ข้อใดไม่ใช่กระบวนการประชาสัมพันธ์

สื่อในการเผยแพร่ในการประชาสัมพันธ์งานด้านการศึกษาและการแพทย์มีหลายประเภทที่สำคัญและใช้กันอย่างกว้างขวาง ได้แก่

        - คำพูด
        
สิ่งพิมพ์
        ภาพโฆษณา
        - ภาพยนตร์
        - วิทยุกระจายเสียง
        - โทรทัศน์
        - นิทรรศการและการจัดงานพิเศษ

การใช้สื่อคำพูดเพื่อการประสัมพันธ์

                   คำพูดจัดเป็นสื่อที่ใช้ในงานด้านการศึกษาและการแพทย์มากที่สุด เพราะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานการณ์น้อยกว่าวิธีอื่น การพูดสามารถระดมใช้เครื่องมือต่างๆ
        ของการติดต่อ เช่น สัญลักษณ์ที่เข้าใจความหมายได้ มือ ท่าทาง สีหน้า แววตาและกระแสเสียง ช่วยให้เราเข้าใจได้ละเอียด ชัดเจนและรวดเร็วกว่าวิธีอื่น
                    ถึงแม้คำพูดจะเป็นสื่อที่ขาดความถาวร กล่าวคือ พูดแล้วหายไปในอากาศไม่คงทนถาวรเหมือนสิ่งพิมพ์หรือรูปภาพ และนอกจากนั้น ผู้ฟังยังไม่มีโอกาสฟังซ้ำ
        หรือให้หยุดนิ่งหรือพลิกกลับไปกลับมาเพื่อทบทวนให้เข้าใจมากขึ้นเหมือนกับการอ่านหนังสือหรือดูภาพได้ อย่างไรก็ตาม คำพูดก็ยังเป็นสื่อที่ดีเพราะค่าใช้จ่ายน้อย
        ผู้รับมีโอกาสประทับใจจากบุคลิกภาพของผู้พูดมากกว่า (ไชยยศ เรืองสุวรรณ.
2522 : 106)
                    จงเจริญ เมตตา (2543) ศึกษาการใช้ปัญหา และความต้องการใช้สื่อด้านข้อมูลข่าวสารทั่วไป และด้านสุขภาพของหน่วยงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
        คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานส่วนใหญ่ใช้สื่อประเภทคำพูดมากที่สุด (ร้อยละ39.2) รองลงมาใช้สื่อประเภท
        วัสดุ(ร้อยละ 21.4)
                    หลายคนเชื่อว่า การพูดเป็นพรสวรรค์ที่มีมาแต่กำเนิด จึงไม่อาจศึกษาได้ ในเรื่องนี้ ถ้าจะกล่าวโดยทั่วไปแล้ว ทุกสาขาวิชาต่างต้องอาศัยพรสวรรค์อยู่บ้าง ในแง่ที่
        บางคนเรียนได้ดีกว่า เร็วกว่าหรือรู้จักใช้ประโยชน์ได้มากกว่าบางคน การพูดก็เช่นเดียวกัน บางคนเรียนได้เร็วกว่า ดีกว่า ฯลฯ แต่ทุกคนก็เรียนได้ถ้าไม่เป็นใบ้ และแน่นอน
        แต่ละคนที่ได้เรียนรู้ได้ฝึกย่อมดีกว่าคนที่ไม่ได้เรียนได้ศึกษา  การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นศาสตร์เพราะมีหลักเกณฑ์เป็นแนวทางแน่นอนมากมาย เป็นศิลป์เพราะ
        ต้องอาศัยการฝึกจนเกิดความชำนาญ
                    นิพนธ์ ศศิธร (2521:8-10) ได้กล่าวถึงการพูดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ว่า ภาวะผู้นำกับการพูดเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีนั้น ควรมีคุณสมบัติดังนี้

                                1. มีความมั่นใจและชั้นเชิงดี การพูดที่ดีจะเกิดจากการพูดที่เป็นธรรมชาติ สบายใจ พอใจและมั่นใจในสิ่งที่พูด จะทำให้ผู้ฟังมีความมั่นใจและจริงจังไปด้วย

                               2. มีความกระฉับกระเฉงและแจ่มใส การพูดที่ดี ผู้พูดต้องพูดด้วยท่าทางผึ่งผาย กระฉับกระเฉง และมีชีวิตชีวา กิริยาท่าทาง และอาการต่างๆที่แสดงออกต้อง
                                    เด็ดขาดจริงจังให้สมกับเสียงที่เปล่งออกมาอย่างทรงพลัง เหมาะสมกับบรรยากาศหรือความรู้สึกที่ควรจะมีอยู่ในขณะนั้นๆ

                                3. มีความจริงในและมีความคิดเห็นเป็นของตนเอง ความจริงใจย่อมแสดงออกมาเองในท่าทาง สีหน้าและแววตาตลอดจนกระแสเสียง ทำให้ผู้ฟังรู้สึกจริงจัง
                                    และเห็นพ้องง่ายขึ้นความจริงใจย่อมเป็นความบริสุทธิ์ที่ครองในมนุษย์ได้เสมอ

                                4. มีความปราดเปรื่อง มีเชาว์ปัญญาและความรอบรู้ เรื่องนี้เป็นที่ยอมรับกันมานานแล้วว่า คนเราจะสนใจและเชื่อถือการพูดของผู้รู้ในเรื่องนั้นมากกว่าผู้ไม่รู้
                                    ผู้ฟังจะสนใจและเชื่อถือเพราะความเลื่อมใสในตัวผู้พูด

                                5. มีความเป็นธรรม คนฟังมักมีความสงสารผู้ถูกกล่าวร้ายโดยไม่เป็นธรรม ผู้พูดไม่ควรแสดงความคิดเห็นไม่เป็นธรรมแก่ผู้ใดอย่างชัดแจ้ง คนฟังจะตั้งตัวเป็น
                                    ศัตรูทันที การพูดจาก้าวร้าวคนฟังคนใดคนหนึ่ง หรือหลายคนก็ให้ผลทำนองเดียวกัน เพราะปกติคนฟังย่อมไม่มีโอกาสกล่าวแก้ตอบโต้ได้ เป็นการ
                                    อยุติธรรมอยู่ในตัวเอง

                                6. มีความหนักแน่นและสำรวม ผู้พูดที่ดีต้องควบคุมอารมณ์ได้

                                7. มีความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจผู้อื่น และแสดงออกมาให้เห็นด้วยความจริงใจควรพูดด้วยความรู้สึกเคารพหรือให้เกียรติคนฟังทุกประการตามสมควร

                                8. มีความเด็ดเดี่ยว

                                9. มีความแพรวพราว จี้ใจ และไม่เหมือนใคร

                    คุณลักษณะทั้งเก้าประการนี้ เป็นคุณสมบัติเกี่ยวกับบุคลิกภาพของผู้พูดซึ่งนับว่ามีส่วนช่วยในการพูด อย่างไรก็ตาม พึงระลึกไว้เสมอว่า บุคลิกภาพผู้พูดเป็นเพียงส่วน
        ประกอบไม่ใช่แกนของการพูด เมียร์ส (
Mears. 1965:10) กล่าวว่า ความสำเร็จของการพูดส่วนใหญ่นั้น เนื้อหาสาระมีส่วนสำคัญอยู่ถึงร้อยละ 50 จิตวิทยาในการใช้คำนำและ
        สรุปร้อยละ
20 และศิลปะการแสดงอีกร้อยละ 20 ส่วนที่เหลือเพียงร้อยละ 10 เป็นเรื่องบุคลิกภาพ

                    ดังนั้น ลักษณะของคำพูดที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ จึงควรใช้กับเรื่องสั้นๆง่ายๆมีลักษณะอย่างตรงไปตรงมา ไม่สลับซับซ้อน และควรมีการย้ำข้อความที่สำคัญบ่อยๆ
        เพื่อแก้ไขความบกพร่องของสื่อประเภทคำพูดที่ว่า ขาดความถาวร ความสร้างความนิยมเลื่อมใสด้วยการพูดอย่างน่าฟังด้วยการสร้างไพเราะ กินใจ โน้มน้าวและเร้าอารมณ์
        ด้วยการใช้เหตุผล

