แนวคิด ของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ใน ประเด็น ทางรัฐประศาสนศาสตร์

หน่วยที่ 1 ปรัชญาและวิธีการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์

1.1 ปรัชญากับการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์

ปรัชญาถือกำเนิดมาจากความต้องการแสวงหาภูมิปัญญาเพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ การศึกษาด้านปรัชญามีบทบาทในการวางรากฐานองค์ความรู้ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสังคมศาสตร์ และมีส่วนสำคัญในการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ ตั้งข้อสังเกต และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาในการแสวงหาความรู้ของสัตว์ทั้งสองด้าน

1.1.1 ปรัชญาเชิงจริยธรรมกับการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์
ปรัชญาเชิงจริยธรรมมุ่งศึกษาความหมายของความดีความถูกต้อง อันเป็นมาตรฐานสำหรับการปฏิบัติตนของมนุษย์ โดยเน้นการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับชีวิตที่ดี หรือหลักการที่นำไปสู่การมีชีวิตที่ดี ปรัชญาเชิงจริยธรรมในระดับปัจเจกบุคคลรู้จักกันในนามของจริยศาสตร์ นอกจากนี้นับตั้งแต่อดีตปรัชญาเชิงจริยธรรมยังมีเนื้อหาที่ครอบคลุมองค์ความรู้ทั้งทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปรัชญาเชิงจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ เรียกกันว่าปรัชญาสังคมและการเมืองหรือปรัชญาการเมือง ซึ่งมีนัยที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์หลายสาขา เนื่องจากเป็นประเด็นหลักที่ศึกษาคือปัญหาเกี่ยวกับวิธีการที่ควรจะนำมาใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมเพื่อสร้างสังคมและรัฐที่ดี

1.1.2 ปรัชญาธรรมชาติและอิทธิพลที่มีต่อการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์
ความสำเร็จของปรัชญาธรรมชาติในการพัฒนาแนวคิดทางทฤษฎีและวิธีการศึกษาปรากฏการณ์ทำให้ปรัชญาธรรมชาติมีอิทธิพลต่อปรัชญาเชิงจริยธรรมทางด้านวิธีการแสวงหาความรู้และด้านแนวคิดเชิงทฤษฎีมาโดยตลอด

1.1.3 ปรัชญาวิทยาศาสตร์ ปรัชญาสังคมศาสตร์ และกระบวนการแสวงหาความรู้
บทบาทของปรัชญาในกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้เปลี่ยนไปหลังจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสังคมศาสตร์แยกตัวออกจากปรัชญาธรรมชาติและปรัชญาเชิงจริยธรรม ปรัชญาไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งสองด้านโดยตรงอีกต่อไป แต่กลับมามีบทบาทในการศึกษาและทำความเข้าใจความเป็นศาสตร์ คือ การนำแนวคิดด้านปรัชญาความรู้มาปรับใช้กับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสังคมศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจสภาพ วิธีการศึกษา และหลักเหตุผลในการอธิบายปรากฏการณ์ของสัตว์แต่ละด้าน

ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาเชิงจริยธรรมกับการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์
ปรัชญาเชิงจริยธรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์ตั้งแต่ยุคสมัยกรีก ซึ่งเน้นการแสวงหาหลักปฏิบัติในด้านต่างๆที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับปัจเจกบุคคลและสังคม โดยคำนึงถึงเงื่อนไขด้านสภาพแวดล้อมและสถาบันทั้งหลาย ปรัชญาเชิงจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์นี้ในระยะต่อมาเรียกกันว่า ปรัชญาสังคมและการเมืองหรือปรัชญาการเมือง ซึ่งมีแนวคิดและข้อถกเถียงหลักในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับวิธีการที่ควรจะนำมาใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมเพื่อสร้างสังคมและรัฐที่ดีปรัชญาสังคมและการเมืองจึงมีเนื้อหาเชิงจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์ด้านต่างๆยุคปัจจุบันปฏิสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาเชิงจริยธรรมกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก่อให้เกิดการสะสมองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ด้านต่างๆและสังคมศาสตร์แต่ละสาขาได้รับมุมมองและแนวคิดเชิงทฤษฎีซึ่งสามารถพัฒนาไปเป็นตัวแบบหรือแนวการศึกษาวิเคราะห์สำหรับอธิบายหรือทำความเข้าใจพฤติกรรมและปรากฏการณ์ทางสังคมจากปรัชญาเชิงจริยธรรม
ปรัชญาธรรมชาติมีอิทธิพลต่อการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์ในด้านการพัฒนาแนวคิดทางทฤษฎีและวิธีการศึกษาปรากฏการณ์โดยสังคมศาสตร์สาขาต่างๆพยายามที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นศาสตร์ในลักษณะเดียวกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติตามแนวทางปรัชญาธรรมชาติและรับเอาวิธีการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาเป็นมาตรฐานในการแสวงหาความรู้จนเกิดขบวนการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ในทศวรรษ 1950 ที่รับเอาแนวคิดและกระบวนการแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาใช้อย่างเต็มที่แม้นว่าหลังทศวรรษ 1970 อิทธิพลดังกล่าวจะลดลงไปก็ตามแต่วิธีการแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติก็ยังคงครอบงำการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ผ่านแนวคิดทางทฤษฎีและปฏิบัติวิทยาศาสตร์อยู่ค่อนข้างมาก
ลักษณะกระบวนการแสวงหาความรู้ของปรัชญาวิทยาศาสตร์และปรัชญาสังคมศาสตร์
ปรัชญาวิทยาศาสตร์มุ่งพิจารณาปัญหาสำคัญของสัตว์ทั้งหลายเป็นหลักเป็นการศึกษาสิ่งที่ศาสตร์สาขาต่างๆควรจะทำในการแสวงหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์เนื้อหาสาระของการศึกษาด้านนี้จึงเป็นเรื่องของกระบวนการและโครงสร้างการแสวงหาความรู้ของสัตว์ทั้งหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์กระบวนการและหลักเหตุผลเชิงตรรกวิทยาที่ใช้ในการอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์
ปรัชญาสังคมศาสตร์เป็นการพิจารณาปัญหาสำคัญในการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์เช่นหลักเกณฑ์ในการอธิบายที่ดีในทางสังคมศาสตร์ ความแตกต่างระหว่างสังคมศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติวิธีการในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์กระบวนการเชิงประจักษ์ในการประเมินความถูกต้องของการอธิบายในทางสังคมศาสตร์ปัญหาการลดทอนในการอธิบายในทางสังคมศาสตร์ ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างปรากฏการณ์ทางสังคมทั้งหลายและบทบาทของทฤษฎีในการอธิบายทางสังคมศาสตร์เป็นต้นกระบวนการแสวงหาความรู้ด้านสังคมศาสตร์จึงมีความหลากหลายในวิธีการและกระบวนการแสวงหาความรู้ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับกรณีของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

1.2 ประเด็นปัญหาเชิงปรัชญาในการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์

ประเด็นปัญหาเชิงปรัชญาในการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือ ปัญหาข้อโต้แย้งด้านปรัชญาสังคมศาสตร์ในการศึกษารัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ยุคปัจจุบันอย่างกว้างขวาง และปัญหาเชิงจริยธรรมในการศึกษาวิจัย ซึ่งอาจจะไม่ส่งผลต่อการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์รุนแรงนัก  แต่ก็เป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งในกระบวนการวิจัยอย่างไรก็ตามรัฐศาสตร์ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ต้องเผชิญกับแนวคิดหลังสมัยใหม่หรือโพสต์โมเดิร์นซึ่งไม่เพียงโต้แย้งวิธีการศึกษาและแนวคิดทฤษฎีด้านรัฐศาสตร์เท่านั้นแต่ยังท้าทายความชอบธรรมของการแสวงหาความรู้ทางด้านนี้ โดยแนวคิด post modern มีลักษณะที่ต่อต้านรากฐานปรัชญาความรู้อย่างสุดขั้ว และเชื่อว่าไม่มีองค์ความรู้ใดถูกต้องที่สุด แนวคิดนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อรากฐานทางปรัชญาของการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ทั้งในด้านปรัชญาความรู้และในด้านปรัชญาเชิงจริยธรรม

1.2.1 ข้อโต้แย้งด้านปรัชญาสังคมศาสตร์ในการศึกษาทางรัฐศาสตร์
ข้อโต้แย้งด้านปรัชญาสังคมศาสตร์ในการศึกษาทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญได้แก่ ประเด็นความเป็นศาสตร์ของรัฐศาสตร์ ขอบข่ายในการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ วิธีการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์แนวทางในการอธิบายทางรัฐศาสตร์ และระดับในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง ขอตัวอย่างเหล่านี้มีผลกระทบต่อการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์เป็นหลัก

1.2.2 ปัญหาเชิงจริยธรรมในการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์
ปัญหาจริยธรรมในการวิจัยเป็นประเด็นหนึ่งที่ผู้แสวงหาความรู้ในทางรัฐศาสตร์ต้องคำนึงถึงและขณะเดียวกันต้องระมัดระวังไม่ให้การทำวิจัยของตนก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นโดยทั่วไปปัญหาด้านจริยธรรมในการวิจัยแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ ปัญหาที่มีต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ปัญหาที่มีต่อสังคม และปัญหาที่มีต่อองค์ความรู้

1.2.3 ประเด็นปัญหาเชิงปรัชญาในการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ยุคปัจจุบัน
ประเด็นปัญหาเชิงปรัชญาในการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ยุคพุทธศตวรรษที่ 21 คือข้อโต้แย้งและการท้าทายจากมุมมองที่เรียกกันว่าอย่างกว้างๆว่า แนวคิดหลังสมัยใหม่หรือโพสต์โมเดิร์นซึ่งเป็นปรัชญาที่ไม่ยอมรับการมีความรู้ที่แท้จริงและตั้งข้อสงสัยกับแนวคิดที่เป็นรากฐานในการแสวงหาความรู้ทุกประเภทแนวคิดนี้ไม่เพียงแต่โต้แย้งวิธีการศึกษาและแนวคิดทางทฤษฎีด้านสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์เท่านั้นแต่ยังท้าทายความชอบธรรมของการแสวงหาความรู้ในด้านเหล่านี้อีกด้วย

ข้อโต้แย้งทางด้านปรัชญาสังคมศาสตร์ในการศึกษาทางรัฐศาสตร์
-ข้อโต้แย้งทางด้านปรัชญาสังคมศาสตร์ในการศึกษาทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญได้แก่ ประเด็นความเป็นศาสตร์ของรัฐศาสตร์ ขอบข่ายในการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ วิธีการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ แนวทางในการอธิบายทางรัฐศาสตร์ และระดับในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง
-ขอตัวอย่างประเด็นความเป็นศาสตร์ของรัฐศาสตร์คือปัญหาว่ารัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ในลักษณะของวิทยาศาสตร์หรือไม่ถ้าเป็นรัฐศาสตร์จำเป็นจะต้องมีลักษณะเหมือนกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติหรือไม่และเพียงใดถ้าไม่เป็นรัฐศาสตร์น่าจะเป็นอย่างไรกล่าวอีกนัยหนึ่งการถกเถียงในประเด็นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติขององค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ที่เชื่อมโยงอยู่กับความหมายของคำว่า
“ศาสตร์”
– ปัญหาขอบข่ายในการศึกษาด้านรัฐศาสตร์คือการขาดความเห็นพ้องต้องกันในวงการรัฐศาสตร์เกี่ยวกับความหมายของการเมืองและสิ่งที่เป็นเรื่องของการเมืองทำให้เกิดข้อโต้แย้งขึ้นมาว่าประเด็นปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมใดควรศึกษาหรือไม่ควรศึกษา
– วิธีการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์เป็นปัญหาโต้แย้งทางด้านปรัชญาความรู้ ภาววิทยา และระเบียบวิธีวิทยา คืออะไรคือสิ่งที่สามารถรู้ได้ความรู้ที่แท้จริงมีหรือไม่เพียงใดตลอดจนวิธีการแสวงหาความรู้ที่ดีเป็นอย่างไรซึ่งปรากฏเป็นการโต้แย้งระหว่าง 3 สำนักคิดหลักทางปรัชญาสังคมศาสตร์คือปฏิฐานนิยม สัจนิยม และปรัชญาการตีความ
– แนวทางในการอธิบายคือข้อโต้แย้งที่ว่าการอธิบายสาเหตุของพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ทางการเมืองจะอธิบายในนิคมสร้างเรืออธิบายจากตัวผู้กระทำ
– ระดับในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองคือประเด็นที่ว่าการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองจะอธิบายจากระดับไหนระหว่างการอธิบายระดับปัจเจกบุคคลและการอธิบายจากระดับหน่วยรวม
ปัญหาเชิงจริยธรรมในการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์มี 3 ประการคือ
1 ปัญหาที่มีต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยคือปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ศึกษาวิจัยกับบุคคลที่เป็นแหล่งข้อมูลหรือผู้ศึกษาวิจัยจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดผลที่ไม่พึงปรารถนาและความเสียหายแก่ผู้ที่เป็นแหล่งข้อมูลซึ่งในทางปฏิบัติธรรมได้ยาก
2 ปัญหาที่มีต่อสังคมผู้วิจัยจะต้องพยายามป้องกันไม่ให้การวิจัยทางรัฐศาสตร์หรือสังคมศาสตร์มีผลเสียต่อกลุ่มใดในสังคมซึ่งดูเหมือนจะทำได้ยาก
3 ปัญหาที่มีต่อองค์ความรู้ผู้ศึกษาวิจัยจะต้องป้องกันการเกิดปัญหาจริยธรรมในขั้นตอนของการวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนของการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการรายงานผลวิจัย
ประเด็นปัญหาเชิงปรัชญาในการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ยุคปัจจุบันคือข้อโต้แย้งและการท้าทายจากมุมมองที่เรียกกันอย่างกว้างๆว่าแนวคิดหลังสมัยใหม่หรือโพสต์โมเดิร์นซึ่งเน้นปรัชญาที่ไม่ยอมรับการมีความรู้ที่แท้จริงและตั้งข้อสงสัยกับแนวคิดที่เป็นรากฐานในการแสวงหาความรู้ทุกประเภทซึ่งเท่ากับแนวคิดโพสต์โมเดิร์นมีลักษณะที่ต่อต้านรากฐานปรัชญาความรู้อย่างสุดขั้วนอกจากนี้ในของแนวคิดนี้ที่ส่อไปทางปัจเจกชนนิยมอย่างสุดโต่งและมองทุกสิ่งทุกอย่างในแง่ที่ไม่มีถูกนั้นดูเหมือนว่าจะขัดแย้งกับหลักการของปรัชญาเชิงจริยธรรมอันเป็นรากฐานของสังคมศาสตร์ทุกสาขาอย่างสิ้นเชิง

หน่วยที่ 2 ขอบข่ายการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

2.1 ขอบข่ายและเนื้อหาของการศึกษาวิจัยในทางรัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่มีขอบข่ายของเนื้อหาสาระกว้างขวางเป็นอย่างมากครอบคลุมทุกส่วนของสังคมการเมืองเมื่อเป็นเช่นนี้การศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์จึงมีขอบข่ายกว้างขวางตามไปด้วยเช่นกันแต่ในทางปฏิบัติเนื้อหาสาระโดยทั่วไปที่จะทำการศึกษาวิจัยให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆขึ้นมานั้นมักจะครอบคลุมอยู่ 4 เรื่องคือการศึกษาเกี่ยวกับความคิดทางการเมือง การศึกษาเกี่ยวกับสถาบันทางการเมือง การศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มและกระบวนการทางการเมือง และการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมือง

2.1.1 การศึกษาเกี่ยวกับความคิดทางการเมือง
การศึกษาเรื่องของความคิดทางการเมืองนั้นจะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในแง่ของการช่วยสร้างกรอบแนวคิดให้แก่ผู้ที่กำลังทำการศึกษาวิจัยเรื่องราวทางการเมืองและยังจะเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ให้แก่นักวิจัยในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองอีกด้วย

2.1.2 การศึกษาเกี่ยวกับสถาบันทางการเมือง
การศึกษาเรื่องของสถาบันทางการเมืองทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจะช่วยทำให้นักวิจัยสามารถทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นตลอดจนพฤติกรรมทางการเมืองที่แท้จริงอันส่งผลให้สามารถหาคำตอบของปัญหาต่างๆทางการเมืองได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

2.1.3 การศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มและกระบวนการทางการเมือง
กิจกรรมหรือพฤติกรรมทางการเมืองทั้งหลายทั้งปวงนั้นคนคนเดียวมักจะทำให้สัมฤทธิ์ผลได้ยากหรืออาจจะทำไม่ได้เลยแต่เมื่อคนเราได้รวมกลุ่มกันแล้วมักจะทำให้เกิดพลังและพลังนี้เองที่จะทำให้กิจกรรมหรือพฤติกรรมทางการเมืองทั้งหลายสัมฤทธิ์ผลได้ในที่สุดพื้นฐานความคิดเกี่ยวกับกระบวนการทางการเมืองคือเรื่องของอำนาจทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการทางการเมืองที่แท้แล้วก็คือกระบวนการในการต่อสู้แข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพล

2.1.4 การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมือง
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองนั้นนักวิจัยทางรัฐศาสตร์จะต้องใช้บุคคลเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลคือสิ่งที่จะกำหนดชนิดและรูปแบบของระบบการเมืองตลอดจนปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบการเมือง.

การศึกษาเกี่ยวกับความคิดทางการเมืองนั้นมีประโยชน์ต่อการวิจัยทางรัฐศาสตร์อย่างยิ่งในแง่ของการช่วยสร้างกรอบความคิดให้แก่ผู้ที่กำลังทำการศึกษาวิจัยเรื่องราวทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยให้เข้าใจถึงสิ่งต่างๆที่เป็นอยู่และที่สำคัญคือจะเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่ทำให้ผู้ที่ศึกษาวิจัยได้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆในทางการเมืองได้ดีขึ้นอีกด้วยนอกจากนี้แล้วความคิดทางการเมืองทั้งหลายคือพื้นฐานสำคัญของระบอบการเมืองการปกครองทั้งหลายดังนั้นการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์โดยเน้นไปที่เรื่องของความคิดทางการเมืองจึงเท่ากับเป็นการศึกษาวิจัยถึงแก่นแท้ของระบอบการเมืองการปกครองต่างๆนั้นเอง
สาเหตุที่การวิจัยทางรัฐศาสตร์ในปัจจุบันมุ่งให้ความสนใจไปที่สถาบันการเมืองอย่างไม่เป็นทางการมากยิ่งขึ้นเช่นพรรคการเมืองและกลุ่มกดดันต่างๆเป็นต้นที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากปรากฏการณ์ทางการเมืองทั้งหลายที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินขบวนเรียกร้อง สนับสนุน ประท้วง คัดคานทางการเมืองตลอดจนการจราจลนั้น มักจะเกิดขึ้นจากพลังทางการเมืองทั้งหลายซึ่งพลังทางการเมืองดังกล่าวนี้จะมีพรรคการเมืองกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองและกลุ่มกดดันทั้งหลายเป็นแกนสำคัญของพลังดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปหรือการปฏิวัติมักจะเป็นผลที่เกิดขึ้นจากพลังทางการเมืองที่กำลังครอบครองบทบาทและชี้นำความรู้สึกของประชาชนในสังคมการเมืองนั้นๆทั้งสิ้น
ผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์โดยเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องของกลุ่มทางการเมืองนั้นมีฐานความคิดและความเชื่อที่ว่าถ้าเราสามารถเข้าใจกิจกรรมของกลุ่มและความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆได้แล้วเราก็จะเข้าใจเรื่องของการเมืองและยังสามารถอธิบายตลอดจนวิเคราะห์ระบบการเมืองได้เมื่อเป็นเช่นนี้นักทฤษฎีกลุ่มจึงมีความเห็นว่า
1) กลุ่มมีความสำคัญในระบบการเมืองและ
2) ทฤษฎีกลุ่มมีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจทางการเมือง นักวิชาการด้านนี้ยังเน้นย้ำอีกว่าปรากฏการณ์กลุ่มก็คือปรากฏการณ์สำคัญทางการเมืองเมื่อเป็นเช่นนี้การเข้าใจถึงกิจกรรมของกลุ่มเป็นหัวใจของการเข้าใจการเมืองนั่นเอง(เป็นการเน้นประชาธิปไตยแบบกลุ่มหลากหลาย)
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองผู้ที่ทำการศึกษามักจะอาศัยความรู้จากสาขาวิชาจิตวิทยาและสังคมวิทยาเป็นสำคัญทั้งนี้เพราะสาขาวิชาทั้งสองได้ให้ความสนใจศึกษาเรื่องของตัวบุคคลและกลุ่มบุคคลนั่นเองนอกจากนี้ผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าวจะพยายามค้นหาพลังทางการเมืองเช่นพลังที่มาจากบุคคล ความคิด สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อการปฏิบัติการทางการเมือง และจะพยายามค้นหาว่าบุคลิกภาพของบุคคลที่แตกต่างกันออกไปนั้นจะทำให้มีพฤติกรรมทางการเมืองแตกต่างกันออกไปหรือไม่

