การวิเคราะห์ความ เป็น ไป ได้ของแผนพัฒนาอาชีพ มี องค์ประกอบ อะไรบ้าง

สรุป 

บทที่ 1

ศักยภาพธุรกิจ

สรุป

                อาชีพ  คือ  สิ่งที่บุคคลได้กระทำเพื่อการดำรงชีวิต โดยใช้ความรู้ทักษะ และความสามารถของตนที่ได้จากการศึกษาและฝึกอบรม ซึ่งอาจได้ค่าตอบแทนหรือไม่ได้ค่าตอบแทน เช่น อาชีพครู เกษตรกร เป็นต้น
                การพัฒนาอาชีพ หมายถึง การประกอบอาชีพที่มีการพัฒนาสินค้า ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา

                ความสำคัญในการพัฒนาอาชีพ

                การพัฒนาอาชีพเป็นสิ่งที่สำคัญในวิถีชีวิตและการดำรงชีพในปัจจุบันเพราะอาชีพเป็นการสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงชีพของตนเองและครอบครัว อาชีพก่อให้เกิดผลผลิตและการบริการ ที่สนองตอบต่อการต้องการของผู้บริโภค และที่สำคัญคือ การพัฒนาอาชีพมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติ ความสำคัญจึงเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ ชุมชน

                ความจำเป็นในการพัฒนาอาชีพ

                ความจำเป็นในการพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ต่าง ๆ ได้แก่ การลงทุน การตลาด กระบวนการผลิต การขนส่ง การบรรจุหีบห่อ การแปรรูป และผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ความรู้ความสามารถของตนเองต่อสิ่งที่ต้องการพัฒนาที่มีความเป็นไปได้ เพื่อนำข้อมูลที่วิเคราะห์ไว้นำไปปรึกษาผู้รู้ การตัดสินใจเลือกพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง โดยวิเคราะห์ความพร้องของตนเอง ความต้องการของตลาด เทคนิคความรู้ ทักษะในอาชีพ

                การพัฒนาอาชีพให้เข้มแข็ง  มีความสำคัญและความจำเป็น ดังนี้

                1.  ทำให้อาชีพมีความเจริญก้าวหน้าขึ้น เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้

                2.  ผู้ประกอบอาชีพได้พัฒนาตนเองไม่ล้าสมัย

                3.  ช่วยให้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตนเองและกิจการ

                4.  ทำให้ผู้ประกอบการดึงบุคลากรที่มีความสามารถสูงเข้ามาทำงานได้มากขึ้น

                5.  เป็นการรับประกันบุคคลที่มีความสามารถทำงานอยู่กับองค์กรต่อไป

                6.  ผู้ประกอบอาชีพรู้ทันการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

                7.  รู้ทิศทางของตนเองวางกลยุทธ์ในการพัฒนาอาชีพ

                 การวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ  คือ  การแยกแยะส่วนย่อยของความสามารถที่ซ่อนเร้นในตัวตนนำมาใช้ประโยชน์อย่างมีกระบวนการ เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด

                คุณค่าและความจำเป็นของการวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ ช่วยทำให้ผู้ประกอบการรู้จักตัวเองและ
คู่แข่งขัน สามารถวางกลยุทธ์ทางธุรกิจได้ และแยกแยะหน้าที่ได้ชัดเจน เหมาะสมกับความถนัด และสามารถมองหาลู่ทางการลงทุนได้

การวิเคราะห์แผนธุรกิจ

                การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ ผู้ทำธุรกิจจำเป็นที่จะต้องมีความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้านเป็นอย่างดี หรืออาจส่งให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละแผนย่อยๆ ในแผนธุรกิจ เป็นผู้วิเคราะห์
ให้ความเห็นในความเป็นไปได้ของแผนดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น แผนการตลาด แผนการจัดการ แผนคน
แผนผลิต แผนการเงิน แผนดำเนินการ รวมทั้งแผนฉุกเฉิน

