ตัวอย่าง วิจัยเชิงความสัมพันธ์

การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นับได้ว่าเป็นการวิจัยรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงบรรยาย นิยมในการนำไปใช้ สำหรับการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กันอย่างแพร่หลายนั่นเอง

โดยมีจุดประสงค์เพื่อค้นหาว่าตัวแปรอะไรบ้าง ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันหรือการหารูปแบบของความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต่างๆไม่ว่าจะเป็นความหนักเบา หรือความเข้มข้นหรือเป็นการคาดคะเนตัวแปรหนึ่ง หรือหลายๆตัวแปรนั่นเอง โดยการค้นหานี้สามารถนำไปพัฒนาเทคนิค และวิธีการต่างๆและนำไป นำมาซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตอบคำถามในการวิจัยต่อไป ตัวอย่างในการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เช่น การวิจัยความสัมพันธ์และการพยากรณ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ

ลักษณะความสัมพันธ์ของตัวแปรในการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรนั้น มีด้วยกัน 3 ลักษณะคือ

  1. ความสัมพันธ์แบบสมมาตรความสัมพันธ์
  2. ความสัมพันธ์แบบไม่สมมาตร
  3. ความสัมพันธ์แบบตอบโต้

ความสัมพันธ์ทั้ง 3 ลักษณะนี้ สามารถอธิบายได้เชิงเหตุและผล ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการวิจัยเชิงทดลอง

รูปแบบในการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์

  1. The Explanatory Designเป็นการหาความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว เพื่อบรรยายความสัมพันธ์ใน 2 ลักษณะ โดยดูที่ขนาดของความสัมพันธ์ ว่าตัวแปร X และตัวแปร Y มีความสัมพันธ์กับแบบใด หรือ ทิศทางความสัมพันธ์แบบแปรแปรผันตามกันหรือว่าแปรผกผันกันแน่
  2. The Prediction Designเป็นการหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย โดยอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์เชิงบรรยาย ให้ลึกซึ้ง โดยใช้ตัวแปร x ทำนายตัวแปร y

กระบวนการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์

มีกระบวนการหรือขั้นตอนคล้ายกับการวิจัยทั่วไป แต่มีรายละเอียดขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ

  1. การกำหนดปัญหาการวิจัยและการตั้งชื่อเรื่อง มักที่จะชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรที่จะศึกษามีตั้งแต่ความสัมพันธ์แบบง่าย ไปจนถึงความสัมพันธ์หลายตัวแปร
  2. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์จะอยู่บนกรอบหลัก 3 ประการ
    – เพื่อศึกษาว่าตัวแปรมีอะไรบ้าง ที่สัมพันธ์กัน
    – เพื่อศึกษารูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆว่า มีลักษณะแบบไหนอย่างไร
    – เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆว่า มีมากน้อยเพียงใด
  3. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องศึกษา องค์ความรู้จากหลักการและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง หรือการวิจัยที่เกี่ยวข้องนั่นเอง
  4. การตั้งสมมุติฐานของการวิจัย โดยขั้นตอนการตั้งสมมุติฐานการวิจัย ต้องชัดเจน สามารถที่จะคาดคะเนคำตอบของการวิจัยได้ล่วงหน้า แบบมีหลักการและมีเหตุผล
  5. การออกแบบเพื่อหาคำตอบของการวิจัย ซึ่งขั้นตอนนี้ก็จะมีการกำหนดประชากรเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่าง การสร้างและพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล  การกำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การออกแบบวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
  6. การจัดทำโครงการวิจัย ซึ่งจะต้องดำเนินการวิจัย โดยเขียนเป็นโครงการวิจัยแบบย่อ และโครงการวิจัยแบบสมบูรณ์
  7. ดำเนินการวิจัยตามโครงการวิจัยที่กำหนดไว้ โดยการกำหนดเครื่องมือสำหรับการวิจัย  การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลออกมา
  8. ดำเนินการสรุปและเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยการเขียนรายงานการวิจัย มักจะมีการเขียนรายงานเป็น 5 บท ตามรูปแบบมาตรฐานของการเขียนรายงานการวิจัย

ดังนั้นใครก็ตามที่กำลังมองหาทีมงานมืออาชีพ ที่พร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือ พร้อมรับทำวิจัยเชิงสหสัมพันธ์  (Correlational Research)ที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานของราคาที่ยุติธรรม