ประเภทของการใช้สื่อคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์

                    การใช้คำพูดการเพื่อการประชาสัมพันธ์อาจมีลักษณะต่างๆกัน ซึ่งแต่ละอย่างก็มีลักษณะที่เหมาะสมกับเวลาและและโอกาสแตกต่างกันไป  เช่น  การพบปะพูดคุยกับ
        ประชาชน กับผู้เรียน การต้อนรับประชาชนที่มาติดต่อ การติดต่อกันทางโทรศัพท์ ทางจดหมาย การแสดง ปาฐกถา การกล่าวคำปราศรัย และแม้แต่การติดต่อแบบซุบซิบ
         (
Wispering Campaign) จนทำให้เกิดเป็นข่าวลือ (Rumour) ก็เป็นการสื่อสารกันด้วยคำพูดทั้งสิ้น

                    สื่อประเภทคำพูดนี้  เป็นเครื่องมือที่มีโอกาสใช้กันอย่างกว้างขวางและตลอดเวลาแทบจะเรียกได้ว่าเป็นเรื่องประจำวันที่คลุกคลีอยู่กับสถาบันและทุกคนในสถาบัน
        ดังนั้น เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ หรือหน่วยงานด้านการประชาสัมพันธ์นั้นๆจึงจำเป็นต้องมีภาระหน้าที่วางแผนงานด้านการใช้คำพูดเป็นสื่อนี้ให้เป็นประโยชน์ ในแง่การ
        ประชาสัมพันธ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

        ประเภทของการพูดเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ที่สำคัญ แบ่งออกได้ดังนี้

                1.การพบปะพูดจาธรรมดา

                2.การจัดตั้งหน่วยติดต่อ-สอบถาม

                3.การพูดติดต่อทางโทรศัพท์

                4.การแสดงปาฐกถา

                5.การประชุมอภิปราย

        1. การพบปะพูดจาธรรมดา (Face-to-Face Communication) การสื่อสารด้วยคำพูดนี้ โดยทั่วไปใช้วิธีการพบปะพูดจาธรรมดา เช่น เมื่อประชาชนมาติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ใน
สถาบันหรือข้าราชการ เมื่อเลิกงานแล้วกลับไปพูดคุยกับเพื่อนบ้าน หรือการพูดคุยทำความเข้าใจเรื่องงานต่างๆ ในสำนักงานก็ดี เหล่านี้ ล้วนเป็นโอกาสอันดีในการใช้คำพูดเพื่อ
เผยแพร่ข่าวสารความรู้ไปสู่เป้าหมายทั้งสิ้น

                การพบปะพูดจาเพื่อสร้างความพอใจ ความนิยม หรือสร้างความเข้าใจ ควรคำนึงถึกหลักสำคัญ ดังนี้ คือ

                        1.1      ควรพูดด้วยวาจาที่ไพเราะและด้วยบุคลิกภาพที่ดีและเหมาะสม เช่น ท่าทางและเครื่องแต่งกายที่เรียบร้อย

                        1.2      ควรพูดด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม หรือแสดงความสนใจต่อผู้มาติดต่อ หรือผู้ที่เราสนมนาอยู่ตลอดเวลา

                        1.3      การพูดควรเป็นแบกันเองและมีคารวะอันควร

                        1.4      ควรพูดให้เป็นที่พอใจแก่คู่สนทนาหรือผู้มาไต่ถาม

                        1.5      พยายามพูดให้ชัดถ้อยชัดคำ เป็นภาษาพูด คือง่ายๆสั้นๆ

                        1.6      ควรพูดให้เป็นที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแก่คู่สนมนา ดังนั้น ในกรณีที่โตเตอบคำซักถามของผู้มาติดต่อราชการ ก็ควรรู้เรื่องราวทั่วๆไปไว้พอที่จะตอบให้ผู้มาติดต่อเข้าใจดี

        2. การจัดตั้งหน่วยติดต่อ-สอบถาม (Inquiry Bereau) ปัจจุบันนี้ นิยมจัดตั้งหน่วยติดต่อ-สอบถาม ขึ้นในสถาบันหรือสำนักงานกันมาก เพื่อทำหน้าที่ในการตอบข้อซักถามของผู้มา
ติดต่อโดยเฉพาะจัดเป็นการต้อนรับอีกวิธีหนึ่ง เพื่อให้เป็นที่พึ่ง “ด่านแรก” แก่ผู้มาติดต่อกับสถาบันนั้นๆ ซึ่งนับว่าเป็นช่วยเหลือประชาชนผู้มาติดต่อได้เป็นอันมาก และเป็นการสร้าง
ความนิยม ความเลื่อมใสและชื่อเสียงให้เสียงให้แก่สถาบันได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ เพราะถ้าหากเราพิจารณานำเอาใจของผู้มาติดต่อ อันได้แก่ประชาชนทั้งหลายนั้นมาใส่ใจของเรา ผู้มาติดต่อ
นั้นเมื่อก้าวเข้ามาในสำนักงานจะมีความรู้สึกเหมือน “บ้านนอกเข้ากรุง” หรือ “ชาวกรุงหลงทุ่ง” หรือรู้สึกเหมือนเข้าสู่ดินแดนต่างถิ่น บางทีไม่ทราบด้วยว่าที่ไปนั้น คือสถานที่ใด ฯลฯ
ทำให้เกิดความรู้สึกหวั่นเกรงกลัวแต่ถ้าบังเอิญก้าวไปพบป้ายเล็กๆที่บอกว่า “ที่ติดต่อ
-สอบถาม” แล้ว ก็จะรู้สึกสบายใจเพราะมีที่พึ่ง

                การจัดตั้งหน่วยติดต่อ-สอบถาม มีข้อสำคัญที่ควรพิจารณา ดังต่อไปนี้ด้วย

                        2.1 หน่วยติดต่อ-สอบถาม ควรตั้งอยู่ทางเข้าอันเป็นด่านแรกที่ ผู้มาติดต่อจะเข้าไปในสถาบัน มีป้ายแสดงให้เห็นชัดเจนแต่ไกล

                        2.2 ควรมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ตลอดเวลา และบุคคลที่มาทำหน้าที่นี้ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

                                2.2.1 มีความสุภาพอ่อนน้อมทั้งใจและกาย

                                2.2.2 มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ

                                2.2.3 พูดจาไพเราะ ถูกต้องตามกาละเทศะ

                                2.2.4 เป็นบุคคลที่มีไหวพริบในการค้นหาคำตอบอย่างจริงใจ

                                2.2.5 มีนิสัยชอบบริการ

                                2.2.6 เป็นผู้มีน้ำใจกว้าง เห็นอกเห็นใจผู้มาติดต่ออย่างจริงใจ

                        2.3 หน่วยติดต่อ-สอบถาม ควรมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือ ดังนี้

                                2.3.1 มีเครื่องมือในการค้นหาคำตอบ ถ้าเป็นหน่วยงานใหญ่ เช่น ระดับกระทรวง ทบวง กรม มหาวิทยาลัย ฯลฯ ซึ่งมีงานซับซ้อน ควรจัดทำเป็นบัตรค้น มีคอมพิวเตอร์เพื่อ
                                          ค้นหาข้อมูลต่างๆ หรืออย่างน้อยก็มีแฟ้มคู่มือค้นหาคำตอบเรื่องราวต่างๆ รวมทั้งประกาศ ข่าวความเคลื่อนไหวของสถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ทุกเรื่อง
                                          ของทุกแฟ้ม ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง และทันสมัยอยู่เสมอ

                                2.3.2 หน่วยงานใหญ่ๆ ควรมีเครื่องมือติดต่อสื่อสารภายใน เช่น โทรศัพท์ภายใน เพื่อติดต่อสอบถามรายละเอียดของคำตอบภายในได้ทันที และนอกจากนี้ ควรมีโทรศัพท์
                                          ภายนอกไว้ด้วยเพื่อเป็นช่องทางรับคำถามจากประชาชนภายนอกที่ติดต่อสอบถามมายังสถาบัน

