หลักการของนวัตกรรม 5 ประการ

  กลุ่มที่ 1

   แนวคิด ทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดใหม่และการกระทำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม เกิดเป็นแรงจูงใจในการเรียน และยังช่วยประหยัดเวลาในการเรียนได้ดียิ่งขึ้น เช่น การเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดีทัศน์ เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

แนวคิดและความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา ในทัศนะของนักการศึกษาหรือนักเทคโนโลยีการศึกษา มีอยู่ 2 แนวคิด คือ

1. แนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ

2. แนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์

       เทคโนโลยีการศึกษาตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ เป็นการประยุกต์วิทยาศาสตร์-กายภาพ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) กับเทคโนโลยีการช่างหรือวิศวกรรม (เครื่องฉายต่าง ๆ เครื่องบันทึกเสียง วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ) มาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน

เทคโนโลยีการศึกษาตามแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ จะพิจารณาเทคโนโลยีการศึกษาในเชิงการปฏิบัติทางการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมมนุษย์ โดยนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา มานุษยวิทยา สังคมวิทยา กระบวนการกลุ่ม การสื่อสาร ตลอดจนความรู้ทางช่าง และเครื่องมือต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการจัด การเรียนการสอน

จากแนวคิดทั้ง 2 จึงมีผู้ให้นิยามของเทคโนโลยีการศึกษาออกเป็น 2 ลักษณะเช่นกัน อาทิเช่น

      กูด (Good,1973 : 529) ได้ให้ความหมาย ของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ว่า เป็นการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์และเครื่องมือเพื่อนามาใช้ในการเรียนการสอน

      แฮนคอค (Hancock,1977 : 5) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือการผสมผสานความคิด ความเข้าใจ ในการปฏิบัติงานระหว่างคนกับเครื่องมือและวัสดุ อย่างมีระบบโดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    กาเย่ และบริกส์ (Gagne and Briggs,1979 : 22) ได้นิยามไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือความรู้ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการเรียนการสอนโดยครอบคลุม 3 ประการ ต่อไปนี้คือ

1. ความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้

2. ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเสริมแรง การวางเงื่อนไข เป็นต้น

3. เครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นประดิษฐ์กรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

      สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สหรัฐอเมริกา (AECT,1977) ได้ให้คำนิยาม ของเทคโนโลยีการศึกษาไว้และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายว่า เทคโนโลยีเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคล วิธีการ ความคิด เครื่องมือ และองค์กร กระบวนการนี้มีขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและการวางแผน การนามาใช้ การประเมินผล และจัดการหาทางแก้ปัญหาทุก ๆ อย่างที่เกิดขึ้นอันเกี่ยวพันกับการเรียนรู้ของมนุษย์ ซึ่งต่อมาสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความหมายใหม่ว่า เทคโนโลยีการศึกษา เป็นทฤษฎีและการปฏิบัติของ การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมิน ของกระบวนการและทรัพยากรสาหรับการเรียนรู้

ดังนั้น โดยสรุปแล้วเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการประยุกต์เอา แนวความคิด หลักการ ทฤษฎี เทคนิค วิธีการ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาใช้ในวงการศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การศึกษามีประสิทธิภาพ (Efficiencey) ประหยัด (Economy) และมีประสิทธิผล (Productivity)

2.ประเภทของทฤษฎี

  1. ทฤษฎี Schumpeter’s theory of innovation

    Schumpeter เป็นค้นคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ก็คือ การทำลายสิ่งที่สร้างสรรค์ ซึ่งมีการคิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อที่จะทำลายสิ่งที่มีอยู่เดิม โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างกำไรเพิ่มขึ้นให้กับองค์กร การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยกลยุทธ์นวัตกรรม

1 ประเภทของนวัตกรรม -ของ Schumpeter ได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

  1. การเปลี่ยนแปลงในผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กร

  2. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือกระบวนการนำนวัตกรรมสู่ตลาด

