กระบวนการ ในการประเมินผลและควบคุมกลยุทธ์

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงินที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินได้ (สร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น โดยการทำให้มูลค่าของธุรกิจสูงสุด โ...

  • กระแสเงินสดสุทธิ Net Cash Flow = กำไรสุทธิ - รายได้ที่ไม่เป็นเงินสด + ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด (ค่าเสื่อมราคา & ค่าใช้จ่ายตัดจ่...

  • แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. พิจารณาด้านกำไร (Profit Oriented Objectives) 2. พิจารณาด้านการขาย (Sales Oriented Objectives) 3. เพื่อ...

  • การที่ระบบการเงินจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น ต้องมีสถาบันต่าง ๆ มาอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยสถาบันเหล่านั้นคือกลไกที่อยู่...

  • 1. ระบบสิทธิทางการค้าที่ผู้ผลิตให้สิทธิ์แก่พ่อค้าปลีก (manufacturer-retailer franchise system) หมายถึง ระบบที่ผู้ผลิตให้สิทธิทางการค้าแก่พ่อ...

  • หุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นสามัญจะมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ จึงมีสิทธิได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล (Dividen...

  • บริษัท L จำกัด กำลังพิจารณาโครงการผลิตสินค้าชนิดหนึ่งออกสู่ตลาด โดยที่บริษัทต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรในราคา 680,000 บาท ค่าขนส่งเครื่องจักร ...

  • อุปสงค์ของเงิน(Demand for Money Theory) หรือความต้องการถือเงิน ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ สี่ประการคือ ระดับราคา(The Level of Price) ระดับอัตราด...

  • กระบวนการ ในการประเมินผลและควบคุมกลยุทธ์

    การขายโดยใช้พนักงานขายจัดเป็นรูปแบบการปฏิบัติตัวต่อตัวระหว่างกิจการกับลูกค้า ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังคำสั่งซื้อด้วยรูปแบบการขายที่แตกต่างกัน    ...

  • ตลาดการเงินในปัจจุบันการลงทุนสำหรับนักลงทุนในบ้านเราคงไม่อาจที่จะปฏิเสธการเข้าไปจัดการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนที่มีมากมายและถาโถมเข้ามาเช่...

    เพื่อให้กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์การประสบความสำเร็จ  โดยที่การควบคุมกลยุทธ์มีวัตถุประสงค์สำคัญดังต่อไปนี้

    1. ช่วยให้ผู้บริหารตรวจสอบและประเมินการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติว่าบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการหรือไม่เพียงใด

    2. ช่วยผู้บริหารในการกำหนดแนวทางการปรับตัว  การแก้ปัญหา  และพัฒนาการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ

    3. ช่วยผู้บริหารประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์  เพื่อทำการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเป็นจริงขึ้น

    ซึ่ง Ram Charan (1982) กล่าว้ถึงเป้าหมายของการควบคุมกลยุทธ์ 7 ประการดังต่อไปนี้

    1. ประเมินความเที่ยงและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ธุรกิจ  โดยตรวจสอบกับเป้าหมายขององค์การความสามารถในการจัดหาทรัพยากร  และกรอบความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Framework)

    2. เพื่อสร้างความแน่ใจว่าผู้จัดการในทุกระดับมีความเข้าใจในธุรกิจ

    3. ประเมินข้อดี-ข้อเสียที่เกิดจากการดำเนินกลยุทธ์  โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของผู้จัดการ

    4. สร้างสัญญาระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับผู้จัดการระดับต่างๆ  โดยฝ่ายบริหารจะมีข้อผูกพันที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินงานและการจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินงาน  ขณะที่ผู้จัดการจะดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปตามที่ต้องการ

    5. เพื่อให้การเจรจาประเด็นเชิงกลยุทธ์  การจัดสรร  และการบูรณาการกลยุทธ์ระหว่างหน่วยงานภายในองค์การมีความ
    สอดคล้องกัน

    6. เพื่อขยายขอบเขตความเข้าใจและการรับรู้ต่อการดำเนินงานขององค์การแก่พนักงาน

    7. เพื่อประเมินความสามารถในด้านความคิด  แรงจูงใจ  และทัศนคติของผู้บริหาร

    ถึงแม้การควบคุมกลยุทธ์จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการเชิงกลยุทธ์  แต่การควบคุมกลยุทธ์ก็เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของกลยุทธ์  เนื่องจากการตรวจสอบและการประเมินกลยุทธ์จะให้ข้อมูลย้อนกลับว่ากระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์มีความเหมาะสมและการดำเนินงานราบรื่นเพียงใด  ประการสำคัญการควบคุมกลยุทธ์ช่วยให้ผู้บริหารมั่นใจว่าการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติสามารถบรรลุผลตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    การควบคุมกลยุทธ์เป็นงานที่ต้องมีการศึกษา  วางแผน  และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตลอดจนต้องสามารถบูรณาการเข้ากับกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม  การกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ขององค์การ  และการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างสอดคล้องกัน  โดยผู้ควบคุมกลยุทธ์ต้องกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติให้ประสานกับระบบกลยุทธ์ขององค์การโดยที่การควบคุมกลยุทธ์จะมีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