2.2 ขอบเขตของการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

การวิจัยในทางรัฐศาสตร์ก็เช่นเดียวกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์อื่นอื่นๆที่จะมีการกำหนดขอบเขตของการศึกษาวิจัยไว้อย่างแน่นอนชัดเจนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหน่วยที่จะใช้ในการศึกษาหรือหน่วยในการวิเคราะห์ เรื่องเกี่ยวกับระดับของการวิจัย ตลอดจนเรื่องของระยะเวลาและพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยดังกล่าว

2.2.1 หน่วยที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์.
หน่วยนาฬิกาวิเคราะห์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าหน่วยในการวิจัยนั้นในทางรัฐศาสตร์อาจจะเป็นคนหรือไม่ใช่คนก็ได้และหน่วยที่จะใช้ในการศึกษาวิจัยนี้เรียกว่าประชากรวิจัยซึ่งหมายถึงสิ่งที่จะทำการศึกษาวิจัยทั้งหมดจะมีอยู่จำนวนเท่าไหร่ก็ได้และแต่ละหน่วยของประชากรวิจัยจะประกอบด้วยสมาชิกของหน่วยซึ่งเรียกว่าตัวอย่างวิจัยที่ถูกกำหนดเอาไว้เพื่อทำการศึกษา

2.2.2 ระดับของการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยระดับจุลภาคในทางรัฐศาสตร์เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในส่วนย่อยต่างๆของสังคมการเมืองหรือส่วนย่อยของระบบการเมืองส่วนกลางวิจัยระดับมหภาคเป็นการศึกษาวิจัยตลอดจนวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติโดยรวมของสิ่งที่ทำการศึกษาอยู่เช่นศึกษาถึงภาพรวมของการพัฒนาประเทศเป็นต้น

2.2.3 ระยะเวลาและพื้นที่ที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ในทางปฏิบัตินั้นการกำหนดระยะเวลาที่จะทำการวิจัยไว้มากน้อยแค่ไหนนั้นมักจะขึ้นอยู่กับโครงการวิจัยที่จะดำเนินการถ้าเป็นโครงการเล็กก็จะมีระยะเวลาสั้นแต่ถ้าเป็นโครงการใหญ่ก็จะมีระยะเวลายาวเป็นต้นส่วนการกำหนดพื้นที่ที่จะใช้ในการวิจัยทางรัฐศาสตร์นั้นขึ้นอยู่กับประเด็นเนื้อหาสาระตลอดจนขอบเขตของการศึกษาวิจัยเป็นสำคัญ

ประชากรวิจัยหมายถึงสิ่งที่เราจะทำการศึกษาวิจัยทั้งหมดจะมีจำนวนเท่าไหร่ก็ได้ส่วนตัวอย่างวิจัยหมายถึงสิ่งที่เรากำหนดเอาไว้จำนวนหนึ่งจากประชากรวิจัยเพื่อนำมาทำการศึกษาวิจัยนั่นเองในแง่ของความสัมพันธ์ก็คือตัวอย่างวิจัยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของประชากรวิจัยประชากรวิจัยคือจำนวนทั้งหมดของสิ่งที่เราจะทำการศึกษาและตัวอย่างวิจัยคือจำนวนหนึ่งของสิ่งที่เราคัดเอามาเพื่อทำการศึกษาวิจัยตัวอย่างเช่นจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชทั่วประเทศ 400,000 คน(ประชากรวิจัย) แต่เราคัดเลือกเอามาจากทั่วประเทศ 2000 คน(ตัวอย่างวิจัย) เพื่อทำการศึกษาหาบทสรุปเป็นคำตอบแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชทั้งหมด
การวิจัยระดับจุลภาคมีลักษณะเป็นการศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติด้านต่างๆของสิ่งที่เราศึกษาซึ่งอาจจะเป็นคนหรือไม่ใช่คนก็ได้แต่ที่สำคัญคือเป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในส่วนย่อยต่างๆของสังคมการเมืองหรือส่วนย่อยของระบบการเมืองนั่นเองการวิจัยระดับจุลภาคนี้จะทำให้ง่ายต่อการศึกษาเพราะเหนื่อยที่จะทำการศึกษานั้นมีขนาดเล็กและมีขอบเขตจำกัด และที่สำคัญคือ ทำให้สะดวกแก่การวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งอีกด้วย
การกำหนดพื้นที่ที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นในทางปฏิบัติมักจะกำหนดพื้นที่ที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ตามการแบ่งเขตพื้นที่ทางการปกครองทั้งนี้เพราะเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปและง่ายต่อการกำหนดประชากรเป้าหมายอีกด้วยเช่นอาจจะใช้เขตพื้นที่ของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด เทศบาล ฯลฯ เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นต้น

2.3 ประเภทของการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

การวิจัยคือการแสวงหาคำตอบให้แก่คำถามหรือสมมติฐานที่ได้ตั้งเอาไว้ รวมถึงการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆโดยอาศัยวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์การวิจัยนั้นสามารถแยกออกเป็นประเภทต่างๆได้หลายประเภททั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของนักวิจัยว่าจะใช้อะไรเป็นฐานความคิด สำหรับการแบ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณนั้นเป็นการแบ่งตามลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสำคัญ

2.3.1 การวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยเชิงคุณภาพนั้นจะทำการศึกษาหน่วยสำหรับการวิเคราะห์ที่ละเอียดลึกซึ้งเงินสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างเจาะลึกดังนั้นการใช้วิจารณญาณของผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยในการวิเคราะห์และตีความข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากจากการที่การวิจัยเชิงคุณภาพนักศึกษาหน่อยสำหรับการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งจึงส่งผลให้การวิจัยเชิงคุณภาพมักจะมีหน่วยสำหรับการวิเคราะห์จำนวนไม่มากนัก

2.3.2 การวิจัยเชิงปริมาณ
การวิจัยเชิงปริมาณนั้นมีจุดสนใจมุ่งไปที่การแสวงหาข้อเท็จจริงและสาเหตุของปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคมที่เกิดขึ้นแต่จะไม่ใช้วิธีการศึกษาแบบเจาะลึกนอกจากนี้แล้วการวิจัยเชิงปริมาณจะเน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นสำคัญตลอดจนใช้วิธีการทางสถิติมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากการวิจัยเชิงปริมาณจะมีหน่วยสำหรับการวิเคราะห์เป็นจำนวนมาก

การวิจัยเชิงคุณภาพคือการศึกษาค้นคว้าที่ต้องการเน้นหรือสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเจาะลึกและละเอียดถี่ถ้วนโดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆขึ้นมาจากปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคมและที่สำคัญการวิจัยเชิงคุณภาพนี้ผู้วิจัยจำเป็นต้องเอาตัวเองเข้าไปผูกพันใกล้ชิดกับสิ่งที่ตนกำลังศึกษาอยู่ด้วยทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงแก่นสารของสิ่งที่กำลังศึกษาอยู่นั่นเองส่วนการวิเคราะห์และตีความข้อมูลนั้นจะใช้วิจารณญาณของผู้วิจัยเป็นสำคัญ
การวิจัยเชิงปริมาณคือการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ๆโดยเน้นที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแต่จะไม่ใช่เป็นการศึกษาแบบเจาะลึกจะสนใจจึงมุ่งอยู่ที่การแสวงหาข้อเท็จจริงและสาเหตุของปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคมที่เกิดขึ้นนอกจากนี้การวิจัยเชิงปริมาณจะเน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขและใช้วิธีทางสถิติมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลอีกด้วย

หน่วยที่ 3 กรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

3.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

กรอบแนวคิดทฤษฎีเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้วิจัยทางรัฐศาสตร์ในการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ซึ่งมีความสลับซับซ้อน

3.1.1 ความหมายของกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
กรอบแนวคิดทฤษฎีเป็นสิ่งที่นักวิจัยสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางการวิจัยในเรื่องที่ต้องการศึกษา

3.1.2 ความสำคัญของกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
กรอบแนวคิด ทฤษฎีเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการวิจัยที่ทำให้นักวิจัยเห็นภาพรวมของการวิจัยสามารถกำหนดประเด็นวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลการวิจัยได้อย่างเหมาะสม

3.1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างกรอบแนวคิด ทฤษฎีกับการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
กรอบแนวคิด ทฤษฎีจะทำให้การกำหนดโจทย์และประเด็นวิจัยชัดเจนขึ้น มีทิศทางการวิจัยที่ครอบคลุมเรื่องที่ต้องการศึกษา มีระเบียบวิธีการวิจัยที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนตามต้องการ มีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และมีข้อสรุปที่ชัดเจน

กรอบแนวคิดทฤษฎีเป็นกรอบการศึกษาวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานความรู้ที่มีผู้ศึกษาไว้แล้วและ/หรือผู้วิจัยได้ประมวลและกำหนดขึ้นมาเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์เฉพาะที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา
กรอบแนวคิดทฤษฎีมีความสำคัญในฐานะที่ช่วยให้เห็นองค์รวมของเรื่องที่จะศึกษาวิจัยและช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ
กรอบแนวคิด ทฤษฎีสัมพันธ์กับการวิจัยทางรัฐศาสตร์คือช่วยให้นักวิจัยสามารถระบุโจทย์วิจัยและประเด็นวิจัยที่ต้องการแสวงหาความรู้หรือคำตอบในเรื่องนั้นได้ชัดเจนและระเอียดมากขึ้น

3.2 การสร้างกรอบแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

ในการสร้างกรอบแนวคิดทฤษฎีมีที่มาจากหลายแหล่งเช่น ตัวผู้วิจัย และมีขั้นตอนในการสร้างที่เป็นระบบ

3.2.1 ที่มาของกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
กรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์มีที่มาจากหลายแหล่ง ได้แก่ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และความคิดรวบยอดของผู้วิจัย

3.2.2 กระบวนการสร้างกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
การสร้างกรอบแนวคิด ทฤษฎีมีขั้นตอนสำคัญ คือ การทบทวนวรรณกรรม การคัดเลือกตัวแปร การระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร รายการนำเสนอกรอบแนวคิดทฤษฎี

วิธีการนำเสนอกรอบแนวคิด ทฤษฎีมีอย่างน้อย 3 วิธีได้แก่ การพรรณนา แบบจำลอง และแบบผสม
3.3 ลักษณะ และการนำกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่เหมาะสมมาใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ลักษณะของกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่เหมาะสมที่นำมาใช้ในการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์อย่างน้อยต้องมีพื้นฐานทางทฤษฎี
3.3.1 ลักษณะของกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่เหมาะสมในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ลักษณะสำคัญของกรอบแนวคิดทฤษฎีที่เหมาะสมในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ การมีพื้นฐานทางทฤษฎี ความตรงประเด็น สอดคล้องกับความสนใจ เข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อน สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่
3.3.2 การนำกรอบแนวคิด ทฤษฎีมาใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ได้แก่ การกำหนดหัวข้อและประเด็นวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายผล
3.3.3 ตัวอย่างการนำกรอบแนวคิด ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์มาใช้ในการวิจัย
ตัวอย่างกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่นำมาเสนอ คือ ตัวอย่างกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยเรื่อง “ระบบ การกำกับดูแล และการตรวจสอบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยหน่วยงานภาครัฐและประชาชน”
ได้แก่ กรอบแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำกับดูแลการปกครองส่วนท้องถิ่น
กรอบแนวคิดทฤษฎีสามารถนำมาใช้ในขั้นตอนต่างๆในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ในขั้นตอนต่อไปนี้ การกำหนดหัวข้อและประเด็นวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายผล และการจัดทำข้อเสนอแนะ

หน่วยที่ 4 หลักและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

4.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ของการค้นคว้าแสวงหาความรู้แขนงหนึ่งที่มีลักษณะตัดขวาง เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของนักวิจัยที่มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม ที่มีลักษณะที่แตกต่างไปจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

4.1.1 ความหมายและความสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์หมายถึงการแสวงหาความรู้โดยพิจารณาจากปรากฏการณ์ทางการเมือง จาก “สภาพแวดล้อม” หรือ “บริบท” ตามความเป็นจริง ทั้งนี้เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ทางการเมืองกับ “สภาพแวดล้อม” หรือ “บริบท” โดยในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองดังกล่าวเป็นการศึกษาที่มุ่งไปที่ปัจจัยด้านโลกทัศน์ ความคิดเห็นทางการเมือง โดยทั่วไปการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีลักษณะเช่นเดียวกับการวิจัยทางมานุษยวิทยา

4.1.2 ปรัชญาพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ปรัชญาพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ยึดปรัชญาสำนักปรากฏการณ์วิทยา

4.1.3 ปรากฏการณ์ที่การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์สนใจศึกษา
ปรากฏการณ์ที่การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์สนใจศึกษาได้แก่ ปรากฏการณ์ทางการเมือง เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์

4.1.4 หลักการและลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
หลักการและลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีดังต่อไปนี้
1 )มองปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ทำการศึกษาในภาพรวม
2) ให้ความสำคัญกับปัจจัยหรือตัวแปรด้านวัฒนธรรมความรู้สึกนึกคิดปแรงจูงใจค่านิยมเป็นต้น
3 )เป็นการศึกษาหรือทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองอย่างเจาะลึกเป็นต้น

การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์หมายถึงการแสวงหาความรู้โดยพิจารณาปรากฏการณ์ทางการเมืองจาก “สภาพแวดล้อม” หรือ “บริบท” ตามความเป็นจริงทั้งนี้เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ทางการเมืองกับ “สภาพแวดล้อม” หรือ “บริบท”
ปรัชญาพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์คือสำนักปรากฏการณ์วิทยา
ปรากฏการณ์ที่การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์สนใจศึกษาคือปรากฏการณ์ทางการเมืองได้แก่ พฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์
หลักการและลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
1)มองปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ทำการศึกษาในภาพรวม
2)ให้ความสำคัญกับปัจจัยหรือตัวแปรด้านวัฒนธรรม ความรู้สึกนึกคิด แรงจูงใจ ความเชื่อ ค่านิยม
3)เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองอย่างเจาะลึก เป็นต้น

4.2 กระบวนการขั้นตอนการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีกระบวนการขั้นตอนการวิจัยเหมือนกับกระบวนการขั้นตอนของการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทั่วไป ที่ประกอบไปด้วยการกำหนดหัวข้อหรือความเป็นมาของปัญหา กรอบแนวคิด ทฤษฎี วิธีวิจัย การตีความ การสร้างข้อสรุปและการนำเสนอผลงานวิจัย

4.2.1 บทบาทและจรรยาบรรณของนักวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ในงานวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เช่นเดียวกันกับการวิจัยเชิงคุณภาพทั่วไปคือนอกจากนักวิจัยเชิงคุณภาพจะมีบทบาทมากกว่านักวิจัยเชิงปริมาณแล้วยังต้องมีบทบาทและคุณลักษณะที่สำคัญ อาทิ ต้องคิดเกี่ยวกับปัญหาที่ทำการวิจัยหรือหัวข้อที่จะทำการวิจัยให้ทะลุปรุโปร่งต้องตระหนักว่าความรู้ความเข้าใจทางการเมืองทั้งหลายที่นักวิจัยระบุมาต้องมีหลักฐานข้อมูลสนับสนุนเป็นต้นในส่วนของจรรยาบรรณของนักวิจัยจรรยาบรรณที่นักวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ควรมีหรือยึดมั่นคือควรระมัดระวังในทุกขั้นตอนของการวิจัย

4.2.2 กรอบแนวคิด ทฤษฎี และสมมติฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีการใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีในการวิจัยในฐานะเป็นเครื่องมือเพื่อนำทางในการวิจัยในส่วนของสมมติฐานไม่เรียกร้องให้มีการตั้งสมมติฐาน แต่ถ้ามีการตั้งสมมติฐานก็อาจมีการปรับสมมติฐานได้

4.2.3 หน่วยในการศึกษาของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
หน่วยในการศึกษาของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ ได้แก่ หน่วยระดับบุคคล หน่วยระดับกลุ่ม หน่วยระดับองค์กร เมื่อระดับสถาบัน เป็นต้น

4.2.4การตีความ การสร้างข้อสรุป และการนำเสนอผลงานการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
การตีความปรากฏการณ์ทางสังคมของการวิจัยเชิงคุณภาพมีลักษณะที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “phenomenological perspectives”
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกรณีของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้ สำหรับการสร้างข้อสรุปถ้าเป็นไปได้ควรมีการสรุปผลในลักษณะของ “ข้อสรุปทั่วไป” โดยทั่วไปเมื่อมีการตีความและสร้างข้อสรุปทั่วไปแล้ว ขั้นตอนต่อมาของกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ การนำเสนอผลงานที่ได้จากการค้นคว้าวิจัย

บทบาทของนักวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีมากกว่านักวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์นอกจากนี้ยังต้องคิดเกี่ยวกับปัญหาที่ทำการวิจัยหรือหัวข้อที่จะทำการวิจัยให้ทะลุปรุโปร่งละเอียดรอบคอบขณะเดียวกันต้องตระหนักว่าความรู้ความเข้าใจทางการเมืองทั้งหลายที่นักวิจัยระบุมานั้นต้องมีหลักฐานข้อมูลสนับสนุน
กรอบแนวคิด ทฤษฎีของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์หมายถึงการกำหนดแนวทางการวิจัยการกำหนดขอบเขตการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลให้นักวิจัยโดยช่วยให้แนวทางวิเคราะห์ว่าจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอะไรบ้างที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษาเช่นเดียวกันกับการช่วยสรุปข้อเท็จจริงรวมทั้งช่วยทำนายปรากฏการณ์
หน่วยในการศึกษาของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีดังนี้
– หน่วยระดับบุคคล เช่น อายุ อาชีพ การศึกษา เป็นต้น
– หน่วยระดับกลุ่ม  เช่น ระดับการศึกษาโดยเฉลี่ย เป็นต้น
– หน่วยระดับองค์การ ได้แก่ องค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง(ก.ก.ต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช)
– หน่วยระดับสถาบัน ได้แก่ สถาบันทางการเมือง เช่น พรรคการเมือง เป็นต้น
– หน่วยระดับสังคม เช่น อัตราความเป็นเมือง เป็นต้น
ความสำคัญของการสร้างข้อสรุปทั่วไป
การสร้างข้อสรุปทั่วไปโดยทั่วไปมีความสำคัญโดยเฉพาะต่อการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองเป็นอย่างมากแม้นว่าเหตุการณ์ทางการเมืองแต่ละเหตุการณ์จะมีลักษณะเฉพาะตัวในแง่ดังกล่าวในกรณีของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เมื่อมีการวิเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อยแล้วถ้าเป็นไปได้นักวิจัยควรจะต้องมีการสรุปผลในลักษณะของข้อสรุปทั่วไป

4.3 ปัญหาอุปสรรค และตัวอย่างของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

ปัญหาอุปสรรคของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ที่นำมากล่าวถึง จะกล่าวถึงเฉพาะปัญหาที่สำคัญสำคัญสำหรับตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ที่นำมากล่าวถึงได้แก่ เรื่อง “ความคิดทางการเมืองในสามก๊กและเจ้าผู้ปกครอง”

4.3.1 ปัญหาและอุปสรรคของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ปัญหาอุปสรรคของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีอยู่หลายประการ อาทิ ปัญหาทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างข้อสรุปทั่วไป ปัญหาในแง่ที่การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เช่นเดียวกันกับการวิจัยเชิงคุณภาพทั่วไปที่การนำเสนอข้อมูลเป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงบรรยายผล ทำให้มีการมองกันว่าการนำเสนอในลักษณะดังกล่าวเป็นการนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนาที่ละเอียด แต่ไม่มีการวิเคราะห์ ประเด็นนี้จึงกลายเป็นปัญหาอุปสรรค เป็นต้น

4.3.2 ตัวอย่างของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ที่จะกล่าวถึงในหน่วยนี้ ได้แก่ การวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ของ ไพรัตน์ เทศพานิช ที่ศึกษาวิจัยเรื่อง “ความคิดทางการเมืองในสามก๊กและเจ้าผู้ปกครอง”

ปัญหาอุปสรรคของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีอยู่หลายประการ อาทิ ปัญหาทางการวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างข้อสรุปทั่วไปในแง่ที่จะเป็นที่ยอมรับหรือน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงไรทั้งนี้เพราะ “หน่วยในการศึกษา” หรือ “หน่วยในการวิเคราะห์” มีน้อยทำให้การวิเคราะห์หรืออธิบายปรากฏการณ์ตลอดจนการสร้างข้อสรุปทั่วไปของการวิจัยเป็นได้เฉพาะกรณีที่ศึกษาเท่านั้น
วิธีการวิจัยเสนอในรูปแบบการศึกษาวิจัยเอกสารที่พัฒนาและวิเคราะห์ โดยพิจารณาเฉพาะองค์ประกอบภายในของวรรณกรรมกล่าวคือ วิเคราะห์โดยอิงตัวบทของวรรณกรรมอย่างละเอียดเป็นหลัก ศึกษาเนื้อหาด้านความคิดทางการเมืองการปกครอง ประมวลและสรุปผลการศึกษาโดยวิเคราะห์จากวรรณกรรมทั้ง 2 เรื่อง เสนอเป็นบท จากนั้นสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ

หน่วยที่ 5 การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

5.1 แนวคิดทั่วไปของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ

การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการกำหนดกรอบการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพอันจะนำไปสู่การได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาการวิจัยที่กำหนดขึ้น

5.1.1 ความหมายและความสำคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวางแผนการดำเนินการวิจัยโดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเลข ไม่มีการควบคุมตัวแปรอย่างเข้มงวด และเน้นการศึกษาที่ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์

5.1.2ลักษณะของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมแบบอุปนัยในลักษณะขององค์รวมเพื่อทำความเข้าใจอย่างเจาะลึก

5.1.3 ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย การระบุคำถามการวิจัย การกำหนดบริบทของแนวคิดและทฤษฎี การกำหนดระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้

การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพหมายถึงการวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปรหรือการตีความข้อมูล โดยเน้นไปที่ความสัมพันธ์หรือปฏิสัมพันธ์เชิงการเมืองของบุคคลภายในชุมชนหรือภายในวัฒนธรรมหนึ่งๆ เพื่อความเข้าใจสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงมากกว่าการคาดการณ์และการควบคุมโดยใช้วิธีการที่หลากหลายและแข็งแกร่ง อันจะนำไปสู่ความเข้าใจสิ่งที่ต้องการศึกษาในลักษณะขององค์รวม
ลักษณะสำคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่
1 การออกแบบการวิจัยจะเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมจริงที่ต้องการทำวิจัย
2 การออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้วิธีการปฏิสัมพันธ์เชิงสังคมเป็นหลัก
3 สิ่งที่เกิดขึ้นในการออกแบบการวิจัยจะเป็นไปตามสถานการณ์ที่เป็นจริง มากกว่าที่จะเป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าและตายตัว
4 การออกแบบการวิจัยจะใช้ความสำคัญกับการตีความเป็นหลัก
5 การออกแบบการวิจัยจะใช้การศึกษาแบบอุปนัย โดยการสรุปผลที่ได้จากการนำส่วนย่อยมารวมกัน
ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน
1 การกำหนดเป้าหมาย
2 การกำหนดบริบทของแนวคิดและทฤษฎี
3 การระบุคำถามการวิจัย
4 การกำหนดระเบียบวิธีวิจัย
5 การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้

5.2 การทดสอบความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยคุณภาพ

ความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถกระทำได้โดยการใช้เกณฑ์การทดสอบรวมทั้งสามารถที่จะเพิ่มความถูกต้องให้สูงขึ้นได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม

5.2.1 เกณฑ์การทดสอบความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
ประกอบด้วย ความน่าเชื่อถือ ความสามารถในการถ่ายทอดผลลัพธ์ ความเป็นปรนัย ความคงเส้นคงวา ความเป็นกลาง ความเป็นประโยชน์ และการนำไปประยุกต์ใช้

5. 2.2 วิธีการเพิ่มความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
ความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถเพิ่มให้สูงขึ้นได้ โดยใช้วิธีการต่อไปนี้คือ การตรวจสอบจากผู้ให้ข้อมูล
ช่วงเวลาที่ใช้ การตรวจสอบจากผู้ร่วมอาชีพ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญ การสำรวจแบบสามเหลี่ยม ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง และการตรวจสอบจากภายนอก การใช้หลายแกนร่วมกันจะช่วยทำให้การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพมีความถูกต้องเพิ่มมากขึ้น

เกณฑ์การทดสอบความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่
1 ความน่าเชื่อถือ ต้องทำให้ผู้อื่นมั่นใจว่าข้อสรุปที่ได้มาจากข้อมูลจริงมีหลักฐานและสามารถตรวจสอบยืนยันได้
2 ความเป็นปรนัยคือ นักวิจัยจะต้องพัฒนาและตีความข้อมูลที่ได้โดยต้องไม่มีอคติหรือลำเอียงไปจากสภาพที่เป็นจริง
3 ความเป็นกลาง ข้อค้นพบที่ได้จะต้องสะท้อนความเป็นจริงของสิ่งที่ต้องการศึกษาและสามารถจะยืนยันได้ด้วยการวิจัยของบุคคลอื่นโดยไม่ได้มาจากอคติของผู้วิจัยหรือมาจากผลประโยชน์แอบแฝงของผู้วิจัย
วิธีการเพิ่มความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพทำได้โดย
1 การตรวจสอบจากผู้ให้ข้อมูลคือการที่ผู้วิจัยส่งสิ่งที่ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ตีความข้อมูลและสรุปผลด้วยตนเองได้ให้มีผู้มีส่วนร่วมได้พิจารณาความแม่นยำและความเชื่อถือได้ของสิ่งที่ค้นพบ
2 การตรวจสอบจากผู้ร่วมอาชีพ

5.3 ประเภทของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ

การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพที่สำคัญ ได้แก่ การออกแบบการวิจัยกรณีศึกษา การออกแบบการวิจัยเชิงพรรณนา การออกแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ รายการออกแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา

5.3.1 การออกแบบการวิจัยกรณีศึกษา
เป็นการวางกรอบเพื่อทำให้การพัฒนาและการตีความลักษณะหรือคุณสมบัติของกรณีที่ต้องการศึกษาเป็นไปอย่างเจาะลึกและครอบคลุมครบถ้วน

5.3.2 การออกแบบการวิจัยเชิงพรรณนา
เป็นการวางกรอบเพื่อการศึกษาคุณสมบัติของสิ่งที่ต้องการในสถานการณ์ปัจจุบันหรืออนาคต โดยอรรถศึกษาเฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง รู้ศึกษาในระยะเวลาที่ต่อเนื่องยาวนาน

5.3.3 การออกแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ
เป็นการวางกรอบเพื่อให้ได้มาซึ่งรูปแบบการแก้ปัญหาหรือการปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพขององค์การหรือชุมชนโดยเน้นการเข้าไปมีส่วนร่วมของบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนกลับ ซึ่งจะกระทำติดต่อกันอย่างต่อเนื่องในลักษณะของวงจร จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้จริง

5.3.4 การออกแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา
การออกแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาเป็นการวางกรอบเพื่อการศึกษาบุคคล หรือกลุ่มบุคคลในสังคมหรือวัฒนธรรม หนึ่งๆ โดยผู้วิจัยจะไปฝังตัวอยู่ในชุมชนเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะเวลายาวนาน

สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาในการออกแบบการวิจัยกรณีศึกษาได้แก่
– ประเภทของกรณีที่ต้องการศึกษา
– วิธีการสุ่มตัวอย่าง
– วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
– ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูล
การออกแบบการวิจัยเชิงพรรณนามี 2 ชนิดคือ
1 การออกแบบการวิจัยแบบเฉพาะช่วงเวลา เป็นการออกแบบการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษา เฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
2 การออกแบบการวิจัยตามระยะเวลาที่ยาวนาน เป็นการออกแบบการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลมาพรรณนาเชิงเปรียบเทียบหรือวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของประชากรเป้าหมายในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานต่อเนื่อง
การออกแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ เป็นการวางแผนเชิงระบบที่นำเอาการวิจัยมาทำการผสมผสานไปกับการปฏิบัติจริง โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ตลอดกระบวนการวิจัย ทั้งนี้เพื่อจะทำให้ได้มาซึ่งรูปแบบการแก้ปัญหามีการพัฒนาการปฏิบัติได้เหมาะสมกับสภาพขององค์การหรือชุมชน รวมทั้งจะนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพขององค์การหรือการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น
การออกแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา เป็นการวางระบบและแบบแผนของการพัฒนาและการตีความเพื่อหาความหมายของกลุ่มหรือระบบสังคมและวัฒนธรรมหนึ่งๆที่ต้องการศึกษาโดยผ่านการสังเกตของผู้วิจัยที่เข้าไปฝังตัวในชุมชนหรือโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากสมาชิกของชุมชนระบบสังคมในประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือหลายประเด็นเช่นพฤติกรรม ภาษา สิ่งประดิษฐ์ โครงสร้าง หน้าที่ และวัฒนธรรม

หน่วยที่ 6 การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

6.1 ลักษณะของข้อมูลและจุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

ลักษณะของข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีลักษณะดังต่อไปนี้
มีลักษณะที่เป็นข้อความหรือเป็นการพรรณนา
เป็นข้อมูลเกี่ยวกับโลกทัศน์ ความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ตลอดจนอุดมการณ์ทางการเมือง นอกจากนี้การจะได้ข้อมูลผู้วิจัยต้องมีความสัมพันธ์อันดีกับประชากรที่ตนศึกษาเป็นต้น สำหรับจุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ ส่วนใหญ่จะเน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ลึกซึ้งรอบด้าน เน้นความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัยและผู้ถูกวิจัย และเน้นการให้ผู้วิจัยออกไปเก็บข้อมูลด้วยตนเอง

6.1.1 ลักษณะของข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ลักษณะของข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ ข้อความหรือการพัฒนาที่บรรยายให้เห็นสภาพของปรากฏการณ์ นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลเกี่ยวกับโลกทัศน์ ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจนอุดมการณ์ทางการเมือง การจะได้ข้อมูลผู้วิจัยต้องมีความสัมพันธ์อันดีกับประชากรที่ตนทำการศึกษาเป็นต้น

6.2.2 จุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ได้แก่ การเงินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ลึกซึ้ง รอบด้าน เน้นความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัยและผู้ถูกวิจัย รวมทั้งการเงินให้ผู้วิจัยออกไปเก็บข้อมูลด้วยตนเอง

ลักษณะของข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
การจะได้ข้อมูลผู้วิจัยต้องมีความสัมพันธ์อันดีกับประชากรที่ตนทำการศึกษา จะต้องมีการให้ความสำคัญกับแหล่ง และความหมายของข้อมูลจากทัศนะของผู้ให้ข้อมูล จะต้องเป็นข้อมูลที่มีลักษณะที่สะท้อนความคิด ระบบคิดของผู้ตอบโดยตรง
จุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
เน้นการเก็บข้อมูลขนาดเล็กและจำนวนน้อยให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลด้านจิตใจ ความรู้สึกนึกคิด ความหมายที่มนุษย์กำหนดขึ้นมา รวมทั้งเน้นให้ผู้วิจัยออกไปเก็บข้อมูลด้วยตนเอง

6.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญสำคัญได้แก่ การสังเกตหรือการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และการใช้ข้อมูลจากเอกสาร

6.2.1 การสังเกตการณ์
การสังเกตการณ์หรือการสังเกตเป็นเรื่องของการเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นมีปรากฏขึ้นอย่างเอาใจใส่หรืออย่างใกล้ชิด และกำหนดไว้อย่างมีระเบียบ เพื่อวิเคราะห์หรือหาความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งอื่น สำหรับประเภทของการสังเกตมีอยู่ 2 ประเภทคือ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม

6.2.2 การสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์เป็นรูปแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ถามกับผู้ตอบโดยทั่วไป การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพวิธีนี้ เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความสำคัญวิธีหนึ่ง ที่ช่วยให้นักวิจัยหรือผู้วิจัยสามารถเข้าถึงการรับรู้ของบุคคล ความหมายที่บุคคลแสดงออกมา สำหรับประเภทของการสัมภาษณ์มีอยู่หลายประเภท

6.2.3 การใช้ข้อมูลจากเอกสาร
การใช้ข้อมูลจากเอกสารเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์อีกวิธีหนึ่งที่จำแนกออกได้เป็นเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง

การสังเกตการแบบมีส่วนร่วมหรือที่เรียกว่าการสังเกตภาคสนามหรือการสังเกตเชิงคุณภาพเป็นการสังเกตที่ตัวผู้สังเกตต้องเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ถูกศึกษาในแง่ของการมีกิจกรรมร่วมกันมีการกระทำกิจกรรมด้วยกันขณะเดียวกันพยายามให้คนในชุมชนหรือในสังคมการเมืองที่ศึกษายอมรับว่าผู้สังเกตมีสถานภาพและบทบาทเช่นเดียวกับตน
การสัมภาษณ์เจาะลึกที่ไม่ใช้แบบสอบถาม
เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่ได้มีการกำหนดโครงสร้างของข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้แน่นอนตายตัวการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทั่วไปต้องอาศัยความสามารถพิเศษของผู้ให้สัมภาษณ์ในการซักถามติดตามรายละเอียดทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ
ลักษณะของเอกสารชั้นรอง
ได้แก่ ข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่แล้ว ตั้งแต่บันทึกประวัติบุคคล รายงานต่างๆ ไปจนกระทั่งเอกสารทุกประเภท นับตั้งแต่รายงานการประชุม รายงานประจำ เอกสารทางวิชาการเป็นต้น

6.3 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แต่ไม่ว่าจะใช้เครื่องมืออะไรต้องมีการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของเครื่องมือนั้นๆ

6.3.1 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ แบบสังเกต สอบสัมภาษณ์เป็นต้น สำหรับขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีอยู่หลายขั้นตอน

6.3.2 การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ในการสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์จะต้องมีทั้งความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ทางการวัด

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ขั้นที่ 1 ต้องมีการวิเคราะห์ศึกษาวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ทำการวิจัยก่อนว่า มีวัตถุประสงค์ในเรื่องใดบ้าง
ขั้นที่ 2 ทำการวัดแนวคิด เปิดตัวแปรตามกระบวนการวัด
ขั้นที่ 3 ระบุประเภทของเครื่องมือ
ขั้นที่ 4 สร้างกรอบในการสังเกต/สัมภาษณ์(ซึ่งเป็นเครื่องมือ)
ขั้นที่ 5 สร้างแบบสังเกตหรือแบบสัมภาษณ์ในฐานะเป็นเครื่องมือให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์
ขั้นที่ 6 ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ
ความเที่ยงตรงของการวัดหมายถึงเครื่องมือนั้นสามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้ตรงเนื้อหาสาระมากน้อยแค่ไหน
ความเชื่อถือได้ของการวัดหมายถึงเมื่อทำการวัดแล้วผลที่ได้จากการวัดเหมือนหรือสอดคล้องกันทุกครั้งหรือไม่

6.4 ปัญหาอุปสรรค และตัวอย่างวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

ได้แก่ ความไม่น่าเชื่อถือของการเก็บรวบรวมข้อมูลทำให้การค้นพบบางครั้งยากต่อการประเมิน ประการต่อมา การเก็บรวบรวมข้อมูลทำได้ค่อนข้างยาก เพราะข้อมูลที่เก็บรวบรวมเป็นการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความเชื่อ ความหมายทางการเมือง ดังนั้นเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลจำต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นต้น สำหรับตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ที่นำมากล่าวถึง นำมาจากงานวิจัยเรื่องกลุ่มพลังประชาธิปไตย: บทบาทในการผลักดันนโยบายการปฏิรูปการเมืองพ. ศ. 2536 – 2538

6.4.1 ปัญหาอุปสรรคในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
มีอยู่หลายประการ อาทิ ประการแรกความไม่น่าเชื่อถือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประการที่ 2 เนื่องจากการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความเชื่อ ความหมายทางการเมือง ดังนั้นการเก็บรวบรวมเหล่านี้จึงค่อนข้างยากเป็นต้น

6.4.2 ตัวอย่างวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เรื่อง “กลุ่มพลังประชาธิปไตยในประชาสังคม: บทบาทในการผลักดันนโยบายปฏิรูปการเมืองพ. ศ. 2536 – 2538” ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารชั้นต้นได้แก่สารชั้นรอง รวมทั้งการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ

ปัญหาอุปสรรคในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ ความไม่น่าเชื่อถือของการเก็บรวบรวมข้อมูล ความยากในการเก็บข้อมูล เนื่องจากการเก็บรวบรวมข้อมูลผลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เป็นการเก็บข้อมูลประเภทความคิด ความเชื่อ ความหมายทางการเมืองเป็นต้น
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เรื่อง”กลุ่มพลังประชาธิปไตยในประชาสังคม:บทบาทในการพักการการปฏิรูปการเมืองพ.ศ. 2536 – 2538″
ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการรวบรวมเอกสารชั้นต้นและชั้นรองรวมทั้งการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ

หน่วยที่7 การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

7.1 ลักษณะและกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีลักษณะดังนี้ เป็นการจำแนกหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นระบบ ต้องวิเคราะห์ข้อมูลในขณะที่เก็บในพื้นที่ ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ควรเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นข้อความหรือการพัฒนาที่บรรยายให้เห็นสภาพของปรากฏการณ์ทางการเมือง ประเทศกระบวนการขั้นตอนของเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น เป็นต้น สำหรับกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีอยู่หลายขั้นตอน

7.1.1 ลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร
์มีลักษณะดังนี้ เป็นการจำแนกหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นระบบ ต้องวิเคราะห์ข้อมูลขณะที่เก็บในพื้นที่ ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ควรเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นข้อความหรือเป็นการพัฒนาที่บรรยายให้เห็นสภาพของปรากฏการณ์ทางการเมือง เป็นกระบวนการที่กระทำซ้ำกลับไปกลับมา เป็นต้น

7.1.2 กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
กระบวนการขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีหลายขั้นตอน อาทิ ขั้นตอนแรก ขั้นจัดกระทำข้อมูล ขั้นที่ 2 ขั้นตรวจสอบข้อมูล ขั้นที่ 3 การจัดเตรียมข้อมูล เพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์ง่ายขึ้น ขั้นที่ 4 ท่านใช้กรอบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เป็นกระบวนการที่กระทำซ้ำกลับไปกลับมาระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลกับการวิเคราะห์ เป็นกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เป็นการจำแนกหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นระบบ และต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลขณะที่เก็บในพื้นที่ เป็นต้น
กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ขั้นตอนแรกต้องมีการจัดกระทำข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 ควรจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูล
ขั้นตอนที่ 3 มีการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นใช้กรอบการวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบ่งเป็นการวิเคราะห์ระหว่างการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์หลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามแล้ว

7.2 หน่วยและระดับในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

หน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ บุคคลจนกระทั่งถึงรัฐบาลของแต่ละประเทศ ระบอบการเมือง เป็นต้น สำหรับระดับการวิเคราะห์จะมีตั้งแต่ระดับรัฐบาล ระดับประเทศ จนกระทั่งระดับทวีป

7.2.1 หน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ไม่จำกัดเฉพาะบุคคล แต่อาจจะขยายไปถึงรัฐบาลของแต่ละประเทศ ระบบการเมือง เป็นต้น ขณะที่หน่วยในการวิเคราะห์ของรัฐประศาสนศาสตร์จะอยู่ที่บุคคล โดยอาจจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้าง เป็นต้น

7.2.2 ระดับในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
จะมีทั้งระดับรัฐบาล ระดับประเทศ แต่ระดับภาคพื้นทวีปก็ได้