  3. การเปลี่ยนตำแหน่งนวัตกรรมสินค้าที่เคยออกสู่ตลาดมาแล้ว ให้มีการรับรู้สิ่งใหม่

  4. การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์นวัตกรรมองค์กรให้มีการเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่

2 ทฤษฎี แบบผ่าเหล่าผ่ากอ

         เป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์ เคลย์ตัน คริสเตนเซน ที่บอกว่าทฤษฎี แบบผ่าเหล่าผ่ากอเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีสินค้าหรือบริการ ที่สามารถที่จะล้มล้างเทคโนโลยี สินค้าหรือบริการที่มีอยู่เดิมมาเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

  1. การเปลี่ยนแปลงตลาด

  2. การนำเสนอเทคโนโลยีใหม่

3 ทฤษฎีหุบเหวแห่งการดับของนวัตกรรม

          การยอมรับนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมโดยนวัตกรรมใดที่สังคมมีความต้องการ และเกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ สังคมนั้นๆก็จะมีการยอมรับนวัตกรรมตัวนี้   แต่ถ้านวัตกรรมใดที่สังคมต้องการน้อยและมีปัญหาเกิดขึ้นนวัตกรรมตัวนี้ก็จะถูกดับไป

4 ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม

          เกิดจากการผ่านกระบวนการใช้เทคโนโลยีที่ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ประดิษฐ์และผู้ใช้ในสังคม กลับไปกลับมาหลายครั้งจนเกิดการยอมรับในสังคม กลุ่มคนในสังคมที่ยอมรับการแพร่กระจายทางเทคโนโลยีมีด้วยกัน 5 ประเภทคือ

  1. คนกลุ่มแรกในสังคม เป็นทั้งผู้ประดิษฐ์คิดค้นแล้วยังเป็นผู้ใช้งานที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี และชอบติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอนั่นเอง

  2. กลุ่มที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ และค่อนข้างมีฐานะ เป็นนักวิชาการหรือคนดังในสังคม

  3. กลุ่มนี้จะตัดสินใจได้ต้องคิดหลายรอบแต่ต้องใช้งานได้ง่าย และมีประโยชน์ของนวัตกรรม

  4. กลุ่มที่มีการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมอาจจะเริ่มตกรุ่นไปแล้ว และมีความจำเป็นที่จะใช้งานจริงๆ

  5. กลุ่มที่มีการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเมื่อตกรุ่นไปแล้ว และเป็นกลุ่มสุดท้ายในสังคม

ประเภทของนวัตกรรม

         การจัดประเภทของนวัตกรรม สามารถจำแนกได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น โดยทั่วไปสามารถจำแนกได้หลายวิธี เช่น จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมโดยตรง

 1. นวัตกรรมจัดการเรียนรู้ของครู เช่น วิธีการสอน กิจกรรมที่ครูนำมาใช้กับผู้เรียน  และสื่อการสอน

2. นวัตกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น แบบฝึกหัดต่างๆที่ครูสร้างขึ้น บทเรียนสำเร็จรูป สื่อมัลติมีเดี

3. นวัตกรรมเพื่อการบริหารและพัฒนาการทำงานของครูและนักเรียน

จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม

        1. เทคนิควิธีการ  วิธีการจัดกิจกรรมพัฒนา การจัดกิจกรรมสำหรับผู้เรียน เช่น การจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน และเหมาะกับวิธีการสอนของครู

        2. สื่อการเรียนรู้  สื่อการเรียนรู้เป็นตัวกลาง หรือเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ สื่อการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

         2.1 สื่อประเภทวัสดุ  สื่อการเรียนรู้ที่มีลักษณะเก็บความรู้ หรือถ่ายทอดความรู้ โดยใช้ภาพ เสียง ตัวอักษร ในรูปแบบต่างๆ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

         2.1.1วัสดุที่เสนอความรู้จากตัวสื่อ

         2.1.2 วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลเป็นตัวนำเสนอความรู้