                                2.3.3 ควรมีชุดรับแขก หรือเก้าอี้ ม้านั่ง ไว้ให้ผู้มาติดต่อสอบถามที่ต้องรอคอยได้นั่งพัก และเก้าอี้ ม้านั่งนี้ควรรักษาให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ อาจมีเครื่องประดับอื่นๆ เช่น
                                          แจกันดอกไม้ วารสาร หนังสือพิมพ์ ไว้เป็นเครื่องฆ่าเวลาสำหรับผู้รอคอย

                                2.3.4 นอกจากนี้ อาจจะมีเครื่องมืออื่นๆ ประกอบ เช่น แผนผัง บริเวณที่ตั้งหน่วยงานต่างๆ แผนผังแสดงสายงาน นาฬิกา ปฎิทิน และป้ายประกาศเรื่องต่างๆ ของสถาบัน เป็นต้น

        3. การพูดติดต่อโทรศัพท์ (Telephone Conversation) การพูดติดต่อทางโทรศัพท์มีประโยชน์ในด้านความรวดเร็ว ถึงตัวได้ง่าย และใช้เตือนหรือเรียกเมื่อจวนจะถึงกำหนดนัด ทั้งนี้จะได้
ผลดีที่สุดเมื่อผู้มาติดต่อกับเป้าหมายมีความรู้จักเคยกันมาก่อน

                การติดต่อโทรศัพท์ นับว่าสะดวกและประหยัดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความสำเร็จในการติดต่อทางโทรศัพท์ มารยาทในการพูดโทรศัพท์จะมีผลต่อความสำเร็จอยู่มาก ดังนั้น จึงควร
        ระมัดระวังเรื่องมารยาทให้มาก กล่าวคือ

                        3.1 จงรีบรับหูโทรศัพท์ทันที ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล แจ่มใส และใช้ถ้อยคำถูกต้องตามกาลเทศะ

                        3.2 จงตอบว่า “สวัสดี (ค่ะ) ที่นี่...ครับ (ค่ะ)” ไม่ใช่รับสายด้วยคำพูดที่ห้วนหรือแสดงความไม่พอใจ

                        3.3 จงพูดอย่างชัดเจน ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป

                        3.4 จงอย่าทำตนเป็นล่องหนหายเงียบไป โดยการที่ผู้รับโทรศัพท์ปล่อยให้ผู้เรียกถือโทรศัพท์คอยค้างอยู่เป็นเวลานานเกินสมควร ถ้าหากจะเป็นการรอคอยนานเกินไปควรแจ้ง
                               ให้เขาทราบ หรือขอหมายเลขโทรศัพท์ของเขาเพื่อจะได้แจ้งให้เขาทราบ เมื่อค้นหาคำตอบได้แล้วหรือให้เขาโทรศัพท์มาใหม่

                        3.5 ถ้าหากการติดต่อทางโทรศัพท์ ต้องการฝากข่าว หรือเรื่องราวไว้ให้กับใคร ควรใช้วิธีบันทึกไว้ ไม่ควรใช้วิธีจำเพราะอาจจะทำให้ลืมได้

                        3.6 การจบการพูดโทรศัพท์ ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายติดต่อควรจบคำพูด “ขอบคุณมากนะครับ (ค่ะ) สวัสดีครับ (ค่ะ)” แล้วถ้าเราเป็นฝ่ายรับโทรศัพท์ก็ควรจบคำพูดว่า “ขอบคุณที่กรุณา
                               โทร (ศัพท์) มานะครับ (ค่ะ) สวัสดีครับ (ค่ะ)”

                        3.7 การตัดบทเพื่อยุติการพูดทางโทรศัพท์ ในกรณีที่ผู้ติดต่อพูดเยิ่นเย้อหรือเรามีงานด่วน ที่จะต้องไปปฏิบัติ ควรขอโทษและแจ้งเหตุผลความจำเป็นที่ต้องยุติ

                        3.8 อย่างสร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้ติดต่อมาทางโทรศัพท์ ด้วยวิธีการให้โอนไปหมายเลขอื่นโดยการขาดการชี้แจงเหตุผล

                        3.9 อย่างวางหูโทรศัพท์อย่างกระแทกกระทั้น

                การติดต่อทางโทรศัพท์จะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ติดต่อเป็นอย่างดี และในขณะเดียวกันความไม่พึงพอใจของผู้มาติดต่อ อันได้แก่ ประชาชนภายนอกย่อมมีอำนาจในการทำลาย
        ชื่อเสียงของสถาบันนั้นได้ด้วย ดังนั้น การพูดติดต่อทางโทรศัพท์จึงควรให้ความสนใจในเรื่องมารยาทการพูดเป็นพิเศษ

        4. การปาฐกถา (Public Speaking) การปาถกถาหรือการแสดงปาฐกถา คือ การพูดบรรยายในชุมชน เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้คำพูดเป็นสื่อเพื่อถ่ายทอดความคิด ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย วัตถุประสงค์
กิจการ ตลอดจนผลการปฏิบัติงานของสถาบันไปสู่ประชาชนที่มาฟังผู้ปาฐกถาหรือผู้บรรยาย อาจจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือหัวหน้าของสถาบัน อาจจะเป็นผุ้เชี่ยวชาญชำนาญงานเฉพาะสาขา หรือ
อาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสถาบันก็ได้ โดยจัดให้มีการบรรยายในหอประชุมของสถาบัน หรือที่ประชุมจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน หรือสถานที่อื่นๆ ตามความเหมาะสมและโอกาส

                        4.1 การพูดในการแสดงปาฐกถานี้แบ่งออกเป็น 4 แบบใหญ่ๆด้วยกัน คือ
                               
4.1.1 ใช้พูดจากความจำที่ท่องมา วิธีนี้ไม่ควรใช้เพราะขาดชีวิตชีวา และผิดพลาดได้ง่าย
                                
4.1.2 ใช้อ่านจากต้นฉบับ ควรใช้ในกรณีเสี่ยงต่อข้อความสำคัญซึ่งถ้าผิดพลาดแล้วเสียหายได้ แต่โดยทั่วไป ไม่ควรใช้ เพราะจะทำให้ผู้ฟังขาดความศรัทธา
                                
4.1.3 ใช้พูดโดยไม่มีต้นฉบับ แต่อาศัยแนวสั้นๆ ที่เขียนไว้เป็นข้อๆ วิธีนี้นิยมกันมากและได้ผลอย่างยิ่ง เพราะมีชีวิตชีวาและเดินเรื่องไปตามแนวทางที่กำหนดไว้
                               
4.1.4 ใช้พูดปากเปล่า ไม่มีบันทึกแนวเรื่อง วิธีนี้ประสิทธิภาพดีมากเหมาะ สำหรับนักปาฐกถาที่มีความสามารถสูงและไม่มีเวลาเตรียมตัว

                        4.2  การแสดงปาฐกถามีหลักการสำคัญที่ควรปฏิบัติดังนี้
                                
4.2.1 พูดด้วยความมั่นใจ และเลื่อมใสในเรื่องที่พูด
                                
4.2.2 ควรทำใจให้สบาย เป็นกันเองกับผู้ฟัง
                               
4.2.3 พูดด้วยเสียงชัดเจน ได้ยินกันทั่วถึง
                               
4.2.4 พูดด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เอาจริงเอาจัง
                               
4.2.5 มีการเน้นเสียงหนักเบา และมีจังหวะในการพูด
                                
4.2.6  ถ้ามีเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะให้หยุดพูดเสียก่อน แล้วจึงพูดต่อ
                               
4.2.7  ใช้ท่าทางประกอบ จะทำให้มีชีวิตชีวามากขึ้น
                                
4.2.8  ไม่พูดคำซ้ำคล้ายการติดอ่าง ซึ่งจะทำให้เกิดความรำคาญ
                                
4.2.9  กวาดสายตาไปรอบๆ อย่าก้มหน้า หรือดูต้นฉบับตลอดเวลา
                               
4.2.10 รักษาเวลาให้ตรงตามที่กำหนด
                                
4.2.11 ควรเหลือเวลาให้ผู้ฟังซักถามหลังจากพูดจบแล้วด้วย
                                
4.2.12 อย่าพูดอย่างผู้อวดรู้ หรือพูดอย่างสอน ถ้าเป็นการเสนอคำแนะนำ ควรหาจังหวะให้เหมาะสม