หน่วยการวิเคราะห์ข้อมูลทางการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ไม่จำกัดเฉพาะบุคคล แต่อาจขยายไปถึงรัฐบาล คะแนนที่หน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐประศาสนศาสตร์จะอยู่ที่บุคคล ฉันอาจจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
ระดับในการวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีทั้งระดับรัฐบาล ระดับประเทศ เป็นต้น
7.3 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
วิธีที่สำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีอยู่หลายวิธี อาทิ วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิธีวิเคราะห์เชิงอุปนัย
7.3.1 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงพรรณนา
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงพรรณนาเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพระดับพื้นฐานในแง่ของการนำข้อมูลมาจัดเรียงตามลำดับเวลา
7.3.2 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงการวิเคราะห์เนื้อหา
เป็นเทคนิคเพื่อใช้ในการอนุมานอย่างเป็นระบบเนื่องจากผลการวิเคราะห์โดยวิธีนี้จะได้ดัชนีที่เป็นตัวเลขสำหรับนำไปใช้ในการอ้างอิง
7.3.3 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงอุปนัย
เป็นการนำเอาข้อมูลที่ได้รับการจัดเก็บรวบรวมมาร์หรือตัดทอนเพื่อทำให้ประเด็นการศึกษามีความชัดเจน
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงพรรณนา ตามความเป็นจริงไม่ใช่เป็นการพรรณนา การบรรยาย หรือเล่าเรื่องราวเพียงอย่างเดียวโดยปราศจากการวิเคราะห์ แต่เป็นการพรรณนาที่มีการวิเคราะห์ควบคู่กันไปด้วย
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงการวิเคราะห์เนื้อหาเป็นการแจงนับ “แนวคิด” ที่เป็นประเด็นของการศึกษา ตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ โดยแนวคิดเหล่านั้นปรากฏอยู่ในเอกสารหรืองานเขียนที่ต้องแจ้งรับออกมาเพื่อให้เห็นชัดลงไปว่าเอกสารหรืองานเขียนนั้นให้น้ำหนักกับแนวคิดเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงอุปนัยเป็นการนำเอาข้อมูลที่ได้รับจากการจัดเก็บรวบรวม “มาลด” หรือ “ตัดทอน” เพื่อทำให้ประเด็นศึกษามีความชัดเจน โดยนำมาเชื่อมโยงกับสมมติฐานที่ตั้งขึ้นระหว่างการเก็บข้อมูล แล้วนำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีเพื่ออธิบายความหมายของข้อมูล
7.4 ปัญหาอุปสรรค และตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ปัญหาอุปสรรคของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพมีอยู่หลายประการ อาทิ ปัญหาความลุ่มลึกของนักวิจัยในทางทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัย ปัญหาการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างข้อสรุป ซึ่งจะมีลักษณะเป็นข้อสรุปเฉพาะกรณี ปัญหาทัศนะของคนในหรือคนที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางการเมืองนั้นโดยตรง เป็นต้น สำหรับตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้นำมาจากวิทยานิพนธ์ของ ชุติมา สุมน เรื่อง “กลุ่มพลังประชาธิปไตยในประชาสังคม: บทบาทในการผลักดันนโยบายปฏิรูปการเมืองพ. ศ. 2536 ถึง 2538”
7.4.1 ปัญหาอุปสรรคในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ปัญหาอุปสรรคในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีหลายประการ อาทิ ปัญหาความรุ่มลึกของนักวิจัยในทางทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัย ปัญหาทัศนะของ
“คนใน” หรือ คนที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางการเมืองนั้นๆโดยตรง ปัญหาความรุ่งเรืองของผู้วิจัยหรือนักวิจัยในทางทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยเป็นต้น
7.4.2 ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
นำมาจากวิทยานิพนธ์ของ ชุติมา สุมน เรื่อง
“กรมพลังประชาธิปไตยประชาสังคม: บทบาทในการผลักดันนโยบายปฏิรูปการเมืองพ. ศ. 2536 ถึง 2538”
โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์

หน่วยที่ 8 หลักและวิธีการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

8.1 รากฐานทางปรัชญาของการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

ได้แก่ ปรัชญาปฏิฐานนิยม โดยเฉพาะปรัชญาปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยาซึ่งพยายามทำให้ปัดยาเป็นวิทยาศาสตร์ และมีการนำวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มาใช้ศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม สำหรับรัฐศาสตร์ก็คือการนำกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณมาใช้

8.1.1 หลักปรัชญาปฏิฐานนิยม(Positivism) และปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยา (Logical Positivism)
ปรัชญาปฏิฐานนิยมสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ช่วงคือปฏิฐานนิยมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และปฏิฐานนิยมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่รู้จักกันในนามของปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยา
ปฏิฐานนิยมคือการนำเอาวิธีการเชิงประจักษ์มาศึกษาหรือค้นหากฎทั่วไปที่อธิบายสัมพันธภาพทางสังคม ส่วนปรัชญาปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยาก่อตัวขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ความสนใจของกลุ่มนักปรัชญาปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยาคือการทำให้ปรัชญาเป็นวิทยาศาสตร์ เน้นวิธีการพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี

8.1.2 วิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักปรัชญาว่าด้วยการได้มาซึ่งความรู้แบบปฏิฐานนิยมและมีความใกล้ชิดกับพัฒนาการของหลักปรัชญาปฏิฐานนิยม

8.1.3 วิธีการทางวิทยาศาสตร์กับการทำวิจัย
นักวิจัยกระแสหลักในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติหรือสังคมศาสตร์ได้นำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นกระบวนการในการค้นหาความเป็นจริงและเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุดมาใช้ในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางกายภาพหรือปรากฏการณ์ทางสังคมที่อยู่รอบรอบตัวมนุษย์รวมทั้งพยายามที่จะทำความเข้าใจทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของมนุษย์เองด้วยกระบวนการดังกล่าวก็คือกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณนั่นเอง

– หลักปรัชญาปฏิฐานนิยมเน้นการนำเอาวิธีการเชิงประจักษ์มาใช้ในการศึกษาสังคม ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ต่างๆซึ่งจะช่วยทำให้สามารถค้นหากฎหรือทฤษฎีที่อธิบายความสัมพันธ์เหล่านั้น
– ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยาคือการทำให้ปรัชญาเป็นวิทยาศาสตร์และเห็นว่าประโยคที่จะมีความหมายมี 2 ประเภทเท่านั้นคือประโยคเชิงประจักษ์และประโยคที่เป็นความจริงในเชิงตรรกวิทยาซึ่งเป็นประโยคที่ใช้ในการวิเคราะห์ส่วนประโยคที่ไม่ใช่ประโยคเชิงวิเคราะห์ทั้งหลายจะมีความหมายก็ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ด้วยข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ดังนั้นหน้าที่หลักของปรัชญาวิทยาศาสตร์สมัยใหม่คือการสร้าง การขยาย  และการใช้กฎของทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ โดยการใช้หลักการว่าด้วยการพิสูจน์ยืนยันเพื่อข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์
กล่าวโดยสรุปปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยาใช้วิธีการนิรนัยและเน้นวิธีการพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยฐานคติที่สำคัญคือเป็นวิธีการที่ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงหรือเรียนรู้ได้เป็นวิธีการที่มีรูปแบบเดียวสำหรับใช้ศึกษาศาสตร์ในทุกสาขา และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้กันในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสามารถนำเอาไปใช้ศึกษาหาความรู้ในสาขาวิชาอื่นๆได้ทั้งหมด
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักปรัชญาว่าด้วยการได้มาซึ่งความรู้แบบปฏิฐานนิยมและมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพัฒนาการของหลักปรัชญาปฏิฐานนิยมเมื่อปฏิฐานนิยมในระยะแรกเน้นการใช้วิธีการแบบอุปนัย หรือการรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆเพื่อนำมาสรุปหรือสร้างเป็นความรู้เรื่อง 1 เรื่องใดขึ้นมานักวิทยาศาสตร์ก็ใช้วิธีการแบบอุปนัยแสวงหาความรู้แต่ปฏิฐานนิยมที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งได้แก่ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยาได้เน้นวิธีการพิสูจน์ยืนยันทฤษฎีวิธีการวิทยาศาสตร์ได้หันมาใช้วิธีการเชิงนิรนัยคือการพิสูจน์สมมติฐานที่นิรนัยจากทฤษฎีด้วยข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์เป็นต้น
ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอนด้วยกัน
1 การสังเกตปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง
2 การสร้างทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานของการสังเกตการณ์นั้นขึ้นมา
3 การสร้างสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้ที่อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีดังกล่าว
4 การทดสอบสมมติฐาน
5 การสรุปซึ่งเป็นการให้คำอธิบายว่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมนั้นยืนยันหรือปฏิเสธสมมติฐานดังกล่าวนอกจากขั้นตอน 5 ขั้นตอนนี้แล้วเนื่องจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุดจึงมีขั้นตอนอีก 3 ขั้นตอนที่ต้องทำซ้ำต่อไปอีกเรื่อยเรื่อยๆในกระบวนการค้นหาความเป็นจริงขั้นตอนดังกล่าวจะซ้ำกับขั้นตอนที่ 2 ถึง 5 ขั้นตอนดังกล่าวคือ
6 การปรับปรุงที่สดีเดิมหรือการสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่โดยสิ้นเชิงที่อยู่บนพื้นฐานของข้อค้นพบจากงานวิจัยเดิม
7 การสร้างสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้ที่อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีที่ได้รับการปรับปรุงแล้วหรือทฤษฎีใหม่
8 การทดสอบสมมติฐาน

8.2 หลักการสำคัญของการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการนำขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อตอบปัญหาวิจัยในการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณจะต้องคำนึงถึงหลักการที่สำคัญคือ หลักความแปรผันร่วม และหลักการควบคุมความแปรปรวน

8.2.1 ความหมายและความสำคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการนำเอาขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาใช้เพื่อตอบปัญหาวิจัยการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณมีความสำคัญต่อการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์เพราะช่วยในการศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ทางการเมืองที่จะศึกษาหารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่างๆเพื่อสร้างเป็นทฤษฎีหรือกฎทั่วไปขึ้นมาเพื่อให้คำอธิบายหรือคำทำนายปรากฏการณ์ย่อยย่อยอื่นๆที่เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันได้

8.2.2หลักความแปรผันร่วม
เป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณหลักของความแปรผันร่วมคือตัวแปรตามจะต้องมีความแปรผันกล่าวอีกนัยหนึ่งการทำวิจัยปรากฏการณ์ทางการเมืองในประการแรกจะต้องแน่ใจว่าตัวแปรตามหรือปรากฏการณ์ที่เราต้องการศึกษาหาคำตอบมีความแปรผันมากพอในขณะเดียวกันตัวแปรอิสระต้องมีความผันแปรสูงด้วยและการคัดเลือกตัวแปรอิสระควรได้รับการชี้นำจากทฤษฎีผลการวิจัยของผู้อื่นหรืออย่างน้อยก็เป็นการคัดเลือกที่สมเหตุสมผล

8.2.3 หลักการควบคุมความแปรปรวน
ในการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณจะต้องคำนึงถึงหลักการควบคุมความแปรปรวน 3 ประการคือ 1) ทำให้ความแปรปรวนที่เป็นระบบมีค่าสูงสุด 2) ทำให้ความแปรปรวนที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนมีค่าต่ำสุด 3) ควบคุมความแปรปรวนที่เป็นระบบซึ่งเกิดจากตัวแปรภายนอก

ความสำคัญการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณสำหรับการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์คือช่วยในการศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ทางการเมืองโดยการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ทางการเมืองเพื่อสร้างทฤษฎีที่น่าสนใจและสามารถให้คำอธิบายแก่ปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างครอบคลุมกว้างขวางมีการร่างทฤษฎีย่อยๆเพื่อนำไปให้คำอธิบายหรือคำทำนายปรากฏการณ์ย่อยย่อยอื่นๆที่เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันได้
หลักความแปรผันร่วมคือหลักการที่ผู้ออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณจะต้องทำให้แน่ใจว่าตัวแปรตามและตัวแปรอิสระมีความแปรผันสูงและการคัดเลือกตัวแปรอิสระควรได้รับการชี้นำจากทฤษฎีผลงานวิจัยของผู้อื่นหรือยังน้อยที่สุดการคัดเลือกตัวแปรนั้นจะต้องกระทำอย่างสมเหตุสมผล
หลักการ (Max)
เป็นหลักการควบคุมความแปรปรวนหลักการหนึ่งโดยการทำให้ความแปรปรวนที่เป็นระบบมีค่าสูงทำโดยการควบคุมที่ตัวแปรอิสระเช่นในการวิจัยแบบทดลองทำได้โดยผู้วิจัยต้องเข้าแทรกแซงให้ประมาณครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทดลองได้ทำการทดลองแต่อีกประมาณครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทดลองไม่ได้รับการทดลองเป็นการทำให้ตัวแปรอิสระเป็น 2 กลุ่มที่มีความแตกต่างกันมากที่สุดหลังจากทดลองแล้วจึงมีการวัดค่าตัวแปรตามและทดสอบทางสถิติเพื่อยืนยันว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรตามในประชากรทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักวิจัยจึงจะสามารถยืนยันได้ว่าสิ่งที่ทดลองเป็นสาเหตุของตัวแปรตามเป็นต้น

8.3 กระบวนการที่สำคัญของการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

คือการกำหนดสมมติฐานวิจัย และการสร้างคำนิยามเชิงปฏิบัติการให้แก่ตัวแปร

8.3.1 การกำหนดสมมติฐานวิจัย
การกำหนดสมมติฐานวิจัยคือการกำหนดคำตอบของปัญหาวิจัยที่นักวิจัยต้องการทดสอบหรือพิสูจน์โดยการกำหนดสมมติฐานอาจจะมาจากการนิรนัยจากทฤษฎีทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาและผ่านการทดสอบยืนยันอย่างเข้มงวดมาแล้ว จากข้อค้นพบของนักวิจัยผู้อื่นที่ได้เคยศึกษาเรื่องนี้หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องมาก่อนการอุปมาอุปไมยจากความรู้ในสาขาวิชาอื่นและการคาดคะเนที่อยู่บนพื้นฐานของความสมเหตุสมผล หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมาด้วยตัวนักวิจัยเองซึ่งการเขียนสมมติฐานทำได้ใน 2 ลักษณะคือการแสดงความสัมพันธ์ในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวและการแสดงความสัมพันธ์ในเชิงเงื่อนไข

8.3.2 ตัวแปรและการสร้างคำนิยามเชิงปฏิบัติการให้แก่ตัวแปร
ตัวแปรคือสิ่งที่นักวิจัยสร้างขึ้นเพื่อวัดกรอบแนวคิดที่ต้องการทำการวิจัยตัวแปรจะมีความเป็นรูปประธรรมมากกว่ากรอบแนวคิดคือมีความสามารถสังเกตเห็นได้หรือสามารถวัดได้และแม้ว่าตัวแปรจะมีลักษณะความเป็นรูปประธรรมหรือวัตถุวิสัยแต่นักวิจัยก็ยังต้องให้คำนิยามเชิงปฏิบัติการแก่ตัวแปรเพื่อที่จะบอกว่าจะวัดตัวแปรนั้นอย่างไร

การกำหนดสมมติฐานวิจัยคือการกำหนดคำตอบที่ผู้วิจัยต้องทำการพิสูจน์หลังจากนักวิจัยกำหนดปัญหาวิจัยแล้วสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะ 6 ประการคือ
1 มีลักษณะเป็นประโยคหรือข้อความเชิงประจักษ์
2 ต้องเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นการทั่วไป
3 ต้องมีความเป็นไปได้
4 ต้องมีลักษณะที่เฉพาะเจาะจง
5 สามารถทดสอบได้
6 ต้องไม่มีลักษณะของความเป็นสิ่งเดียวกันหรือสัมพันธ์กับสิ่งเดียวกันที่เรียกว่า tautological
ตัวแปรคือสิ่งที่นักวิจัยกำหนดหรือสร้างขึ้นเพื่อวัดกรอบแนวคิดที่ต้องการทำการวิจัยเหตุที่ต้องมีการสร้างคำนิยามเชิงปฏิบัติการก็เนื่องมาจากตัวแปรบางตัวมันจะมีความเป็นรูปประธรรมสูงสามารถสังเกตได้แต่การสังเกตอาจมีความคลาดเคลื่อนได้หรือตัวแปรบางตัวมีระดับของความสลับซับซ้อนสูงดังนั้นเพื่อที่จะให้สามารถวัดตัวแปรได้จึงต้องมีการสร้างคำนิยามเชิงปฏิบัติการให้แก่ตัวแปรซึ่งก็คือการบอกว่าจะวัดตัวแปรนั้นอย่างไร

หน่วยที่ 9 การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

9.1 แนวคิดทั่วไปของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ

การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการกำหนดกรอบการดำเนินการวิจัยเพื่อช่วยทำให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาการวิจัยอย่างถูกต้อง

9.1.1 ความหมายและความสำคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวางแผนการดำเนินการวิจัยที่ให้ความสำคัญกับการควบคุมตัวแปรและการควบคุมคุณภาพของเครื่องมือวัดเพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามที่สามารถวัดข้อมูลเป็นตัวเลขได้

9.1.2 ลักษณะของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
ลักษณะของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่มีการกำหนดความสัมพันธ์เชิงตรรกะระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่แน่นอนซึ่งตัวแปรทั้งสองสามารถกำหนดเข้าออกมาได้เป็นตัวเลขชัดเจนรวมทั้งมีระเบียบวิธีการศึกษาที่ชัดเจนตามตรรกะแบบนิรนัยและมีการควบคุมสถานการณ์ของการศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามที่ต้องการได้

9.1.3 ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วย การออกแบบกรอบแนวคิดในการวิจัย การออกแบบตัวแปร การออกแบบสมมติฐาน การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง การออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูล และการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล

การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณหมายถึงการวางแผนหรือการกำหนดโครงสร้างของกิจกรรมที่ต้องกระทำในการวิจัยโดยครอบคลุมประเด็นสำคัญตั้งแต่การกำหนดกรอบแนวคิดที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลความข้อมูล โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาในการวิจัย
ลักษณะสำคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่
– มีการควบคุมสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยถูกต้องแม่นยำ
– มีการแยกตัวแปรออกเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม และมีการกำหนดความสัมพันธ์เชิงตรรกะระหว่างตัวแปรทั้งสองที่ชัดเจน
– มีการกำหนดขอบเขตของการวิจัยที่ชัดเจน
– มีการสร้างนิยามเชิงปฏิบัติการ
– มีการสร้างสมมติฐานและทดสอบโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์
– ใช้ตรรกะการศึกษาแบบนิรนัย
ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณคือ
1 การออกแบบกรอบแนวคิดในการวิจัย
2 การออกแบบตัวแปร
3 การออกแบบสมมติฐาน
4 การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง
5 การออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูล
6 การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล

9.2 การทดสอบความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ

ความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณสามารถกระทำได้โดยการใช้เกณฑ์การทดสอบรวมทั้งสามารถที่จะเพิ่มความถูกต้องให้สูงขึ้นได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม

9.2.1 เกณฑ์การทดสอบความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
เป็นการทดสอบความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยความหมายในการวัด ความเป็นปรนัย ประสิทธิภาพ ความแม่นยำ อำนาจจำแนก ความเที่ยงตรง และความเชื่อถือได้

9.2.2 วิธีการเพิ่มความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
วิธีการที่นำมาใช้เพิ่มความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ การเพิ่มความแปรปรวนอันเนื่องมาจากตัวแปรอิสระให้มีค่าสูงสุด การลดความแปรปรวนอันเนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนให้มีค่าต่ำสุด การควบคุมอิทธิพลของตัวแปรภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การควบคุมความเที่ยงตรง การเพิ่มจำนวนข้อความเข้าไปในมาตรวัด
การตัดข้อความที่ไม่สอดคล้องออก และการเพิ่มขนาดของตัวอย่าง

เกมที่นำมาใช้เพื่อยืนยันความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่
1 ความหมายในการวัดหมายถึงความมีสาระในประเด็นของสิ่งที่ต้องการศึกษา
2 ความเป็นปรนัยหมายถึงความเข้าใจตรงกันอย่างชัดเจนระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
3 ประสิทธิภาพหมายถึงความสามารถในการอธิบายครอบคลุมประเด็นสิ่งที่ต้องการศึกษาโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดแต่ได้ผลคุ้มค่าและมีคุณภาพมากที่สุด
วิธีการเพิ่มความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่
1 การเพิ่มความแปรปรวนอันเนื่องมาจากตัวแปรอิสระให้มีค่าสูงสุด กรณีนี้อาจทำได้โดยการจัดให้มีกลุ่มเปรียบเทียบและให้สิ่งทดลองแก่กลุ่มทดลอง
2 ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยแต่เข้ามามีส่วนทำให้ค่าของตัวแปรที่ต้องการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปดังนั้นจึงควรทำให้ตัวแปรภายนอกหมดไปหรือให้มีผลต่อการวิจัยน้อยที่สุด
3 ควบคุมความเที่ยงตรงด้วยวิธีการต่างๆ
9.3 ประเภทของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณที่สำคัญได้แก่การออกแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลองการออก แบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองและการออกแบบการวิจัยแบบทดลอง
9.3.1 การออกแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลอง
การออกแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลองเป็นการออกแบบการวิจัยตามสภาพการณ์ที่เป็นจริงรูปแบบที่สำคัญได้แก่การออกแบบการวิจัยเพื่อศึกษาเฉพาะกรณี การออกแบบการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์จากการทดสอบก่อนและหลัง และการออกแบบการวิจัยเปรียบเทียบกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม
9.3.2 การออกแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง
การออกแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองเป็นการออกแบบการวิจัยที่มีการใส่สิ่งที่ต้องการกระทำให้แก่ประชากรที่ต้องการศึกษาโดยไม่จำเป็นต้องมีกลุ่มควบคุมหรือไม่ต้องมีการกระจายส่งรูปแบบที่สำคัญมี 3 ชนิดได้แก่ การออกแบบการวิจัยเปรียบเทียบผลที่ได้จากการทดสอบก่อนและหลังโดยกลุ่มควบคุมไม่มีการกระจายสุ่ม การออกแบบการวิจัยแบบอนุกรมเวลา รายการออกแบบการวิจัยแบบอนุกรมเวลาโดยมีกลุ่มควบคุม
9.3.3 การออกแบบการวิจัยแบบทดลอง
การออกแบบการวิจัยแบบทดลองเป็นการกำหนดรูปแบบเพื่อการศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการใส่สิ่งที่ต้องการกระทำให้แก่กลุ่มทดลองโดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการได้แก่
มีกลุ่มควบคุม มีการกระจายส่งมีการควบคุม และมีการสังเกตและวัดผลของสิ่งที่ต้องกระทำ รูปแบบที่สำคัญมี 2 ชนิดคือ การออกแบบการวิจัยแบบกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง รายการออกแบบการวิจัยแบบกลุ่มควบคุมโดยการทดสอบหลังการทดลอง
การออกแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลองคือการออกแบบการวิจัยโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการที่ต้องการศึกษา
การออกแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองหมายถึงเป็นการออกแบบการวิจัยที่มีการใส่สิ่งที่ต้องการกระทำให้แก่ประชากรที่ต้องการศึกษาโดยไม่จำเป็นต้องมีกลุ่มควบคุมหรือไม่ต้องมีการกระจายสุ่มหลังจากนั้นจะมีการติดตามผลที่เกิดขึ้น
องค์ประกอบสำคัญของการออกแบบการวิจัยแบบทดลองได้แก่ การมีกลุ่มควบคุม มีการกระจายสุ่ม มีการควบคุมไม่ให้ตัวแปรภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเข้ามามีผลต่อการวิจัยและมีการสังเกตและวัดผลของสิ่งที่ต้องการกระทำที่ผู้วิจัยให้แก่กลุ่มทดลองเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

