อุปกรณ์ พ่นสีรถยนต์ มี อะไร บาง

ส่วนประกอบสำคัญของกาพ่นสี

?? ทำความรู้จักกับส่วนประกอบของกาพ่นสีที่ล้วนมีความสำคัญ และส่งผลต่อการพ่นสี ซึ่งแต่ละส่วนมีหน้าที่อะไรบ้าง เราไปดูกันเลยค่ะ

?A หัวลม (Air Cap) ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของกาพ่นสี ทำหน้าที่บังคับทิศทางและความเร็วของอากาศอัดที่ทำให้สีแตกตัวเป็นละอองฝอย จำแนกตามลักษณะการผสมสีและอากาศเป็น 2 แบบ คือ

– แบบผสมภายนอก ผสมระหว่างสีและอากาศภายนอกหัวลม สามารถใช้กับกาพ่นสีแบบดูดและแบบแรงดัน โดยแบบดูดจะมีลักษณะหัวจ่ายสียื่นออกมา
– แบบผสมภายใน ผสมระหว่างสีและอากาศก่อนการพ่นผ่านรูหรือหัวลมออกมา ใช้กับกาพ่นสีแบบแรงดันเท่านั้น

?B หัวพ่นสี (Fluid nozzle) ส่วนสำคัญอันดับสอง ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหลของสี รองรับเข็มปรับปริมาณสี และเป็นช่องทางการไหลของสีเมื่อไกปืนถูกเหนี่ยวเข้ามา

?C เข็ม (Fluid needle) เข็มนี้จะประกอบเข้ากับหัวจ่ายสีและทำงานร่วมกัน ทำหน้าที่เป็นลิ้นเปิด-ปิด ช่องทางการไหลของสีจากหัวจ่ายสี

?D ไกปืน (Trigger) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกาพ่นสีร่วมกับลิ้นลมและลิ้นสีที่อยู่ภายในให้สีและอากาศไหลออกมาเมื่อถูกเหนี่ยวเข้า และปิดเมื่อคลายไกปืน

?E ตัวควบคุมปริมาณการจ่ายสี (Fluid control) มีลักษณะเป็นลูกบิด ใช้สำหรับหมุนความตึงของสปริงปรับปริมาณสี เพื่อปรับปริมาณการจ่ายสีของเข็ม

?F ตัวควบคุมแรงดันอากาศ (Air valve control) ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของแรงดันที่เข้าสู่หัวลม ทำงานร่วมกับไกปืน
ตัวควบคุมรูปแบบการพ่น (Pattern adjuster) ทำหน้าที่ปรับความกว้างของ Pattern

?G ด้ามปืน (Body handle) ออกแบบมาให้จับถนัดมือ ให้ความสมดุลย์ขณะพ่น

?H ช่องลมเข้า (Air Inlet) จุดต่อเข้ากับท่อลม

?I ช่องสีเข้า (Fluid inlet) จุดต่อกับท่อดูดสี ซึ่งท่อโลหะจะยื่นลงไปในกาพ่นสี ในกรณีท่อสายยาง จะยื่นลงไปที่กาหรือกระป๋องสีที่แยกออกมา

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์แท้ของ Anest Iwata และติดตามข่าวสาร สาระน่ารู้ รวมถึงเทคนิคการใช้งานต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ Anest Iwata ได้ทั้งทาง
☎ Call center : 02-643 2870-3
? Facebook : AnestIwata.TH
? IG : anestiwata.th
? Line : @anestiwatathailand
? Website : www.anestiwatathailand.com

แนะนำวิธีซ่อมสีรถยนต์ การพ่นสีรถยนต์ ที่สามารถทำด้วยตัวเองได้ สำหรับผู้ที่ขี้เกียจรอช่าง หรือไม่อยากจ่ายค่าซ่อมสีรถแพง ๆ

แนะนำวิธีซ่อมสีรถยนต์เองที่สามารถทำด้วยตัวเองได้ สำหรับผู้ที่ขี้เกียจรอช่าง หรือไม่อยากจ่ายค่าซ่อมสีรถแพง ๆ ซึ่งในการทำสีรถด้วยตัวเองนั้น บอกเลยว่ามีหลายขั้นตอน และต้องใช้เวลานานพอสมควร หากสนใจก็ตามมาได้เลย

ขั้นตอนใหญ่ ๆ ของการทำสีรถ มีดังนี้

  1. เคาะตัวถัง เตรียมผิวก่อนพ่นสีตัวรถ
  2. โป๊วสีรถ
  3. พ่นสีรถ

1. วิธีการเคาะตัวถัง เตรียมพื้นผิวรถ

อุปกรณ์

  • เครื่องเจีย หรือลูกหมู (หากไม่มีใช้กระดาษทราย หรือแปรงทองเหลือง ขัดแทนได้)
  • สีสเปรย์ (ใช้รองพื้น)
  • ค้อน (สำหรับรถที่มีบุบเยอะ ๆ นำไว้เคาะพื้นผิว)

