พฤติกรรมการบริโภคกาแฟของคนไทย 2565

LINE MAN เผยสถิติที่สุดแห่งปี 2021 พฤติกรรมเดลิเวอรีของคนไทยทั้ง 77 จังหวัดตลอดทั้งปี 2021 จากผู้ใช้กว่า 5.9 ล้านคนต่อเดือน ที่สั่งจากร้านอาหารกว่า 500,000 ร้าน พบ 'กาแฟ' เป็นเมนูที่คนไทยสั่งมากที่สุด ทั้งปีทะลุ 6.3 ล้านแก้ว 'ชลบุรี-เชียงใหม่-นครปฐม' จังหวัดทำเลทองที่มีร้านอาหารเดลิเวอรีเปิดใหม่มากที่สุด

เมื่อช่วงต้นเดือน ม.ค. 2565 LINE MAN เปิดสถิติ "ที่สุดแห่งปี 2021" บนแอปพลิเคชั่น LINE MAN มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • "กาแฟ" ขายดีสุด! สั่งเดลิเวอรีทั้งปีรวมกัน 6.3 ล้านแก้ว เรียงต่อกันเท่ากับภูกระดึง 765 ภู แซงหน้า "ไก่ทอด" เมนูแชมป์เก่าปีก่อนหน้าที่มียอดสั่งเดลิเวอรีรวมกัน 5.3 ล้านชิ้นในปี 2020
  • เมนูมาแรงช่วงคลายล็อกดาวน์สิ้นปี (ต.ค. - พ.ย. 64) "ไก่ย่าง" คว้าอันดับหนึ่งเมนูที่มียอดออร์เดอร์เติบโตสูงที่สุด ตามมาด้วย "ไก่ทอดชุบเกล็ดขนมปัง" และ "หมูปิ้ง"
  • ไรเดอร์ของ LINE MAN จัดส่งอาหารทั้งปีเป็นระยะทางรวมกัน 655 ล้านกิโลเมตร สามารถวนรอบโลกได้ถึง 16,344 รอบ
  • "ชลบุรี" "เชียงใหม่" และ "นครปฐม" จังหวัดทำเลทองที่มีร้านอาหารเดลิเวอรีเปิดใหม่มากที่สุด

LINE MAN แชมป์คนละครึ่งเดลิเวอรี! รวมฮิตท็อป 3 เมนู "คนละครึ่ง" ขายดีจาก 6 ภาค

  • คนละครึ่งเดลิเวอรีคึกคัก LINE MAN อัดแคมเปญแน่นโปรเยอะ ช่วยค่าส่งฟรี 5 กิโลเมตร และมีร้านคนละครึ่ง บน LINE MAN มากที่สุดกว่า 57,000 ร้าน
  • จากจำนวนทั้งหมด 82,000 ร้านในโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 ดันลูกค้าใหม่ LINE MAN พุ่ง 284%
  • ร้านอาหารมียอดขายบน LINE MAN เติบโตเฉลี่ยสูงสุด 3.5 เท่า หลังสิ้นสุดแคมเปญคนละครึ่ง เฟส 3 (ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างวันที่ 1 - 4 กันยายน 2564 กับ 1 - 4 มกราคม 2565)
  • "ข้าวผัด" เมนูโปรดคนไทย! ติดอันดับท็อป 3 เมนูคนละครึ่งสุดฮอตจากทั้ง 6 ภาค
  • "เอสเปรสโซ่เย็น" เมนูกาแฟสไตล์ไทยที่ไม่มีที่ไหนในโลก มีขายในไทยเท่านั้น! ยังคงติดอันดับเครื่องดื่มยอดฮิต
  • เมนูฮิตภาคเหนือ: ตำปูปลาร้า, ข้าวผัด, ชาเขียว
  • เมนูฮิตภาคอีสาน: ตำป่า, ชาเชียวปั่น, ข้าวผัด
  • เมนูฮิตภาคตะวันออก: เอสเปรสโซ่เย็น, ข้าวผัด, ชาเขียวปั่น
  • เมนูฮิตภาคกลาง: เอสเปรสโซ่เย็น, ข้าวผัด, ตำปูปลาร้า
  • เมนูฮิตภาคตะวันตก: ข้าวผัด, ข้าวมันไก่, เครปไส้คาว
  • เมนูฮิตภาคใต้: ข้าวผัด, ราดหน้า, ชาเย็น