หน่วยที่ 10 การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

10.1 ลักษณะของข้อมูลและจุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

ข้อมูลเชิงปริมาณคือข้อมูลเป็นตัวเลขที่ผู้วิจัยสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่อไปได้อย่างมีคุณภาพดีมีความเชื่อถือได้สูงนักวิจัยควรคำนึงถึงจุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมินอกจากนี้ผู้วิจัยยังควรพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเก็บข้อมูลกับขั้นตอนอื่นๆของการวิจัยด้วย

10.1.1 ลักษณะของข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
ข้อมูลเชิงปริมาณคือข้อมูลเป็นตัวเลขที่ผู้วิจัยสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่อไปได้ คำว่า “ปริมาณ” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่จำนวนโดยไม่มีคุณภาพ แต่หมายถึงข้อมูลเป็นตัวเลขที่อาจได้มาอย่างมีคุณภาพดี และมีความเชื่อถือได้สูงด้วยเช่นกัน

10.1.2 จุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
จุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมินั้นผู้วิจัยต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่ศึกษา ประชากรเป้าหมาย มีการศึกษานำร่อง และควรมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของข้อมูลในภาคสนาม นอกจากนี้ผู้วิจัยยังควรพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเก็บข้อมูลกับขั้นตอนอื่นๆของการวิจัยด้วย

ข้อมูลเชิงปริมาณคือข้อมูลเป็นตัวเลขที่ผู้วิจัยสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่อไปได้คำว่า”ปริมาณ” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่จำนวนโดยไม่มีคุณภาพแต่หมายถึงข้อมูลเป็นตัวเลขที่อาจได้มาอย่างมีคุณภาพดีและมีความเชื่อถือได้สูง
จุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมินั้นมีด้วยกัน 5 ประการคือ
1 ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่ศึกษา
2 ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความเข้าใจในประชากรเป้าหมาย
3 ควรมีการศึกษานำร่อง
4 การเก็บข้อมูลภาคสนามต้องวางแผนให้เกิดประสิทธิภาพ
5 คนมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของข้อมูลในภาคสนาม
นอกจากนี้ผู้วิจัยยังควรพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเก็บข้อมูลกับขั้นตอนอื่นๆของการวิจัยด้วย

10.2วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์มีหลายวิธีเช่น การสัมภาษณ์ การซักถามกลุ่มหรือการสนทนากลุ่ม การสังเกต การใช้แบบสอบถาม และการทดลอง นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีส่วนช่วยนักวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณอย่างมาก โดยเฉพาะปัจจุบันมีการใช้ “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์” (Geographic information System :GIS)

10.2.1 การสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์เป็นการถามตอบประเด็นที่เกี่ยวกับสมมติฐานการวิจัย โดยที่ผู้นำและผู้ตอบเผชิญหน้ากัน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นคำถาม ถ้อยคำที่ใช้การเรียงลำดับ คำถามอากัปกิริยา การบันทึกคำตอบ ต่างก็มีผลต่อการสัมผัสทั้งสิ้น

10.2.2 การซักถามหรือการสนทนากลุ่ม
การซักถามหรือการสนทนากลุ่มเป็นการนัดหมายผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีบทบาทในเรื่องที่เกี่ยวข้องมาประชุมกัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเพื่อการซักถามเก็บข้อมูลต่างๆการแสดงความคิดเห็นหรือการซักถามจะเป็นไปในลักษณะการสนทนาโดยได้รับการบอกกล่าวชักจูงว่าตนมีความสำคัญและความสามารถในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระเสรี

10.2.3 การสังเกต
การสังเกตในการวิจัยทางรัฐศาสตร์มุ่งหาความรู้ที่ว่าด้วยระบบความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคมเป็นหลักใหญ่โดยอาจจะสังเกตสิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ซึ่งอาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่ปราศจากชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตโดยไม่คำนึงถึงพฤติกรรมของสิ่งนั้นหรือสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและดำเนินอยู่ซึ่งให้ความสนใจแก่พฤติกรรมของสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในสถานที่นั้นในขณะนั้น

10.2.4 การใช้แบบสอบถาม
แบบสอบถามคือเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่งใช้วัดค่าตัวแปรในการวิจัยมีสภาพเหมือนมาตรหรือมิเตอร์ที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์หรือใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปแบบสอบถามที่ใช้ในทางสังคมศาสตร์จึงเป็นมาตรที่ใช้วัดคุณสมบัติของเหตุการณ์ที่ทำการศึกษา การสร้างแบบสอบถามเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์โดยต้องอาศัยทั้งความรู้ทั้งมาตรวิทยาและมีความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์เครื่องมือวิจัยที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์

10.2.5 การทดลอง
การทดลองเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิอีกวิธีหนึ่งซึ่งมีการใช้กันบ้างแต่ไม่กว้างขวางเช่นเดียวกับวิธีการเก็บข้อมูลอื่นๆเป็นวิธีการที่ผู้วิจัยสามารถควบคุมเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ต้องการทดลองเพื่อศึกษาดูปฏิกิริยาของประชากรเป้าหมายว่าเป็นไปในลักษณะใดและทำการเปรียบเทียบดูการเปลี่ยนแปลง

10.2.6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีส่วนช่วยนักวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณอย่างมากโดยเฉพาะปัจจุบันมีการใช้ “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์” (Geographic information System: GIS) ซึ่งถือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่อีกด้วย

การสัมภาษณ์อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
คือ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ( structured interview) การสัมภาษณ์แบบไม่กำหนดทิศทาง (non-directive interview) และการสัมภาษณ์เจาะลึก (in-depth interview)
หลักการสำคัญของการซักถามหรือสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดจะต้องเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีบทบาทในเรื่องที่เกี่ยวข้องการแสดงความคิดเห็นหรือการซักถามจะเป็นไปในลักษณะการสนทนาผู้ให้ข้อมูลทุกคนควรได้รับการบอกกล่าวชัดเจนว่าตนมีความสำคัญและความสามารถในการแสดงความคิดเห็นและการให้ความคิดเห็นเป็นไปอย่างอิสระเสรี
การสังเกตที่ใช้กันอยู่ในการวิจัยทางสังคมและแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1 การสังเกตโดยเข้าไปร่วม (participatory observation)
2 การสังเกตโดยไม่เข้าไปร่วม (non-paticipatory observation)
2.1 การสังเกตแบบไม่มีเค้าโครงการกำหนดล่วงหน้า(unstructured observation)
2.2 การสังเกตแบบมีเค้าโครงกำหนดล่วงหน้า(structured observation)
แนวคิดเกี่ยวกับการใช้แบบสอบถาม
แบบสอบถามคือเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่งใช้วัดค่าตัวแปรในการวิจัยแบบสอบถามมีสภาพเหมือนมากหรือมิเตอร์ในทางวิทยาศาสตร์หรือใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปเช่น มาตรวัดปริมาณของน้ำ มาตรวัดปริมาณไฟฟ้า เป็นต้น แบบสอบถามที่ใช้ในทางสังคมศาสตร์จึงเป็นมาตรที่ใช้วัดคุณสมบัติของเหตุการณ์ที่ทำการศึกษาเช่น อัตราการกระจายอำนาจ อัตราการรับรู้การคอรัปชั่น เป็นต้น การสร้างแบบสอบถามมีลักษณะเหมือนกับการสร้างมาตรทางวิทยาศาสตร์ คือเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ โดยต้องอาศัยทั้งความรู้ทางมาตรวิทยา
และมีความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์เครื่องมือวิจัยที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์
สาเหตุที่การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์ไม่นิยมใช้วิธีการทดลองคือการทดลองจะต้องมีการควบคุมตัวแปรรวมทั้งปัจจัยสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมากซึ่งเป็นสิ่งที่อาจกระทำได้ยากในการเก็บข้อมูลทางสังคมศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ที่ต้องวัดพฤติกรรมของมนุษย์
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic information System :GIS)
คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่

10.3 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

นักวิจัยทางรัฐศาสตร์ไม่สามารถซื้อหาเครื่องมือวัดสำเร็จรูปจากท้องตลาดได้ดังเช่นนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในการวัดค่าตัวแปรทางสังคมและการเมืองจึงต้องจัดทำเครื่องมือขึ้นมาใช้เองโดยต้องประดิษฐ์ให้เหมาะสมต่อสภาพข้อมูล ให้มีความเที่ยงตรง ให้มีความเชื่อถือได้ และการให้ความหมายสะท้อนค่าความเป็นจริง รวมทั้งมีความสะดวกต่อการใช้สอย แบบสอบถาม คือเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม ที่อาจสร้างขึ้นโดยอาศัยมาตรวัดและดัชนี อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้จากการวัดค่าตัวแปรใดๆหากปราศจากซึ่งความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ข้อมูลที่วัดได้ก็ไร้ความหมาย ทำให้นักวิจัยเข้าใจผิดในสาระที่เป็นจริง

10.3.1 แบบสอบถาม
นักวิจัยทางรัฐศาสตร์ไม่สามารถซื้อหาเครื่องมือวัดสำเร็จรูปจากท้องตลาดได้ดังเช่นนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในการวัดค่าตัวแปรทางสังคมและการเมืองนักวิจัยต้องจัดทำแบบสอบถามหรือเครื่องมืออื่นขึ้นมาใช้เองโดยต้องประดิษฐ์ให้เหมาะสมต่อสภาพข้อมูลให้มีความเที่ยงตรงความเชื่อถือได้และการให้ความหมายสะท้อนค่าความเป็นจริงรวมทั้งมีความสะดวกต่อการใช้สอย

10.3.2 มาตรวัด ดัชนี
มาตรวัดเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของการวัดค่าในการวิจัยทางรัฐศาสตร์มีแนวความคิดเป็นจำนวนมากที่สามารถวัดค่าเชิงปริมาณได้แต่บางแนวความคิดทางด้านความรู้สึกไม่สามารถวัดค่าเป็นเชิงปริมาณได้โดยตรงแต่อาจวัดค่าเป็นประเภทจัดพวกหรือจัดอันดับได้
ส่วนดัชนีเป็นชุดตัวชี้วัดของสภาพการณ์ทางธรรมชาติ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมของมนุษย์

10.3.3 การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การวัดค่าตามแนวทางวิธีการทางศาสตร์มีวิธีการเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนข้อมูลที่ได้จากการวัดค่าตัวแปรใดใดหากปราศจากซึ่งความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ข้อมูลที่วัดได้ก็ไร้ความหมายทำให้นักวิจัยเข้าใจผิดในสาระที่เป็นจริง

สาเหตุที่นักวิจัยทางรัฐศาสตร์ต้องสร้างแบบสอบถามขึ้นด้วยตนเองเนื่องจากนักวิจัยทางรัฐศาสตร์ไม่สามารถซื้อหาเครื่องมือวัดสำเร็จรูปจากท้องตลาดได้ดั่งเช่นนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในการวัดค่าตัวแปรทางสังคมและการเมืองนักวิจัยต้องจัดทำแบบสอบถามหรือเครื่องมืออื่นอ้ายขึ้นมาใช้เองโดยต้องประดิษฐ์ให้เหมาะสมต่อสภาพข้อมูลให้มีความเที่ยงตรงความน่าเชื่อถือและการให้ความหมายสะท้อนค่าความเป็นจริงรวมทั้งมีความสะดวกต่อการใช้สอย
มาตรวัดเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของการวัดค่าในการวิจัยทางรัฐศาสตร์มีความคิดเป็นจำนวนมากที่สามารถวัดค่าเชิงปริมาณได้เช่นจำนวนคะแนนเสียงเลือกตั้ง/จำนวนสมาชิกของกลุ่มรายได้เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นพฤติกรรมแต่บางแนวคิดทางด้านความรู้สึกไม่สามารถวัดค่าเชิงปริมาณได้โดยตรงสะอาดวัดค่าเป็นประเภทจะอ้วกหรือจัดอันดับได้เช่นอำนาจ/คุณภาพชีวิต/ความแตกแยกทางการเมืองเป็นต้น
ส่วนดัชนี (Index)เป็นชุดตัวชี้วัด (indicator)
ของสภาพการณ์ทางธรรมชาติ/ความรู้สึกนึกคิด/และพฤติกรรมของมนุษย์
ตัวอย่างดัชนีที่พบเห็นเสมอได้แก่ ดัชนีทางธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิโลก ฝนตก น้ำท่วม แผ่นดินไหว ป่าไม้ โรคระบาด ดัชนีจปฐ. ชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน ดัชนีความโปร่งใสของสถาบัน TI ดัชนีว่าด้วยอัตราการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม อัตราค่าตัวตาย เป็นต้น
การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้มีความสำคัญต่อการวิจัยดังนี้
การวัดค่าตามแนวทางวิธีการทางศาสตร์มีวิธีการเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนข้อมูลที่ได้จากการวัดค่าตัวแปรใดๆหากปราศจากซึ่งความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ข้อมูลที่วัดได้ก็ไร้ความหมายทำให้นักวิจัยเข้าใจผิดในสาระที่เป็นจริง

10.4 ปัญหาอุปสรรคและตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

การรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์อาจเกิดปัญหาอุปสรรคที่มีสาเหตุมาจากองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูล 3 มุมมอง กล่าวคือ ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ด้านเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และด้านผู้เก็บรวบรวมข้อมูล

10.4.1 ปัญหาอุปสรรคของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์อาจเกิดปัญหาอุปสรรคที่มีสาเหตุมาจากองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูล 3 มุมมองคือ ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ด้านเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และด้านผู้เก็บรวบรวมข้อมูล

10.4.2 ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
งานวิจัยเรื่อง “ดัชนีคอร์รัปชั่นของไทย: การสร้างและการตรวจสอบความเชื่อถือได้” ได้ใช้เทคนิคการสร้างดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นของสังคมไทยและของแต่ละหน่วยงานให้มีความเที่ยงตรงตามความหมายที่แท้จริงของคอรัปชั่นในทัศนะของคนไทยและสากล(validity)   มีความน่าเชื่อถือในการวัดค่าของคอรัปชั่น   (reliability) มีความไวในการได้มาซึ่งค่าของคอรัปชั่นที่ทำการวัด (sensitivity) และมีความหมายต่อความเป็นจริงและการรับรู้ของข้าที่ทำการวัดนั้น(meaning-fulness)

ปัญหาอุปสรรคของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์อาจเกิดปัญหาอุปสรรคที่มีสาเหตุมาจากองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 มุมมองกล่าวคือด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ด้านเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และด้านผู้เก็บรวบรวมข้อมูล
งานวิจัยเรื่อง “ดัชนีคอร์รัปชั่นของไทย: การสร้างและการตรวจสอบความเชื่อถือได้”
มีลักษณะเด่นในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยที่มีการสร้างดัชนีชี้วัดการคอรัปชั่นของสังคมไทยและของแต่ละหน่วยงานให้มีความเที่ยงตรงตามความหมายที่แท้จริงของคอรัปชั่นในทัศนะของคนไทยและสากล(validity) มีความเชื่อถือได้ในการวัดค่าของการคอรัปชั่น(reliability) มีความไวในการได้มาซึ่งค่าของการคอรัปชั่นที่ทำการวัด(sensibility) และมีความหมายต่อความเป็นจริงและการรับรู้ของข้าที่ทำการวัดนั้น(meaningfulness)

หน่วยที่ 11 การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

11.1 สมมติฐานและการทดสอบสมมติฐาน

สมมติฐานสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์มี 2 ประเภทคือสมมติฐานวิจัยและสมมติฐานทางสถิติการทดสอบว่าสมมติฐานวิจัยที่ตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่คือการทดสอบความมีนัยยะสำคัญทางสถิตินอกจากนี้ยังต้องมีการคำนวณค่าความเข้มแข็งและทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติและการวัดความเข้มข้นของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสามารถใช้ค่าสถิติได้หลายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับการวัดตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม

11.1.1 สมมติฐานวิจัยและสมมติฐานทางสถิติ
การวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์ต้องมีการกำหนดสมมติฐาน นิทานสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์มี 2 ประเภทคือ สมมติฐานวิจัย สมมติฐานทางสถิติ

11.1.2 การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ
การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติเป็นการทดสอบทางสถิติที่กระทำกับสมมติฐานไร้นัยสำคัญโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปฏิเสธสมมติฐานไร้นัยสำคัญด้วยระบบความเชื่อมั่นที่สูงมากๆเพื่อที่จะสามารถปฏิเสธสมมติฐานไร้นัยสำคัญและหันมายอมรับสมมติฐานทางเลือกหรือสมมติฐานวิจัยได้ด้วยความมั่นใจซึ่งแสดงว่าคำตอบสำหรับการวิจัยที่ตั้งไว้ถูกต้อง

11.1.3 มาตรวัดความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ในการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์จะต้องมีการคำนวณค่าความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการวัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่วัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราหรือมาตรวัดอัตราส่วนมาตราโดยการใช้เส้นตรงประเมินหาค่าความเข้มแข็ง (ระดับความมากน้อย) และทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

สมมติฐานสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์มี 2 ประเภทคือ
1 สมมติฐานวิจัยซึ่งมักจะถูกกำหนดขึ้นเป็นประโยคหรือข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไปโดยอาจกำหนดได้ใน 2 ลักษณะคือ 1.1 สมมติฐานในเชิงเหตุและผลเป็นข้อความที่ระบุว่าตัวแปรอิสระเป็นสาเหตุของตัวแปรตาม 1.22 นิฐานที่แสดงความสัมพันธ์ในเชิงเงื่อนไขเป็นข้อความที่ระบุว่าตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามโดยระบุทิศทางหรือไม่ระบุทิศทางของความสัมพันธ์
2 สมมติฐานทางสถิติมาจากการแปลงสมมติฐานวิจัยเพื่อการพิสูจน์สมมติฐานวิจัยมี 2 ลักษณะคือ2.1 สมมติฐานร้ายนายสำคัญเป็นสมมติฐานที่เขียนขึ้นในลักษณะที่ตรงข้ามกับสมมติฐานวิจัยคือระบุว่าตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามไม่มีความสัมพันธ์กัน 2.2 สมมติฐานทางเลือกเป็นสมมติฐานที่เขียนให้ตรงกันข้ามกับสมมติฐานไร้นัยสำคัญหรือเป็นการเขียนให้ตรงกับสมมติฐานวิจัยนั้นเอง
การทดสอบความมีนัยสำคัญเป็นการทดสอบทางสถิติที่กระทำกับสมมติฐานไร้นัยสำคัญโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปฏิเสธสมมติฐานไร้นัยสำคัญด้วยระดับความเชื่อมั่นที่สูงมากๆเพื่อที่จะสามารถปฏิเสธสมมติฐานไร้นัยสำคัญและหันมายอมรับสมมติฐานทางเลือกหรือสมมติฐานวิจัยได้ด้วยความมั่นใจซึ่งแสดงว่าคำตอบสำหรับการวิจัยที่ตั้งหรือคาดคะเนไว้ถูกต้อง
ส่วนระดับความมีนัยสำคัญคือเกณฑ์ที่นักวิจัยกำหนดขึ้นมาเพื่อปฏิเสธสมมติฐานไว้ในสำคัญถ้าค่าสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานที่คำนวณได้สูงมากพอจนกระทั่งถึงระดับความมีนัยสำคัญที่นักวิจัยกำหนดไว้นักวิจัยสามารถปฏิเสธสมมติฐานไร้นัยสำคัญได้และโอกาสที่นักวิจัยอาจตัดสินใจผิดจะมีไม่เกินระดับความมีนัยสำคัญที่กำหนดไว้
การวัดความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคือการวัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวเพื่อประเมินระดับความมากน้อยและทิศทางของความสัมพันธ์โดยมักนิยมกำหนดความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0 กับ 1 ในขณะที่ 0 หมายความว่าตัวแปรทั้งสองตัวไม่มีความสัมพันธ์กันเลยแต่ 1 หมายความว่าตัวแปรทั้งสองตัวมีความสัมพันธ์กันเต็มที่
ส่วนการวัดความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสามารถใช้สถิติได้หลายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับของการวัดตัวแปรอิสระและตัวแปรตามว่าวัดด้วยมาตรวัดระดับใด

