ให้ นักเรียน บอก หลัก ของการเลือกหนังสืออ่าน

การเลือกอ่านหนังสือ

แบบที่ ๑

           ๑. ส่งเสริมความรู้และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตให้มีความเจริญในด้านต่าง ๆ

           ๒. ส่งเสริมสติปัญญา ให้พัฒนาตนเองให้รู้จักคิด  สังเกต  มีเหตุผล สามารถนำความรู้จากการอ่านมาใช้ประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง  และแก่่ส่วนรวม  รวมทั้งแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้

           ๓. ส่งเสริมความเข้าใจทางภาษา และการใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสมตามวัยและสติปัญญา

          ๔. ส่งเสริมการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง  ช่วยให้เกิดความสนใจที่จะอ่านและเรียนรู้

อ้างอิง

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.  การเลือกหนังสืออ่าน หนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หน้า ๑๗๑.  กรุงเทพฯ : องค์การค้า สกสค.

https://www.youtube.com/watch?v=gwiHxH5bUlo

แบบที่ ๒

        ๑.  เลือกหนังสือที่มีสาระเรื่องราวตรงกับความต้องการหรือความจำเป็นที่ต้องอ่าน

        ๒.  เลือกหนังสือที่ดีมีคุณลักษณะ  ดังนี้

              ๒.๑ หนังสือที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าดี

              ๒.๒ หนังสือที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าดี

              ๒.๓ หนังสือที่ได้รับรางวัลสำคัญ ๆ ในการประกวดขององค์กรที่มีคุณภาพ

              ๒.๔ หนังสือซึ่งเขียนโดยนักเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของแวดวงนักอ่าน

              ๒.๕ หนังสือที่มีคุณค่าดีพร้อมทุกด้าน  ได้แก่  ด้านเนื้อหา  ด้านความคิด  ด้านกลวิธี  ด้านทางภาษา  ด้านรูปแบบและการนำเสนอ

              ๒.๖ หนังสือที่ได้รับการยอมรับศึกษาสืบทอดกันมาทุกยุคทุกสมัย

              ๒.๗ เลือกหนังสือที่จะไม่โน้มนำไปในทางเสื่อมทั้งปวง

(ศิวกานท์  ปทุมสูติ๒๕๔๐หน้า  ๑๙ - ๒๐)

แบบที่ ๓ ตามประเภทของหนังสือ

        ๑.ประเภทให้ความรู้ เป็นหนังสือที่มีเนี้อหาเกี่ยวกับความรู้ในเรื่องต่าง ๆ เช่น หนังสือเรียน หนังสืออ้างอิง หนังสือรวมบทความ

        ๒.ประเภทให้ความบันเทิง เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาให้ความเพลิดเพลิน เช่น หนังสือนิทาน หนังสือ นวนิยาย หนังสือการ์ตูน

https://sites.google.com/site/wichaphasathiyp2/kar-leuxk-hnangsux

            สวัสดีค่ะน้องๆ ปิดเทอมนี้ กิจกรรมหนึ่งที่น้องๆ ไม่น่าพลาดก็คือการไปงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ เพื่อหาหนังสือดีๆ ติดมือกลับบ้านแน่ๆ แต่จะเลือกยังไงให้ได้หนังสือดีๆ ? วันนี้ พี่เมษ์เอาเทคนิค 5 ข้อ สำหรับเลือกหนังสือ มาฝากกันค่ะ
  

ให้ นักเรียน บอก หลัก ของการเลือกหนังสืออ่าน

1. รู้จักความต้องการตัวเอง

            ก่อนจะพุ่งตัวไปหาหนังสือ เคยถามตัวเองมั้ยว่าอยากได้หนังสือแนวไหน น้องๆ ต้องหาคำตอบให้ได้ก่อนว่าอยากได้หนังสืออะไร เพราะคนที่รู้จักตัวตน จะแก้ไขและเติมเต็มสิ่่งที่ขาดได้สมบูรณ์กว่าคนที่ไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับตัวเองเลย

            ลองสำรวจดูนะคะว่าชอบหนังสือแบบไหน ,, เท่าที่มีในตลาดก็มีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีข้อดี ข้อเสียต่างกันไป พี่เมษ์ขอยกตัวอย่างให้ดูกันหน่อยแล้วกันค่ะ

- รวมเนื้อหา

          เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเยอะๆ มีการอธิบายอย่างละเอียด หนังสือแบบนี้ดีกับน้องๆ ที่ยังไม่แม่นเนื้อหา หรือต้องการเรียนรู้ก่อนเริ่มเรียนในเทอมถัดไป ส่วนน้องๆ ที่ตั้งใจหาหนังสืออ่านทบทวน อาจจะต้องหาอะไรที่สรุปชัดเจนกว่านี้ เพื่อย่นระยะเวลาในการอ่าน

- รวมข้อสอบ

          เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อสอบเอาไว้ในเล่ม อัดแน่นไปด้วยข้อสอบเรื่องนั้นๆ หรือแนวนั้นๆ ของแต่ละเล่ม เหมาะกับน้องๆ ที่ต้องการฝึกความแม่นยำให้กับฝีมือในการทำข้อสอบ

          แต่สำหรับน้องๆ ที่อาจจะยังไม่แม่นยำในการทำข้อสอบ หรือไม่แม่นเนื้อหา การหาหนังสือแนวนี้มาทำก็ช่วยให้น้องๆ รู้ว่าเรายังมีจุดอ่อนตรงไหน จะได้แก้ไขได้ถูกจุด แต่ถ้าทำผิดเยอะๆ อาจจะวิตกจริตไปนิดนึง ก็อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ มันเป็นการสำรวจตัวเองเท่านั้นเนอะ

- รวมแบบฝึกหัด

          หนังสือรวมแบบฝึกหัด จะต่างกับรวมข้อสอบตรงที่ รวมแบบฝึกหัดจะทำให้น้องได้ทบทวนเนื้อหาล้วนๆ แบบตรงๆ แต่หนังสือรวมข้อสอบจะทำให้เห็นแนวข้อสอบที่เป็นประยุกต์เนื้อหาอาจจะหลายบทเข้าด้วยกัน ดังนั้นถ้าน้องๆ อยากฝึกฝนตัวเองในเนื้อหาแต่ละส่วน ก็เหมาะสมกับหนังสือแบบนี้เลย

           แต่ข้อเสียคือ อาจจะต้องหาหนังสืออ่านประกอบ เพราะบางครั้งหนังสือรวมแบบฝึกหัดอาจมีเฉลยไม่ชัดเจน หรือไม่สามารถหาเนื้อหาอ่านได้ ต้องหาหนังสืออ่านประกอบเพื่อให้น้องๆ เข้าใจได้ดีขึ้น

- เนื้อหาและแบบฝึกหัด

           ถ้าต้องการอ่านหนังสือ และทบทวนไปด้วยในตัว หนังสือแนวนี้เหมาะกับน้องๆ มากค่ะ เพราะสามารถอ่านเนื้อหาได้ และทบทวนได้ไปพร้อมๆ กัน แบบไม่มากไม่น้อยใป แต่ข้อเสียคือ อาจจะได้เนื้อหาที่ไม่ครบครัน ครอบคลุม หรือส่วนแบบฝึกหัดก็อาจจะได้ไม่เยอะเท่าที่ต้องการ ไม่ครอบคลุมเช่นกัน เพราะต้องเฉลี่ยพื้นที่เนื้อหาและแบบฝึกหัดให้อยู่ในเล่มเดียวกันให้ได้