สิ่งที่ต้องวิเคราะห์ในแผนธุรกิจ  มีดังนี้

         วัตถุประสงค์ชัดเจนหรือไม่ และมีความเป็นไปได้เพียงใดในทางปฏิบัติ

         ความละเอียดของแผนที่เขียนขึ้น มีความชัดเจนเพียงพอต่อการนำไปปฏิบัติ

         ความสามารถขององค์การ ในด้านต่างๆ

         ศักยภาพและองค์ประกอบสนับสนุนขององค์การว่ามีเพียงพอ สำหรับการปฏิบัติตามแผนนั้นหรือไม่

         ระยะเวลาการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดขึ้น เหมาะสม เป็นไปได้หรือไม่เพียงใด

         ความคุ้มค่าในสิ่งที่คิดจะทำที่กำหนดไว้ในแผน

         ความก้าวหน้าของกิจการ พิจารณาว่าแผนที่กำหนดขึ้นสามารถนำพาความก้าวหน้าให้แก่องค์การในอนาคตได้มากแค่ไหน

         ผู้บริหารเห็นด้วยกับแนวทางที่กำหนดขึ้นในแผนหรือไม่

         ผู้ปฏิบัติเห็นด้วยและให้ความร่วมมือเพียงใด

ระยะเวลาในการทำประกอบอาชีพหรือธุรกิจของผู้ประกอบการ  แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้ดังนี้

                ระยะเริ่มต้น เป็นระยะที่การทำกิจการหรือธุรกิจอยู่ในระยะฟักตัวเพื่อก้าวเข้าสู่อาชีพ

                ระยะสร้างตัว และระยะทรงตัว คือระยะที่ธุรกิจอยู่ในช่วงพัฒนาขยายตัว หรือยังทรงตัวอยู่
ซึ่งจะมีคนติดตามและพร้อมทำตาม ซึ่งเริ่มมีคู่แข่งขันทางการค้า

                ระยะตกต่ำหรือสูงขึ้น  เมื่อธุรกิจก้าวหน้าจะมีผู้คนเข้ามาเรียนรู้ ทำตาม ทำให้เกิดวิกฤติส่วนแบ่ง
ทางการตลาด หากไม่มีการพัฒนาธุรกิจจะทำให้ธุรกิจเข้าสู่ระยะตกต่ำ หรือเราเรียกว่า “ขาลง” แต่ถ้ามีการขยายขอบข่ายมีการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีเข้าใช้ในการพัฒนางาน ธุรกิจจะมีการพัฒนาให้สูงขึ้น

                ผู้ประกอบการจะต้องวิเคราะห์ตำแหน่งธุรกิจในอาชีพหรือกิจการของตนให้ได้ว่าอยู่ในช่วงระยะใด กำลังอยู่ในระยะขยายตัว ทรงตัว ขาขึ้นหรือขาลง การวิเคราะห์มุมมองกิจการ ผลประกอบการมีกำไรหรือขาดทุน ในการดำเนินธุรกิจในช่วงนั้น ๆ

สาเหตุของความล้มเหลวในการประกอบธุรกิจ มีดังนี้

1. ขาดประสบการณ์ ผู้ประกอบการบางรายประสบความล้มเหลวเนื่องจากขาดประสบการณ์
ในการทำงาน ขาดความชำนาญในการบริหารจัดการเกี่ยวกับคน เงิน เครื่องจักร อุปกรณ์ ตลอดจนลูกค้า

                2. มีความรู้และประสบการณ์ไม่สมดุล ผู้ประกอบการบางรายมีความรู้ด้านการผลิตเป็นอย่างดี
แต่ไม่เคยขายสินค้า มีความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบแต่ผลิตไม่เป็น หรือมีความรู้ด้านบัญชีแต่ไม่มีประสบการณ์ด้านการตลาด เป็นต้น

               3. การบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการบางรายขาดการวางแผน บริหารจัดการ
การดำเนินธุรกิจไม่เหมาะสม ละเลยหน้าที่ การใช้คนไม่ตรงกับงาน ฯลฯ การขาดสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิด
ความเสียหายแก่ธุรกิจอย่างมาก