11.2 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตาราง

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตารางเป็นการนำเสนอข้อมูลที่สามารถนำเสนอข้อมูลให้เห็นได้ชัดเจนและสามารถพรรณนาได้ชัดเจนว่าตัวแปรทั้งสองตัวแปรมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และสามารถเลือกใช้สถิติที่ทดสอบความมีนัยสำคัญ และสถิติที่บอกความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ที่ไม่ซับซ้อนและง่ายแก่การทำความเข้าใจการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติมีหลายวิธี เช่น การทดสอบความมีนัยสำคัญด้วยการทดสอบไค-สแควร์และ เคนดอลล์ เทาซี

11.2.1 การสร้างตารางคูณไขว้
การสร้างตารางคูณไขว้เป็นการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในรูปของเมทริกซ์(matrix)คือการเป็นตารางที่นำเอาค่าของตัวแปรมาไขว้กันซึ่งสามารถใช้ได้ดีในกรณีที่ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามวัดด้วยมาตรวัดนามมาตราหรือลำดับมาตราหรือค่าตัวแปรทั้งสองตัวคือตัวใดตัวหนึ่งวัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราก็สามารถยึดให้เป็นมาตรวัดลำดับมาตราและนำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางคูณไขว้ได้

11.2.2 การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยการทดสอบไค-สแควร์
สถิติไค-สแควร์เป็นสถิติประเภทนอน-พาราเมตริก(non- parametric) ใช้ในการพิสูจน์สมมติฐานวิจัยในกรณีที่ตัวแปรตัวใดตัวหนึ่งวัดด้วยมาตรวัดนามมาตราและตัวแปรอีกตัวหนึ่งวัดด้วยมาตรวัดนามมาตราหรือมาตรวัดลำดับมาตรา

11.2.3 การทดสอบความมีนัยสำคัญของเคนดอลล์ เทา-ซี (Kendall’s tau-c)
ใช้ในกรณีที่ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามต่างก็วัดด้วยมาตรวัดลำดับมาตรา

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตารางคูณไขว้คือการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในรูปของเมทริกซ์ในกรณีที่ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามวัดด้วยมาตราวัดน้ำมาตราหรือลำดับมาตราและถ้าตัวแปรทั้ง 2 ตัวหรือตัวใดตัวหนึ่งวัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราก็สามารถหยิบให้เป็นมาตรวัดลำดับมาตราแล้วจึงนำเสนอโดยการใช้ตารางคูณไขว้
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตารางคูณไขว้มีข้อดีคือสามารถนำเสนอข้อมูลให้เห็นได้ชัดเจนและสามารถพรรณนาได้ชัดเจนว่า ตัวแปรทั้ง 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างไรและสามารถเลือกใช้สถิติที่ทดสอบความมีนัยสำคัญและสถิติที่บอกความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ที่ไม่ซับซ้อนและง่ายแก่การทำความเข้าใจ
ขั้นตอนในการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยการทดสอบไค-สแควร์มีดังนี้
1 ระบุสมมติฐานวิจัยที่ต้องการทดสอบ
2 แปลงสมมติฐานวิจัยให้เป็นสมมติฐานทางสถิติและกำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ต้องการ
3 คำนวณค่าอัตราส่วนวิกฤต
4 นำเอาค่าอัตราส่วนวิกฤติไค-สแควร์ที่คำนวณได้ไปเปรียบเทียบกับค่าในตารางไค-สแควร์
5 ถ้าสามารถปฏิเสธ H0 ได้ เครื่องหมายความว่าสามารถพิสูจน์ยืนยันสมมติฐานวิจัยได้ก็ดำเนินการคำนวณหาค่าความเข้มแข็งของความสัมพันธ์
การทดสอบความมีนัยสำคัญของเคนดอลล์ เทา-ซี(Kendall’s tau-c)ใช้ในกรณีที่ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามต่างก็วัดด้วยมาตรวัดลำดับมาตรา

11.3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้ตารางคูณไขว้
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้ตารางคูณไขว้มีหลายวิธี เช่น การทดสอบ t – test การทดสอบ f -Test การทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันในกรณีที่ตัวแปร 2 ตัววัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราหรือเสมือนช่วงมาตรา
11.3.1 การทดสอบ t – test
เป็นการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิตในประชากรของกลุ่ม 2 กลุ่ม
11.3. 2 การทดสอบ f – Test
เป็นการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียวเป็นสถิติที่เหมาะสมสำหรับการนำมาทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิตในประชากรตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป
11.3.3 การทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันในกรณีที่ตัวแปร 2 ตัววัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราหรือเสมือนช่วงมาตรา
ใช้ในกรณีที่ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามวัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราหรือเสมือนช่วงมาตรา
การทดสอบ t – test มีขั้นตอนการทดสอบดังนี้
1 ตั้งสมมติฐานวิจัย
2 แปลงสมมติฐานวิจัยให้เป็นสมมติฐานทางสถิติ
3 กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ
4 ส่งตัวอย่างวิจัยทั้ง 2 กลุ่มจากประชากรและเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วคำนวณค่าสถิติพื้นฐานซึ่งได้แก่ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรตาม
5 คำนวณค่าอัตราส่วนวิกฤติตามสูตร t – test
6 เปรียบเทียบค่าอัตราส่วนวิกฤตที่คำนวณได้กับค่า T ในตาราง

11.4 การวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวและตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวอาจทำโดยการใช้ตารางคูณไขว้หรือโดยไม่ใช้ตารางคูณไขว้ก็ได้

11.4.1การวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวโดยการใช้ตารางคูณไขว้
ในกรณีที่ข้อมูลประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวและวัดด้วยมาตรวัดนามมาตราหรือลำดับมาตรานักวิจัยจะต้องนำเสนอด้วยตารางคูณไขว้และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามโดยการนำตัวแปรที่ 3 มาควบคุม

11.4 .2วิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวโดยไม่ใช้ตารางคูณไขว้
การวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวโดยไม่ใช้ตารางคูณไขว้อาจทำได้โดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พาร์เชียล และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ

11.4 . 3 ตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์ที่นำเสนอคือ รายงานวิจัยเรื่อง “ทัศนคติของข้าราชการส่วนภูมิภาคต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย”
ซึ่งมีการใช้ค่าสถิติหลายค่าในการทดสอบสมมติฐานหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม

การวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวโดยการใช้ตารางคูณไขว้จะทำให้สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามโดยการนำเอาตัวแปรที่ 3 มาทำการควบคุมการควบคุมตัวแปรภายนอกในขณะที่หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามจะทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่าความสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามเป็นสภาวะเทียมหรือไม่เป็นความสัมพันธ์ทางอ้อมหรือไม่และยังสามารถตรวจสอบได้ว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์เชิงเงื่อนไขหรือไม่และเป็นเงื่อนไขในรูปแบบใด
ข้อจำกัดของการวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวโดยการใช้ตารางคูณไขว้คือนักวิจัยควรนำตัวแปรภายนอกมาเป็นตัวแปรควบคุมครั้งละตัวแปรเท่านั้นหากมีตัวแปรควบคุมตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไปจะทำให้ตารางมีความสลับซับซ้อนยากแก่การทำความเข้าใจ
การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณเหมาะสำหรับการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามในกรณีที่ตัวแบบงานวิจัยประกอบด้วยตัวแปรตามตัวเดียวและตัวแปรอิสระมากกว่า 2 ตัวและตัวแปรตามและตัวแปรอิสระส่วนใหญ่วัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราหรือเสมือนช่วงมาตรา
ตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์ที่นำเสนอมาพิสูจน์สมมติฐานหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามโดยใช้การทดสอบไค-สแควร/์เท่าซี /แกมมา และสหสัมพันธ์เพียร์สัน(r)

หน่วยที่ 12 การเปรียบเทียบการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

12.1 ลักษณะเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณต่างมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันไปซึ่งอาจมีการเปรียบเทียบกันในหลายด้านแต่ละลักษณะเด่นและข้อเสียของแต่ละประเภทต่างก็ช่วยเกื้อกูลกันและมักมีการใช้ผสมผสานกันเพื่อลดข้ออ่อนด้อยให้ถึงพร้อมซึ่งความสมบูรณ์ของการวิจัย

12 . 1.1 ลักษณะเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการวิเคราะห์เชิงอุปนัยบรรยายเรื่องที่ทำการศึกษาตามสภาพการณ์การรับรู้โดยเฉพาะการรับรู้ของคนแต่ละกลุ่มและมุ่งที่จะทำความเข้าใจผู้คนในกรณีต่างๆในรายละเอียดโดยเน้นไปที่สภาพวิถีชีวิตที่แท้จริงกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษามักจะเป็นกลุ่มเล็กๆหรือบางกรณีนักวิจัยอาจบรรยายภาพละเอียดของการศึกษาอย่างลึกของบุคคลเพียงคนเดียวก็อาจเป็นได้

12.1.2 ลักษณะเด่นของการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการใช้ตัวเลขข้อมูลเป็นหลักในการวิเคราะห์ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมาจากการอาศัยการสำรวจข้อมูลหรือการทดลององค์ประกอบที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของการวิจัยเชิงปริมาณอยู่ที่การวัดปริมาณซึ่งหมายถึงการนำหลักคณิตศาสตร์มาใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์เชิงปริมาณ

12.1.3 การเปรียบเทียบลักษณะเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณต่างมีข้อดีและข้อเสียจึงทำให้มีความพยายามผสมผสานการออกแบบวิธีวิจัยของทั้งสองประเภทนี้เข้าด้วยกันแต่การวิจัยทั้ง 2 ประเภทก็มีความแตกต่างกันเช่น ปรัชญาพื้นฐาน หน่วยในการศึกษา การกำหนดสมมติฐาน การคัดเลือกตัวอย่าง การกระจายผลสู่ประชากร รายการตีความปรากฏการณ์ทางสังคม เป็นต้น

12.1.4 การผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
ลักษณะที่ต่างกันไม่ได้ทำให้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพกับวิธีการวิจัยเชิงปริมาณกลายเป็นปฏิปักษ์ต่อกันตรงกันข้ามลักษณะดังกล่าวกลับเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างและเกื้อกูลกันและกัน ให้ถึงพร้อมซึ่งความสมบูรณ์การวิจัยเชิงคุณภาพจะช่วยให้ผู้วิจัยเกิดความกระจ่างเกี่ยวกับสถานการณ์หนึ่งๆในสังคมตามที่ปรากฏอยู่ในขณะเดียวกันการวิจัยเชิงปริมาณจะหยิบยื่นวิธีการตัดสินว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์สังคมที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นจะนำไปใช้กับกรณีอื่นๆโดยทั่วไปได้เพียงไรทำอย่างไรข้อจำกัดของการศึกษาเฉพาะกรณีในการวิจัยเชิงคุณภาพจะได้รับการแก้ไขและช่วยเหลือโดยการวิจัยเชิงปริมาณ

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพมีดังต่อไปนี้
1 การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการเอาสภาพที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ(Natural setting)เป็นแหล่งที่มาของข้อมูล และนักวิจัยเชิงคุณภาพจะเป็นเครื่องมือเบื้องต้นในการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยความรู้ความสามารถของนักวิจัย
2 งานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นงานในลักษณะเชิงบรรยายมุ่งความสนใจที่กระบวนการ ความหมาย และความเข้าใจที่ได้รับจากคำพูดและรูปภาพหรือเป็นการพรรณนานั้นเอง
3 นักวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาที่ตัวกระบวนการยิ่งกว่าผลิตผลหรือผลลัพธ์ของกระบวนการ
4 กระบวนการของงานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นลักษณะของการอุปมาน(inductive) ซึ่งผู้วิจัยจะเริ่มจากการสร้างข้อสรุป (abstraction) แนวคิด (Concept) สมมติฐาน (hypothesis) และทฤษฎี (theory) จากรายละเอียดต่างๆที่รวบรวมมาได้
5 แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นให้ความสำคัญที่ “ความหมาย”(Meaning) ขอสิ่งที่ทำการศึกษาการตีความจำเป็นเฉพาะกรณีมากกว่าที่จะทำในรูปของข้อสรุปทั่วไป(generalizations)
6 แม้จะใช้นักวิจัยเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพก็มีการพิสูจน์ความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของข้อมูลรวมทั้งผลงานวิจัย
การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยที่ต้องอาศัยการสำรวจข้อมูล (Survey) หรือการทดลอง (experiment) เป็นหลัก
การวัดตัวแปรของการวิจัยเชิงปริมาณใช้เครื่องมือวัดที่ไม่ต้องอาศัยวิจารณญาณของผู้วิจัยเหมือนการวิจัยเชิงคุณภาพในแง่ดังกล่าวผลของการวัดจึงมีความคงเส้นคงวา (consistency) มากกว่านั้นคือใครจะเป็นผู้วัดก็น่าจะได้ผลเหมือนกัน
ความสัมพันธ์ของการผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณกับวิธีการเชิงคุณภาพในแง่ตรรกวิทยาหรือในแง่ปรัชญา
ในกระบวนการคิดของมนุษย์เราย่อมรู้จักคุณภาพก่อนปริมาณกล่าวคือคนเกิดความรู้(notion)เกี่ยวกับสิ่งๆหนึ่ง(preticular)ก่อนนั่นคือ คุณภาพ จากนั้นโดยประสบการณ์คนจึงเรียนรู้ว่าสิ่งที่ตนรู้เกี่ยวกับสิ่งหนึ่งนั้นเหมือนกับสิ่งที่ตนรู้ในหลายๆสิ่งหรือไม่เป็นการหาลักษณะที่เป็นสากล (Universal) ของหลายๆสิ่งทำให้คนเกิดความชัดแจ้ง (Precision) นั่นคือปริมาณจึงกล่าวได้ว่าวิธีการเชิงคุณภาพทำให้คนเกิดความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะและวิธีการเชิงปริมาณทำให้คนเกิดความชัดแจ้งจากลำดับกระบวนการคิดนี่เองที่ทำให้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาก่อนวิธีการเชิงปริมาณช่วยให้ผู้วิจัยเกิดความกระจ่างหลายแง่มุมหลังจากนั้นวิธีการเชิงปริมาณก็เข้ามาช่วยเสริมสร้างให้เกิดความแน่ใจในข้อค้นพบ

12.2 ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

ความแตกต่างของการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์มีหลายด้าน ได้แก่ ปรัชญาพื้นฐานและหน่วยในการศึกษา วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความปรากฏการณ์ทางสังคมและการนำเสนอผลงาน

12.2.1 ความแตกต่างด้านปรัชญาพื้นฐานและหน่วยในการศึกษา
การวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาภายใต้ปรัชญา “ปรากฏการณ์วิทยา” (phenomenology) และมีหน่วยในการศึกษาเป็น “ปรากฏการณ์ทางการเมืองต่างๆ” ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เน้นการศึกษาภายใต้ปรัชญา “ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ” (logical positivism) และมีหน่วยในการศึกษาเป็น “พฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล”

12.2.2ความแตกต่างด้านวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีการเก็บข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพคือการให้ผู้วิจัยออกไปสัมผัสข้อมูลด้วยตนเองวิธีการต่างๆที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจถูกนำมาใช้ เช่น การสังเกตโดยเข้าไปมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ขณะที่นักวิจัยเชิงปริมาณให้ความสำคัญและความเชื่อถือในเครื่องมือเช่นแบบสอบถาม และวิธีการวิจัยมากกว่าตัวของนักวิจัยเอง

10 2.2.3 ความแตกต่างด้านการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพไม่จำเป็นต้องอาศัยคณิตศาสตร์และสถิติชั้นสูงแต่เป็นกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่เกี่ยวโยงไปถึงทฤษฎีเพื่อ “ให้ความหมาย” แก้ข้อมูลที่ได้มาโดยใช้วิธีสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณเน้นการใช้ค่าทางสถิติในการคำนวณและแปลผลไปสู่การอธิบายปรากฏการณ์เพื่อสร้าง “ข้อสรุปทั่วไป”

12.2.4 ความแตกต่างด้านการตีความปรากฏการณ์ทางสังคมและการนำเสนอผลงาน
การตีความปรากฏการณ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้มุมมองปรากฏการณ์ทางสังคมและนำเสนอการบรรยายหรือพรรณนาสภาพแวดล้อมอธิบายถึงความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคม กระบวนการเกิดปรากฏการณ์ทางสังคม และความเชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดทฤษฎี ขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณใช้มุมมองปฏิฐานนิยมและการนำเสนอผลเป็นการนำเสนอในรูปของตัวเลขทางสถิติเป็นหลัก

การวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาภายใต้ปรัชญา “ปรากฏการณ์วิทยา” (phenomenology)และมีหน่วยในการศึกษาเป็น “ปรากฏการณ์ทางการเมืองต่างๆ” ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเน้นการศึกษาภายใต้ปรัชญา “ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ” (logical ppositivism) และมีหน่วยในการศึกษาเป็น “พฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล”
วิธีการเก็บข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพคือการให้ผู้วิจัยออกไปสัมผัสข้อมูลด้วยตนเองวิธีการต่างๆที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจถูกนำมาใช้เช่น การสังเกตโดยเข้าไปมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ขณะที่นักวิจัยเชิงปริมาณให้ความสำคัญและความเชื่อถือในเครื่องมือเช่น แบบสอบถาม และวิธีการวิจัยมากกว่าตัวของนักวิจัยเอง
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพไม่จำเป็นต้องอาศัยคณิตศาสตร์คือสถิติชั้นสูงแต่เป็นกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่เกี่ยวโยงไปถึงทฤษฎีเพื่อ “ให้ความหมาย” แก้ข้อมูลที่ได้มาโดยใช้วิธีสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณเน้นการใช้ค่าสถิติในการคำนวณและแปลผลไปสู่การอธิบายปรากฏการณ์เพื่อสร้าง “ข้อสรุปทั่วไป”
การตีความปรากฏการณ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้มุมมองปรากฏการณ์ทางสังคมและนำเสนอการบรรยายหรือพรรณนาสภาพแวดล้อม อธิบายถึงความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคม กระบวนการเกิดปรากฏการณ์ทางสังคม และความเชื่อมโยงกับกรอบแนวคิด ทฤษฎี ขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณใช้มุมมองปฏิฐานนิยม รายการนำเสนอผลเป็นการนำเสนอในรูปของตัวเลขทางสถิติเป็นหลัก

12.3 ข้อดี ข้อเสีย และตัวอย่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณต่างมีข้อดีข้อเสียด้วยกันทั้งสิ้นการวิจัยแบบใดจะมีความเหมาะสมต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และลักษณะของข้อมูลที่ศึกษา

12.3.1 ข้อดีข้อเสียของการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณต่างมีข้อดีข้อเสียด้วยกันทั้งสิ้นการวิจัยแบบใดจะมีความเหมาะสมต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และลักษณะของข้อมูลที่ศึกษา

12.3.2 ตัวอย่างงานวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
งานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอัตวิสัยของผู้ทำการวิจัย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดจากอคติและค่านิยมในผลของการศึกษาได้ง่าย การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเล็กทำให้มีหน่วยในการศึกษาน้อยเบื้องต้นอาจไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรกลุ่มใหญ่หรือสร้างเป็น “ข้อสรุปทั่วไป” ได้จนกว่าจะผ่านการทดสอบหรือพิสูจน์ความเป็นตัวแทนในพื้นที่หรือปรากฏการณ์อื่นๆก่อน

12.3.3 ตัวอย่างงานวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
ปรากฏการณ์ทางสังคมมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอการจัดตั้งทฤษฎีขึ้นมาเพื่ออธิบายปัญหา อุปสรรค และความคิดเห็นย่อมเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าผลการวิเคราะห์ทางสถิติของการวิจัยเชิงปริมาณจะมีความน่าเชื่อถือ แต่ก็อาจจะไม่แม่นตรง และไม่สามารถปรึกษาหน่อยสำหรับการวิเคราะห์ได้ลึกซึ้ง

