แบบฟอร์ม ตาราง รายรับ-รายจ่าย

ในการทำ บัญชีรายรับรายจ่าย ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกิจการที่ควรทำ เพื่อเป็นการตรวจสอบรายการทั้งรายได้และรายจ่ายของกิจการในแต่ละเดือนว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร เพื่อช่วยให้ทราบว่าในการดำเนินกิจการที่ผ่านมามีเงินคงเหลือหรือไม่ และมีเท่าไหร่ นำไปเปรียบเทียบกับผลประกอบการว่าได้กำไรหรือขาดทุน เป็นการควบคุมการใช้เงินเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

หัวข้อเนื้อหา

  • ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเองดียังไง?
    • ตัวอย่างรายการที่ใช้บันทึกลงในบัญชีรายรับรายจ่ายส่งธนาคาร
  • ใครบ้างที่ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่งธนาคาร
    • วิธีทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่งธนาคาร
  • รายงานเงินสด รับ จ่าย
  • ประโยชน์ของการทํา บัญชีรายรับรายจ่าย
  • ทำบัญชีรายรับรายจ่าย แบบง่ายทำอย่างไร?
  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มบัญชีรายรับรายจ่าย

ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเองดียังไง?

ในการทำบัญชีรายรับรายจ่าย จะต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดไว้ โดยมีวิธีทำบัญชีรายรับรายจ่ายดังนี้

  1. บัญชีรายรับรายจ่ายต้องเป็นภาษาไทย หากเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับด้วย
  2. ลงรายการรายรับและรายจ่าย ภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่มีนำรายการเหล่านี้มาบันทึก ลงเป็นยอดรวมของแต่ละวัน และมีเอกสารประกอบการลงรายงานดังกล่าวด้วย
  3. หากมีรายการไหนที่เป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกรายการภายในวันที่ทำรายการนั้นและมีการหมายเหตุไว้ด้วย
  4. สรุปรายรับรายจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อใช้ในการประกอบการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตัวอย่างรายการที่ใช้บันทึกลงในบัญชีรายรับรายจ่ายส่งธนาคาร

วันที่ 1ซื้อสินค้า ก100 ชิ้นชิ้นละ 300 บาทวันที่ 2ขายสินค้า10 ชิ้นชิ้นละ 200 บาทขายสินค้า5 ชิ้นชิ้นละ 300 บาทจ่ายค่าไฟฟ้าของเดือนที่ผ่านมา200 บาทวันที่ 3ซื้อสินค้า ข 50 ชิ้นชิ้นละ 200 บาทจ่ายค่าส่งของ50 บาทขายสินค้า ก50 ชิ้นชิ้นละ 400 บาทซื้อกล่องใส่สินค้า50 บาทวันที่ 30ขายสินค้า ข10 ชิ้นชิ้นละ 300 บาทจ่ายค่าน้ำประปา50 บาทจ่ายค่าอินเตอร์เน็ต200 บาท

จากนั้นก็นำรายรับทั้งหมดหักออกด้วยรายจ่ายทั้งหมด จึงจะเหลือยอดคงเหลือซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการทราบรายรับรายจ่ายในเดือนนั้นว่ารายการไหนมากน้อยกว่ากัน

โดยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ส่วนใหญ่ จะทำเพื่อทรายรายรับของกิจการตัวเองและเพื่อขอยื่นกู้ทำสินเชื่อกับสถาบันการเงินต่าง ๆ

ใครบ้างที่ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่งธนาคาร

  1. อาชีพค้าขาย ธุรกิจร้านค้า งานบริการ ประเภทต่าง ๆ
  2. รับจ้างทั่วไป
  3. เกษตรกร ทำไร ทำนา ทำสวน
  4. ผู้ประกอบที่เป็นบุคคลธรรมดา และไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
  5. ธุรกิจร้านค้า
  6. ขายของออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างๆ

วิธีทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่งธนาคาร

สำหรับกิจการไหนที่ต้องการยื่นขอสินเชื่อ เริ่มแรกจะต้องนำรายได้จากการดำเนินกิจการ โดยการฝากเข้าบัญชีธนาคารอย่างสม่ำเสมอหรือทุกวันที่เท่าไหร่ หรือที่เราเรียกว่าสเตทเมนต์ เพื่อให้ธนาคารเห็นรายได้ที่เข้ามาที่มีความสม่ำเสมอ และไม่ควรนำเงินออกจากบัญชีทันที เนื่องจากธนาคารจะมองว่าเป็นการนำเงินผ่านบัญชีเท่านั้น ไม่นับเป็นรายได้หรือการฝากเงิน และผู้ที่นำฝากควรจะเป็นชื่อของผู้จะทำการขอสินเชื่อด้วย นอกจากนี้จะต้องมีการเก็บหลักฐาน เอกสารเช่น ใบเสร็จรับเงินต่าง ๆ บิลส่งของ ซึ่งเป็นเอกสารทางธุรกิจอย่างหนึ่งที่สำคัญอีกด้วย

