โครงงานประวัติศาสตร์ เรื่อง บุคคลสําคัญ

          นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการใช้สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ ผ่านการลงพื้นที่และลงมือปฏิบัติ ซึ่งการศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐานนั้นสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบัน สอดรับกับแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นการศึกษาที่เตรียมความพร้อมสำหรับประชากรในอนาคต

การสอนประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าเราไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ไปเพื่อสำนึก และทราบซึ้งในความเป็นชาติดังที่เขาสร้างกับดักไว้ แต่ประวัติศาสตร์ให้อะไรได้มากกว่าที่คิด หากเราเลือกใช้วิธีการสอนที่สอดคล้อง และเหมาะสม

รายวิชาประวัติศาสตร์ ม.3 กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความสนใจ

เป็นการสร้างสิ่งซึ่งเร้าให้นักเรียนเกิดความสนใจ โดยควรเริ่มจากการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะเด็กไม่ค่อยอินกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ จึงเริ่มด้วยการใช้คำถาม เนื่องจากหลายปีก่อนในหมู่บ้านพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ และเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาบ จึงให้เด็ก ๆ ที่พอทราบเหตุการณ์เล่าให้ฟัง เพื่อนเริ่มเสริม เติม แต่งเหตุการณ์ กระทั่งเกิดความสนใจที่มากพอจึงโยงเข้าสู่การศึกษาความเป็นท้องถิ่น

โครงงานประวัติศาสตร์ เรื่อง บุคคลสําคัญ

โครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

เรื่อง ประวัติวัดหนองแวงพระอารามหลวง

จัดทำโดย

นางสาวนันทิวา  อ่อนเหลา    ม.๕/๑      เลขที่๒๕

เสนอ

แม่ครูวัชราพร   ศรีเมืองบุญ

โรงเรียนฝางวิทยายน อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๒๕

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

บทคัดย่อ

    โครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง ประวัติวัดหนองแวงพระอารามหลวง เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ประวัติศาสตร์บูรณการกับวิชาโครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ให้คนรุ่นหลัง หรือบุคคลที่สนใจศึกษาต่อในโอกาสต่อไป หากผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

 

 

ผู้จัดทำ

 

 

กิตติกรรมประกาศ

โครงงานฉบับนี้สำเร็จด้วยความกรุณาจากแม่ตรู วัชราพร ศรีเมืองบุญที่ได้ให้คำแนะนำในการศึกษาวิธีการทางประวัติศาสตร์ ทั้งยังร่วมชี้แนะแนวทางแก้ไข้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจนสำเร็จได้ด้วยดี และยังได้ความรู้จาก พระอาจารย์นนธนากร (ภิกษุวัด) ที่ได้ให้ข้อมูลวัด ความเป็นมาต่างๆของวัดอีกด้วย และคณะผู้จัดทำยังได้สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตจากหลายๆเว็บไซต์เพื่อใช้อ้างอิงจนโครงงานฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยดี ทางคณะผู้จัดทำโครงงานจึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

คุณค่าและประโยชน์อันพึงประสงค์ของโครงงานฉบับนี้ คณะผู้จัดทำขอมอบเป็นความกตัญญูที่ได้ทำโครงงานนี้แด่บิดา มารดา ครู อาจารย์และผู้ที่มีพระคุณทุกท่าน

 

                                                                                                                                                                                                                                                  สารบัญ

 

บทที่หน้า1.             บทนำ52.             ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง63.             วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ74.             ผลการศึกษาค้นคว้า85.             สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ14ภาคผนวก15บรรณานุกรม19

 

บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโตรงงาน

จากที่คณะผู้จัดทำได้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรื่องของวัดหนองแวงพระอารามหลวง ที่เป็นวัดที่มีประชาชนเข้าไปทำบุญมากที่สุดวัดหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว และยังมีพระมหาธาตุถึง 9 ชั้น แต่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงประวัติความเป็นมาของวัด ดังนั้นคณะผู้จัดทำได้ปรึกษากันว่า ถ้าหากเราได้ศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของวัดแล้วนำมาเสนอหรือเผยแพร่ให้ทุกคนได้ทราบถึงประวัติเพื่อที่จะได้มีความรู้อย่างท่องแท้เกี่ยวกับวัดหนองแวงพระอารามหลวง

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดหนองแวงพระอารามหลวง
  2. เพื่อนำมานำเสนอและเผยแพร่แก่ผู้ที่มาศึกษาโครงงานนี้

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้ทราบประวัติความเป็นมาของวัดหนองแวงพระอารามหลวง
  2. ผู้ที่มาศึกษาโครงงานนี้จะได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติวัดหนองแวงพระอารามหลวง
  3. เป็นการส่งเสริมการทำโครงงานกับประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น