                4. ขาดการควบคุม ผู้ประกอบการอาจจะไม่ให้ความสำคัญในการควบคุม มีการโกงหรือขโมยจากบุคคลภายในหรือภายนอก เช่น พนักงาน ลูกจ้างหรือลูกค้า เป็นต้น

                5. ปัญหาการตลาด เป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ คือ กิจการมีส่วนแบ่งการตลาดน้อยหรือมีลูกค้าไม่มากพอ มีสินค้าคุณภาพไม่ดี ไม่มาตรฐาน ไม่มีบริการของร้าน

                6. ปัญหาการควบคุมสินค้าคงคลัง การควบคุมสินค้าคงคลังให้มีมากเกินไปย่อมก่อให้เกิดผลเสียแก่กิจการ คือ จมทุน ต้องเสียดอกเบี้ยกรณีที่กู้ยืมเงินมาลงทุน สินค้าล้าสมัย เสื่อมคุณภาพตลอดจนเสี่ยงภัยต่อ
การสูญหาย หากการควบคุมสินค้าคงคลังมีน้อยเกินไป ย่อมก่อให้เกิดผลเสีย ได้เช่นกัน คือ สินค้าขาดสต๊อก เสียโอกาสในการขายให้แก่ลูกค้า เป็นต้น

                7. ปัญหาการให้สินเชื่อ ได้แก่ การพิจารณาสินเชื่อแก่ลูกค้าไม่รอบคอบ ลูกค้ามีประวัติการค้าไม่ดีหรือปล่อยสินเชื่อวงเงินมากเกินไป และไม่มีระบบการเก็บหนี้ที่เหมะสม

                8. มีสินทรัพย์มากเกินไป กิจการบางแห่งผู้ประกอบการปล่อยให้มีสินทรัพย์มากเกินความจำเป็น
มีเครื่องจักร อุปกรณ์โรงงาน พาหนะ ฯลฯ เกินความจำเป็นต่อการผลิต

                9. ค่าใช้จ่ายสูง การประกอบธุรกิจย่อมมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายนอกเหนือจากต้นทุนสินค้าที่ซื้อเพื่อขาย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้แก่ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าพาหนะ ค่าซ่อมแซม ค่าเบี้ยประกัน ฯลฯ

                10. ปัญหาทำเลที่ตั้ง ทำเลที่ตั้งของสถานประกอบการในปัจจุบันมีราคาแพง โดยเฉพาะทำเลที่ตั้งในเมืองที่มีผู้คนหนาแน่น หากกิจการมีทำเลที่ตั้งไม่ดี คนมองไม่เห็น หรือมีคนเดินผ่านไปมาน้อยเพราะอยู่ชานเมืองย่อมมีผลต่อยอดขาย

                เส้นทางของเวลา  หมายถึง วัฏจักรของการประกอบอาชีพ ธุรกิจ สินค้า หรืองานบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งของการดำเนินกิจการ

                การวิเคราะห์ศักยภาพบนเส้นทางของเวลา หมายถึง การแยกแยะกระบวนการทางธุรกิจ หรือ
การดำเนินการด้านอาชีพหรือการประกอบอาชีพ โดยแบ่งตามช่วงระยะเวลาดำเนินกิจกรรม มีเป้าหมายคือ
ผลการประกอบการในช่วงเวลานั้น โดยเปรียบเทียบช่วงก่อนหน้านั้น กับเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เพื่อประเมินว่ากิจกรรมหรือธุรกิจของเราอยู่ในระยะ เจริญรุ่งเรืองหรือตกต่ำในตำแหน่งธุรกิจ

กิจกรรมท้ายบทที่  1  ศักยภาพธุรกิจ

                ให้นักศึกษาเสนออาชีพที่เข้มแข็งในชุมชนมา 1 อาชีพ พร้อมทั้งเขียนอธิบายเหตุผลที่เลือก

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................

