พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา sandbox

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)Program Management Unit on Area Based Development (PMU A)สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
319 อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 14 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0 2109 5432 ต่อ บพท.โทรสาร 0 2160 5438อีเมลสารบรรณกลาง รับ-ส่ง หนังสือราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ : อีเมลติดต่อสอบถามข้อมูล : เว็บไซต์ : https://www.nxpo.or.th/A/https://www.facebook.com/PMUA.THAI/

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา sandbox

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2564 ลงนามโดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

การประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา การบริหารจัดการในด้านการกระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง และการสร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดทิศทางและปรับปรุงการดำเนินงานและการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  3. เพื่อถอดบทเรียนในการดำเนินงานและการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทั้งบทเรียนในการดำเนินงานของสถานศึกษานำร่อง และบทเรียนในการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแต่ละพื้นที่
  4. เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  5. เพื่อขยายผลแนวปฏิบัติที่ดีในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาไปใช้ในการจัดการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐและของเอกชน

ทั้งนี้ ให้ “คณะผู้ประเมินอิสระ” ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแต่งตั้ง เป็นผู้ประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทุก 3 ปี โดยต้องมีระยะเวลาดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวัดและประเมินผล ไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยใช้วิธีการประเมินซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป หรือเป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมทั้งประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation) เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา อย่างน้อย 2 ช่วงได้แก่ ช่วงต้นและช่วงท้ายของการประเมิน

รวมทั้งให้คณะผู้ประเมินอิสระจัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยมีผลการประเมินพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแต่ละจังหวัด พร้อมข้อเสนอแนะในการพัฒนาทั้งระดับนโยบายและระดับพื้นที่ หากผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแห่งใดไม่สามารถดำเนินการให้ผ่านเกณฑ์ หรือไม่อาจดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้ ให้คณะผู้ประเมินอิสระเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้มีการยุบเลิกพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานั้น

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 8 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 467 โรงเรียน แยกเป็นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 384 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 43 แห่ง และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 40 แห่ง โดยตั้งอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ 115 แห่ง เชียงใหม่ 104 แห่ง ระยอง 69 แห่ง กาญจนบุรี 58 แห่ง นราธิวาส 43 แห่ง ปัตตานี 32 แห่ง ยะลา 30 แห่ง และสตูล 16 แห่ง รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.edusandbox.com

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา sandbox
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา sandbox
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา sandbox