 

 

บทที่ 2

ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้องแผ่นพับ

แผ่นพับนี้ได้จากวัดหนองแวงพระอารามหลวง ซึ่งมีข้อมูลอยู่คร่าวๆแต่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้เพราะเป็นหลักฐานที่มีลายลักษณ์อักษรอยู่และยังมีข้อมูลที่เป็นจริงอีกด้วย

 

แบบสัมภาษณ์

แบบสัมภาษณ์นี้คณะผู้จัดทำได้สัมภาษณ์กับพระอาจารย์รูปหนึ่งชื่อ พระอาจารย์ นนธนากร (ภิกษุวัด) ที่ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประวัตของวัด

 

บทที่ 3

วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ

วัสดุอุปกรณ์

  1. แบบสัมภาษณ์
  2. แผ่นพับ

 

วิธีการดำเนินการ

  1. เดินทางไปที่วัดหนองแวงพระอารามหลวง
  2. สอบถามข้อมูลประวัติของวัดกับพระอาจารย์
  3. นำแผ่นพับจากที่วัดให้มาเป็นหลักฐาน
  4. ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ต
  5. นำข้อมูลทั้งหมดมาประเมินคุณค่าของหลักฐาน
  6. วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล
  7. นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นรูปเล่มและนำเสนอ

 

บทที่ 4

ผลการศึกษาค้นคว้า

อาณาเขตและที่ตั้ง

โครงงานประวัติศาสตร์ เรื่อง บุคคลสําคัญ

 

 

ทิศเหนือ               ยาว 135 เมตร จดถนนหนองแวงพัฒนา

  ทิศใต้                    ยาว 160.50 เมตร จดล่องน้ำและที่ดิน นายพิศ วรราช

ทิศตะวันออก        ยาว 151.40 เมตร กับ 120.80 เมตร จดถนนรอบบึง

                              แก่นนคร และที่ดิน นางทองม้วน บุตรกสก

ทิศตะวันตก          ยาว 246.70 เมตร ติดถนนกลางเมือง

แผนที่การเดินทาง

โครงงานประวัติศาสตร์ เรื่อง บุคคลสําคัญ

 

 

 การเดินทางจากโรงเรียนฝางวิทยายน

 

  เดินทางไปตามถนนมะลิวัลย์เลี้ยวขวาไปตามทางเลี่ยงเมืองตรงไปเรื่อยๆผ่านถนนมิตรภาพแล้วเลี้ยวไปตามถนนเมืองเก่า

 

 ประวัติวัดหนองแวงพระอารามหลวง

       ตั้งอยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก่นนคร อำเภอเมือง ภายในวัดหนองแวงเมืองเก่าซึ่งเป็นพระอารามหลวง มีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้นฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 50 เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และ มหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานปากแห วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2332 พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) พ.ศ. 2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา ปัจจุบันตั้งอยู่ เลขที่ 593 ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2442 โดยพระยานครศรีบริรักษ์(อู๋) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร มีเนื้อที่ดินที่ตั้งวัด 26 ไร่ 65 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์เป็นโฉนด 713 เลขที่ 28 หน้าสำรวจ 794 เล่มที่ 8 หน้า 13 ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบเป็นที่ราบเรียบ เป็นลักษณะ 6 เหลี่ยม มีหมู่บ้านล้อมรอบสามด้าน และมีบึงแก่นนครอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด เคยได้รับรางวัล เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ. 2524 เป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง ปี พ.ศ. 2527

 

รายนามเจ้าอาวาส

  รายนามเจ้าอาวาสตั้งแต่เริ่มก่อสร้างวัดใน ปี พ.ศ. 2332 – ปี พ.ศ. 2421 ไม่ปรากฏนามเจ้าอาวาส เริ่มจากปี พ.ศ.2422 – ปัจจุบัน มีรายนามเจ้าอาวาส ดังนี้   

รูปที่ 1 ท่านพระครูลูกแก้ว พ.ศ. 2422 – พ.ศ. 2436  

รูปที่ 2 ท่านพระอาจารย์เม้า เมืองยโสธร พ.ศ. 2436 – พ.ศ. 2439  

รูปที่ 3 ท่านพระอาจารย์เหลา พ.ศ. 2439 – พ.ศ. 2441

รูปที่ 4 ท่านพระอาจารย์น้อย พ.ศ. 2441 – พ.ศ. 2443  

รูปที่ 5 ท่านพระอาจารย์บุญตา พ.ศ. 2443 – พ.ศ. 2452   

รูปที่ 6 ท่านหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา พ.ศ. 2452 – พ.ศ. 2498

 

