ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ

นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รับหนังสือขอบคุณจากนางจีน่า ไรมอนโด  รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกาในโอกาสที่นายจุรินทร์มีหนังสือแสดงความยินดีต่อการเข้ารับตำแหน่งของนางไรมอนโดก่อนหน้านี้

โดยหนังสือจากสหรัฐระบุว่า   พร้อมที่จะทำงานร่วมกับประเทศพันธมิตรในอาเซียนและทั่วโลก เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจผ่านการขยายการค้าและการลงทุน โดยได้ย้ำว่าสหรัฐ และไทยมีประวัติศาสตร์การมีส่วนร่วมกันมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ครั้งการลงนามสนธิสัญญาไมตรี และการพาณิชย์ในปี 2376 หรือกว่า 188 ปีมาแล้ว และโดยที่สหรัฐอยู่ระหว่างการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงพร้อมที่จะร่วมมือกับไทยในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้า และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจไทย-สหรัฐ ขณะเดียวกันสหรัฐเองก็ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ไทย เพื่อให้เกิดประโยชน์เต็มที่กับการค้าระหว่างสองประเทศ ตลอดจนเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาค และของโลกต่อไป 

อ่านข่าว : สบน.เร่งจัดแผนบริหารหนี้ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิดคลี่คลาย

นางมัลลิกา กล่าวว่า นายจุรินทร์ มีแนวนโยบายที่ให้ความสำคัญกับทุกข้อตกลงที่เกิดจากการเจรจาโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย นายจุรินทร์มีบทบาทอย่างสูงในการขับเคลื่อนการเจรจาด้านการค้าระดับต่างๆจนเป็นที่คุ้นเคยของวงการการทูตพาณิชย์ต่างประเทศและรัฐมนตรีด้านการพาณิชย์ในแต่ละประเทศ ทั้งความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ อาร์เซ็ป Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP คือความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่าง 10 ชาติสมาชิกอาเซียน และ 5 ประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งนายจุรินทร์เป็นประธาน และ AEM หรือ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ที่เพิ่งประชุมร่วมผ่านไป

ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ไทยและสหรัฐมีการหารือกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าเป็นระยะ ผ่านทั้งเวทีการหารือระดับทวิภาคี ที่เรียกว่าการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุน TIFA ที่เน้นการแลกเปลี่ยนความคืบหน้าการดำเนินนโยบายและมาตรการทางการค้า ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน และเวทีการหารือระดับภูมิภาคอาเซียน  ซึ่งเน้นการจัดทำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ช่วงปี 2564-2565 ครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น การค้าดิจิทัล การอำนวยความสะดวกทางการค้า การเสริมสร้างความพร้อมให้กับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ในการประกอบธุรกิจออนไลน์และการค้าดิจิทัล เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ที่จัดขึ้นภายใต้แผนงานดังกล่าวก็เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-สหรัฐ 

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  กล่าวว่า   7 เดือนแรกม.ค.-ก.ค.ปี 2564 การค้าระหว่างไทยกับสหรัฐ มีมูลค่ารวม 971,031.83 ล้านบาท ขยายตัว 6.19% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปสหรัฐ  715,092.87 ล้านบาท ขยายตัว 18.71%  และนำเข้าจากสหรัฐ  255,938.96 ล้านบาท หดตัวลง 17.99%  โดยสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และสินค้าที่ไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ เช่น น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ

ประเทศไทยเป็นพันธมิตรที่ยาวนานที่สุดในทวีปเอเชียของสหรัฐฯ ซึ่งความสัมพันธ์เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2376 เมื่อทั้งสองประเทศร่วมลงนามสนธิสัญญาไมตรีและการค้าในยุคประธานาธิบดีแอนดรู แจ็คสัน กับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี โดยการลงนามสนธิสัญญาในครั้งนั้น  ทั้งสองประเทศปฏิญาณที่จะสร้าง “สันติภาพอันถาวร” ซึ่งสนธิสัญญาฉบับนี้เป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยเนื่องจากเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐฯ เข้ามาทำในกลุ่มประเทศอาเซียน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ

Photo : www.thairath.co.th

1.1 แฝดสยาม

ชื่อเสียงของแฝดสยามเป็นผลทำให้คำว่า “สยาม” เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก แฝดสยามอินจันเกิดจากบิดาที่เป็นชาวประมงเชื้อสายจีนกับมารดาชาวไทย ในปี พ.ศ. 2354  เด็กชาย อินและจัน มีร่างกายติดกัน ตั้งแต่หน้าอกจนถึงเอว เมื่อครั้งยังเยาว์วัย อินและจันเรียนรู้การเดิน วิ่ง และว่ายน้ำด้วยความสามารถที่พิเศษ แม้ว่าการกระทบกระทั่งระหว่างกันจะเกิดขึ้นในบางครั้ง พวกเขาก็ยังมีความสามัคคีกันอย่างอัศจรรย์ตลอดชั่วชีวิต ชีวิตของอินและจันถึงจุดผกผันเมื่อ โรเบิร์ต ฮันเตอร์ พ่อค้าชาวอังกฤษในกรุงเทพจูงใจมารดาของคู่แฝดให้อนุญาตให้พวกเขาติดตามไปกับเรือของกัปตันอาเบล คอฟฟิน ไปสู่สหรัฐฯ จนในที่สุดเมื่อปี พ.ศ.2371 อินและจันได้เดินทางไปสหรัฐฯด้วยวัยเพียงแค่ 17 ปี

ทันทีทีอินและจันอำลาประเทศไทย กัปตันคอฟฟินผู้มีอำนาจในการปกครองคู่แฝดสยามคู่นี้ได้เริ่มจัดการเดินสายแสดงฝาแฝดทั้งคู่ตามเมืองใหญ่ในยุโรปและอเมริกาเพื่อแสวงหากำไรให้กับตัวเอง  อย่างไรก็ตาม  อินและจันพัฒนาแนวความคิดทางธุรกิจด้วยตัวพวกเขาเอง และออกจากการปกครองของกัปตันคอฟฟินในปี พ.ศ. 2374 ซึ่งหลังจากนั้นพวกเขาได้จัดการแสดงเองอย่างเป็นอิสระ การแสดงของพวกเขามีทั้งการแสดงกีฬาและสติปัญญา ตัวอย่างเช่น การขี่ม้า และการเล่นหมากรุก ฝาแฝดคู่นี้โด่งดังเป็นอย่างมากในสหรัฐฯ จนพวกเขาได้สัญชาติเป็นพลเมืองอเมริกันในปี พ.ศ. 2382 และเปลี่ยนไปใช้นามสกุล บังเกอร์

หลังจากการตั้งรกรากด้วยการซื้อที่ดินประมาณ 110 เอเคอร์ ในรัฐนอร์ธคาโรไลน่า อินกับจันได้แต่งงานกับสองพี่น้องชาวอเมริกัน คือ ซาร่าและอะเดแลด เยทส์ จนในที่สุด อินและซาร่ามีบุตรด้วยกัน 12 คน ส่วนอะเดแลดและจันมีบุตรด้วยกัน 10 คน

ในปี พ.ศ. 2417 ฝาแฝดทั้งคู่ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคปอดบวม ความโด่งดังของอินจันเป็นต้นกำเนิดของคำว่า “แฝดสยาม” หรือ “Siamese Twins” ที่กลายเป็นศัพท์เฉพาะใช้เรียกคู่แฝดตัวติดกันนับตั้งแต่อินและจันได้เสียชีวิตลง