บทที่  2

การจัดทำแผนพัฒนาการตลาด

สรุป

                การกำหนดทิศทางธุรกิจ เป็นการคิดให้มองเห็นอนาคต การขยายอาชีพให้มีความพอดี จะต้องกำหนดให้ได้ว่าในช่วงระยะข้างหน้าควรจะไปถึงไหนอย่างไร

                การกำหนดเป้าหมายการตลาดเราสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ เรียกว่า ตลาดย่อย ผู้บริโภคในตลาดย่อยจะมีลักษณะเหมือนกันและตอบสนองส่วนประสมทางการตลาดในลักษณะเดียวกัน

                เกณฑ์ในการแบ่งตลาดย่อยประกอบด้วย

                1)  ความเหมือนกันของลูกค้าในกลุ่ม

                2)  ความแตกต่างของลูกค้าระหว่างกลุ่ม

                3)  ขนาดต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะสร้างกำไรให้กิจการ

                4)  การสนองตอบต่อส่วนประสมทางการตลาด

                5)  ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงตลาดย่อยได้โดยการสื่อสาร

                การแบ่งตลาดย่อยของกิจการ จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์ตลาด เลือกวิธีที่ดีที่สุด
ในการทำการตลาด และจัดการแผนการตลาด

                ปัจจัยสำหรับการแบ่งตลาดย่อย ประกอบด้วย

                1)  ที่ตั้งของสถานประกอบการ

                2)  ประเภทของสถานประกอบการนั้น

                3)  ขนาดของสถานประกอบการ

                4)  วิธีใช้สินค้า

                การแบ่งตลาดย่อยที่ผู้ประกอบธุรกิจนิยมใช้ได้แก่

                1.  การตลาดแบบมวลชน  เป็นตลาดโดยรวม ถือว่าทุกคนในตลาดมีความต้องการที่คล้ายกันเหมาะกับสินค้าด้านการบริการ

                2.  การตลาดแบบสร้างความแตกต่าง เป็นตลาดที่ถือว่าลูกค้าอยู่คนละกลุ่มมีความต้องการที่ต่างกัน
สถานประกอบการจะต้องศึกษาความต้องการ เพื่อนำมาสร้างแผนการตลาดที่ตอบสนองความต้องการของ
ตลาดย่อยแต่ละกลุ่ม

                ตลาดเป้าหมาย หมายถึง การกำหนดลูกค้าต่าง ๆ ที่มีอยู่ จากความเหมาะสมของสินค้ากับกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มลูกค้าต้องการหรือพึงพอใจสินค้าหรือไม่

                ในตลาดทั่ว ๆ ไปจะมีกลุ่มลูกค้าจำนวนมากและมีลักษณะพฤติกรรมคล้ายคลึงกัน สามารถแยกออกมาจัดกลุ่มโดยมีหลักเกณฑ์พิจารณาดังนี้

                1.  ลูกค้าแต่ละกลุ่ม ควรมีขนาดหรือจำนวนที่เพียงพอต่อที่บริษัทได้รับประโยชน์ทางการตลาด
เมื่อเราไม่เลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

                2.  ลูกค้าแต่ละกลุ่มควรมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากลูกค้ากลุ่มอื่นในตลาดเดียวกัน

ความหมายและลักษณะของส่วนแบ่งทางการตลาด
          ส่วนแบ่งทางการตลาด คือ การจัดแบ่งลูกค้าที่มีอยู่ทั้งหมดออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยจัดให้คนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือเหมือนกัน ด้านความต้องการในผลิตภัณฑ์ มีการตอบสนองต่อสิ่งเล้าทางการตลาดที่เหมือนกัน เป็นกลุ่มตลาดเดียวกัน
 แนวความคิดเกี่ยวกับส่วนแบ่งทางการตลาด
          โดยแบ่งออกเป็น 2 แนวความคิด คือ แนวความคิดตลาดมวลชนละแนวความคิดตลาดแบบแยกส่วน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้คือ
          1. แนวความคิดตลาดมวลรวม หรือแนวความคิดในการมองตลาดแบบไม่แยกความแตกต่าง เป็นตลาด
ที่มองว่าตลาดมีความต้องการ ความชอบ พฤติกรรมในการซื้อและการตัดสินใจในการซื้อสินค้าที่เหมือนกัน