    ขั้นตอนที่ 1 กำหนดเกณฑ์และมาตราน  การที่ผู้บริหารจะสามารถตรวจสอบและประเมินความสำเร็จของกลยุทธ์องค์การได้  จะต้องมีวิธีการและมาตรวัดการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ว่าเป็นไปในทิศทางและมีคุณสมบัติตามที่ต้องการโดยใช้ทรัพยากรการดำเนินงานตามที่กำหนดหรือไม่  ซึ่งผู้ควบคุมกลยุทธ์ต้องกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานในการวัดผลงานที่เหมาะสมโดยแต่ละองค์การจะมีมาตรฐานและเกณฑ์การดำเนินงานของตน  ตลอดจนมีความแตกต่างกันตามอุตสาหกรรม  อย่างไรก็ตาม  ผู้ควบคุมควรกำหนดมาตรฐานที่สามารถสะท้อนความสำเร็จในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม  ซึ่งจะกล่าวถึงการกำหนดมาตรฐานในหัวข้อต่อไป

    ขั้นตอนที่ 2 การวัดผลการดำเนินงาน  ผู้ควบคุมกลยุทธ์จะวัดผลการดำเนินงานตามวิธีการที่กำหนดในขั้นตอนที่ 1 ซึ่งสะท้อนภาพรวมของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์  โดยจะเรียกการวัดผลกระบวนการเชิงกลยุทธ์ว่า“ การตรวจสอบกลยุทธ์ (Strategic Audit) "ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่มีความละเอียดอ่อนและต้องดำเนินงานด้วยความเข้าใจ  เพื่อที่จะสามารถวัดข้อมูลที่ต้องการที่จะสามารถสะท้อนผลการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม  ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในหัวข้อต่อไป

    ขั้นตอนที่ 3 การเปรียบเทียบและประเมินผล  ผู้ควบคุมกลยุทธ์นำผลลัพธ์จากการวัดผลการดำเนินงานมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายและมาตรฐานที่กำหนด  โดยที่เป้าหมายขององค์การจะอยู่ในรูปของภารกิจและวัตถุประสงค์  ขณะที่มาตรฐานถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นระดับของการดำเนินงานหรือผลลัพธ์ที่ยอมรับได้

    ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินการแก้ไข  ผู้ควบคุมควรทำการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของความแตกต่างระหว่างผลการดำเนินงานกับเป้าหมายและมาตรฐานของการดำเนินงาน  เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงการดำเนินงานให้ได้ตามมาตรฐานและสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยผู้ควบคุมอาจปรับปรุงการดำเนินงานด้วยวิธีการง่ายๆ และไม่ขับซ้อน  เช่น  การปรับราคา  การเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงาน  หรือการเพิ่มหรือลดสาขา  เป็นต้น  ขณะที่การแก้ไขหรือปรับปรุงการดำเนินงานในบางสถานการณ์อาจมีความซับซ้อนกว่า  เช่น  การปรับโครงสร้างองค์กา  การเปลี่ยนผู้บริหาร  หรือการปรับโครงสร้างทางการเงิน  เป็นต้น

    การควบคุมและการประเมินผลกลยุทธ์ คืออะไร

    การควบคุม กำกับ และการประเมินผล เป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นงานของผู้บริหารองค์การที่จะใช้เป็นเครื่องมือเพื่อตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานทั้งหมดตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ว่าการดำเนินงานจะบรรลุผลสำเร็จตามแผนที่วางไว้มากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องอาศัยการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการปฏิบัติจริง (Actual ...

    กระบวนการควบคุมกลยุทธ์มีอะไรบ้าง

    กระบวนการควบคุมกลยุทธ์ เป็นการก าหนดแนวทางการปฏิบัติสาหรับผู้บริหารที่จะ นาไปใช้ในการประเมินผลการด าเนินงานตามแผนกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ โดยประกอบด้วย การก าหนดเป้าหมายอย่างเป็นทางการ (Formal Target Setting) การตรวจสอบ (Monitoring) การประเมินผล (Evaluation) และข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) การด าเนินงานตามกระบวนการ ดังกล่าว ...

    ตัวแบบกระบวนการควบคุมกลยุทธ์ประกอบด้วยการดำเนินงานกี่ขั้นตอน

    ในกระบวนการควบคุมเชิงกลยุทธ์นั้นประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆ 3 ขั้นตอนที่มีความ แตกต่างแต่มีความจำเป็นต้องมาเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง และสัมพันธ์ต่อกัน ทั้งสามขั้นตอนดังกล่าวได้แก่ 1. การวัดผลการปฏิบัติงานขององค์การ (Measuring Organizational. Performance) 2. การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับเป้าหมายหรือมาตรฐาน (Comparing.

    ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการควบคุมและการประเมินผลกลยุทธ์

    ขั้นตอนที่ 1 กำหนดเกณฑ์และมาตราน การที่ผู้บริหารจะสามารถตรวจสอบและประเมินความสำเร็จของกลยุทธ์องค์การได้ จะต้องมีวิธีการและมาตรวัดการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ว่าเป็นไปในทิศทางและมีคุณสมบัติตามที่ต้องการโดยใช้ทรัพยากรการดำเนินงานตามที่กำหนดหรือไม่ ซึ่งผู้ควบคุมกลยุทธ์ต้องกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานในการวัดผลงานที่เหมาะสมโดยแต่ละ ...