- สรุปเนื้อหา เทคนิคการจำ

          เหมาะสำหรับน้องที่ต้องการอ่านช่วงก่อนสอบ หรืออ่านเพื่อสรุปแนวความรู้ สูตร และอายากได้เทคนิคการจำต่างๆ ไม่เหมาะแน่ๆ กับน้องที่ไม่ได้อ่านเนื้อหามาก่อน เพราะอาจจะทำให้ไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง และตกหล่นเนื้อหาบางช่วง เพราะหนังสือสรุปเนื้อหา เทคนิคความจำเหล่านี้ ไม่สามารถยัดเนื้อหาทั้งหมดได้แน่ค่ะ

ให้ นักเรียน บอก หลัก ของการเลือกหนังสืออ่าน
        
ให้ นักเรียน บอก หลัก ของการเลือกหนังสืออ่าน

            ส่วนหนึ่งที่ทำให้รู้ว่าหนังสือเล่มนั้นมีอะไรบ้าง คือ "สารบัญ" ดังนั้น ก่อนจะเลือกเล่มไหนติดตัวกลับมา ห้ามลืมเปิดสารบัญอ่านดูว่าตรงกับที่เราต้องการอยู่รึเปล่า ที่สำคัญทำให้รู้ว่าเหมือนกันกับที่เราเรียน หรือเราตั้งใจจะนำไปใช้มากน้อยแค่ไหน และมีประโยชน์กับตัวน้องเองมากพอที่จะใช้จ่ายเงินไปกับหนังสือเล่มนี้หรือเปล่า

            ใครว่าปกไม่สำคัญ ไม่ช่วยให้รู้ว่าหนังสือเป็นอย่างไร ,, แต่พี่เมษ์ขอบอกเลยนะว่า ปกเป็นส่วนแรกที่ดึงดูดตา ทั้งปกหน้าและปกหลัง คนทำหนังสือมักจะดึงส่วนสำคัญมาไว้ที่ปกโดยเฉพาะปกหน้า โดยอาจจะเป็นคำสั้นๆ อธิบายเนื้อหาบางส่วนในเล่มที่เด่นๆ ผู้เขียนต้องการเน้นย้ำมาโชว์เพื่อดึงความสนใจของผู้อ่านอย่างเราค่ะ

            ส่วนปกหลัง น้องๆ หลายคนอาจจะมองข้ามไปบ้าง แต่บอกเลยว่า สำคัญไม่แพ้กัน เพราะหลายๆ เล่ม ปกหลังจะเป็นคำนิยม ที่ผู้อ่านท่านอื่น อ่านแล้วเขียนถึงหนังสือเล่มนี้ไว้ ซึ่งก็ช่วยบอกได้ส่วนหนึงว่าหนังสือเล่มนี้ดีอย่างไร มีอะไรน่าสนใจบ้างในมุมมองของคนอ่านท่านอื่น

            อีกอย่าง หนังสือบางเล่มยังใช้เนื้อหาที่น่าสนใจบางส่วน บางวรรค บางคำ มาใช้เป็นบทหลัง ทำให้น้องๆ รู้สไตล์การเขียนได้บ้าง นอกจากการคัดบางส่วนของเนื้อหา ก็อาจจะใช้เทคนิคสรุปเนื้อหาเอาไว้ที่ปกหลังซึ่งจะทำให้เห้นภาพรวมคร่าวๆ ของหนังสือได้ดีเลยหละค่ะ อย่าลืมพลิกดูปกกันนะ

ให้ นักเรียน บอก หลัก ของการเลือกหนังสืออ่าน

4. ดูครั้งที่พิมพ์ จำนวนที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์

            การเปิดเพื่อดูว่าหนังสือเล่มนี้พิมพ์ครั้งที่เท่าไหร่ จำนวนเล่มพิมพ์แต่ละครั้งเยอะแค่ไหน ก็ช่วยบอกได้ส่วนหนึ่งค่ะว่าเป็นหนังสือที่มีคนสนใจเยอะ แปลว่าหนังสือก็ต้องดีระดับหนึ่งจึงทำให้คนอ่านอยากซื้อ ผู้เขียนจึงต้องผลิตเพิ่มขึ้นมา อย่างน้อยก็ยืนยันได้ว่าหนังสือเล่มนั้นต้องมีอะไรสักอย่างที่น่าสนใจมาก จนต้องผลิตซ้ำๆ