2. ความสัมพันธ์ในยุคหลังประวัติศาสตร์

2.1. การแลกเปลี่ยนการมาเยือนในระดับสูง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันของประเทศไทย ทรงประสูติเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ. เมืองแคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสท ในระหว่างที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ซึ่งเป็นพระบิดาของพระองค์ กำลังศึกษาทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตั้งแต่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จครองราชสมบัติมานานกว่า 60 ปี พระองค์ได้เสด็จเยือนสหรัฐฯ 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2503 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2510

King Bhumibol Adulyadej Square ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์

ส่วนการมาเยือนประเทศไทยของเจ้าหน้าที่ปกครองระดับสูงของสหรัฐฯ นั้น ประธานาธิบดีบิล คลินตันและภริยา ได้มาเยือนประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เพื่อร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีแห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งการเดินทางมาเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีคลินตันเป็นการมาเยือนครั้งแรกของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในรอบ 27 ปี หลังจากการมาเยือนของประธานาธิบดีนิกสันในปี พ.ศ. 2512 และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้มาเยือนกรุงเทพมหานครฯ เพื่อร่วมการประชุมสุดยอด APEC ประธานาธิบดีบุช เดินทางกลับมาอีกครั้งเมื่อเดือนสิงหาคม 2551 เพื่อร่วมประชุมกับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

ล่าสุดนี้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้มาเยือนกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 14-15 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 การเดินทางครั้งนี้เป็นการเดินทางต่างประเทศครั้งแรกภายหลังจากการชนะการเลือกตั้งสมัยที่สองของประธานาธิบดีโอบามา ซึ่งได้รับการต้อนรับโดยนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และยังได้เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชอีกด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ

Photo Credit : 25 November 1996: King Bhumibol Adulyadej shakes hands with US First Lady Hillary Rodham Clinton as President Bill Clinton looks on during their meeting at Chitrlada Palace in Bangkok (Reuters)
www.ibtimes.co.uk

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ

Photo Credit : 19 October 2003: US President George W Bush toasts with Thailand’s King Bhumibol Adulyadej as they take part in a State Dinner at the Royal Grand Palace in Bangkok Jason Reed/Reuters
www.ibtimes.co.uk

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ

Photo Credit : 18 November 2012: US President Barack Obama, with Secretary of State Hillary Rodham Clinton and Ambassador Kristie Kenney, meets with King Bhumibol Adulyadej of the Kingdom of Thailand, at Siriraj Hospital in Bangkok Official White House Photo by Pete Souza
www.ibtimes.co.uk

2.2 ความสัมพันธ์ด้านรัฐสภา

กลุ่มมิตรประเทศไทยในรัฐสภาสหรัฐฯ หรือ Congressional Friends of Thailand Caucus (FoTC) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552 โดยมีประธานร่วมโดยสมาชิกรัฐสภาจากทั้งพรรคเดโมแครทและพรรคริพับลิกัน และยังมีสมาชิกอื่นๆ จากทั้ง 2 ฝ่ายอีกด้วย จุดมุ่งหมายของกลุ่มพันธมิตรกลุ่มนี้เป็นไปเพื่อการประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐฯ และยังเพื่อเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรระยะยาว เพื่อที่ทั้งสองประเทศนี้จะสามารถรับมือกับความท้าทายและโอกาสในอนาคตของภูมิภาคนี้ได้

ปัจจุบัน คณะกรรมการกลุ่มมิตรประเทศไทยในรัฐสภาสหรัฐฯ มีสมาชิก 20 คนจากสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2545 รัฐสภาไทยได้ก่อตั้ง “กลุ่มมิตรสมาชิกรัฐสภาไทย-อเมริกา” เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของฝ่ายนิติบัญญัติทั้ง 2 สภา โดยในปัจจุบัน กลุ่มความร่วมมือนี้ประกอบด้วยสมาชิก 106 คน 94 คนมาจากสภาผู้แทนราษฎร และอีก 15 คนมาจากวุฒิสภา