ดูเพิ่มเติม: ทําสีรถยนต์

ขั้นตอนการเคาะตัวถัง

- แคะสีโป๊วออกมาให้หมด

- หากเป็นรอยบุบก็ให้ใช้เคาะขึ้นมา (ในระหว่างที่เคาะให้เอาเหล็กประกบไว้ แล้วเคาะเบา ๆ ป้องกันค้อนทะลุตัวถัง)

- ใช้เครื่องเจียขัดผิวที่เป็นสนิมออกให้หมด อย่าให้มีเหลืออยู่

- ขัดให้ผิวเรียบเสมอกัน อย่าให้เป็นรอยขรุขระ

- เช็ดเอาฝุ่นออกจากพื้นผิวรถ

- พ่นสเปรย์รองพื้น ประมาณ 2 - 3 รอบ เฉพาะบริเวณรอยที่เกิด เพื่อให้สีโป๊วยึดเกาะได้ดี (ไม่ควรพ่นจี้เป็นจุด ๆ เพราะจะทำให้สีเยิ้ม)

- ทิ้งไว้ให้แห้ง

ดูเพิ่มเติม:  ทําสีรถทั้งคัน ราคา

2. วิธีการโป๊วสีรถ

อุปกรณ์

  • เกรียง
  • สีโป๊ว (มี 2 ชนิด คือเนื้อฮาร์ดกับเนื้อครีม ซึ่งต้องใช้คู่กัน)
  • เครื่องขัด (หากไม่มีใช้กระดาษทรายแทนได้)

ขั้นตอนการโป๊วสี

- ผสมสีโป๊ว ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ (ป้องกันการโป๊วไม่ทัน)

- ปาดสีโป๊วลงไปบนวัตถุ โดยต้องทำให้พื้นผิวเสมอกัน และทิ้งไว้ให้แห้ง

- ขัดสีโป๊วด้วยเครื่องขัด (หรือกระดาษทราย แต่อาจเมื่อยมือหน่อย) หากโป๊วไปแล้วเป็นหลุมเป็นบ่อ ให้ทำการโป๊วซ้ำ และขัดใหม่จนกว่าผิวจะเรียบเนียนเสมอกัน

*ข้อควรระวัง : ไม่ควรใช้น้ำ เพราะหลังทำเสร็จ สีอาจจะบวมและหลุดลอกในภายหลัง

3. วิธีพ่นสีรถ

อุปกรณ์

  • สีรองพื้น 2K
  • สีขาว (เป็นสีรองพื้นที่ใช้พ่นก่อนลงสีจริง)
  • สีรถของคุณ (สามารถดูรหัสสีรถของคุณได้จากสมุดคู่มือ หรือถอดฝาถังน้ำมันไปให้ร้านผสมสีให้เลย)
  • ทินเนอร์สำหรับพ่นสีรถยนต์
  • แล็กเกอร์ หรือสีเคลือบเงา
  • กาพ่นสี (ตัวเล็ก)
  • เครื่องปั๊มลม (ขนาด 30 ลิตร)
  • กระดาษทราย
  • สำหรับคนที่เพิ่งหัดทำ แนะนำว่าให้ซื้อกระป๋องผสมสีมาตวงวัดสีด้วย

ขั้นตอนการพ่นสีรถด้วยตัวเอง

เช็กสภาพอากาศก่อนพ่นสี

- หากคุณไม่มีห้องอบหรือห้องพ่นสี ควรเลือกทำในวันที่มีแดดออก เพราะหากแดดไม่ออก หรือมีฝนตก ความชื้นในอากาศจะทำให้สีรถของคุณเซตตัวช้า และอาจจะเกิดฝ้าหรือไอน้ำบนผิววัตถุด้วย

พ่นสีรองพื้น

- ผสมสีรองพื้นลงในถังผสมสี โดยสีรองพื้น 2K จะมีน้ำยา 2 ตัว คือตัวสีรองพื้นกับตัวฮาร์ด ซึ่งต้องผสมคู่กันในอัตราส่วน 4 : 1 (สำหรับมือใหม่ ควรผสมทินเนอร์เข้าไปด้วย 10% ให้พ่นได้ลื่นไหล)

- นำสีที่ผสมแล้วใส่ในกาพ่นสี

- สำหรับแรงดันลมที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับความข้นเหนียวของสีที่ผสม ทั้งนี้ แนะนำว่าให้ปรับเบา ๆ แล้วพ่นทดสอบลงไปบนวัตถุอื่นก่อน ถ้าใช้งานได้ค่อยนำมาพ่นบนตัวถัง