          2. แนวความคิดตลาดแบบแบ่งส่วน เป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้นเมื่อมีการศึกษาพฤติกรรมผู้ซื้อ ทำให้ทราบผู้มุ่งหวังแต่ละคนมักมีลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านความต้องการ อำนาจซื้อ นิสัยการซื้อ ถิ่นที่อยู่ความเชื่อและวัฒนธรรม

การแบ่งส่วนการตลาดได้นี้

2.1 การตลาดเฉพาะส่วน
            2.2 การตลาดท้องถิ่น
            2.3 การตลาดเฉพาะบุคคล
            2.4 การตลาดที่มีผู้มุ่งหวังมีส่วนร่วม
ประโยชน์ของส่วนแย่งทางการตลาด
            1. บริษัทได้ทราบถึงความต้องการและความพอใจของแต่ละส่วนตลาด
          2. ทำให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าสามารถเลือกตลาดส่วนย่อยส่วนหนึ่ง หรือหลายส่วนมาเป็นตลาดเป้าหมายได้ตามความต้องการ
          3. ทำให้นักการตลาดสามารถวิจัยตลาดและศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละส่วนแบ่งทางการตลาดได้ง่ายและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
          4. ทำให้การวางแผนทางการตลาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการส่วนแบ่งทางการตลาด มีขั้นตอนดังนี้
          1. ขั้นตอนการสำรวจ
          2. ขั้นตอนการวิเคราะห์
          3. ขั้นตอนการกำหนดคุณสมบัติ
ลักษณะของส่วนแบ่งทางการตลาดที่ดี
          1. ต้องปรากฏชัดและสามารถวัดออกมาได้
          2. ต้องสามารถเข้าถึง และตอบสนองความต้องการของตลาดนั้นได้
          3. ต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอ
หลักเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาดผู้บริโภค
         1. ส่วนแบ่งทางการตลาดโดยใช้เกณฑ์ภูมิศาสตร์ คือการแบ่งตลาดออกมาตามเขตทางภูมิศาสตร์ที่มีความแตกต่างกัน เช่น ทวีป ประเทศ รัฐ

                      2. ส่วนแบ่งทางการตลาดโดยใช้เกณฑ์ประชากรศาสตร์ คือการแบ่งส่วนตลาดตามเกณฑ์ตัวแปรประชากรศาสตร์ เช่น อายุ เพศ
                      3. ส่วนแบ่งทางการตลาดโดยใช้เกณฑ์ลักษณะจิตนิสัย โดยใช้เกณฑ์รูปแบบการดำเนินชีวิต บุคลิกภาพ ชนชั้นทางสังคม ค่านิยม
                      4. ส่วนแบ่งทางการตลาดโดยใช้เกณฑ์พฤติกรรม ตามพื้นฐานความรู้ เจตคติ การใช้หรือตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์นักการตลาดเชื่อว่า ตัวแปรด้านพฤติกรรมมีหลาย ๆ อย่างเช่น
                    4.1 โอกาสในการซื้อ
                    4.2 การแสวงหาผลประโยชน์
                    4.3 สถานะของผู้ใช้
                    4.4 อัตราการใช้ผลิตภัณฑ์
                     4.5 สภาพความซื่อสัตย์
                    4.6 ขั้นตอนความพร้อม
                    4.7 เจตคติ
             การกำหนดทิศทางธุรกิจเป็นการคิดให้มองเห็นอนาคตการขยายอาชีพให้มีความพอดี จะต้องกำหนดให้ได้ว่าในช่วงระยะข้างหน้าควรจะไปถึงไหน อย่างไร

                การกำหนดกลยุทธ์ สู่เป้าหมายพัฒนาการตลาด เป็นการทำให้ธุรกิจเจริญเติบโตเพื่อความอยู่รอดเป็นสำคัญ การสร้างความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องอันจะนำมาซึ่งยอดขายที่สูงขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยลดลงและเป็นผลเนื่องจากประสบการณ์ในการผลิตและเป็นผลทำให้กำไรสูงขึ้นอีกด้วย ถือว่าได้เป็นกลยุทธ์การเจริญเติบโตโดยวิธีทางลัด เพื่อตัดลดค่าใช้จ่ายทั้งทางด้านการเงินและการบริหารจัดการกลยุทธ์