ที่สุดแห่งร้านออนไลน์ ขายได้ทุกอย่างบน LINE MAN MART

  • ปี 2021 LINE MAN รุกตลาด Quick Commerce ด้วยบริการ LINE MAN MART บริการสั่งของจากซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้ารายย่อย และร้านในตลาดสด ส่งตรงถึงบ้านรวดเร็วภายใน 30 นาที ตอบโจทย์พฤติกรรมคนไทยยุคโควิด ยอมซื้อความสะดวกสบายและลดความเสี่ยง แถมยังช่วยเปิดช่องทางใหม่ สำหรับร้านค้ารายย่อยทุกประเภทให้เข้าถึงลูกค้า
  • สินค้ามาแรงส่งท้ายปี (ต.ค. - พ.ย. 64) ที่มียอดออร์เดอร์เติบโตสูงที่สุด ได้แก่ "หมูสามชั้นชาบู" "พวงมาลัยดอกมะลิ" และ "อาหารแมว" สะท้อนไลฟ์สไตล์คนไทยติดทำกิจกรรมที่บ้าน ทั้งทำชาบูทานกับครอบครัว ไหว้พระในบ้าน หรือการเลี้ยงแมวที่มากขึ้นช่วงโควิด-19 เปิดตลาดสั่งของส่งด่วนถึงบ้านที่อีคอมเมิร์ซแบบดั้งเดิมไม่ตอบโจทย์ความต้องการในการได้สินค้าแบบทันที
  • สินค้าที่คนไทยค้นหามากที่สุด ได้แก่ "ผักผลไม้" และ "น้ำดื่ม" นอกจากนี้ ช่วงเทศกาลลอยกระทงพบว่า "กระทง" ยังติดอันดับสินค้าที่ถูกค้นหามากที่สุดอีกด้วย
    "ร้านของสด (ตลาดสดและร้านแผงรวมของสด)" เป็นประเภทร้านที่มียอดขายสูงสุดบน LINE MAN MART ตอบรับเทรนด์ทำอาหารกินเองที่บ้าน สั่งของสดหลากหลายถึงมือได้ทันที
  • ประเภทร้านที่มีร้านเปิดขายเป็นจำนวนมากที่สุด ได้แก่ "ร้านอาหารแห้งและอาหารแปรรูป" "ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ" และ "ร้านขายของชำ"

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai


ป้ายคำ

แม้เทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการให้ผู้ผลิตออกแบบสินค้าเพื่อรองรับเทคโนโลยีและความสะดวกสบาย แต่ขณะเดียวกันก็ปรารถนาในด้านความยั่งยืนควบคู่กันไปด้วย ธุรกิจกาแฟก็อยู่ในข่ายนี้เช่นกัน ในคลื่นกาแฟโลกลูกที่ 3 บรรดาคอกาแฟเริ่มให้ความสำคัญ "แหล่งที่มา" ของกาแฟที่ดื่มลงไปมากขึ้น ตลอดจนต้องการความโปร่งใสในทุกขั้นตอน ตั้งแต่เบื้องหลังการปลูกและวิธีแปรรูป ไปจนถึงรายละเอียดในการชงเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อ ส่วนหนึ่งก็คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

แม้ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้บริโภคที่สนใจในมุมของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อาจต้องทำใจยอมรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งอย่างหน้ากากอนามัย ทว่ากระแสความต้องการรับรู้เรื่องแหล่งกำเนิดของอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคลงไป ก็ไม่ได้ลดน้อยถอยลง แม้แต่กาแฟที่ว่ากันว่าดีที่สุดในโลกก็ไม่มีข้อยกเว้นในเรื่องนี้  ซึ่งมักจะมีคำถามตามมาว่า กาแฟผลิตมาจากไหน, ปลูกกันอย่างไร, เก็บเกี่ยวด้วยวิธีใด มีผลในทางจริยธรรม, สิ่งแวดล้อม และชุมชนโดยรอบหรือไม่ แล้วชาวไร่ผู้ปลูกได้รับค่าตอบแทนอย่างยุติธรรมหรือไม่/อย่างไร ?