- หากเป็นปั๊มลมตัวเล็ก ๆ เวลาพ่น ไม่ควรพ่นยาวติดกัน ให้พ่นไปหยุดไป เพื่อป้องกันไม่ให้แรงดันลมตก (หากแรงดันลมตกจะทำให้สีที่พ่นออกมาเป็นเม็ด)

- สำหรับการพ่นสี ควรพ่นไปทีละแถบ (บาง ๆ) ให้สีค่อย ๆ ทับกัน (ไม่ควรพ่นจี้ให้หนาเกินไป เพราะสีอาจจะเยิ้มได้) ส่วนการพ่น ควรทำให้กาพ่นเป็นแนวฉากกับวัตถุเสมอ

- ทิ้งไว้ให้แห้ง (อาจจะประมาณ 20 - 30 นาที) แล้วกลับมาพ่นทับอีก 1 - 2 รอบ

- หากพ่นแล้วสีเยิ้ม หรือมีสิ่งสกปรกมาติดให้นำกระดาษทรายมาขัดบริเวณนั้น แล้วพ่นซ้ำใหม่อีกรอบ

พ่นสีรอง (ก่อนพ่นสีจริง)

- ผสมสีรองพื้นสีขาวและทินเนอร์ลงในกาพ่นสี (กะปริมาณส่วนผสมให้พอดี และไม่ควรผสมให้สีหนืดหรือจางมากเกินไป)

- ทำการพ่นสี โดยเริ่มจากการโปรยสีบาง ๆ ก่อน ให้สีค่อย ๆ ทับกัน จากนั้นก็ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วค่อยพ่นสีจริง

พ่นสีจริง

- ผสมสีลงในกาพ่น (ทำเหมือนกับตอนผสมสีรองพื้นเลย)

- พ่นสี และทิ้งไว้ให้แห้ง

- สำหรับการพ่นสีจริง จะต้องพ่นทับกี่รอบก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสี หากเป็นสีที่เข้มหน่อย ก็อาจจะพ่นทับสัก 2 - 3 รอบ แต่ถ้าเป็นสีอ่อน ก็อาจจะพ่นทับ 4 - 5 รอบเลยทีเดียว

พ่นแล็กเกอร์

- ผสมแล็กเกอร์ลงในถังผสมสี (แล็กเกอร์ 2K จะมีอยู่สองชนิด คือชนิดใส และชนิดข้น ให้ผสมด้วยอัตราส่วน 4 : 1)

- จากนั้นนำใส่กาพ่นแล็กเกอร์ลงบนผิววัตถุ โดยอาจจะผสมทินเนอร์ลงไปด้วย เพื่อให้พ่นได้ลื่นไหล

- สำหรับการพ่นแล็กเกอร์ ต้องปรับลมให้เหมาะสม ไม่งั้นอาจจะแห้งเป็นฝุ่นอยู่ในอากาศ ทำให้เกิดผงขาว ๆ ติดบนตัววัตถุได้

- ควรกะระยะพ่นให้พอดี หากพ่นใกล้เกินไปจะทำให้แล็กเกอร์เยิ้ม

*ข้อควรระวัง*

ไม่ควรผสมทินเนอร์มากไป เพราะจะทำให้สีจางพ่นไม่ติด ไม่ควรผสมทินเนอร์น้อยเกินไป เพราะจะทำให้สีเหนียว เมื่อพ่นออกมาแล้วไม่เป็นละออง ไม่ควรปรับแรงดันลมมากเกินไป เพราะจะทำให้สีแห้งในอากาศ ทำให้เกิดเม็ดทรายบนผิววัตถุ ไม่ควรปรับแรงดันลมน้อยเกินไป เพราะจะทำให้สีหยดเป็นน้ำอยู่ที่ปลายกา

การทำสีรถด้วยตัวเองนั้น มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องรอคิวซ่อมจากอู่ แถมไม่ต้องจ่ายค่าซ่อมแพง แต่อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากสักหน่อยในครั้งแรก (ครั้งต่อไปก็ไม่มีค่าใช้จ่ายแล้วล่ะ) นอกจากนี้ ยังต้องมีความชำนาญ ขอแนะนำว่าหากเป็นมือใหม่ ควรทดลองทำกับวัตถุชิ้นอื่นก่อนทำสีจริง เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : youtube TheBabyboom

ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่: https://khaorot.com/

อ่านเพิ่มเติม

  • แนะนำราคาทําสีรถยนต์ทั้งคัน 2020 (ราคาเริ่มต้นโดยประมาณ)
  • ขับรถยนต์สีดำใช่ไหม ? แนะนำ 4 ข้อที่คุณควรรู้และไม่ควรพลาด
  • หัวเทียนรถยนต์ คืออะไร