                       4.3 เพื่อสร้างความสนใจให้แก่การแสดงปาฐกถาควรปฏิบัติดังนี้
                                
4.3.1 พยายามหาเรื่องแปลกๆ มาเสริมเรื่องที่พูด
                               
4.3.2 อ้างถึงเรื่องที่ผู้ฟังมีความคุ้นเคย
                               
4.3.3 สร้างเรื่องให้มีเงื่อนปมในการติดตาม เมื่อถึงตอนจบก็สรุปให้ผู้ฟังรู้ข้อเท็จจริง
                               
4.3.4 ให้ดำเนินเรื่องด้วยความกระฉับกระเฉง แสดงท่าทางมีความรู้สึก และมีความชัดเจน
                               
4.3.5 อ้างถึงสิ่งที่เป็นจริง เช่น สถานที่ เหตุการณ์ ฯลฯ
                               
4.3.6 พูดถึงเรื่องที่ขัดแย้ง เพราะคนเราชอบฟัง เรื่องที่ขัดแย้งกัน
                               
4.3.7 พูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่สดๆร้อนๆ
                               
4.3.8 พยายามใส่อารมณ์ความรู้สึกเข้าไปในเรื่องที่พูด

        5. การประชุมอภิปราย (Discussion) วิธีการใช้สื่อคำพูด เพื่อการประชาสัมพันธ์อีกประเภทหนึ่ง คือ การประชุมอภิปราย วิธีนี้นอกจากจะทำให้คนรู้จักคิดร่วมกันแล้วยังเปิดโอกาสที่จะหา
ความรู้อย่างแจ่มแจ้งด้วย การอภิปรายกลุ่มแบ่งออกเป็น
4 ประเภทใหญ่ๆ คือ

                       5.1 การบรรยายกลุ่ม (Symposium) เป็นการบรรยายที่ผู้บรรยายในคณะมีหลายคนแต่ละคนมีความชำนาญเฉพาะอย่าง และบรรยายทีละคนๆ ละประมาณ 2-10 นาที เหมาะสำหรับ
                               เรื่องที่ละเอียดซับซ้อนแบ่งเป็นเรื่อยย่อยๆ ที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญแต่ละเรื่องย่อยมาบรรยายทีละหัวข้อตามลำดับ นิยมใช้ในการอบรม และในตอนท้ายจะมีหัวหน้ากลุ่มออกมา
                               สรุปตามความมุ่งหมายของเรื่อง
                        
5.2 การอภิปรายกลุ่ม (Panel Discussion) หมายถึง การอภิปรายเป็นคณะโดยมีคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นพิธีกรหรือหัวหน้ากลุ่ม ซึ่งพิธีกรนี้จะจัดแบ่งเวลา และตะล่อมการพูดของผู้อภิปราย
                               แต่ละคนไม่ให้ออกนอกประเด็นและมีการสรุปผลการอภิปราย
                        
5.3 การเสวนา (Forum) เป็นการเปิดให้ผู้ฟังซักถาม แสดงความคิดเห็นหรือโต้แย้งได้ ผู้บรรยายนำ อาจจะเป็นคนเพียงคนเดียว หรือหลายคนก็ได้ และมีการสรุปความคิดเห็นหรือมติของการอภิปราย
                        
5.4 การโต้วาที (Debate) คือ การจัดอภิปรายโดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มโต้เถียงกัน วิธีนี้มีประโยชน์ต่องานเผยแพร่ไม่มากนัก เพราะการโต้คารมเพื่อจะเอาแพ้เอาชนะกัน ไม่มีรายละเอียดอะไรมาก

สื่อสิ่งพิมพ์   (Print Media)  

       สื่อประเภทสิ่งพิมพ์ (The Printed Words) 
            1.1 สื่อเพื่อการสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน (House or Home Journal)              
                        เป็นหนังสือวารสารสิ่งพิมพ์ที่ใช้สื่อสัมพันธ์ในหน่วยงานให้รู้หรือเข้าใจและแจกจ่ายกันเฉพาะภายในหน่วยงาน 
            1.2 สื่อสัมพันธ์ภายนอกหน่วยงาน (External Publication)  
                        เป็นวารสารสิ่งพิมพ์ที่ใช้เพื่อสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับบุคคลภายนอกหน่วยงาน จัดทำรูปเล่ม ประณีต ใช้ถ้อยคำ สำนวน ภาษา เป็นทางการ การระมัดระวังมากกว่าหนังสือสัมพันธ์ภายใน 
            1.3 สื่อสัมพันธ์แบบผสม (Combination) 
                        เป็นการจัดทำสิ่งพิมพ์ สื่อสัมพันธ์ในลักษณะผสมใช้อ่านได้ ทั้งคนภายในและภายนอกหน่วยงานในเล่มเดียวกัน 

        การเตรียมสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ (Preparation for Publication) ก่อนจะทำสิ่งพิมพ์ควรมีการวางแผนให้เรียบร้อย การวางแผนที่ดีต้องคำนึงถึงสิ่ง 3 ประการด้วยกัน คือ
วัตถุประสงค์ (
Purpose) ผู้อ่าน (Reader) และรูปแบบ (Format) ในขณะเดียวกันจะต้องพิจารณาปัจจัยทั้ง 3 ประการนี้ร่วมกัน 

            1. วัตถุประสงค์ (Purpose) ก่อนที่จะทำหนังสือควรจะวางวัตถุประสงค์อย่างรอบคอบ เขียนวัตถุประสงค์และให้ผู้อ่านมีอำนาจอนุมัติและทำงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 

            2. ผู้อ่าน (Reader) งานสำคัญอันดับแรกคือ ทำงานให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้และงานนั้นจะเป็นจริงได้ต้องคำนึงถึงผู้อ่านเป็นหลัก ผู้อ่านจะเป็นผู้ตัดสินผลงาน ถ้าเขารู้สึกซาบซึ้งกับ
                หนังสือก็ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าเขาไม่อ่านหนังสือเขาก็จะไม่ซาบซึ้ง ดังนั้น เราต้องตอบให้ได้ว่านิสัยในการอ่านหนังสือของเขาเป็นอย่างไร ตัวอย่างประเภทไหนที่จะดึงดูดความ
                สนใจของเขา จะวางเค้าโครงเรื่องอย่างไรจึงจะเอาชนะใจเขาได้ ควรจะเป็นส่วนไหน เป็นต้น
 

            3. รูปแบบ (Format) มีสิ่งพิมพ์ที่ไม่คำนึงถึงผู้อ่าน แล้วก็ไม่อยากที่จะวางรูปแบบ ควรกำหนดขนาดของหน้า จำนวนหน้า รูปภาพ มีการ์ตูนหรือไม่ และอื่น ๆ อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยในการ
                กำหนดรูปแบบ คือ หาจุลสารที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน และกลุ่มผู้อ่านเดียวกัน ลองอ่านและวิเคราะห์และลองวางรูปแบบซึ่งในการวางรูปแบบนั้นควรคำนึงถึงงบประมาณและ
                เนื้อหาที่จะให้