12.3.4 ตัวอย่างงานวิจัยกึ่งเชิงคุณภาพและเชิงเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยกึ่งเชิงคุณภาพและเชิงเชิงปริมาณเป็นการพยายามทำความเข้าใจกับการวิจัยเชิงคุณภาพก่อนเชิงปริมาณเพื่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะกล่าวคือมีการทบทวนวรรณกรรมความรู้ที่เกี่ยวข้องก่อนและพยายามหาลักษณะที่เป็นสากลด้วยการใช้เทคนิควิธีเชิงปริมาณเพื่อให้เกิดความชัดแจ้งช่วยเสริมสร้างให้เกิดความแน่ใจในข้อค้นพบตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

หากพิจารณาการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณในแง่มุมต่างๆสรุปเป็นข้อดีและข้อเสียของการวิจัยแต่ละประเภทได้ดังนี้
ข้อดีของการวิจัยเชิงคุณภาพ
ก.เป็นการศึกษาหน่วยสำหรับวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งดูจากหลายๆด้านในเวลาเดียวกันมีให้เลือกศึกษาเพียงบางตัวแปร
ข.การตีความปรากฏการณ์ทำได้ด้วยตัวผู้วิจัยเองเปิดโอกาสให้ใช้ความสามารถของผู้วิจัยอย่างเต็มที่
ค.เหมาะสำหรับการวิจัยที่หน่วยสำหรับการวิเคราะห์มีไม่มากนักหรือที่เรียกว่าการศึกษาเฉพาะกรณี
ข้อเสียของการวิจัยเชิงคุณภาพ
ก.ไม่เหมาะกับการวิจัยที่มีหน่วยสำหรับการวิเคราะห์เป็นจำนวนมาก
ข.การตีความข้อมูลและการสร้างข้อสรุปอาศัยวิจารณญาณของตัวผู้วิจัยเป็นเกณฑ์ผลสรุปของผู้วิจัยแต่ละคนจึงอาจแตกต่างกันในเรื่องเดียวกันและเนื่องจากการศึกษาหน่วยสำหรับการวิเคราะห์จำนวนไม่มากข้อสรุปจึงเป็นลักษณะเฉพาะหน่วยที่ศึกษาเท่านั้น
ข้อดีของการวิจัยเชิงปริมาณ
ก.เป็นการศึกษาที่มีหน่วยสำหรับการวิเคราะห์จำนวนมากและข้อมูลเป็นเชิงปริมาณจึงนำไปใช้วิธีการทางสถิติ
ข.ข้อสรุปน่าเชื่อถือและสามารถนำไปอธิบายหน่วยที่ไม่ได้ศึกษาได้
ค.การวัดตัวแปรใช้เครื่องมือวัดที่ไม่ต้องอาศัยวิจารณญาณของผู้วิจัยผลจึงมีความคงเส้นคงวามากกว่า
ข้อเสียของการวิจัยเชิงปริมาณ
ก.แม่สามารถศึกษาโดยสำหรับการวิเคราะห์ได้ลึกซึ้ง
ข.ถ้าผู้วิจัยไม่มีความถนัดทางสถิติจะทำไม่ได้หรือใช้วิธีการทางสถิติที่ไม่ถูกต้องการศึกษาหน่วยสำหรับวิเคราะห์จำนวนน้อยจะไม่เหมาะสำหรับวิธีการทางสถิติ
หากพิจารณาวิธีวิจัยของงานวิจัยเชิงคุณภาพนี้แล้วจะเห็นได้ว่าเป็นงานที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาทาง “ปรากฏการณ์วิทยา” กล่าวคือมุ่งที่จะศึกษาปรากฏการณ์ประยุกต์ที่เน้นความสำคัญของหน่วยในการศึกษาเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองคือ การเลือกตั้ง โดยการที่นักวิจัยนำตัวเองเข้าไปสัมผัสแบบเจาะลึกกับปรากฏการณ์ที่ตนมุ่งศึกษา คือ การร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งทั่วไปพ.ศ 2544 ลักษณะเช่นนี้จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอัตวิสัย (subjectivity) ของผู้ทำการวิจัยซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นกลาง ความไม่ปลอดจากอคติและค่านิยมในผลของการศึกษาได้ง่าย
การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเล็กในลักษณะของการเจาะลึก จึงมีหน่วยในการศึกษาน้อยรวมทั้งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมทำให้ในเบื้องต้นผลการศึกษาอาจไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรกลุ่มใหญ่หรือสร้างเป็น “ข้อสรุปทั่วไป” (Generalization) ได้ จนกว่าจะผ่านการทดสอบหรือพิสูจน์ความเป็นตัวแทนในพื้นที่หรือปรากฏการณ์อื่นๆก่อน
อย่างไรก็ตามหากนักวิจัยมีความละเอียดอ่อนในการสังเกตการเก็บรวบรวมข้อมูลและการตีความปราศจากอคติในการศึกษารวมทั้งมีความแม่นยำในทฤษฎีก็อาจทำให้ผลการศึกษามีมุมมองที่แตกต่างและมีความละเอียดอ่อนในการบรรยายพรรณนานำเสนอผลการศึกษาเนื่องจากการศึกษาปรากฏการณ์ทางรัฐศาสตร์เป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์จึงไม่สามารถทำนายหรืออธิบายผลได้ด้วยเพียงค่าตัวเลขทางสถิติดังเช่นการวิจัยเชิงปริมาณเท่านั้น
งานวิจัยเรื่อง บ่อนการพนันตามแนวชายแดนของไทย: ผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหา โดยพรศักด ิ์ผ่องแผ้ว และคณะ
หากพิจารณาวิธีวิจัยของงานวิจัยนี้จะเห็นว่าเป็นงานที่ให้ความสำคัญกับแนวทางการศึกษาแบบ “ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ” ซึ่งเป็นปรัชญาของวิทยาศาสตร์ที่เน้นให้ใช้ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นวัตถุวิสัยและมีการแสวงหา “ข้อมูลเชิงประจักษ์” คือการใช้ความเป็นกลางความปลอดจากอคติและค่านิยมมาเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่วัด ทดสอบ พิสูจน์ได้ทางสถิติมาสร้างและพัฒนาองค์ความรู้
การศึกษานี้มีหน่วยในการศึกษาที่พฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลกล่าวคือสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาจากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสถานการณ์พนันตามชายแดนประเด็นความเสียหายความเหมาะสมและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมและสรุปประเด็นทางเลือกในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในเชิงปฏิบัติทั้งในด้านการกำหนดนโยบาย วิธีการ และมาตรการที่เหมาะสม โดยอาศัยเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ คือแบบสอบถามจำนวน 25000 ชุด ซึ่งมีลักษณะการส่งกระจายอย่างหลากหลายและครอบคลุมทุกจังหวัดในประเทศทั้งในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นตามคุณลักษณะด้านเพศ อายุ การศึกษาและอาชีพ (Random sampling) กลุ่มตัวอย่างจึงมีขนาดใหญ่และเป็นการศึกษาในวงกว้างส่งผลให้สามารถที่จะกระจายผลสู่ประชากรสร้างเป็น “ข้อสรุปทั่วไป” ที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปอธิบายหน่วยที่มิได้ศึกษาได้
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาที่มีหน่วยสำหรับการวิเคราะห์จำนวนมากและข้อมูลเป็นเชิงปริมาณจึงนำไปใช้วิธีการทางสถิติได้งานวิจัยนี้จึงได้ใช้ค่าทางสถิติชั้นสูงในการวิเคราะห์ปัจจัยที่พยากรณ์ค่าความน่าจะเป็นการเห็นควรให้มีสถานะการพนันถูกกฎหมายควบคุมอย่างเข้มงวดจากทางราชการโดยให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการการพนันแห่งชาติ” เป็นการใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (logistic regression)ค่าสถิติวาลด์ (Wald statistic) เพื่อศึกษาความสามารถของปัจจัยหรือตัวแปรพยากรณ์หรือตัวแปรอิสระในการพยากรณ์ค่าความน่าจะเป็นของการเห็นควรให้มีสถานการพนันถูกกฎหมายควบคุมอย่างเข้มงวดจากทางราชการโดยให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการการพนันแห่งชาติ” ในรูปอัตราส่วนแต้มต่อจัดการวัดตัวแปรที่ใช้เครื่องมือวัดซึ่งไม่ต้องอาศัยวิจารณญาณของผู้วิจัยจึงให้ผลมีความคงเส้นคงวามากอย่างไรก็ตามปรากฏการณ์การพนันมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอการจัดตั้งทฤษฎีขึ้นมาเพื่ออธิบายปัญหาอุปสรรคและความคิดเห็นต่อการพนันย่อมเป็นไปไม่ได้แม้นว่าผลการวิเคราะห์ทางสถิติจะมีความน่าเชื่อถือเพราะมนุษย์นั้นไม่เหมือนกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตซึ่งคุณสมบัติจะคงเส้นคงวาแต่มนุษย์นั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอการวิเคราะห์ตัวเลขทางสถิติเช่น ทัศนคติของคนต่อการพนันนั้นจะไม่แม่นตรงเหมือนกับการวัดในทางเคมีหรือฟิสิกส์และไม่สามารถศึกษาหน่วยสำหรับการวิเคราะห์ได้ลึกซึ้ง
การวิจัยทางรัฐศาสตร์การใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในเรื่องเดียวกัน เช่น เรื่องอินเทอร์เน็ตกับการเมืองไทย โดย : ยุทธพร อิสรชัย
หากพิจารณาวิธีวิจัยของงานวิจัยนี้จะเห็นว่าเป็นงานที่ให้ความสำคัญกับแนวทางการศึกษาทั้งแบบ “ปรากฏการณ์วิทยา” (phenomenology) กล่าวคือ มุ่งที่จะศึกษา ปรากฏการณ์ประยุกต์ที่เน้นความสำคัญของหน่วยในการศึกษาเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองคือการใช้อินเตอร์เน็ตของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผู้บริหารผู้ตรวจสอบในการเลือกตั้งทั่วไปพ. ศ. 2544 โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และแนวทาง “ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ” (logical positivism) ในการแสวงหา  “ข้อมูลเชิงประจักษ์” คือการรับรู้ข่าวสารการตัดสินใจลงคะแนนเสียงและทัศนคติความคิดเห็นต่อการใช้อินเตอร์เน็ตในการเลือกตั้งทั่วไปพ. ศ. 2544
การศึกษานี้มีหน่วยในการศึกษาทั้งในระดับปรากฏการณ์และพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลกล่าวคือการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตในเชิงคุณภาพและใช้เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณคือแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งซึ่งมีลักษณะการส่งกระจายอย่างหลากหลายและครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมาก ปานกลาง และไม่เคยใช้เลย ตามคุณลักษณะด้านเพศ อายุ การศึกษาและอาชีพ กลุ่มตัวอย่างจึงมีวงกว้างส่งผลให้สามารถที่จะกระจายผลสู่ประชากรสร้างเป็น “ข้อสรุปทั่วไป” ที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปอธิบายหน่วยที่มิได้ศึกษาได้
อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ internet มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอการจัดตั้งทฤษฎีขึ้นมาเพื่ออธิบายปัญหาอุปสรรคและความคิด

หน่วยที่ 13 แหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

13.1 แนวคิดและความสำคัญเกี่ยวกับข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

ข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์เป็นฐานสำคัญของการแสวงหาความรู้หรือหาคำตอบให้กับคำถามหรือสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการคำถามข้อมูลจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการที่จะนำไปสู่การเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆทางการเมืองและการสร้างองค์ความรู้ในทางรัฐศาสตร์

13.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ข้อมูลการวิจัยคือ ข้อเท็จจริง ข่าวสาร หรือความรู้ที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาเพื่อนำมาวิเคราะห์ อธิบาย หรือสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจศึกษาข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์มีทั้งระดับปฐมภูมิคือ บุคคล กลุ่ม  องค์กร สถาบันและสังคม
และข้อทุติยภูมิคือ ข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้วโดยข้อมูลทั้งสองระดับก็อาจแยกเป็นข้อมูลที่เป็นเรื่องการเมืองโดยตรงกับข้อมูลที่ไม่ใช่เรื่องการเมืองโดยตรงแต่อาจเกี่ยวข้องกับการเมืองในด้านใดด้านหนึ่ง

13.1.2 ความสำคัญของข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์มีความสำคัญในหลายลักษณะคือ ความสำคัญต่อการแสวงหาองค์ความรู้ สำคัญต่อการพัฒนาระเบียบวิธีการศึกษา การพัฒนา “ศาสตร์” ทางการเมืองหรือรัฐศาสตร์  สำคัญต่อการพัฒนาทางการเมืองและการแก้ไขปัญหาสังคม สำคัญต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและหลักสูตรทางด้านรัฐศาสตร์ และสำคัญต่อการสร้างและพัฒนานักวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิในการวิจัยทางรัฐศาสตร์
ข้อมูลการวิจัยทางรัฐศาสตร์คือข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองโดยตรง และ/หรือที่เกี่ยวข้องกับการเมืองผู้วิจัยต้องให้ความหมายของการเมืองและกำหนดขอบเขตการเมืองที่เป็นเรื่องศึกษาวิจัยให้ชัดเจน จึงจะสามารถระบุข้อมูลที่ตรงกับการวิจัยได้ถูกต้องชัดเจน เช่น การวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งจะแนะนำส่วนใดจะศึกษาเพียงพูดไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งเท่านั้น หรือจะศึกษาผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมดเป็นต้น
สาเหตุที่ข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์สำคัญต่อการแสวงหาองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์
เพราะการที่จะรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือเรื่องทั่วไปทางการเมืองจากปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆท่านมีข้อมูลถูกต้องพอเพียงและสามารถประมวลวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบก็จะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบได้
13.2 แหล่งข้อมูลและฐานข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
แหล่งข้อมูลและฐานข้อมูลทางรัฐศาสตร์คือแหล่งที่ผู้วิจัยจะเข้าไปแสวงหาข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่ได้กำหนดไว้แหล่งข้อมูลจึงมีทั้งที่เป็นเรื่องการเมืองโดยตรงและแหล่งที่ไม่ใช่การเมืองแต่เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยแบ่งออกได้เป็นระดับปฐมภูมิและระดับทุติยภูมิ
13.2.1 แหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
แหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์แยกได้เป็น 2 ระดับคือ ระดับปฐมภูมิ ได้แก่ บุคคล กลุ่มคน องค์กรและสถาบัน และสังคม
ระดับทุติยภูมิคือ ห้องสมุด สถาบันที่ทำงานด้านการวิจัย สถาบันสื่อมวลชน องค์กรและสถาบันทางการเมือง หน่วยงานทางด้านรัฐศาสตร์โดยตรง มูลนิธิ สมาคม และแหล่งข้อมูลอื่นๆ
13.2.2 ฐานข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ฐานข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ที่นิยมกันมากในยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 คือ อินเตอร์เน็ตที่สืบค้นผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังทำการศึกษาและซีดีรอมที่ใช้ได้สะดวกรวดเร็วและมีฐานข้อมูลจำนวนมาก
การวิจัยทางรัฐศาสตร์สามารถใช้ได้ทั้งแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิในทุกๆส่วนขึ้นอยู่กับว่าจะวิจัยเรื่องอะไรมีขอบเขตการวิจัยในลักษณะใดเพราะข้อมูลการวิจัยในเรื่องเกี่ยวกับการเมืองมักมีข้อมูลทั้งในระดับปฐมภูมิคือต้องสัมภาษณ์บุคคลหรือการเข้าไปสังเกตการณ์สถานการณ์จริงๆและในระดับทุติยภูมิคือการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้ในที่ต่างๆเช่นการวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งเป็นต้นอาจจำเป็นต้องแสวงหาข้อมูลจากทั้งสองแหล่งดังกล่าว
ฐานข้อมูลหมายถึงการจัดเก็บข้อมูลมหาศาลไว้อย่างเป็นระบบและทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการค้นคว้าผู้ศึกษาวิจัยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังแหล่งข้อมูลฐานข้อมูลจึงมีลักษณะเป็นแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อมูลจำนวนมากแต่อยู่ในระบบขนาดเล็กและมีอยู่หลายระบบ
13.3 การใช้ประโยชน์และปัญหาการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
การใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์จะแตกต่างกันระหว่างแหล่งข้อมูลระดับปฐมภูมิกับทุติยภูมิและจะมีปัญหาในลักษณะที่แตกต่างกันด้วยระหว่างแหล่งข้อมูลใน 2 ระดับดังกล่าว
13.3. 1ลักษณะทั่วไปของการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
การใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิทั้งรูปแบบการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ ออกแบบสอบถาม การทดสอบหรือกึ่งทดสอบ พรุ่งนี้ใจต้องทำให้เกิดความเต็มใจ และการให้ความร่วมมือจากแหล่งข้อมูลให้มากที่สุด จึงจะได้ข้อมูลตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ส่วนแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ผู้วิจัยต้องรู้แหล่งข้อมูล รู้ระบบระเบียบของแหล่งข้อมูล จัดระบบการวิจัยไว้อย่างดี มีความเชี่ยวชาญพอสมควรในการค้นหาข้อมูลจึงจะได้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูล
13.3.2 ปัญหาการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ปัญหาการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลมีทั้งด้านของผู้วิจัยและด้านของแหล่งข้อมูล ในด้านของผู้วิจัยถ้าเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิอาจเป็นปัญหาที่การสื่อสาร การรู้จักวัฒนธรรมแหล่งข้อมูล ผู้วิจัยอาจมีปัญหาด้านภาษา การไม่รู้แหล่งข้อมูล ขาดความชำนาญ รวมทั้งปัญหาด้านเวลาอื่นๆ
ส่วนในระดับทุติยภูมิ อาจเป็นปัญหาที่มีข้อมูลเก่า ปัญหาวัฒนธรรมการให้บริการ แหล่งข้อมูลอยู่ไกล รวมทั้งอาจมีฐานข้อมูลมากทำให้เสียเวลาในการค้นคว้า
ข้อดีและข้อเสียจากการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
ข้อดีคือได้ข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่ศึกษาวิจัยโดยตรงสามารถแสวงหาข้อมูลได้ตรงกับที่ต้องการอาจมีความหลากหลายและตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนหรือความเที่ยงตรงของข้อมูลได้ดีเพราะสามารถสัมภาษณ์ได้หลายคนและสัมภาษณ์ซ้ำๆได้
ข้อเสียคือข้อมูลอาจไม่ตรงกับความเป็นจริงของสถานการณ์ทางการเมืองที่ศึกษาวิจัยเพราะเป็นความคิดเห็นตามมุมมองของผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนหรือผู้ให้สัมภาษณ์บางคนอาจจงใจบิดเบือนข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างหรือแม้แต่ให้ข้อมูลเพียงบางส่วนแต่ไม่ให้อย่างครบถ้วนหรืออย่างที่ผู้วิจัยต้องการ
ปัญหาการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ในด้านของผู้วิจัยที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดคือ “ความตระหนักในความเป็นนักวิจัยของผู้วิจัย” พระนักวิจัยต้องวางตัวเป็นกลางคือ ยึดเอากรอบการวิจัยเป็นเครื่องมือของการวิจัยเป็นหลัก ต้องตัดอคติและความลำเอียงต่างๆออกให้มากที่สุด มุ่งแสวงหาข้อมูลตามสภาพที่เป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและต้องมีจรรยาบรรณในการวิจัยอย่างสูงซึ่งเป็นเรื่องยากที่นักวิจัยทั่วไปที่เป็นมนุษย์ปุถุชนจะทำได้ทั้งหมด และถ้าทำไม่ได้มากก็จะเป็นปัญหากระทบไปสู่กระบวนการของการวิจัย

หน่วยที่ 14 การเขียนโครงการและรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

14.1 การเขียนโครงการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

การเขียนโครงการวิจัยจัดเป็นขั้นตอนแรกของการทำวิจัยเป็นการเขียนรายละเอียดที่ชี้ทิศทางและขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยเพื่อให้ผู้วิจัยดำเนินการจนบรรลุจุดมุ่งหมายของโครงการวิจัยที่ได้กำหนดไว้

14 .1.1 แนวคิดและหลักการของการเขียนโครงการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
การเขียนโครงการวิจัยคือ การเขียนแผนงาน โครงสร้าง และวิธีการทำวิจัยที่กำหนดหรือวางแนวทางไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการวิจัย ซึ่งจะช่วยชี้ทิศทางและขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยตั้งแต่ต้นจนจบ การเขียนโครงการวิจัยและต้องครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โจทย์หรือคำถามของการวิจัย การศึกษาภูมิหลัง ทบทวนวรรณกรรมและสรุปแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย และงบประมาณการใช้จ่าย

14.1.2 โครงสร้างและวิธีการเขียนโครงการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
การเขียนโครงการวิจัยต้องเขียนตามโครงสร้างรูปแบบที่ผู้พิจารณาโครงการวิจัยดังกล่าวกำหนด โดยทั่วไปโครงสร้างการเขียนโครงการวิจัยทางรัฐศาสตร์แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ โครงสร้างส่วนนำ โครงสร้างเสริมระเบียบวิธีวิจัยหรือวิธีดำเนินการวิจัย และโครงสร้างส่วนเสริม