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ

3. พันธมิตร ไทย-สหรัฐฯ

3.1 ประวัติศาสตร์

ความร่วมมือทางการเมืองของไทยกับสหรัฐฯแน่นแฟ้นขึ้นเมื่อย่างเข้าศตวรรษที่ 20 โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลสหรัฐฯได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวของเสรีไทย ซึ่งเริ่มขึ้นโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมทย์ เอกอัครราชทูตไทยในสหรัฐฯ ในขณะนั้น การเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้จุดประกายการเคลื่อนไหวที่คล้ายกันในประเทศอังกฤษ และได้รับการสนับสนุนมากยิ่งขึ้นจากกลุ่มใต้ดินที่ต่อต้านการบุกรุกของญี่ปุ่นในประเทศไทย ความสัมพันธ์ที่เติบโตขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ของสหรัฐฯ กับไทยเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยก้าวพ้นสงครามโลกครั้งนี้ได้อย่างมีเกียรติ และยังคงเอกราชของประเทศชาติไว้ได้ นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงถึงจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งทุกด้านของทั้งไทยและสหรัฐฯ ซึ่งรวมไปถึงความร่วมมือทางการเมือง การทหารและเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศมาโดยตลอดแม้ภายหลังช่วงสงครามเย็น

ในช่วงสงครามเย็น ความร่วมมือหลักระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐฯ ถูกจำกัดเพียงแค่ทางการทหารและการเมือง หลักการความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในยุคนี้คือการให้ความร่วมมือในการต่อสู้กับการครอบงำของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นลัทธิที่คนไทยเห็นว่าขัดแย้งกับแนวทางการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมของตน ประเทศไทยให้ความช่วยเหลือสหรัฐฯ เสมือนเป็นแนวหน้าเพื่อป้องกันการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ทางการเมืองและการทหารระหว่างสองประเทศพัฒนามากขึ้นอีกในช่วงสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม

นอกจากนี้ ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และเป็น 1 ในเพียง 2 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สหรัฐฯ มีข้อตกลงในการรักษาความมั่นคงทวิภาคีด้วย หลังจากการสิ้นสุดสงครามเกาหลี ในปี พ.ศ. 2493 ไทยได้ลงนามข้อตกลงช่วยเหลือทางการทหารกับสหรัฐฯ และในปี 2497 มีการลงนามร่วมในกติกามะนิลา (The Manila Pact) ซึ่งระบุว่าการคุกคามความมั่นคงของประเทศไทยถือเป็นการคุกคามต่อสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน กติกาถูกเน้นย้ำอีกครั้งโดยแถลงการณ์ร่วมของถนัด-รัสก์ (Thanat-Rusk Joint Communiqué) ในปี พ.ศ. 2505

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 ประธานาธิบดีบุชขนานนามประเทศไทยว่าเป็นชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต้ ซึ่งทำให้ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากต่างชาติและความช่วยเหลือทางการทหารเป็นพิเศษจากสหรัฐฯ ซึ่งการช่วยเหลือดังกล่าวรวมถึงการรับรองด้านเครดิตสำหรับการซื้ออาวุธหลัก ด้วยความเป็นชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต้ ประเทศไทยยังได้รับการเป็นส่วนร่วมของโครงการยุทโธปกรณ์ส่วนเกิน (Excess Defense Articles–EDA) ซึ่งอนุญาตให้โอนรับเรือรบและยุทโธปกรณ์ที่ใช้แล้วจากสหรัฐฯ ได้

3.2 ความร่วมมือทางการเมือง

ด้วยการตระหนักถึงกลยุทธ์ที่สำคัญของไทยและเสถียรภาพทางด้านอิทธิพลของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลไทยและสหรัฐฯ จึงร่วมมือกันที่จะเสริมสร้างความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ของทั้งสองประเทศในการส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค ซึ่งการเจรจาเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือทางการเมืองดังกล่าวได้เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยการประชุมกรอบความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ไทย-สหรัฐ ครั้งที่ 4 (The 4thThailand – U.S. Strategic Dialogue) นำโดยนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของไทย และนายเคิร์ท แคมป์เบล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายทวีปเอเชียตะวันออกและเอเชียแปซิฟิก