      สื่อสิ่งพิมพ์มีลักษณะต่าง ๆ คือ 
        1.1 หนังสือพิมพ์ (Newspaper) 
             หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเผยแพร่และการประชาสัมพันธ์ เพราะหนังสือพิมพ์เป็นสื่อมวลชนที่สามารถเข้าถึงประชาชนจำนวนมาก และมีระยะเวลากำหนดออกที่แน่นอนเป็นประจำ
สม่ำเสมอ หนังสือพิมพ์ผิดกับสื่อชนิดอื่น ๆ ตรงที่ว่าหนังสือพิมพ์นั้นอาจจะเป็นเครื่องเร่งเร้าก่อให้เกิดประชามติขึ้นในหมู่ประชาชนได้ และขณะเดียวกันก็จะส่อประชามติของประชาชนสะท้อนออกมาให้
เห็นอีกด้วย เราจึงสามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมืออันสำคัญยิ่งในวงการประชาสัมพันธ์หนังสือพิมพ์ สามารถเสนอข่าวสารเรื่องราวต่าง ๆ หลายด้านปะปนผสมผสานกันไปในฉบับเดียวกัน มีทั้งข่าวสาร เรื่องราว ที่ประชาชนเฉพาะกลุ่มและประชาชนทั่วไปสนใจ เช่น ข่าวการเมือง อาชญากรรม เศรษฐกิจ สังคม กีฬา บันเทิง เป็นต้น หนังสือพิมพ์เป็นสื่อในการติดต่อ
 2 ทาง (Two-Way Communication) เพราะเป็นสื่อในการถ่ายทอดความคิดเห็น นโยบายการดำเนินงานของกิจการ แล้วยังเป็นสื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่มีต่อองค์กรด้วย เช่น การวิจารณ์การปฏิบัติงานหรือนโยบาย
ของรัฐบาล เพื่อองค์การที่ถูกวิจารณ์จะได้ปรับปรุงนโยบายให้ดีขึ้น หรือรัฐบาลใช้หนังสือพิมพ์เป็นสื่อชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจ เพื่อขอความร่วมมือในการปฏิบัติให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย นอกจากนี้
หนังสือพิมพ์ยังเป็นสื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยใช้เป็นสื่อแถลงนโยบาย ข้อคิดเห็นทางการเมือง เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ใช้ในการผยแพร่วัฒนธรรมให้เป็นที่รู้จักของประเทศ
ต่าง ๆ หรือแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ

    ข้อดีของหนังสือพิมพ์ 
      1. หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่เสนอข่าวที่น่าสนใจสม่ำเสมอและรวดเร็ว จึงเป็นสื่อที่มวลชนยอมรับข่าวการเผยแพร่ 
      2. มีความคงทนถาวรกว่าสื่อมวลชนประเภทอื่น เพราะเมื่อผู้อ่านไม่เข้าใจตอนใดก็ย้อนกลับมาอ่านทบทวน ใหม่ได้ 
      3. เสนอเรื่องราวข่าวสารหลายประเภท มีทั้งเรื่องราวข่าวสารที่ประชาชนเฉพาะกลุ่ม และประชาชนทั่วไป สนใจ จึงสามารถเข้าถึงประชาชนได้หลายกลุ่มหลายอาชีพ 
      4. เสนอข่าวหรือเรื่องราวต่าง ๆ ครั้งละมาก ๆ ได้ รวมทั้งเสนอข่าวประจำวันทุกวันเป็นประจำ ทำให้ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารเรื่องราวต่าง ๆ ได้ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง 
      5. มีภาพถ่ายประกอบช่วยดึงดูดความสนใจและเข้าใจข่าวสารได้ยิ่งขึ้น 
      6. ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีหลายภาษา 

    ข้อจำกัดของหนังสือพิมพ์ 
      1. ไม่สามารถเข้าถึงผู้อ่านที่อ่านหนังสือไม่ออก หรือผู้สูงอายุที่สายตาไม่ดี 
      2. หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่ไม่มีสีสันสวยงาม ไม่มีสิ่งใดสะดุดตาผู้อ่านนอกจากพาดหัวข่าวซึ่งควรเป็นข้อความที่ กะทัดรัด อ่านเข้าใจง่าย และสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องของข่าว 
      3. มีอายุสั้น ผู้อ่านอ่านครั้งเดียวแล้วจะทิ้งไป ประชาชนไม่นิยมเก็บหนังสือพิมพ์ไว้เป็นเวลานาน 
      4. มีช่วงอายุที่สั้น เมื่อคนอ่านเพียงครั้งเดียวแล้วก็จะผ่านไป เพราะข่าวต่าง ๆมีผ่านเข้ามาทุกวัน 
      5. ผู้อ่านหนังสือพิมพ์จะอ่านเพียงบางเรื่องหรือบางคอลัมน์ที่เขาเกี่ยวข้องหรือสนใจเท่านั้น 
      6. ไม่มีสีสันหรือภาพสีที่สวยงามสะดุดตาชวนอ่าน

      นักประชาสัมพันธ์ ควรรู้จักผูกพันกับหนังสือพิมพ์ และถือว่า การหนังสือพิมพ์สัมพันธ์ เป็นส่วนหนึ่งของงานประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีข้อแนะนำในการปฏิบัติดังนี้ 
         1. ต้องศึกษารวบรวมข้อมูลต่าง ๆเกี่ยวกับวงการหนังสือพิมพ์ เช่น นโยบาย จุดมุ่งหมาย ความต้องการของ หนังสือพิมพ์แต่ละฉบับซึ่งแตกต่างกันไป และต้องศึกษาบุคคลในวงการหนังสือพิมพ์เพื่อทำความรู้จักสร้าง ความสนิทสนมคุ้นเคย 
         2. ต้องให้ข่าวหนังสือพิมพ์ เช่น ข่าวเกี่ยวกับนโยบาย ความมุ่งหมาย โครงการ ผลงาน และเหตุการณ์ เพื่อให้ หนังสือพิมพ์นำไปลงเผยแพร่ ทำให้ประชาชนผู้อ่านเกิดความสนใจ ความรู้ ความเข้าใจ และนิยมเลื่อมใสในสถาบัน 
         3. ต้องอำนวยความสะดวกแก่นักข่าว หรือนักเขียนที่มาติดต่อ 
         4. ต้องผูกสัมพันธ์ และสังสรรค์กับบรรดานักข่าว และนักเขียนให้ใกล้ชิดสนิทสนม
         5. ต้องคอยตัดข่าว บทวิจารณ์ และสารคดีที่หนังสือพิมพ์ต่าง ๆลง เพื่อติดตามวัดผลงาน 
         6. แพร่ข่าวให้หนังสือพิมพ์ ตรวจกระแสข่าว ตรวจข่าวและความคิดเห็นที่เป็นความเข้าใจผิด

       1.2 วารสาร (Journal) 
             จัดทำเพื่อผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม อาจเป็นภายในหรือภายนอกองค์กรก็ได้ จัดทำเป็นรูปเล่ม มีระยะเวลาออกที่แน่นอน และมีความต่อเนื่อง 

       ข้อดีของวารสาร
         1. รูปเล่มแข็งแรงและสวยงาม 
         2. สามารถเข้าถึงกลุ่มประชาชนเป้าหมายได้ตามความประสงค์เจาะจงหรือต้องการ 
         3. มีผลทางด้านช่วยย้ำเตือนความทรงจำและประทับใจ เพราะออกติดต่อกันเป็นประจำและต่อเนื่องโดย สม่ำเสมอ 
         4. มีเนื้อที่เพียงพอที่จะสื่อสารหรือชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ 
         5. มีความยืดหยุ่นสูง เพราะอาจเปลี่ยนแปลงเนื้อหา รูปเล่มให้เป็นไปตามความต้องการและงบประมาณของ องค์กรสถาบันได้ง่าย

       ข้อจำกัดของวารสาร 
         1. คุณภาพของวารสารมักไม่ค่อยดีและขาดคุณภาพ เพราะจัดทำกันเองในองค์กรเป็นส่วนใหญ่ 
         2. งบประมาณเป็นอุปสรรคสำคัญในการจัดทำ 
         3. ยุบเลิกได้ง่าย หากผู้บริหารไม่เห็นด้วย หรือเมื่อไม่ได้รับงบประมาณ 
         4. ผู้จัดทำไม่มีเวลาเพียงพอ เพราต้องมีงานภาระอื่น ๆ ภายในองค์การอีกมากมาย 
         5. หากวารสารที่ออกนั้นมีวัตถุประสงค์ที่ไม่แน่ชัดหรือขาดความรู้ที่น่าสนใจและสาระประโยชน์ที่แท้จริงแล้ววารสารนั้นก็อาจจะไม่ได้รับความสนใจจากประชาชน

       1.3 นิตยสาร (Magazines) 
            นิตยสาร เป็นเครื่องมือหรือสื่อในการประชาสัมพันธ์ประเภทสิ่งพิมพ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง นิตยสารมีรูปเล่มที่กะทัดรัดสวยงาม และมีระบบการพิมพ์ที่ประณีต มีสีสวยงามช่วยดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี

     ข้อดีของนิตยสาร 
        1. การจัดทำนิตยสารมักทำในรูปของธุรกิจโดยทีมงานขององค์กร 
        2. มีการวางแผนงานจัดทำอย่างเป็นระบบ ทำให้มีรูปเล่มที่สวยงามและเนื้อหาแปลกใหม่ ไม่ซ้ำหรือน่าเบื่อ 
        3. สามารถนำเสนอรายละเอียดเรื่องราวได้มาก และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้
        4. จำนวนการผลิตไม่มาก มีการบอกเงื่อนไขการรับเป็นสมาชิก ทำให้ไม่สูญเปล่า 
        5. ระยะเวลาในการอ่านนิตยสารนานกว่าหนังสือพิมพ์

     ข้อจำกัดของนิตยสาร 
        1. ราคาต่อหน่วยของนิตยสารแพงกว่าหนังสือพิมพ์ 
        2. การจัดจำหน่ายและเผยแพร่อยู่ในวงจำกัดเฉพาะกลุ่ม 
        3. ขาดความรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เพราะอาจออกเป็นรายเดือนหรือรายปักษ์ 
        4. มีราคาแพง ประชาชนบางกลุ่มอาจไม่สามารถซื้อหรือจับจ่ายได้ 
        5. มีจำนวนจำหน่ายและเผยแพร่คอนข้างน้อย

        1.4 หนังสือรายงานประจำปี    มักจัดทำเป็นรูปเล่ม และมีขนาดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม มีเรื่องราวสำคัญและ น่าสนใจขององค์กร เรียกว่า Annual Report 
        1.5 หนังสือรายงานประจำงวด (Imperium Report)   ทำเป็นรูปเล่มคล้ายกับหนังสือรายงานประจำปี โดยออกเป็นงวด ๆ เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือนต่อครั้ง เพื่อรายงานผลการดำเนินงานขององค์กรประจำงวด หรือรายงานผลโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว 
        1.6 จดหมาย (News Letter)  มีลักษณะเป็นแผ่นปลิวชนิดหนึ่ง เพื่อส่งให้กับกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมาย หรือคาดคะเนว่าจะเป็นลูกค้าได้ในอนาคตมีหัวจดหมายที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนหรือองค์กร 
        1.7 ป้ายประกาศและโปสเตอร์  เป็นสื่อที่ใช้เพื่อดึงดูดความสนใจของประชาชนที่มีความเด่นและสะดุดตา จัดทำด้วยสีสันสวยงาม มีภาพและตัวอักษรชัดเจน อ่านง่าย แม้อยู่ไกล 
        1.8 แผ่นพับ (Folder)  เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการขององค์กร 
        1.9 เอกสารแจก   มักทำเป็นเอกสารที่รวมเป็นเล่ม เพื่อเผยแพร่หรือแจกให้อ่าน 
        1.10 จุลสาร (Booklet and Bulletin)  เป็นเอกสารเชิงความรู้ทางวิชาการ มีลักษณะคล้ายแผ่นพับแต่เย็บเป็นเล่ม 
        1.11 ใบปลิว (Leaflet)   มีลักษณะเป็นกระดาษแผ่นเดียว บรรจุข่าวสาร เรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องการจะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงในกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง

สื่อบุคคล   (Personal Media)

       สื่อบุคคลเป็นวิธีการสื่อสารที่เก่าแก่ที่สุด ใช้กันตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ขึ้นในโลก เป็นสื่อที่ใช้กันมากใน กลุ่มประชาชนทั่วไป เครื่องมือของสื่อบุคคลมีทั้งที่เป็นคำพูด กริยาท่าทาง การแสดงออกทางอากัปกิริยา
       วิธีการสื่อสารด้วยบุคคลจะเป็นการใช้คำพูดเป็นหลัก ด้วยวิธีการสนทนา อภิปราย บรรยาย สาธิต ประชุม 
คำพูด (Spoken Word) เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว และทุกคนต้องใช้คำพูดในชีวิตประจำวัน ในงานอาชีพ ในชีวิตส่วนตัว สื่อคำพูดจึงเป็นสื่อที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง นอกจากนี้หากคำพูดนั้นพูดโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงที่สังคมยกย่องนับถือก็จะยิ่งเพิ่มน้ำหนักในคำพูดนั้นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว การพูดจึงเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดชักนำความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ออกมาให้ผู้อื่นได้ทราบและเข้าใจ คำพูดจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้มนุษย์เกิดความร่วมมือร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 
      สื่อบุคคลหรือการสื่อสารด้วยคำพูดนั้น มี 2 แบบ คือ 
        - แบบที่เป็นทางการ (Formal oral communication) เช่น การอภิปราย การบรรยาย การประชุม การประกาศข่าว การให้สัมภาษณ์ การสัมมนา 
        - แบบที่ไม่เป็นทางการ (Informal oral communication) คือ การพูดจา สนทนาปราศรัยต่าง ๆ ในการพูดที่เป็นทางการนั้น ผู้พูดจะต้องพูดให้ผู้ฟังสนใจ เข้าใจ ประทับใจ เกิดศรัทธา แล้วยังอาจจะมีวัตถุประสงค์อื่น ๆ ในทางการพูดด้วย เช่น เพื่อให้ข่าวสารความรู้ เพื่อชักจูงใจ เพื่อกระตุ้นเร้าอารมณ์ เพื่อก่อให้เกิดการปฏิบัติการหรือทำให้รู้สึกซาบซึ้ง ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าจุดมุ่งหมายจะมี 2 ลักษณะ คือ จุดมุ่งหมายที่เปิดเผย หรือจุดมุ่งหมายที่ปกปิด

      ประเภทของคำพูดที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ 
          1. การพบปะพูดจาธรรมดา 
          2. การจัดตั้งหน่วยติดต่อ - สอบถาม 
          3. การพูดติดต่อทางโทรศัพท์ 
          4. การแสดงปาฐกถา

      ลักษณะของสื่อบุคคล 
          2.1 การพูดสนทนา เป็นการสื่อสารของบุคคลโดยทั่วไปในวงสนทนา ซึ่งเป็นการสื่อสารกันใน ชีวิตประจำวันทั่วไป 
          2.2 การอภิปราย เป็นการสื่อความโดยกลุ่มคนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ซึ่งเป็นการให้ความรู้ ความคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะที่มีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน 
          2.3 การบรรยาย เป็การสื่อความเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจต่อเนื่องในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยผู้ฟังเป็นผู้รับสาร และผู้บรรยายเป็นผู้ให้สาร 
          2.4 การประชุม เป็นการร่วมกันปรึกษาหารือกันในกลุ่มหรือทีมงานอย่างมีระบบและระเบียบวิธีทางการ ประชุม เช่นการยกมือก่อนพูดแสดงความคิดเห็น มีการจดบันทึกรายงานการประชุม และมีประธานการประชุม 
          2.5 การฝึกอบรม เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคคล เพื่อให้มีความรู้เพิ่มขึ้น และมีความสามารถขึ้นในเรื่องที่ได้รับการฝึกและอบรมมา 
          2.6 การสัมมนา เป็นกระบวนการสื่อสารสองทาง ทั้งให้และรับความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนา 
          2.7 การพูดในที่ชุมชน เป็นการพูดในที่สาธารณะหรือชุมชนในวาระหรือโอกาสต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจ ความรู้ ยกย่อง และยินดี ตลอดจนความเห็นอกเห็นใจในเรื่องราวต่าง ๆ 

      ข้อดีของสื่อบุคคล 
          1. เป็นสื่อที่ทุกคนมีอยู่แล้ว ไม่ต้องสิ้นเปลืองในการซื้อสื่อแบบสื่ออื่น ๆ 
          2. ทำให้ผู้พูดและฟังเห็นหน้าตา บุคลิก ลีลา ท่าทาง น้ำเสียงประกอบการพูดซึ่งมีอิทธิพลในการชักจูงและเร้าความสนใจได้มากกว่า 
          3. เป็นการสื่อสารสองทาง ทั้งผู้พูดและผู้ฟังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที 
          4. ผู้พูดสามารถปรับเนื้อหาให้เหมาะกับผู้ฟังได้ทันท่วงที 
          5. เหมาะกับการเผยแพร่เรื่องราวที่ไม่สลับซับซ้อนหรือติดต่อสัมพันธ์กันเป็นการส่วนตัว