โครงการวิจัยคือแผนงาน โครงสร้าง และวิธีการทำวิจัยที่ได้กำหนดหรือวางแนวทางไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการวิจัยซึ่งจะช่วยชี้ทิศทางและขั้นตอนของการดำเนินงานวิจัยตั้งแต่ต้นจนจบ
การเขียนโครงการวิจัยมีประโยชน์คือ
– เป็นหลักหรือแผนการดำเนินการในการวิจัย
– เป็นเครื่องมือพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับการศึกษาของนักศึกษาในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี
– เป็นเอกสารเสนอขอรับทุนหรือรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการวิจัย
ประเด็นสาระสำคัญที่ควรมีในโครงการวิจัยคือระบุวัตถุประสงค์และปัญหาหรือคำถามของการวิจัยการนำเสนอภูมิหลังทบทวนวรรณกรรมและสรุปแนวคิดที่เกี่ยวข้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยและงบประมาณรายจ่ายในการดำเนินการโครงการวิจัย
โครงสร้างหลักของการเขียนโครงการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเนื้อแต่ละส่วนต้องระบุรายละเอียดดังนี้
1 โครงสร้างส่วนนำประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อโครงการ ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ กรอบแนวคิดทฤษฎี สมมติฐานการวิจัย ขอบเขตการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น ข้อจำกัดของการวิจัย แล้วนิยามศัพท์
2 โครงสร้างส่วนระเบียบวิธีวิจัยหรือวิธีดำเนินการวิจัยต้องระบุรายละเอียดของแหล่งข้อมูลการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้ววิธีวิเคราะห์ข้อมูล
3 โครงสร้างส่วนเสริม คือ การระบุประเภทของงานวิจัยและสาขาวิชาที่ทำการวิจัย คณะวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย แผนการบริหารโครงการวิจัยและแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย งบประมาณที่ใช้ในการวิจัย บรรณานุกรม

14.2 แนวคิด หลักการ และโครงสร้างรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

การเขียนโครงการวิจัยจะต้องยึดรูปแบบและวิธีการตามที่หน่วยงานหรือผู้พิจารณาโครงการจะเป็นผู้กำหนดรายละเอียดโดยทั่วไปการเขียนโครงการวิจัยจะมีโครงสร้าง 3 ส่วนคือ โครงสร้างส่วนหน้า โครงสร้างส่วนระเบียบวิธีวิจัยหรือวิธีดำเนินการวิจัย และโครงสร้างส่วนเสริม

14.2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์ และหลักของการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
รายงานการวิจัยเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการวิจัย เป็นกระบวนการสื่อสารที่จะสะท้อนให้ทราบถึงรายละเอียดกระบวนการขั้นตอนการวิจัยและผลของการวิจัยในการจัดทำรายงานการวิจัยผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา  วิธีการเขียนเนื้อหาและการจัดรูปแบบของการเขียน โดยในการเขียนรายงานการวิจัยขั้นปฏิบัติ มีขั้นตอนคือ การเขียนโครงร่างรายงานการวิจัย การเขียนร่างรายงานการวิจัยครั้งแรก การตรวจสอบและวิจารณ์ รายการเขียนรายงานครั้งสุดท้าย

14.2.2 ประเทศและโครงสร้างรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
รายงานการวิจัยแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับเหตุผลของการแบ่งประเภทของรายงานรายงานการวิจัยแต่ละประเภทจะมีโครงสร้างแตกต่างกันไป

รายงานการวิจัยเป็นกระบวนการสื่อสารที่จะสะท้อนให้ทราบถึงรายละเอียดกระบวนการขั้นตอนแต่ละขั้นตอนที่ได้มีการดำเนินการเพื่อแสวงหาคำตอบให้กับคำถามหรือโจทย์ของการวิจัยที่ได้กำหนดไว้เพื่อให้สามารถนำคำตอบหรือสิ่งที่ค้นพบมาใช้อ้างอิงหรือเป็นหลักฐานที่สามารถนำไปตรวจสอบความถูกต้องหรือนำไปใช้ให้ก่อเกิดประโยชน์ต่อไป

หลักสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์คือ
– ลักษณะของเนื้อหา เป็นการเสนอข้อเท็จจริง สิ่งที่ค้นพบและคำตอบที่ผู้ศึกษาวิจัยได้จากการดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีและขั้นตอนของการวิจัย ไม่ใช่การเขียนรายงานข้อเท็จจริง ปัญหา ทรรศนะ ความคิดเห็น การตีความหรือการสังเกตของบุคคลหรือองค์การ
– การจัดลำดับเนื้อหา การเขียนรายงานการวิจัยจากต้องนำเสนอเนื้อหาตามลำดับขั้นอย่างเป็นระบบตามเหตุและผลเชิงตรรกะวิทยา
– วิธีการเขียนเนื้อหา เน้นการให้ความรู้แก่ผู้อ่านเป็นการเขียนเชิงวิชาการแต่ต้องไม่ยากแก่การทำความเข้าใจเนื้อหาและทำให้ผู้อ่านจับประเด็นหรือแนวคิดที่ผู้เขียนต้องการเสนอได้และสามารถเข้าใจข้อสรุปในส่วนที่เกี่ยวกับความเที่ยงตรงความเชื่อถือได้ของผลและบทสรุปที่ได้จากรายงานที่เสนอได้ด้วยตนเอง
– การจัดรูปแบบของการเขียนจะต้องสวยงามถูกต้องตามหลักวิชาการมีองค์ประกอบของรายงานครบถ้วนสมบูรณ์

ขั้นตอนในการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์คือการเขียนโครงสร้างรายงานการวิจัยการเขียนร่างรายงานวิจัยครั้งแรก การตรวจสอบ และวิจารณ์ และการเขียนรายงานขั้นสุดท้าย

การแบ่งประเภทของรายงานการวิจัยมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับเหตุผลของการแบ่งเช่น
– การแบ่งประเภทรายงานการวิจัยตามระยะเวลาของการวิจัย แบ่งเป็น รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย และรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์
– การแบ่งประเภทรายงานการวิจัยตามแหล่งที่จะเผยแพร่งานวิจัย แบ่งเป็นรายงานประเภทเพื่อจัดพิมพ์เป็นบทความในวารสาร และรายงานประเภทเพื่อเผยแพร่ให้กับหน่วยงานที่ให้ทุนการวิจัย
– การแบ่งประเภทรายงานการวิจัยตามรูปแบบการเขียนแบ่งเป็น รายงานแบบยาวและรายงานแบบสั้น

โครงสร้างรายงานความก้าวหน้าของการวิจัยมี 2 ส่วนคือ ส่วนนำ(ประกอบด้วยชื่อโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ระยะเวลาดำเนินการวิจัย งบประมาณ ช่วงระยะเวลาที่รายงาน) และส่วนเนื้อหา (ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของโครงการ ผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว)

โครงสร้างรายงานการวิจัยแบบเขียนเป็นบทความลงพิมพ์ในวารสารประกอบด้วย ชื่อเรื่องของโครงการวิจัย ชื่อผู้ทำวิจัย หน่วยงานที่สังกัด แหล่งหรือสถาบันที่ให้เงินทุนสนับสนุนการทำวิจัย ปีที่ทำการวิจัย ความงามหรือบทนำ วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย การอภิปรายผลการวิจัย สรุปผล และข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม

14.3 วิธีการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

โครงสร้างของการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ โครงสร้างส่วนนำ โครงสร้างส่วนเนื้อหา ร้านโครงสร้างส่วนเสริม

14.3.1 วิธีการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนนำ
การเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนนำประกอบด้วยการจัดทำปก คำนำ กิตติกรรมประกาศ  การเขียนบทคัดย่อ และการจัดทำสารบัญ

14.3.2 วิธีการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนเนื้อหา
การเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนเนื้อหา มีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน คือ  การเขียนบทนำ การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายผล การสรุปผล และข้อเสนอแนะ

14.3.3 วิธีการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนเสริม
การเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนเสริม คือ การจัดทำส่วนเชิงอรรถ บรรณานุกรม ภาคผนวก และประวัติผู้วิจัยหรือคณะผู้วิจัย

การเขียนบทคัดย่อคือการเขียนข้อความสรุปสาระหรือเนื้อหาสำคัญของการวิจัยที่จะทำให้ผู้อ่านทราบถึงเนื้อหาของการวิจัยได้อย่างรวดเร็วโดยจะต้องเขียนให้ครอบคลุมประเด็นสําคัญคือวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยโดยสังเขป ขั้นตอน วิธีการดำเนินการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการศึกษา
การเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนเนื้อหาบทแรกคือการเขียนบทนำเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้อ่านได้เตรียมตัวเข้าสู่ปัญหาหรือจุดของการศึกษาวิจัยการเขียนบทนำไม่ควรมีความยาวมากนับแต่จะต้องเขียนให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญคือความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย สมมติฐานการวิจัย นิยามเฉพาะ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เชิงอรรถมี 3 ลักษณะคือ
1 เชิงอรรถขยายความคือการเขียนอธิบายรายละเอียดของคำหรือข้อความที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาเพิ่มเติม
2 เชิงอรรถโยงคือเชิงอรรถที่แจ้งว่าผู้อ่านจะไปดูเนื้อเรื่องที่สัมพันธ์กับข้อความดังกล่าวได้เพิ่มเติมจากแหล่งใด
3 เชิงอรรถอ้างอิงคือการบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ผู้เขียนรายงานการวิจัยนำมาใส่ไว้ในรายงานการวิจัยของตน หรือนำมาใช้เป็นแนวคิดหรือแหล่งข้อมูลในรายงานการวิจัยของตน

วิธีการเขียนเชิงอรรถมี 2 วิธีคือการเขียนเชิงอรรถแบบที่เขียนแยกออกจากเนื้อเรื่อง และการเขียนเชิงอรรถแบบแทรกปนเนื้อหา

บรรณานุกรมมี 3 ประเภทคือ บรรณานุกรมสมบูรณ์ บรรณานุกรมเลือกสรร และบรรณานุกรมแบบอ้างอิง

หน่วยที่ 15 การวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย

15.1 พัฒนาการและสภาพการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย

การวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยพัฒนาการควบคู่มากับการเปลี่ยนแปลงทางรัฐศาสตร์ที่มีการจัดการเรียนการสอนโดยสถาบันอุดมศึกษาของรัฐไทยมาเป็นเบื้องต้น แล้วยังคงเป็นสถาบันการศึกษารัฐศาสตร์ที่สำคัญในยุคปฏิรูปการเมืองไทยจนถึงปัจจุบัน การวิจัยทางรัฐศาสตร์ส่วนใหญ่จึงเป็นงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนของหลักสูตรรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นสำคัญ โดยหลักสูตรจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะสอดคล้องกับสภาพการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย และอิทธิพลของสังคมโลก

15.1.1 พัฒนาการของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
การวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยมีพัฒนาการเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของการจัดทำหลักสูตรรัฐศาสตร์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐซึ่งแยกไม่ออกจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐ โครงสร้างอำนาจทางการเมือง ตลอดจนบริบททางสังคมและเศรษฐกิจที่สำคัญ รวมทั้งอิทธิพลของวิชาการรัฐศาสตร์จากประเทศตะวันตก โดยภาพรวมการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในระยะแรกยังแคบและจำกัดอยู่กับหลักสูตรรัฐศาสตร์แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มมีการคลี่คลายและขยายออกไปอย่างชัดเจน ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และมีแนวโน้มขยายตัวในด้านต่างๆมากขึ้นตั้งแต่ยุคปฏิรูปทางการเมืองพ. ศ. 2540 เป็นต้น

15.1.2 สถานภาพของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
การวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยเริ่มต้นจากการตอบสนองต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยทำให้มีลักษณะที่จำกัดและไม่เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับประเด็นปัญหาทางสังคมจนกระทั่งหลักสูตรรัฐศาสตร์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และเหตุการณ์ 14 ตุลาคมพ.ศ. 2516 การวิจัยทางรัฐศาสตร์จึงหันมาสู่ประเด็นปัญหาสำคัญทางสังคมมากขึ้นทำให้ได้รับความสนใจกว้างขวางมากขึ้นเป็นลำดับ

การวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ในยุคหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคมพ. ศ. 2516 ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงก้าวหน้ามากขึ้น
เนื่องจากการเมืองไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจนเกิดบรรยากาศทางการเมืองประชาธิปไตยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนและส่งผลให้เกิดความเป็นอิสระทางวิชาการมากขึ้นรวมทั้งการวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ด้วย
การทำให้การวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์มีสถานภาพที่เข้มแข็งหรือเกิดการยอมรับอย่างกว้างขวางในอนาคตนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องกับการวิจัยต้องพัฒนาศักยภาพของการวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ให้ก้าวหน้าหรืออย่างต่อเนื่องต้องมีแหล่งเงินทุนหลากหลายและมีเงินทุนมากพอเพียงรวมทั้งสิ่งจูงใจต่างๆและต้องมีความเป็นอิสระทางวิชาการที่จะวิจัยไปสู่ประเด็นปัญหาที่เป็น “หัวใจ” ของการเมืองโดยตรง เช่น ปัญหาของผู้นำทางการเมือง รับปัญหาการใช้อำนาจของผู้กำหนดนโยบายเป็นต้น

15.2 ทิศทางและประเด็นของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย

ประเด็นของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยนอกจากจะมุ่งเน้นเพื่อการผลิตตำราและหนังสือทางรัฐศาสตร์และประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายและการบริหารงานภาครัฐที่มีมาตั้งแต่เริ่มต้นมีหลักสูตรและการเรียนการสอนตามหลักสูตรรัฐศาสตร์สมัยใหม่แล้ว เมื่อสถานการณ์ของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสังคมโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคมพ. ศ. 2516 มาจนถึงยุคโลกาภิวัตน์ ประเด็นการวิจัยก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ทิศทางการวิจัยทางรัฐศาสตร์จึงมีแนวทางไปสู่การตอบปัญหาต่างๆทางการเมืองมากขึ้น

15 .2.1 ทิศทางของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
ทิศทางของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยมีความโน้มเอียงที่จะเป็นไปในด้านสำคัญ 3 ถึง 4 ด้านคือการพัฒนาแนวทางและระเบียบวิธีในการศึกษาวิจัย การพัฒนาไปสู่ความเป็นวิชาชีพการวิจัย การวิจัยเพื่อตอบคำถามต่างๆให้กับสังคม รักเกิดการแข่งขันกันมากขึ้นในการทำวิจัย ฉันอาจทำให้เกิดผลลัพธ์ทั้งในแง่บวกและแง่ลบได้

15.2.2 ประเด็นของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
ประเด็นของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยในปัจจุบันคือทศวรรษแรกของยุคปฏิรูปการเมืองมีประเด็นหลักหลายกว่าเดิมคือมีทั้งประเด็นเก่าและใหม่ที่เป็นประเด็นหลักคือประเด็นเกี่ยวกับปัญหาการพัฒนาประชาธิปไตยไทย เกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองในทุกระดับ เกี่ยวกับผู้กระทำการทางการเมือง เกี่ยวกับแนวความคิดและทฤษฎีการเมือง เกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางการเมือง เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ และเกี่ยวกับการคอรัปชั่น

การที่จะทำให้การวิจัยทางรัฐศาสตร์เกิดคุณค่าต่อสังคมจนส่งผลให้การวิจัยทางรัฐศาสตร์มีทิศทางที่เข้มแข็งมากขึ้นผู้วิจัยและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ให้เงินทุนสนับสนุนต้องเอาใจใส่อย่างจริงจังต้องให้อิสระทางวิชาการในการวิจัยอย่างเต็มที่และต้องมีการนำเอาผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง
สาเหตุที่ประเด็นการสร้างและพัฒนาประชาธิปไตยโน้มเอียงและมีความสำคัญต่อการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
มีเหตุผลหลายด้านที่สำคัญที่สุดคือเมื่อยังไม่มีระบบการเมืองแบบใดในโลกทั้งที่เคยเกิดขึ้นและปรากฏเป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน และที่เป็นไปตามจินตนาการของนักคิดทุกยุคทุกสมัย น่าจะเหมาะสมต่อสังคมมนุษย์มากไปกว่าประชาธิปไตย และประเทศไทยก็เผชิญกับอุปสรรคในเรื่องนี้มานานเกือบศตวรรษแล้วรัฐศาสตร์ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมุ่งทำวิจัยในประเด็นนี้โดยตรง

15.3 การใช้ประโยชน์ อุปสรรค แนะแนวโน้มของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย

ในระยะเริ่มต้น การใช้ประโยชน์ในการวิจัยทางรัฐศาสตร์จะเน้นสนองตอบต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรของแต่ละสถาบันเป็นหลัก ในระยะต่อมาจึงมีการนำไปใช้ประโยชน์กว้างขวางขึ้น รวมทั้งการจัดการการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในบางด้าน อย่างไรก็ตามการวิจัยทางรัฐศาสตร์มีอุปสรรคหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ด้านเงินทุน แนวโน้มของการวิจัยรัฐศาสตร์ในประเทศไทยคาดว่าจะมีกว้างขวางมากขึ้นตามลำดับ แม้นว่าจะมีอุปสรรคอยู่มากก็ตาม

15.3.1การใช้ประโยชน์จากการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
มีลักษณะสำคัญ 4-5 ด้านคือ 1) ด้านการเรียนการสอนและหลักสูตร 2) ด้านวิชาการรัฐศาสตร์ 3 )การประยุกต์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหาสังคม4) ด้านนโยบายสาธารณะและ 5) ด้านปฏิรูปการเมือง แต่จะมีการใช้ประโยชน์ทางด้านใดมากหรือน้อยก็เป็นไปตามองค์ประกอบสำคัญของแต่ละยุคสมัย

15.3.2 อุปสรรคของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
อุปสรรคของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยมีอยู่หลายลักษณะและอาจแยกออกได้เป็น 2 ด้านใหญ่ๆคือ 1) อุปสรรคด้านของการทำวิจัยเองโดยตรง และ 2) อุปสรรคที่เกิดมาจากสภาพแวดล้อมทางด้านต่างๆของการทำวิจัย

15.3.3 แนวโน้มของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
แนวโน้มของการทำวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยน่าจะมีการขยายกว้างออกไปในหลายๆด้านทั้งในด้านนักวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย การใช้ประโยชน์จากการวิจัย และการพัฒนาด้านคุณภาพของการวิจัย รวมไปจนถึงความตื่นตัวของสังคมไทยในการให้ความสำคัญกับการวิจัยมากขึ้น
การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยทางรัฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายสาธารณะของรัฐบาลไทยมีน้อยเพราะเหตุผล 2 ด้านที่เกี่ยวข้องกันคือ
1 การทําวิจัยมีข้อจำกัดคือทำวิจัยกันน้อยและขาดคุณภาพ จนขาดการยอมรับจากผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะโดยตรง
2 การเมืองไทยยังให้ความสำคัญกับความรู้ความสามารถของชนชั้นนำทางการเมือง ผู้กำหนดนโยบายสาธารณะในระดับสถาบันการเมืองจึงไม่ใช้ข้อมูลหรือองค์ความรู้จากการวิจัยโดยตรงถ้าจะใช้บ้างก็คือผู้มีอำนาจได้อ่านงานวิจัยบ้างหรือมีที่ปรึกษาบางคนให้คำแนะนำ
อุปสรรคในการวิจัยทางรัฐศาสตร์ของไทยในประเด็น”วัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทย” น่าจะมีความสำคัญมากที่สุด
วัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทย ถ้ายังเชื่อผู้นำ ยกย่องผู้นำบารมีอย่างขาดเหตุผล และงมงาย ไม่ตั้งคำถาม ไม่คิดใคร่ครวญอย่างมีสติและใช้วิจารณญาณอย่างถ่องแท้แล้วก็ยากที่จะให้ความสำคัญกับงานวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำการวิจัยที่ใช้แนวทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
คนไทยมีแนวโน้มที่จะยอมรับการวิจัยทางรัฐศาสตร์มากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่นั้นยังไม่อาจคาดการณ์ได้เพราะเหตุผลหลายด้านและอุปสรรคสำคัญด้านวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ในขณะนี้แต่ถ้าจะยอมรับการวิจัยทางรัฐศาสตร์มากขึ้นกว่าเดิมก็ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเชิงวัฒนธรรมทางการเมืองคือ สนใจตั้งคำถามและเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง ต่อเนื่อง และจริงจังโดยทั่วไปกว่าที่ผ่านผ่านมาซึ่งยังไม่มีท่าทีชัดเจนว่าจะเป็นไปในลักษณะดังกล่าวในยุคนี้

บริจาคเพื่อเป็นกำลังใจให้เจ้าของบล็อคได้นะคะ 

แนวคิด ของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ใน ประเด็น ทางรัฐประศาสนศาสตร์

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงคร่าาา