        2.2 สื่อประเภทเครื่องมือหรือโสตทัศนูปกรณ์ เป็นสื่อที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านของความรู้ที่ถ่ายทอดไปยังผู้รับ เช่น เครื่องช่วยสอน  เครื่องฉาย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ฯลฯ

 การจำแนกตามจุดเน้นของนวัตกรรม

         1. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผลผลิต เป็นนวัตกรรมที่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ เช่น วีดีทัศ ซีดี สไลด์ ฯลฯ

         2. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเทคนิค วิธีการ หรือกระบวนการในการจัดการเรียนรู้   เช่น โครงงาน ผังมโนทัศน์ บทบาทสมมุติ ฯลฯ

        3. นวัตกรรมที่เน้นทั้งผลผลิตและเทคนิคกระบวนการ เช่น  ระบบการผลิตและสร้างสื่อการ  เรียนรู้กระบวนการที่สามารถให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ

นวัตกรรมทางการศึกษาที่ยึดแนวความคิดพื้นฐานเป็นหลัก สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท

  1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล

  2. ความพร้อม

  3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา

  4. ประสิทธิภาพในการเรียน

 4.หลักการทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษา

                     ในปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสังคมอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่คนเราต้องคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต สิ่งที่คิดขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุสิ่งของ อาจเป็นแนวคิดหรือ วิธีการก็ได้ ในโรงเรียนทั่วไปได้มีการนำนวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน ในงานวิจัยได้นำเอานวัตกรรมไปทดลองใช้ในชั้นเรียน และพบว่าได้ผลเป็นที่พอใจ จึงทำการเผยแพร่และใช้ในวงกว้างต่อมา เช่น ชุดการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ ภาพ และรูปแบบการสอนต่างๆ

                      กิดานันท์  มลิทอง (2543 : 245)  ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม เป็นแนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

                      นวัตกรรม คือ  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   เช่นเทคนิคและวิธีการใหม่ๆที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่ยอมรับใช้โดยทั่วกัน

                      นวกรรม คือ ความคิดและการกระทำที่ใหม่ๆที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

                      นวกรรมทางการศึกษา หมายถึงความคิดและการกระทำใหม่ๆที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

                      เทคโนโลยีทางการศึกษา  คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการสอนเพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์   เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์   เครื่องมือตลอดจนเทคนิคต่างๆ

หลักการ ทฤษฎี แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

ประกอบด้วย

                         1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา

                               1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้   ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้

                               1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน

                              1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร์ อิริคสัน กีเซล

                         2. ทฤษฎีการสื่อสาร   รศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (communication ) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ และผู้รับสื่อ

                        3. ทฤษฎีระบบ   จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขาโดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา

                       4. ทฤษฎีการเผยแพร่ กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์(2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษฎีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น

​หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้

                         หลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 10ประการ คือ

                        1.หลักการจูงใจ  สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการ สอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดัน ส่งเสริมและเพิ่มพูนกระบวนการจูงใจ ที่มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ ความปรารถนา และความคาดหวังของผู้เรียนที่จะศึกษา

                        2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept)  ส่วนบุคคล วัสดุการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน ดังนั้นการเลือก การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่กำหนด

                       3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี   ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยว กับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน ดังนั้นการเลือก การใช้การตอบสนอง และผลิตผลจึงจะต้องพิจารณาเป็นแผนรวมเพื่อสนองความต้องการและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างสอดคล้องกัน

                      4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา  ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา

                      5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ  ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม  และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุดจากกิจกรรมการเรียนการสอนเพราะเป็นหนทางที่จะทำให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  ดังนั้นการจัดสื่อเทคโนโลยีควรคำนึงถึงหลักการเหล้านี้

                     6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ  สื่อที่สามรารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ  จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ  เพิ่มความคงทนในการจำยั่วยุความสนใจและทำให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง

                   7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน  อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ  จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ  ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน

                   8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล  สื่อที่มีลักษณะชัดเจน  สอดคล้องกับ ความต้องการ  และสัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี

                   9.การถ่ายโยงที่ดีโดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง อัตโนมัติ  จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ  เพ่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ใชีวิตประจำวัน  ซึ่งผู้สอนจะต้องวางแผนจัดประสบการณ์ที่จะส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ใหม่ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้นั้นที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง

                  10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้นถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที  หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว    ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ 1 ความต้องการของผู้เรียน (Want ) 2 สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus)  3 การตอบสนอง (Response) 4 การได้รับรางวัล (Reward)

​ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรม ทางการศึกษาที่สำคัญของคนไทยในปัจจุบัน

1. วงการศึกษาปัจจุบัน นำนวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่นวัตกรรมเหล่านี้ก็ยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในวงการศึกษาปัจจุบัน

2. ปัจจุบันเริ่มมีการใช้E-learning ที่เป็นการเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ที่แสดงเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์รูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติที่ผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถและความสนใจของตนโดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งจะประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ และมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งผ่านผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้

 ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา

1. ช่วยพัฒนาศักยภาพ และความสามารถสูงสุดของบุคคล

2. ช่วย ขยายขอบเขตความรู้ และโลกทัศน์ทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ช่วยลดปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล

4. ช่วยเปิดโอกาสทางการเรียนให้กับผู้เรียนอย่างทั่วถึง

5. ช่วยให้คนสามารถปรับตัวในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้

6. ช่วยให้ผู้เรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

บรรณานุกรม

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษานวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษมันตวัฒนาณรงค (2548). “วิเคราะหและสังเคราะหทฤษฎีการเผยแพรและการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การศึกษาตอนที่ 1” วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. ปที่19, ฉบับที่ 61, มกราคม-มีนาคม 2550,

หนา 32-41.

จรูญ วงศ์สายัณห์. 2527. นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (ประมวลความรู้ เรื่องนวัตกรรม ทางการศึกษา). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภา

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521. หลักการทฤษฎีเทคโนโลยีและนวกรรมทางการศึกษา. กาฬสินธุ : ประสานการพิมพ ..

พันธุ์อาจ ชัยรัตน์. (2547).การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรม แห่งชาติ

 วิจิตร ศรีสอ้าน. (2517). “เทคนิควิทยาทางการศึกษา” นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

วรวิทย์ นิเทศศิลป์ . (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สกายบุกส์.

สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สหรัฐอเมริกา (AECT,1977)

สวัสดิ์ ปุษปาคม .2517. นวกรรมและเทคโนโลยีในการศึกษา.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,

สาโรช โศภีรักข์. 2546. นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์

อํานวย เดชชัยศรี .2544.นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา.กรุงเทพ ฯ : องค์การคาของคุรุสภา

หลักการของนวัตกรรม มีอะไรบ้าง

นวัตกรรมคืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง กระบวนการของนวัตกรรมมีขั้น....
การค้นหา(Searching) เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อตรวจจับสัญญาณของทั้งโอกาสและอุปสรรค สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต.
การเลือกสรร(Selecting) ... .
การนำไปปฏิบัติ(Implementing) ... .
การเรียนรู้(Learning).

หลักการที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษามีอะไรบ้าง

หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษาประกอบด้วย กลุ่มปัญญานิยม คือเรียนรู้เป็นกระบวนการของจิตที่ต้องมีการรับรู้จากการกระทำ และตีความ สามารถให้เหตุผลจนเกิดเป็นความรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม คอนสตรัคติวิสต์ เป็นการอาศัยประสบการณ์เดิม ทางปัญญาที่มีอยู่เดิม

แนวคิดของนวัตกรรมคืออะไร

นวัตกรรม คือ แนวคิดใหม่ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ต่อยอดและใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยอาศัยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ซึ่งนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ สามารถช่วยสร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจได้

“นวัตกรรม” ในความหมายของ มอร์ตัน คือข้อใด

มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมายนวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)