ทั้งนี้ คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำความสำคัญของการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาค โดยสหรัฐฯ ยืนยันที่จะสนับสนุนสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และบทบาทที่สำคัญของ ASEAN ในการพัฒนาโครงสร้างของภูมิภาค รัฐบาลทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำว่าจะยังคงสนับสนุนความร่วมมือที่มากขึ้นต่อเนื่องในกิจการอื่นๆ ของภูมิภาค ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวได้แก่ ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative – LMI) การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (ASEAN Regional Forum – ARF) การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมคู่เจรจา (ASEAN Defense Miniters Meeting – Plus — ADMM+) การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิค (Asia-Pacific Economic Cooperation forum — APEC) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (the East Asia Summit — EAS) ในการเจรจาด้านยุทธศาสตร์ ผู้แทนไทยกล่าวสรุปถึงความเชื่อมโยงระหว่างสหรัฐฯ และภูมิภาคอาเซียน และการพัฒนาในด้านบวกของภูมิภาค  ซึ่งการเติบโตนี้รวมไปถึงขั้นตอนในการบรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558  สหรัฐฯ เน้นย้ำที่จะสนับสนุนขั้นตอนการสร้างประชาคมอาเซียนต่อไป

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ

Photo Credit : https://pixabay.com

3.3 การร่วมมือทางการทหาร

สหรัฐฯ กับไทยมีข้อตกลงทางความมั่นคงมาช้านาน โดยความร่วมมือดังกล่าวรวมไปถึงการฝึกทหารและการซ้อมรบร่วมกันทั้งสองประเทศหรือ Cobra Gold ซึ่งเป็นสนามซ้อมรบของสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

การฝึกซ้อมรบระหว่างทหารไทยและสหรัฐฯ ณ สนามฝึกรบ Cobra Gold

การเสวนายุทธศาสตร์ความมั่นคงไทย-สหรัฐฯ (the Thai – U.S. Defense Talk) เป็นการประชุมสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือของนโยบายด้านความมั่นคงและเป็นการปรึกษาร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ซึ่งการอภิปรายเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาระผูกพันไทยและสหรัฐฯ ในการร่วมมือด้านความมั่นคง โดยมีพื้นฐานจากการให้ความสำคัญและเคารพซึ่งกันและกัน ทั้งสองฝ่ายยังได้ตกลงที่จะเสริมสร้างกองทัพให้แข็งแรงดั่งพันธมิตรที่แท้จริงของศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งสนับสนุนสันติภาพ ความมั่นคงและความเจริญ รวมทั้งสนับสนุนเสถียรภาพด้านความมั่นคงของโลก โดยเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555 มีการเสวนายุทธศาสตร์ความมั่นคง จัดโดยพลเอกทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม และนายมาร์ค ลิปเปิร์ท ผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมฝ่ายกิจการความมั่นคงในเอเชียแปซิฟิค (APSA) โดยทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำถึงความสำคัญของความความต่อเนื่องในการร่วมมือเพื่อความมั่นคงระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมทั้งการสร้างความร่วมมือในการช่วยเหลือด้านสันติภาพ ดังเช่น ความสำเร็จของภารกิจกองทัพไทยในดาร์ฟูร์ เช่นเดียวกับปฏิบัติการป้องกันโจรสลัด ที่กองทัพเรือไทยยังคงเป็นผู้นำและเตรียมกำลังความพร้อมสำหรับภารกิจรวมกำลังข้ามชาติ 151 (Force 151) ในอ่าวเอเดน  และสืบเนื่องมาจากการร่วมมือสหรัฐ-ไทยในครั้งเหตุการณ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปี 2547 และพายุไซโคลนนาจีสในปี 2551 ทั้งสองฝ่ายปฏิญาณในการขยายความร่วมมือในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติต่อไปอีกด้วย

ในปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศในการเป็นพันธมิตรอย่างแท้จริงในศตวรรษที่ 21 ยังมีความท้าทายมากมายรออยู่ ซึ่งรวมไปถึงการรับมือต่อภัยธรรมชาติและภัยที่มาจากน้ำมือมนุษย์เอง การเผชิญหน้ากับภัยคุกคามข้ามชาติ การสนับสนุนการรักษาสันติภาพโลก และประเด็นการรักษาความมั่นคงแห่งชาติในเขตแดนทางทะเล ซึ่งทั้งสองฝ่ายมุ่งเน้นสี่ด้าน ได้แก่ 1) การเป็นหุ้นส่วนเพื่อความมั่นคงในภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2) สนับสนุนเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและดินแดนที่ไกลกว่านั้น 3) การทำงานร่วมกันในระดับทวิภาคีและพหุภาคี 4) การสร้างความสัมพันธ์ การประสานงานและความร่วมมือในทุกระดับ เหล่านี้ได้สะท้อนในการร่วมแถลงวิสัยทัศน์ปี 2555 และนอกจากนี้ไทยและสหรัฐฯ ได้มีการลงนามพันธมิตรเพื่อความมั่นคงในศตวรรษที่ 21 ระหว่างพลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัตและนายลีออน ปาเน็ตต้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความท้าทายทางความร่วมมือทางการทหารล่าสุดเกิดจากเหตุการณ์รัฐประหารปี 2557 สหรัฐฯ ประกาศตัดความช่วยเหลือทางการทหารกับไทย 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตามกฎหมายของสหรัฐฯ รัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องระงับความช่วยเหลือทางทหารกับกองทัพต่างชาติซึ่งโค่นอำนาจการปกครองรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

3.4 ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดคู่ค้าของประเทศไทยที่ใหญ่เป็นอันดับสาม รองจากญี่ปุ่นและจีน  ด้วยมูลค่าการค้าที่มากกว่า 37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีพ.ศ. 2555 สหรัฐฯ ยังเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนต่างชาติในประเทศไทยที่ใหญ่ที่สุด สินค้าที่ไทยนำเข้ามาจากสหรัฐฯ รวมถึง เครื่องจักร เคมีภัณฑ์  ทอง จักษุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ อากาศยาน และสินค้าทางการเกษตร ส่วนสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯมีทั้งเครื่องจักร ยางพารา เสื้อ อาหารสัตว์สำเร็จรูป กุ้ง ปลาทูน่า อัญมณีและสินค้าการเกษตรอื่นๆ  ในปีพ.ศ. 2554 มีนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันมาเที่ยวเมืองไทย 767,420 คน ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทย 60,000 คนเดินทางไปยังสหรัฐฯ ประเทศไทยและสหรัฐฯได้ลงนามในกรอบข้อตกลงการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework — TIFA) ในปีพ.ศ. 2545 ภายใต้กรอบข้อตกลงนี้ สหรัฐฯและไทยมีข้อผูกมัดร่วมกันทางการค้าและการลงทุนอย่างเป็นทางการ อาทิเช่น ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ประเด็นภาษีศุลกากร การเจรจา WTO Doha วาระการประชุม APEC และ ASEAN และความสนใจของประเทศไทยในความตกลงหุ้นส่วนภาคพื้นแปซิฟิค (Trans-Pacific Partnership Agreement — TPP)

3.5 รายนามหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ดำเนินงานในประเทศไทย

  • สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (Armed Forces Research Institute of Medical Sciences — AFRIMS)
  • สำนักงานรักษาความปลอดภัยทางการทูต (Bureau of Diplomatic Security — DS)
  • ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (Center for Disease Control — CDC)
  • สำนักงานปราบปรามยาเสพติด (Drug Enforcement Administration — DEA)
  • สำนักงานทูตเกษตร (The Foreign Agricultural Services — FAS)
  • สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย (International Law Enforcement Academy Bangkok — ILEA)
  • กองบัญชาการปฏิบัติการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหาย (Joint POW/MIA Accounting Command — JPAC)
  • คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย (Joint US Military Advisory Group Thailand — JUSMAGTHAI)
  • Orderly Department Program
  • คณะกรรมการบริหารแห่งบรรษัทการลงทุนเอกชนในต่างประเทศ (Overseas Private Investment Corporation — OPIC)
  • หน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย (Peace Corps Thailand)
  • องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Agency for International Development — USAID)
  • สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ (U.S. Citizenship and Immigration Services — USCIS)
  • สำนักงานพาณิชย์สหรัฐอเมริกา (U.S. Commercial Service)
  • ศุลกากรสหรัฐฯ (U.S. Customs and Border Protection — CBP)
  • สถานทูตสหรัฐฯ (U.S. Embassy)
  • วิทยุเสียงอเมริกา (Voice of America)

(ข้อมูลจาก http://bangkok.usembassy.gov/embassy/usgmain.htm)

การลงทุน

การลงทุนโดยตรงจากสหรัฐอเมริกา (FDI)  ในประเทศไทย (หุ้น) มีมูลค่า 11.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีพ.ศ. 2554 เพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2553 ร้อยละ 7.6 การลงทุนในประเทศไทยโดยบริษัทสหรัฐฯ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคโรงงานอุตสาหกรรมและการธนาคาร

การลงทุนของประเทศไทยในสหรัฐฯ (หุ้น) มีมูลค่า 118 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีพ.ศ. 2554 ลดลงร้อยละ 25.3 จากปีพ.ศ. 2553  การกระจายการลงทุนของประเทศไทยในสหรัฐฯ ไม่ปรากฏในปีพ.ศ. 2554

การขายบริการสินค้าในประเทศไทยโดยบริษัทเอกชนสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มีมูลค่า 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีพ.ศ. 2543 ในขณะที่การขายบริการสินค้าในสหรัฐฯ โดยบริษัทที่คนไทยเป็นเจ้าของมีมูลค่า 151 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ความสัมพันธ์ของไทยกับอเมริกาด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างไร

สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่ที่สุดของไทย โดยได้ซื้อสินค้าจากไทยเมื่อปี 2564 รวมมูลค่ากว่า 47,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และการค้าสองฝ่ายในปีเดียวกันมีมูลค่ารวม 63,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ความสัมพันธ์ของเรา ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้าบริโภคและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรไปจนถึงความร่วมมือในอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ได้ ...

ข้อใดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา

ความสัมพันธ์ไทยกับสหรัฐอเมริกามีความต่อเนื่องยาวนานมากว่า 182 ปี ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันหลากหลายมิติทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคงและการทหาร โดยเฉพาะไทยได้รับสถานะเป็น Major Non-NATO Ally (MNNA) ของสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2546 อย่างไรก็ดี ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยส่งผลให้สหรัฐฯ เกิดความกังวลทั้งในแง่ของ ...

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นครั้งแรกในรัชกาลใด

บทความเรื่อง ย้อนราลึกความสัมพันธ์ไทยกับสหรัฐอเมริกาในรัชสมัยรัชกาลที่3 ถึงรัชกาลที่5 ซึ่งเป็น ช่วงเริ่มต้นของความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและบทบาทของสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้ามา ติดต่อและสร้างความสัมพันธ์กับไทยในด้านต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์มีหลายด้าน แต่ในบทความนี้ เน้นศึกษาด้านการทูตและการค้า ...

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศเกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ใด

ประเทศไทยได้มีการร่วมมือแลกเปลี่ยนและสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศต่างๆทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการประสานประโยชน์ร่วมกันและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในรูปแบบต่างๆ เช่นการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การด้านความร่วมมือต่างๆเป็นต้น