ภายในองค์พระธาตุ

มีอยู่ 9 ชั้น คือ

ชั้นที่ 1 เมื่อเดินขึ้นภายในพระธาตุบริเวณชั้นแรก เป็นหอประชุมมีพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานอยู่บนบุษบกและพระประธาน 3 องค์อยู่ตรงกลาง ท่านจะพบกับที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนอุรังคธาตุ (ส่วนอก) และพระธาตุของพระสาวกประมาณ ๑๐๐ องค์ ที่บรรจุอยู่ในโถแก้ว จะอยู่ในตู้กระจกด้านซ้ายมือของที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า ถัดจากโถงตรงกลางมาด้านซ้ายมือประมาณสองเมตร จะเป็นโต๊ะที่เตรียมไว้สำหรับตักบาตร ที่เรียกว่า “ ตักบาตร 108” โดยใช้เหรียญในการตักบาตรนั้น ทั้งนี้เชื่อว่าหากใครได้ตักบาตร ซึ่งสมมติว่าเป็นตัวแทนพระสาวกของพระพุทธเจ้า ทั้ง 108 องค์ และจะเกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เมื่อเดินตรงไปจะเห็นพระประจำวันเกิดมี่ทางวัดนำมาประดิษฐานไว้ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวได้สักการะพระพุทธรูปประจำวันเกิดของตนเอง เพื่อความเป็น ศิริมงคลต่อตนเอง และเมื่อบูชาพระประจำวันเกิดเรียบร้อยแล้ว หากใครต้องการจะทำนายโชคชะตาด้วยตนเอง ก็สามารคเสี่ยงเซียมซีหรือยกช้างทองเหลือง เพื่อเสี่ยงทายว่าจะสมดังปรารถนาหรือไม่

ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวอีสาน โดยเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในอดีตที่ค่อนข้างหาดูได้ยากในปัจจุบัน พร้อมทั้งทีการวาดลวดลายบนผนังที่เกี่ยวกับข้องห้ามของคนอีสาน ที่เรียกว่า “คะลำ” ซึ่งเป็นแนวประพฤติตนในการอยู่ร่วมกันของชาวอีสาน โดยแต่ละภาพก็หมายถึงข้อห้ามแต่ละข้อ ซึ่งมีทั้งหมด 35 ข้อ

ชั้นที่ 3 เป็นหอปริยัติ บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอม เป็นนิทานที่ได้เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณของชาวอีสาน และในชั้นที่สามนี้ได้รวบรวมตาลปัตร พัดยศ และเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดขอนแก่น

ชั้นที่ 4 เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมของเก่า บานประตูหน้าต่าง ภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศ

ชั้นที่ 5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์ มีบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธชาดก

ชั้นที่ 6 เป็นหอพระอุปัชฌาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่องเวสสันดร

ชั้นที่ 7 เป็นหอพระอรหันต์สาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตมีย์มีใบ้

ชั้นที่ 8 เป็นหอพระธรรม เป็นที่รวบรวมพระธรรม คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนามีพระไตรปิฏก บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้น ฯลฯ

ชั้นที่ 9 เป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า บานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติ รูปพรหม 16 ชั้น และสามารถชมทัศนียภาพของตัวเมืองขอนแก่นได้ทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของบึงแก่นนครที่สวยงาม

 แบบสัมภาษณ์

สถานที่ :                      วัดหนองแวงพระอารามหลวง จังหวัด ขอนแก่น

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ :        พระอาจารย์ นนธนากร (ภิกษุวัด)

ผู้สัมภาษณ์ :                 นางสาว อรัญญา  แก้วผาง

หัวข้อที่จะสัมภาษณ์ :  -ที่อยู่ 593 วัดหนองแวงพระอารามหลวง ตำบล ในเมือง อำเภอ ในเมือง จังหวัด ขอนแก่น 40000

-อายุ 32 ปี

-เจ้าอาวาสชื่อ พระธรรมวิสุทธาจารย์ ตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9

-เนื้อที่วัด  ประมาณ 26 ไร่

 

บทที่ 5

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

สรุปผล

จากการศึกษาประวัติวัดหนองแวงพระอารามหลวงสามารถใช้ในการศึกษาหาประวัติของวัด แผ่นที่ของวัด และแผนที่การเดินทางไปยังวัด

 

อภิปรายผล

จากผลการศึกษาประวัติของวัดหนองแวงพระอารามหลวงทำให้ทราบถึงที่ตั้งของวัดว่าอยู่ส่วนไหนของจังหวัดขอนแก่น สร้างมากี่ปี มีเจดีย์จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น ทราบถึงเจ้าอาวาสคนแรกจนถึงคนปัจจุบัน