                กลยุทธ์การพัฒนาการตลาด เป็นกลยุทธ์ที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มยอดขายและขยายการเติบโต โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ออกจำหน่ายในตลาดใหม่ กลุ่มลูกค้าในพื้นที่แห่งใหม่ เพื่อให้สามารถครอบคลุมให้ครบทุกพื้นที่

                การวิเคราะห์กลยุทธ์สู่เป้าหมายพัฒนาการตลาด

                โอกาสและอุปสรรคใช้วิธีการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ด้วยเทคนิค SWOT (SWOT Analysis) ประกอบด้วย

SWOT Analysis

จุดแข็ง (S)

จุดอ่อน (O)

โอกาส (T)

อุปสรรค (W)

                1.  ปัจจัยภายใน  คือ  สิ่งที่เราควบคุมไว้ ได้แก่ จุดอ่อน จุดแข็ง

                2.  ปัจจัยภายนอก คือ สิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ ได้แก่ อุปสรรคและโอกาส

                ในแต่ละด้านจะมีลักษณะดังนี้

                1.  จุดแข็ง (Strengths) เป็นงานที่เราถนัด ทำแล้วมีความสุข เป็นงานที่โดดเด่นชุมชนชื่นชอบ และ
มีทรัพยากรและเครื่องมือมีความพร้อม

                2.  จุดอ่อน (Weakness) เป็นงานที่เราไม่สบายใจที่จะทำ ต้องการรับความช่วยเหลือจากคนอื่น ทักษะบางอย่างที่เรายังไม่มั่นใจ และขาดทรัพยากรในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

                3.  อุปสรรค (Threats) ใครคือคู่แข่งขันที่ทำได้ดีกว่าเรา ถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนจะทำให้แผนโครงการเรามีปัญหา หรือความขัดข้องที่จะเกิดจากเราเอง

                4.  โอกาส (Opportunities) หมายถึง โอกาสที่กำลังจะเกิดขึ้นจะทำให้เราประสบความสำเร็จ มีเครื่องมือใหม่ที่ได้รับการสนับสนุน มีส่วนแบ่งของตลาดที่เรามองเห็น และบุคลากรมีศักยภาพทำให้งานสำเร็จได้ง่ายขึ้น

                ในการกำหนดกลยุทธ์ มีข้อควรพิจารณา เพื่อให้การกำหนดกลยุทธ์สู่เป้าหมายพัฒนาการตลาด
มีดังนี้

                1.  ลงทุนต่ำที่สุด ซึ่งมีความเป็นไปได้ทางการเงิน

                2.  ทำในสิ่งที่ทำได้ดี ซึ่งมีความเป็นไปได้ในการผลิต

                3.  ทำจำนวนน้อย แล้วค่อย ๆ เพิ่มไปสู่จำนวนมาก

                4.  เป็นธุรกิจที่สามารถทำได้ในระยะยาว ซึ่งมีความเป็นไปได้ทางการตลาด

จากสภาพที่เป็นรอง หากพิจารณาถึงความสามารถในการแข่งขัน อาจพิจารณาในสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

                1.  มีอะไรที่เราทำได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับผู้อื่น ดีกว่า เร็วกว่า ถูกกว่า แตกต่างกว่า เด่นกว่า

                2.  ต้องมองหาจุดเด่นของสินค้าหรืองานที่เรามี บริการของเราดีอย่างไร ใครคือลูกค้าของเรา
ขนาดตลาดมีมูลค่าเท่าไร เทคโนโลยีในการผลิตสุดยอดเพียงใด ถ้าคู่แข่งทำได้จะใช้เวลาอีกนานเท่าไร

                การกำหนดกลยุทธ์สู่เป้าหมายการพัฒนาตลาดนั้นมีอยู่มากมาย แต่เป็นที่รู้จักและเป็นพื้นฐาน คือ ระยะสั้น ให้ค่อย ๆ ปรับจนสมดุลครบทั้ง 4P ในที่สุดก็ได้ กลยุทธ์ 4P ประกอบด้วย

