2 กอง คือ กองนโยบายและแผน และกองบริหารงานข้อมูล เพื่อรองรับภารกิจที่เพิ่มขึ้น

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    2541

    ปี 2541 ได้เริ่มกำหนดวิสัยทัศน์ในการดำเนินงาน ตามแนวทางการบริหารราชการยุคใหม่คือ "เป็นองค์กรหลัก ในการส่งเสริม ปกป้องรักษาผลประโยชน์ทางการค้า และบริหารการส่งออกนำเข้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    2542

    ปี 2542 กรมได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2542 กำหนดส่วนราชการภายใน และหน้าที่รับผิดชอบ ให้รองรับกับวิสัยทัศน์และภารกิจที่ปรับปรุงใหม่ เป็น 4 สำนัก 7 กอง ได้แก่ สำนักบริหารการนำเข้าและส่งออก สำนักปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้า สำนักพัฒนานโยบายมาตรการและระบบสารสนเทศ สำนักงานเลขานุการกรม กองคลัง กองการค้าธัญพืช กาองการค้าสิ่งทอ กองการค้าสินค้าข้อตกลง กองการค้าสินค้าทั่วไป กองตรวจสอบและมาตรฐานสินค้า กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    2545

    ปี 2545 ได้ออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2545 แบ่งส่วนราชการกรมการค้าต่างประเทศ ออกเป็น 6 สำนัก 5 กอง ได้แก่ สำนักมาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า สำนักบริการการค้าต่างประเทศ สำนักมาตรการพิเศษทางการค้า สำนักมาตรการนำเข้า-ส่งออกสินค้าทั่วไป สำนักการค้าข้าวต่างประเทศ สำนักเลขานุการกรม กองมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก กองการค้าสินค้าข้อตกลง กองการค้าสิ่งทอ กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กองคลัง และจัดตั้งส่วนราชการภายในเพิ่มอีก 3 กอง ตามคำสั่งกรมที่ 230/2545 ได้แก่ กองนโยบายและแผน กองเทคโนโลยีและสารสนเทศ และกองนิติการ

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    2548

    ปี 2548 กรมได้มีคำสั่ง ที่ 32/2548 และที่ 163/2548 กำหนดส่วนราชการภายในกรมใหม่โดยแบ่งออกเป็น 11 สำนัก 4 กองได้แก่ สำนักมาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า สำนักบริการการค้าต่างประเทศ สำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก สำนักมาตรการทางการค้า สำนักป้องกันแอบอ้างสิทธิ สำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า สำนักบริหารการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไป สำนักบริหารการค้าสินค้าธัญพืชและสินค้าข้อตกลง สำนักงานเลขานุการกรมสำนักส่งเสริมการค้าชายแดนและมาตรการพิเศษทางการค้า สำนักนโยบายและบริหารการนำเข้าสินค้า กองคลัง กองเทคโนโลยีสารสนเทศ กองนโยบายการค้าและพัฒนาระบบบริหาร และกอง

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    2550

    ปี 2550 ได้กำหนดวิสัยทัศน์การดำเนินงานใหม่ ให้เหมาะสมกับบทบาทภารกิจที่รับผิดชอบ อันเนื่องจากสถานการณ์ทางการค้าโลกได้เปลี่ยนแปลงไป เป็น "ปกป้องและอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ"

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    2551

    ปี 2551 กรมมีคำสั่งที่ 12/2551 ปรับปรุงชื่อของบางสำนัก/กองใหม่ ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับภารกิจมากขึ้น รวม 9 สำนัก 2 กอง ได้แก่ สำนักบริหารงานคลัง สำนักบริหารการนำเข้า สำนักมาตรการทางการค้า สำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า สำนักบริหารการค้าข้าว สำนักบริหารการค้าสินค้าทั่วไป สำนักตอบโต้การทุ่มตลาดสำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กองนโยบายการค้าและพัฒนาระบบบริหาร และกองกฎหมาย

  • 2552

    ปี 2552 ปลายปี 2551 ได้ทบทวนภารกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการค้า และได้กำหนดวิสัยทัศน์การดำเนินงาน คือ "เป็นองค์กรระดับสากล ในการปกป้อง อำนวยความสะดวกเพื่อให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างยิ่งยืน" และได้ออก ออกคำสั่งที่ 318/2551 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2551 กำหนดชื่อสำนัก/กองและหน้าที่ความรับผิดชอบให้เหมาะสม ประกอบด้วย 12 สำนัก 2 กอง คือ สำนักงานเลขานุการกรม สำนักบริหารงานคลัง สำนักบริหารการนำเข้า สำนักมาตรการทางการค้า สำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า สำนักบริหารการค้าข้าว สำนักบริการการค้าต่างประเทศ สำนักบริหารการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไป สำนักปกป้องและตอบโต้ทางการค้า สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กองนโยบายการค้าและพัฒนาระบบริหาร กองเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนัก

  • หน่วยงานที่ มี หน้าที่ ควบคุม การค้า กับต่างประเทศ

    ปัจจุบัน จากสถานการณ์ที่ผันผวนของการค้าระหว่างประเทศ ทำให้โครงสร้างการแบ่ง ส่วนราชการ ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการค้าต่างประเทศ พ.ศ.2545 ไม่สอดคล้อง และเหมาะสมกับความเป็นจริง กรมจึงได้ดำเนินการปรับปรุงบทบาทภารกิจและนำเสนอ โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใหม่ ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบคณะทำงานแบ่งส่วนราชการ กรมการค้าต่างประเทศแล้ว และอยู่ระหว่างการนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้าง ระบบราชการของกระทรวงพาณิชย์ต่อไป

  • Department of Foreign Trade,Ministry of Commerce 563 Nonthaburi Rd., Amphur Muang, Nonthaburi 11000 Tel. 02-5474771-86, Fax 02-5474791-2