             ปีที่พิมพ์ก็สำคัญนะคะ เพราะว่าหนังสือที่พิมพ์มานานๆ อาจจะทำให้ข้อมูลขาดการอัพเดต อย่างเช่นหนังสือสังคมศึกษาที่ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะมีข้อมูลเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง น้องๆ ก็ต้องดูควบคู่กันไปทั้งครั้งที่พิมพ์ จำนวนที่พิมพ์ และปีที่พิมพ์ เพื่อให้เราได้รับหนังสือที่มีข้อมูลอัพเดต และน่าสนใจจริงๆ

            นอกจากดูส่วนประกอบทั่วๆ ไปแล้ว การเปิดหนังสือ พลิกเข้าไปอ่านเนื้อหาคร่าวๆ ดูหัวข้อย่อยในเล่ม ทำให้น้องสามารถประเมินได้ว่าเนื้อหาภายในตรงกับที่ต้องการจริงรึเปล่า เพราะสารบัญอาจจะไม่ได้ใส่ทุกรายละเอียดในเล่ม

            อีกอย่าง การที่น้องเปิดเข้าไปดูนอกจากจะเห็นหัวข้อย่อยๆ แล้ว ยังทำให้น้องเห็นวิธีการเรียบเรียง สไตล์การเขียน ภาษาที่ใช้ ซึ่งสำคัญกับน้องมาก เพราะหนังสือดีสำหรับคนอื่น อาจจะไม่ดีสำหรับเรา ถ้าอธิบายให้เราเข้าใจไม่ได้ เราจึงต้องเลือกเล่มที่เขียนแล้วเราอ่านเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญด้วย

ให้ นักเรียน บอก หลัก ของการเลือกหนังสืออ่าน

            ทั้ง 5 เทคนิคนี้ พี่เมษ์อยากให้น้องใช้ประกอบกัน เพื่อจะได้เลือกหนังสือที่เหมาะ ดี มีคุณภาพสำหรับน้องเองนะคะ และหวังว่าเทคนิคเหล่านี้ น่าจะช่วยให้น้องเดินงานหนังสือได้สนุกขึ้น และสามารถเลือกซื้อหนังสือดีๆ ให้กับตัวเองได้อย่างเต็มที่

            อีกอย่างนึง ก่อนไปอย่าลืมดูแผนที่บูธหนังสอืด้วยนะคะ เพราะงานใหญ่แบบนี้ เดินเองทุกบูธ อาจจะเป็นลมหมดแรงซะก่อน ,, ถ้าน้องๆ มีคำแนะนำสำหรับเพื่อนๆอีก ก็อย่าลืมคอมเม้นท์บอกไว้นะคะ พี่เมษ์จะรออ่านเลยหล่ะ

ให้ นักเรียน บอก หลัก ของการเลือกหนังสืออ่าน

ขอบคุณภาพประกอบจาก

  • http://parade.condenast.com/280092/linzlowe/the-10-most-challenged-books-of-2013-number-one-may-surprise-you/
  • http://inhabitat.com/amazeme-book-labyrinth-completed-for-the-london-2012-cultural-olympiad/
  • http://www.murketing.com/journal/?p=4892
  • http://tribune.com.pk/story/523317/fun-fair-health-secretary-inaugurates-book-exhibition/
  • ภาพบรรยากาศภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ : พี่น้อง

  • #ฟิตเกรด
  • #อ่านหนังสือ
  • #เลือกหนังสือ
  • #งานหนังสือ
  • #มหกรรมหนังสือระดับชาติ
  • #กวดวิชา