รายงานเงินสด รับ จ่าย

รายงานเงินสด รับ จ่าย เป็นรายงานที่อธิบดีกรมสรรพากรได้ประกาศกำหนดให้ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายเป็นประจำวัน โดยได้กำหนดให้ผู้ประกอบการเริ่มจัดทำรายงานเงินสดรับ – จ่าย ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เพื่อให้ผ๔ประกอบการใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมรายรับ รายจ่าย และเป็นการวางแผนการประกอบกิจการได้ โดยข้อมูลทางบัญชีที่ดีจะต้องสมบูรณ์เพียงพอและเข้าใจง่าย  เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถมองออกและรู้ได้ถึงความเป็นไปของกิจการได้ทันที ส่วนประกอบในรายงานเงินสด รับจ่าย ดังนี้

  1. ช่อง “วัน/เดือน/ปี” ใช้บันทึกวันที่ เดือน และ ปี พ.ศ. ที่มีรายการรับเงินและจ่ายเงิน
  2. ช่อง “รายการ” ใช้บันทีกรายละเอียดของรายการรับเงิน และจ่ายเงิน เช่น ขายสินค้า ค่าซื้อสินค้า ค่าเช่าบ้านค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เงินเดือน เป็นต้น
  3. ช่อง “รายรับ” ใช้บันทึก “จำนวนเงิน” ที่ได้รับเข้ามา ตามรายละเอียดในช่องรายการ
  4. ช่อง “รายจ่าย” เป็นการซื้อสินค้า ใช้บันทีก “จำนวนเงิน” ที่จ่ายในการซื้อสินค้าที่เที่ยวข้องกับกิจการ
  5. ช่อง “รายจ่าย” เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ใช้บันทึก “จำนวนเงิน” เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
  6. ช่อง “หมายเหตุ” กรณีขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ หรือซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกในวันที่ได้รับชำระหรือวันที่จ่ายค่าสินค้านั้นโดยอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ

ประโยชน์ของการทํา บัญชีรายรับรายจ่าย

  1. รับรู้รายรับ-รายจ่าย ของกิจการ
  2. ใช้เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนธุรกิจ
  3. ช่วยให้มีการควบคุมภายในและมีระบบการจัดเก็บเอกสารที่ดี
  4. กำหนดทิศทางการตลาด

แบบฟอร์ม ตาราง รายรับ-รายจ่าย
แบบฟอร์ม ตาราง รายรับ-รายจ่าย

ทำบัญชีรายรับรายจ่าย แบบง่ายทำอย่างไร?

ในการทำบัญชีรายรับรายจ่าย จะมีการกำหนดช่องรายการรายรับ รายจ่าย ชื่อรายการ จำนวนเงินที่รับหรือจ่าย รวมไปถึงช่องหมายเหตุ โดยการบันทึกรายการจะต้องทำการบันทึกภายใน 3 วัน นับตั้งแต่วันที่เกิดรายการนั้น ทางที่ดีควรบันทึกภายในวันนั้นเพื่อกันความคลาดเคลื่อน แนบเอกสารหลักฐานที่เป็นการรับหรือจ่ายในแต่ละรายการด้วย และทุกสิ้นเดือนจะต้องมีการสรุปยอดทั้งรายรับรายจ่าย เพื่อดูว่าทั้งเดือนเราได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ และยังเป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกด้วย แต่หากผู้ประกอบการคนไหนที่คิดว่าไม่สามารถทำบัญชีรายรับรายจ่ายได้เอง เพราะกลัวความยุ่งยาก ทำไม่เป็นหรือไม่มีเวลาทำ ก็สามารถจ้างบุคคล นักบัญชี หรือสำนักงานทำบัญชีให้ช่วยเราทำบัญชีรายรับรายจ่ายได้เช่นเดียวกัน

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มบัญชีรายรับรายจ่าย

แบบฟอร์ม ตาราง รายรับ-รายจ่าย
แบบฟอร์ม ตาราง รายรับ-รายจ่าย

ตาราง-Excel-บัญชีรายรับรายจ่ายDownload

ตารางรายรับรายจ่าย docxDownload

การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ช่วยให้กิจการรู้ถึงรายการรายรับรายจ่ายว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร เพื่อให้มีการใช้เงินให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ช่วยให้มีการควบคุมภายในที่ดี และสามารถกำหนดทิศทางการตลาดและวางแผนการดำเนินกิจการในเดือนถัดไป จึงเป็นสิ่งที่กิจการควรให้ความสำคัญและทำบัญชีรายรับรายจ่ายนั่นเองค่ะ