กระแสที่จัดว่ามาแรงขึ้นเรื่อยๆ ก็คือผู้ดื่มต้องการกาแฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาพร้อมกับซองบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อความยั่งยืน หลายๆ คนอยากรู้ว่าสามารถไว้วางใจในกาแฟที่ซื้อมาดื่มได้หรือไม่ แน่นอนอย่างรู้อีกด้วยว่าการเดินทางของกาแฟนับจากพื้นที่ปลูกจนถึงเสิร์ฟลงในแก้วนั้น เป็นเส้นทางที่มาอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมด้วยหรือไม่

พฤติกรรมการบริโภคกาแฟของคนไทย 2565
ร้านกาแฟประจำชุมชนหรือใกล้บ้าน คือเป้าหมายสำคัญ / ภาพ : pixabay.com

3. สนับสนุนร้านกาแฟในท้องถิ่นตนเอง

เพราะผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจ ร้านกาแฟ ปิดบริการในบางช่วงบางเวลาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา  ขณะที่สังคมเริ่มปรับตัวรับสถานการณ์ จึงมีการคาดการณ์กันว่า อัตราการเข้าไปใช้บริการร้านกาแฟท้องถิ่นและผลิตผลท้องถิ่นจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป "ร้านกาแฟใกล้บ้าน" อาจเป็นคำตอบของคอกาแฟ ในยามที่ยังไม่สามารถเข้าร้านกาแฟในเมืองที่ชื่นชอบ หรือร้านกาแฟใกล้ที่ทำงาน

ต้องยอมรับกันว่า "ร้านกาแฟ" กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมนุษย์ ผ่านทางเข้าไปนั่งจิบกาแฟ, กินของว่าง และสนทนากันอย่างเพลิดเพลินไม่ว่าจะเป็นในช่วงกลางวันหรือตลอดทั้งวัน แต่หลังจากเกิดปัญหาโควิด-19 ระบาด พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป เริ่มถอยห่างออกจากร้านกาแฟ ทว่าความต้องการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ควบคู่ไปกับความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น จะเป็นปัจจัยผลักดันให้ร้านค้าที่อยู่ใกล้บ้านได้รับความนิยมยิ่งกว่าช่วงที่ผ่านมา อันที่จริงนั้น ร้านกาแฟท้องถิ่นก็เคยเป็นศูนย์กลางทางสังคมระดับชุมชนมาก่อนหน้านี้

พฤติกรรมการบริโภคกาแฟของคนไทย 2565
นมจากพืช ยังมาแรงสำหรับสายกรีนและสายสุขภาพ / ภาพ : Di Bella Coffee from Pexels

4. ผลิตภัณฑ์นมจากพืช กระแสยังแรง

นมจากพืชยังคงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาแรงและมีอัตราเติบโตสูง โดยเฉพาะตลาดสุขภาพและตลาดนวัตกรรมทางเลือก ซึ่งสามารถใช้ทดแทนนมวัวได้เป็นอย่างดี จากรายงานผลสำรวจอาหารและเครื่องดื่มประจำปีของเวสต์โรส บริษัททำวิจัยในอังกฤษ พบว่า เชนซูเปอร์มาร์เก็ตในแดนผู้ดี จะเพิ่มผลิตภัณฑ์นมที่ปราศจากไขมันสัตว์บนชั้นวางสินค้าให้มากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคสนใจนมจากพืชมากขึ้นทุกขณะ

นอกเหนือจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ร้านกาแฟจำนวนไม่น้อยนิยมใช้นมจากพืช เช่น นมอัลมอนด์, นมถั่วเหลือง และนมมะพร้าว เพราะเห็นว่าทำให้กาแฟมีกลิ่นรสดีขึ้นกว่าการใช้นมวัว ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มแล้ว ความต้องการบริโภคนมจากพืชจะยังคงดำเนินต่อไปได้สวยในปีนี้

ล่าสุด คาดการณ์กันว่า "นมมันฝรั่ง" จะติดกลุ่มที่ได้รับนิยมสูงในอนาคตด้วย

พฤติกรรมการบริโภคกาแฟของคนไทย 2565
ธุรกิจกาแฟพิเศษยังค้นหากาแฟดีที่สุดต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

5. พิเศษไม่พอ..ต้องคุณภาพระดับซูพีเรีย

แม้ กาแฟพิเศษ (Specialty Coffee) ได้รับความนิยมอย่างสูงไปทั่วโลกในระยะ 10-15 ที่ผ่านมา แต่ความร้อนแรงของกระแสก็ยังคงไม่ตกลงแต่ประการใด สำหรับคอกาแฟแล้ว หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่ากาแฟพิเศษเป็นอย่างดี แต่คำว่า "พิเศษ" ระดับนี้อาจจะยังไม่มากพอ จึงมีความพยายามทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่ต้องการแสวงหากาแฟที่พิเศษและดีที่สุดมากขึ้นไปอีกใน "คุณภาพระดับซูพีเรีย" (Superior quality coffee) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกาแฟจากการผลิตหรือแปรรูปที่เรียกว่า "ซิงเกิ้ล ออริจิ้น" (กาแฟสายพันธุ์เดียวและจากแหล่งปลูกเดียวกัน) ที่ผลิตครั้งละน้อยๆ จากแหล่งปลูกที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเรื่องราวความเป็นมาไม่ธรรมดา พร้อมๆ กับรสชาติที่โดดเด่น  

เมื่อพูดถึงกาแฟคุณภาพระดับสูง ปัจจัยซึ่งเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพเดิมๆ เช่น ต้องเป็นกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า, ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลของแหล่งปลูก, วิธีโพรเซส หรือกาแฟปลูกใต้ร่มไม้ใหญ่ และฯลฯ อาจไม่เพียงพอเสียแล้ว ต้องมีปัจจัยเข้ามาบวกเสริมเพิ่มเติมอีกเท่าที่จะคิดค้นกันได้ เพื่อคำว่าพิเศษมากยิ่งๆ ขึ้นไป   

6. กาแฟเบลนด์แบบซิงเกิ้ล ออริจิ้น

กาแฟเบลนด์ คือ การนำเมล็ดกาแฟ 2 พันธุ์ขึ้นไปมาผสมเข้าด้วยกัน ประโยชน์คือ สร้างรสชาติ, ประหยัดต้นทุน และปกปิดจุดด้อยของกาแฟ กาแฟเบลนด์แทบไม่ได้รับความสนใจในกลุ่มผู้นิยมกาแฟพิเศษ ด้วยมุ่งเน้นไปที่ กาแฟซิงเกิ้ล ออริจิ้น อย่างเดียว แต่สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว

ในการแข่งขันชิงแชมป์กาแฟโลกทั้งเวทีของบริวเวอร์และบาริสต้า  ปรากฎว่าผู้เข้าแข่งขันมีการนำกาแฟซิงเกิ้ล ออริจิ้น แบบเบลนด์ 2 ชนิด มาใช้ประกวดมากยิ่งขึ้น จนส่งแรงกระเพื่อมให้เกิดเป็นมุมมองใหม่ๆ ต่อกาแฟเบลนด์ พร้อมๆ กับคำถามว่า เพราะเหตุใดผู้เชี่ยวชาญกาแฟจึงนำกาแฟซิงเกิ้ล ออริจิ้น 2 ตัวมาผสมกัน ซึ่งกระแสนี้คาดว่าจะยังคงเกิดขึ้นต่อไปในปีค.ศ. 2022