                1.  สินค้าหรือการบริการ (Product) คือการกำหนดสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า เช่น ลูกค้าสูงอายุต้องการน้ำผลไม้ที่มีรสหวานเล็กน้อย

                2.  ราคาสินค้า (Price) คือการตั้งราคาที่เหมาะสมกับสินค้าหรือบริการ และกำลังซื้อของลูกค้าพิจารณาจากราคาของคู่แข่ง บางครั้งอาจลดราคาต่ำกว่าคู่แข่งก็ได้ โดยลดคุณภาพบางตัวที่ไม่จำเป็นที่จะทำให้สินค้ามีราคาต่ำกว่าคู่แข่ง หรือกำหนดราคาสูงกว่าคู่แข่งก็ได้ถ้าสินค้าของเราดีกว่าคู่แข่งด้านใดเพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสเปรียบเทียบ

             3.  สถานที่ขายสินค้า (Place) คือ ควรเลือกทำเลขายให้เหมาะสมกับลูกค้า หรือคิดหาวิธีการส่งของสินค้าให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างไร

              4.  การส่งเสริมการขาย (Promotion) คือ การทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้ารู้จักสินค้าและอยากที่จะซื้อมาใช้ เช่น การแจกให้ทดลองใช้ การลดราคาในช่วงแรก การแถมไปกับสินค้าอื่น ๆ

กิจกรรมท้ายบทที่  2 การจัดทำแผนพัฒนาการตลาด

                ให้นักศึกษาเลือกอาชีพจากสื่อหนังสือพิมพ์ มาคนละ 1 อาชีพ และให้วิเคราะห์ กำหนดกลุ่มเป้าหมายการตลาด โดยใช้องค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้ไปแล้ว

………………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………….

แผนพัฒนาอาชีพมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

หลักสำคัญที่องค์กรต้องบริหารจัดการการพัฒนาอาชีพ (Career Management) ให้กับพนักงาน.
1.การวางโครงสร้างตำแหน่งงานให้เหมาะสม (Organization Structure) ... .
2.วางแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Success Plan) ... .
3.จัดทำเส้นทางอาชีพ (Career Path) ให้เห็นอย่างชัดเจน ... .
4.ประเมินผล (Evaluation) ตามความเป็นจริงอย่างถูกต้องและยุติธรรม.

การพัฒนาอาชีพมีอะไรบ้าง

การพัฒนาอาชีพ หรือ Career development หมายถึง ความก้าวหน้าหรือการเติบโตของพนักงานในการทำงาน ซึ่งการพัฒนาอาชีพที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายของอาชีพ (Career Goal) การวางแผนด้านอาชีพ (Career Planning) เพื่อให้ดำเนินไปตามเส้นทางอาชีพ (Career Path) ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ประกอบไป ...

การวิเคราะห์ศักยภาพ 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านใดบ้าง

กลุ่มอาชีพใหม่ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ.
ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่.
ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ.
ศักยภาพของภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่.
ศักยภาพของศิลปวรรฒนธรรม ประเพณี องค์ความรู้ ภูมิปัญญา และวิถีชีตของแต่ละพื้นที่.
ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่.

การจัดองค์ประกอบพัฒนาอาชีพมีปัจจัยและตัวแปรอะไรบ้าง

ปั จจัยนําเข้ าเพื่อการขยายอาชีพในแต่ ละปัจจัย จะมีตัวแปรร วม ดังนี้ 1.1 ทุน (1) เงินทุน ... .
การจัดองค์ ประกอบพัฒนาอาชีพ มีปั จจัยและตัวแปร ดังนี้ 1.1 องค์ ประกอบด านการจัดการลดความเสี่ยงผลผลิต ... .
ศักยภาพการขยายอาชีพ เป็นตัวเลขบ่งชี้ความตรงกันหรือความสัมพันธ์ระหว่าง ป้จจัยนําเข้า กับ การจัดองค์ประกอบพัฒนาอาชีพ ดังนี้.