      ข้อจำกัดของสื่อบุคคล 
          1. ไม่มีความคงทนถาวร พูดแล้วก็ผ่านเลยไป 
          2. ไม่สามารถครอบคลุมผู้ฟังจำนวนมาก ๆได้ 
          3. หากผู้พูดขาดความสามารถในการพูดจูงใจ ก็จะทำให้การพูดล้มเหลวได้ 
          4. เนื้อหาสาระที่นำมาพูดหากสลับซับซ้อนเกินไป ทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจ ต้องมีอุปกรณ์ประกอบการพูด เช่น ภาพถ่าย ภาพสไลด์ ภาพยนตร์ 
          5. เป็นสื่อที่ไม่มีหลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจน

สื่อโสตทัศน์   (Audio Visual Media)

      เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีการใช้ทั้งภาพและเสียง มีลักษณะ คือ 
     3.1 ภาพยนตร์ (Films) หรือวิดีโอ (Video) 
             ภาพยนตร์มีทั้งภาพและเสียงประกอบอื่น ๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเลื่อนเป็นชุด ภาพโปร่งแสง ทั้งนี้เป็นเทคนิคต่างๆที่จะให้นักประชาสัมพันธ์เลือกใช้ให้เหมาะกับงานแต่ละแบบ ภาพยนตร์เป็นสื่อที่ใช้ประสาทสัมผัสทางตา นับว่าเป็นสื่อที่ให้ความประทับใจและทำให้ผู้คนจดจำเรื่องราวเนื้อหาได้นาน เพราะผู้ชมจะได้ดูและได้ฟังคำบรรยายไปพร้อม ๆกัน

     ข้อดีของภาพยนตร์ 
         1. มีทั้งแสง สี เสียง และภาพเคลื่อนไหวประกอบดนตรี ทำให้ประทับใจและจดจำ 
         2. สามารถเร่งเร้าความสนใจของผู้ชมได้ตลอดเวลาที่ภาพยนต์ฉายอยู่ 
         3. สามารถสอดแทรกความคิดเห็น และเป็นสื่อในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติพฤติกรรมได้ง่าย 
         4. สามารถเสนอภาพในอดีตที่เราไม่สามารถย้อนกลับไปชมได้อีก 
         5. ใช้เทคนิคสร้างเหตุการณ์ประกอบฉากการถ่ายทำได้อย่างสมจริงสมจังที่สุด

     ข้อจำกัดของภาพยนตร์ 
          1. ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการถ่ายทำภาพยนต์สูงมาก 
          2. ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มชนเป้าหมายจำนวนมาก ๆ ได้ ชมได้ในจำนวนจำกัด เพราะผู้ชมอยู่ในห้องฉายภาพยนตร์เท่านั้น 
          3. มีข้อจำกัดเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์และห้องฉายภาพยนตร์

     3.2 วิทยุ (Radio) 
             เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งข่าวสารได้รวดเร็ว และเผยแพร่ข่าวไปได้ไกลมาก เป็นที่นิยมทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ ประชาชนมีใช้มากแม้ในชนบทที่อยู่ห่างไกลและยังไม่มีไฟฟ้าใช้ มีหลากหลายรายการ ทั้งข่าวสาร บันเทิง รายการเพลง รายการละคร

     ข้อดีของวิทยุ 
          1. มีราคาถูก มีความรวดเร็ว แม้จะอยู่ห่างไกลจากสถานีก็ตาม 
          2. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออกก็สามารถรับฟังได้ ครอบคลุมบริเวณพื้นที่กว้างขวางมาก 
          3. ให้ความรู้สึกเป็นกันเองกับผู้ฟัง สร้างความใกล้ชิด ซ้ำยังพกติดตัวได้ตลอดเวลา 
          4. ให้ความรู้สึกเร้าอารมณ์ และเป็นสื่อที่จูงใจได้ง่าย เพราะเน้นจังหวะ ลีลาที่ใส่อารมณ์ทำให้ผู้ฟังจินตนาการ และมีความรู้สึกร่วมด้วย 
          5. สามารถฟังไปด้วยและทำงานอื่นไปด้วยได้

     ข้อจำกัดของวิทยุ 
          1. ไม่สามารถเสนอรายละเอียดได้มาก เพราะต้องพูดให้สั้น กระชับ เข้าใจง่าย 
          2. ไม่มีความคงทนถาวร ถ้าผู้ฟังพลาดรายการไปก็ไม่สามารถจะรับฟังได้อีก 
          3. ถ้ามีข้อผิดพลาดจะแก้ไขได้ยาก 
          4. ต้องฟังอย่างมีสมาธิจึงจะได้ใจความทั้งหมด 
          5. เป็นการสื่อสารทางเดียว ไม่สามารถไต่ถามเรื่องราวที่ไม่เข้าใจได้

     3.3 โทรทัศน์ (Television) 
              เป็นสื่อที่เจริญรุดหน้ามาก สามารถถ่ายทอดข่าวสารได้ทั้งโดยคำพูด ข้อเขียน และรูปภาพ เป็นทั้งภาพสี ขาวดำ และภาพนิ่ง ภาพยนตร์และอื่น ๆ ถ่ายทอดข่าวสารได้เร็วมาก และส่งภาพในระยะทางไกล ๆได้ด้วย รายการทางโทรทัศน์จะคล้ายกับวิทยุ มีความหลากหลายโทรทัศน์จึงเป็นสื่อที่มีบทบาทและมีผู้นิยมมาก

     ข้อดีของโทรทัศน์ 
          1. ดึงดูดความสนใจได้มาก เพราะสามารถทดแทนได้ทั้ง หนังสือพิมพ์ วิทยุ และภาพยนต์ 
          2. ผู้ชมเก็บข่าวสารได้มากเพราะมีทั้งภาพและเสียง 
          3. ถ่ายทอดข่าวสารได้รวดเร็ว ทำให้ข่าวเป็นที่น่าเชื่อถือ 
          4. สามารถเสนอรายการบางรายการได้ดีกว่าวิทยุและหนังสือพิมพ์ เช่น รายการสารคดี การสาธิตทางวิชาการต่าง ๆ

     ข้อจำกัดของโทรทัศน์ 
          1. ราคาแพงกว่าสื่อประเภทอื่น 
          2. เมื่อพลาดรายการก็ไม่สามารถจะชมได้อีก นอกจากบันทึกเป็นวิดีโอเทป 
          3. เป็นการสื่อสารทางเดียว

      3.4 เครื่องฉายแผ่นใส  
             เป็นสื่อที่ใช้ประกอบการบรรยายเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น

      3.5 เครื่องฉายสไลด์ 
          เป็นสื่อที่ใช้ประกอบการบรรยาย เพื่อให้เกิดความชัดเจน เป็นภาพนิ่ง เลื่อนภาพได้ทีละหนึ่งภาพ ปัจจุบันมีการปรับปรุงให้มีการฉายแบบ Multi ทำให้ฉายได้ทีละ 3 เครื่อง

      3.6 เครื่องรับ – ส่งแฟกซ์ 
             เป็นเครื่องโทรศัพท์ที่สามารถส่งข่าวสารที่มีลักษณะคล้ายการถ่ายเอกสารจากต้นทางมายังเลขหมายโทรศัพท์ปลายทาง โดยมีสัญญาณบอกความพร้อมในการรับข่าวสารหรือแฟกซ์

สื่อกิจกรรมต่างๆ  

        สื่อกิจกรรมต่างๆที่จัดในลักษณะกิจกรรมตามวาระหรือโอกาสต่าง ๆ โดยมากจัดในรูปของนิทรรศการ การออกร้าน งานฉลอง การประกวด การแข่งขัน ประงานสถาปนาองค์กร หรือการเปิดให้เข้าชมกิจการในวันสำคัญ มีลักษณะเด่น 3 ประการ คือ 
         1. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนจำนวนมากมาเข้าร่วมงาน 
         2. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมภายในงานและองค์กรให้เป็นที่รู้จักของประชาชน 
         3. ประชาชนที่มาร่วมงานได้รับสาระประโยชน์ ส่วนองค์กรได้สร้างภาพพจน์ที่ดีในสายตาประชาชนเพิ่มขึ้น

        วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์ 
         1. เพื่อให้การศึกษาทางอ้อมในวิชาการสาขาต่าง ๆ และเหตุการณ์ต่าง ๆ แก่กลุ่มประชาชนเป้าหมาย 
         2. เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล กิจกรรมของสถาบันต่อกลุ่มประชาชนเป้าหมาย 
         3. เพื่อกระตุ้นเร่งเร้ากลุ่มประชาชนเป้าหมายให้ร่วมมือกับสถาบันหรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติของกลุ่มประชาชนเป้าหมายที่มีต่อสถาบัน ไปในทางที่พึงประสงค์ 
         4. เพื่อสร้างความบันเทิง สนุกสนานความพึงพอใจแก่กลุ่มประชาชนเป้าหมาย

        หลักในการจัดกิจกรรมหรือนิทรรศการ 
         1. การจัดแต่ละครั้งควรมีศูนย์รวมแนวความคิดเพียงอย่างเดียว 
         2. ควรเลือกสถานที่ที่เหมาะสมและสะดวกในการเข้าชม 
         3. ต้องให้ผู้ชมเข้าใจง่าย และเสียเวลาน้อยที่สุด คือ จะต้องใช้ทัศนวัสดุประเภท ภาพ ของจริง ของจำลองและวัสดุสามมิติอื่น ๆให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เพราะเป็นการดูมากกว่าการอ่าน 
         4. ใช้คำอธิบายสั้น ๆ ข้อความโต ๆ มองเห็นชัดแต่ไกล 
         5. แสงก็มีบทบาทในการจัดนิทรรศการ 
         6. สีที่สะดุดตาจะช่วยเร้าความสนใจและน่าติดตาม 
         7. ควรพยายามให้ผู้เที่ยวชมได้มีส่วนร่วมตามความเหมาะสม 
         8. ควรจัดเรื่องราวหรือกลุ่มวัสดุที่แสดงให้เป็นหมวดหมู่ และต่อเนื่องสันพันธ์กัน

สื่อมวลชน  

        ลักษณะของสื่อมวลชน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 
        5.1 หนังสือพิมพ์ทั้งรายวัน และนิตยสารทั้งรายสัปดาห์และรายปักษ์ 
        5.2 สื่อกระจายเสียงและแพร่ภาพ นอกจากวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แล้วยังมี 
             - ภาพยนตร์ เป็นสื่อที่ได้จัดทำเป็นรายการภาพยนตร์เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ 
             - เคเบิลทีวี เป็นเคเบิลที่มีลักษณะไร้สาย ต้องติตั้งเสาอากาศไมโครเวฟเพื่อรับความถี่ ถอดรหัสเป็นการ ส่งด้วยคลื่นไมโครเวฟ 
             - ดาวเทียม เป็นการสื่อสารโดยการส่งคลื่นวิทยุโทรทัศน์จากสถานีขึ้นสู่ดาวเทียมและสะท้อนกลับมายังจานรับคลื่น ซึ่งจะมีความคมชัดของภาพมาก 
             - วิดีโอเท็กซ์ เป็นสื่อที่คล้ายกับการส่งสารสนเทศสิ่งพิมพ์ของเทเลเท็กซ์ที่ส่งไปพร้อมกับคลื่นวิทยุโทรทัศน์แต่วิดีโอเท็กซ์อาศัยสายโทรศัพท์หรือสายเคเบิลเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างสถานีส่งกับผู้รับและมีการโต้ตอบกันได้

       บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนที่มีต่อประชาชน 
        1. แจ้งข่าวสาร ความรู้ ความเคลื่อนไหวของกิจการหรือหน่วยงานต่าง ๆ 
        2. เผยแพร่ไปยังประชาชนส่วนใหญ่อย่างกว้างขวาง 
        3. สิ่งที่เผยแพร่มีการจัดเตรียมอย่างดีไว้ก่อนล่วงหน้า 
        4. สื่อมวลชนส่งข่าวสารที่สนองความสนใจของกลุ่มประชาชนจำนวนมาก 
        5. พยายามรักษามาตรฐานหรือคุณภาพการทำงานของสื่อมวลชนประเภทนั้นไว้เพื่อภาพพจน์ที่ดีงามและความเชื่อถือของประชาชน

แนววิธีการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์  

      1. การย้ำหรือซ้ำบ่อย ๆ (Repeating)  จะช่วยให้เกิดความน่าสนใจเพิ่มขึ้น คงทนถาวรมาก 
ขึ้น เหมือนการตอกย้ำหัวตะปู ยิ่งติดแน่นแม่นยำ แต่การใช้วิธีการนี้ควรระวังว่า ถ้าย้ำบ่อย ๆ และกรทำต่อเนื่องกันนานอาจถึงจุดอิ่มตัวขึ้นได้ ถ้าเมื่อใดถึงจุดอิ่มตัวผลจะลดลงทันที เพราะผู้รับจะเริ่มเบื่อหน่ายหรือชินชาเพราะฉะนั้นถ้าจะทำอยู่เรื่อย ๆ ควรให้มีทั้งความต่อเนื่องและความหลากหลาย


       2. ให้โอกาสผู้รับมีส่วนร่วม (Participation)  เช่น ในรายการโทรทัศน์ที่ให้ผู้ชมเข้าร่วมรายการด้วย จะมีอิทธิพลดึงดูดความสนใจได้ดีกว่าที่ผู้จัดรายการจะให้อะไรอย่างเดียว การให้ผู้รับมีส่วนร่วมนั้นสามารถทำได้ทั้งรายการบันเทิง และรายการที่ให้ความรู้

หลักการพิจารณาเลือกใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์  

      เนื่องจากสิ่งที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์มีอยู่มากมายหลายชนิดด้วยกัน ฉะนั้นผู้ที่จะตัดสินใจเลือกสื่ออะไรมาใช้จะต้องพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ว่าจะเหมาะสมและช่วยให้บรรลุเป้าหมายหรือไม่ การพิจารณาเลือกสื่อมาใช้นั้นควรจะคำนึงถึงลักษณะของสื่อที่แตกต่างกัน ดังนี้ 
      1. ด้านเนื้อที่ – เวลา (Space – Time)  สิ่งพิมพ์ รูปภาพ เป็นสื่อที่คำนึงถึงเฉพาะด้าน “ เนื้อที่ ” การพูดทาง โทรศัพท์ วิทยุ คำนึงเฉพาะด้าน “ เวลา ” ส่วนการติดต่อธรรมดา โทรทัศน์และภาพยนต์นั้น คำนึงถึง “ เนื้อที่ – เวลา ” 
     2. การมีส่วนร่วมของประชาชนเป้าหมาย (Audience's participation)  หากจะรียงลำดับสื่อที่ประชาชนเป้าหมายได้มีส่วนร่วมมากที่สุดไปยังน้อยที่สุด สามารถเรียงได้ดังนี้ 
การสนทนาระหว่าบุคคล กลุ่มอภิปราย การประชุมที่ไม่เป็นทางการ โทรศัพท์ การประชุมที่เป็นทางการ ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข จดหมายโต้ตอบระหว่างบุคคล ( ทั้งส่วนตัวและกึ่ง 
ราชการ ) จดหมายติดต่อทั่วไป ( จดหมายราชการหรือที่มีรูปแบบเป็นทางการ ) หนังสือพิมพ์ ใบประกาศและภาพโฆษณา นิตยสาร หนังสือ 
     3. ด้านความเร็ว (Speed) สื่อที่มีความเร็วมากที่สุดคือ วิทยุและโทรทัศน์ และสื่อที่ช้าที่สุด คือ พวกหนังสือ ลักษณะเหล่านี้อาจกล่าวได้ว่า หากเป็นการติดต่อเผยแพร่ข่าวความเคลื่อนไหว ก็ต้องอาศัยความเร็วสูง แต่หากข่าวสารใดที่ต้องการให้ประชาชนเป้าหมายได้ศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดก็ต้องใช้สื่อที่มีความเร็วต่ำ 
     4. ด้านความคงทน (Permanence) หนังสือจัดได้ว่าเป็นสื่อที่มีความคงทนถาวรมากกว่าสื่อใด ๆ วิทยุและโทรทัศน์จัดเป็นสื่อที่มีความคงทนน้อยที่สุด