รูซ่า จาโลเนน ผู้จัดการฝ่ายผลิตแห่งเดอะ เจนเทิ้ลเมน บาริสต้าส์ ในลอนดอน บอกว่า อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องกลับมานั่งทบทวนกันใหม่อย่างจริงจังในเรื่อง "กาแฟเบลนด์" ในรายการชิงแชมป์โลกที่ผ่านมา มีบาริสต้าชาวอเมริกันใช้กาแฟที่มีคัปปิ้งสกอร์สูง 2 ตัวมาเบลนด์เข้าด้วยกันในการแข่งขัน นอกจากนั้นในรายการชิงแชมป์บริวเวอร์ของอังกฤษ มีการนำกาแฟพันธุ์ "เกอิชา" กับ "ซูดาน รูเม่" มาเบลนด์เพื่อเพิ่มความซับซ้อนให้กับกลิ่นรส ถือเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างมากที่ได้เห็นกาแฟเบลนด์ในการแข่งขันระดับนี้

พฤติกรรมการบริโภคกาแฟของคนไทย 2565
ร้านกาแฟจะกลับมาให้บริการเต็มรูปแบบ ต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก 3 ปี / ภาพ : pixabay.com

7. ร้านกาแฟกลับมาเต็มรูปแบบ ต้องรออีก 3 ปี

ขณะที่ประชากรหลายๆ ประเทศได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ไปแล้ว ประกอบกับมีการผ่อนคลายมาตรการหลายด้าน ทำให้ความรู้สึกปกติแบบ new normal เริ่มหวนคืนมาแม้จะยังไม่เต็มร้อยก็ตาม ร้านกาแฟจำนวนมากที่เอาตัวรอดมาได้ เริ่มกลับมาทำการตลาดและเสนอบริการในระดับเดียวกับก่อนเกิดวิกฤติโควิด    อย่างไรก็ตาม จำนวนลูกค้าที่เคยเข้ามาใช้บริการในร้านก็ยังไม่เทียบเท่าอัตราเดิม เว็บไซต์ worldcoffeeportal.com คาดการณ์ว่า อัตราผลตอบแทนของร้านกาแฟจะยังถือว่าน้อยอยู่ในปีค.ศ 2022  ส่วนการกลับสู่ภาวะปกติก่อนเกิดไวรัสระบาด จะใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี

ปัจจัยส่วนหนึ่งที่กระทบต่อผลตอบแทนของร้านกาแฟ ก็คือ การเติบโตของโมเดลธุรกิจกาแฟแบบบอกรับสมาชิก อีกทั้งแนวโน้มที่คอกาแฟหันมาซื้อเครื่องชงกาแฟไว้ประจำบ้านที่จะมีต่อไปแม้วิกฤติโควิด-19 ผ่านพ้นไปแล้ว ไม่ใช่เพราะความจำเป็นที่เข้าร้านกาแฟไม่ได้ แต่มันกลายเป็นความชื่นชอบเหมือนงานอดิเรกอื่นๆไปเสียแล้ว

"เทรนด์กาแฟ" ทั้ง 7 ข้อ ที่คาดว่า "จะมา" ในปีนี้ บางเทรนด์ก็ไม่หนีไปจากปีก่อนหน้า เช่น ความนิยมในการใช้นมจากพืชแทนนมวัว หรือความโปร่งใสของการผลิตกาแฟในทุกขั้นตอน กระนั้นก็มีกระแสหรือแนวโน้มใหม่ๆที่ผู้เขียนเชื่อว่าจะแจ้งเกิดสำเร็จหรือได้ไปต่อ เทรนด์ที่น่าจับตามองก็คือ การจับกาแฟซิงเกิ้ล ออริจิ้น มาเบลนด์เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการสร้างสรรค์รสชาติกาแฟใหม่ๆ

หมายเหตุ : เรียบเรียงข้อมูลจากเว็บไซต์ www.indigovalley.co.uk , https://farrerscoffee.co.uk และ https://mtpak.coffee