จิตวิทยาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

มนุษยสัมพันธ

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม อริสโตเติลกล่าวไว้เช่นนี้ นักสังคมศาสตร์เชื่อเช่นนี้ บุคคลทั่วไปก็เชื่อเช่นนี้

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เพราะเกิดมาก็ตกอยู่ภายในแวดวงของบุคคลอื่นๆ อย่างน้อยก็มีแม่หนึ่งคน ต้องปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เรียกว่า มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)

พฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์มีมากมาย สามารถแยกศึกษาเป็นแขนงหนึ่งในจิตวิทยา จิตวิทยาแขนงที่ศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์นี้เรียกกันว่า จิตวิทยาสังคม (social Psychology)

ความชอบพอระหว่างบุคคล

ความชอบพอระหว่างบุคคลเป็นผลของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และมีผลกำหนดพฤติกรรมทางสังคมระหว่างกันในเวลาต่อมา มนุษย์มีความปรารถนาที่จะให้คนชอบทีจะให้คนเสน่หา เพราะความชอบและความเสน่หานี้ นอกจากจะตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจของมนุษย์แล้ว ยังบังเกิดผลกรรมทางบวกอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย บุคคลทั่วไปทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงพยายามใฝ่หาสิ่งเหล่านี้ การใฝ่หาแสดงออกในรูปพฤติกรรมต่างๆ ตั้งแต่พฤติกรรม แต่งตัวสวยงาม การเอาอกเอาใจ การประจบประแจง การเสาะหาพระเครื่องที่เชื่อว่าสามารถบันดาลให้ได้รับความเมตตาและความชอบพอ ตลอดจนการทำเสน่ห์ต่างๆ

การวัดความชอบพอ ปัญหาจะรู้ได้อย่างไรว่าใครคนหนึ่งชอบพอเรามากน้อยแค่ไหนเป็นที่สนใจของทั้งนักจิตวิทยาสังคมและบุคคลทั่วไป ความชอบพอแสดงออกเป็นพฤติกรรม เราจึงสามารถวัดความชอบพอจากพฤติกรรม เช่นแจงนับจำนวนครั้งที่พูดคุยกัน แจงนับจำนวนครั้งที่สบตากันและยิ้มให้กัน สังเกตปฏิกิริยาเมื่อคนหนึ่งเข้าใกล้อีกคนหนึ่ง ฯลฯ

นอกจากพฤติกรรมภายนอกดังกล่าวมานี้ หากเราต้องการทราบว่าใครชอบใครมากน้อยเพียงใด วิธีที่ตรงไปตรงมาอีกวิธีหนึ่งคือ การถาม หลายคนคงเคยถามคนอื่นหรือถูกคนอื่นถามว่า “คุณชอบผมไหม?” มาแล้ว นักจิตวิทยาได้พัฒนาวิธีถามเกี่ยวกับรื่องนี้หลายวิธี เช่น

(1) การถามความรู้สึก การถามที่ง่ายที่สุดและตรงไปตรงมาที่สุดคือ ให้ผู้ตอบเลือกตัวเลือกใดตัวเลือกหนึ่งซึ่งตรงกับความรู้สึกของตนเองที่มีต่ออีกคนหนึ่ง ดังนี้

-ฉันรู้สึกจะชอบเขามาก

-ฉันรู้สึกชอบเขา

-ฉันรู้สึกค่อนข้างจะชอบเขา

-ฉันรู้สึกเฉยๆ

-ฉันรู้สึกค่อนข้างไม่ชอบเขา

-ฉันรู้สึกไม่ชอบเขา

-ฉันรู้สึกไม่ชอบเขามาก

หากท่านผู้อ่านยังจำได้ การถามเช่นนี้แท้จริงคือการให้ผู้รับการทดสอบประมาณค่าความรู้สึกของตนเองนั่นเอง การถามอย่างตรงไปตรงมาเช่นนี้ หากผู้ตอบตอบอย่างตรงไปตรงมาก็คงจะไม่มีปัญหา แต่ที่มักจะเกิดขึ้นเสมอๆ ก็คือการตอบที่บิดเบือนความจริง และการตอบที่เป็นเลศนัยให้ตีความเอาเอง

(2) ความห่างทางสังคม แทนที่จะถามความรู้สึก เราอาจถามพฤติกรรมที่บุคคลหนึ่งจะเลือกกระทำกับอีกบุคคลหนึ่ง เช่นจะร่วมกิจกรรมกับเขาหรือไม่ จะไปเที่ยวกับเขาหรือไม่ จะชวนเขาไปบ้านหรือไม่ ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้แสดงความห่างทางสังคมไม่เท่ากัน เราอาจนำพฤติกรรมทางสังคมเหล่านี้มาจัดเรียงเป็นมาตรความห่างทางสังคม (Social Distance Scale)

(3) สังคมมิติ เทคนิควัดความชอบพอและการยอมรับระหว่างกันที่ใช้กันแพร่หลายมากคือ สังคมมิติ (sociometry) วิธีการของสังคมมิติง่ายและตรงไปตรงมา ผู้ทดสอบให้ผู้รับการทดสอบจัดอันดับเพื่อนที่ชอบมากที่สุด หรือผู้ร่วมงานที่อยากทำงานร่วมกันมากที่สุดหรือผู้ ร่วมงานที่ไม่อยากทำงานร่วมกันมากที่สุด 2-3 อันดับ ต่อจากนั้นก็นำข้อมูลการเลือกนี้ไปวิเคราะห์ว่าใครถูกเลือกมากที่สุด ใครถูกเลือกน้อยที่สุด คู่ใดมีการเลือกระหว่างกัน และบุคคลต่างๆ ในกลุ่มเกาะกลุ่มกันอย่างไร ข้อมูลการเลือกนี้อาจนำมาแสดงเป็นแผนภูมิเรียกว่า แผนภูมิสังคม (sociogram) ดังแสดงในรูป 14.1

จิตวิทยาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

ในรูป 14.1 วงกลมแทนคน ลูกศรแทนการเลือกและทิศทางการเลือก เช่น ก เลือก ข แทนด้วย ก →ข และถ้าเลือกซึ่งกันและกันก็แทนด้วยลูกศรสองทางเช่น ก ↔ ซ จากรูปจะเห็นว่าผู้ที่มีคนชอบมากที่สุดคือ ง มีคนเลือกถึง 4 คน รองลงมาคือ ข และ จ ซึ่งมีคนเลือก 3 คน และผู้ที่มีคนชอบน้อยที่สุดในกลุ่มคือ ค ซึ่งไม่มีใครเลือกเลย

แผนภูมิสังคม นอกจากจะแสดงความชอบพอระหว่างบุคคลในกลุ่มแล้ว ยังแสดงโครงสร้างของกลุ่มด้วย ในรูป 14.1 จะเห็นได้ว่า สมาชิกแตกเป็น 2 กลุ่มย่อย กลุ่มแรกมี ก ข ช และ ซ โดยมี ข เป็นศูนย์กลาง ส่วนกลุ่มสองมี ค ง จ และ ฉ โดยมี ง เป็นศูนย์กลาง ทั้งสองกลุ่มย่อยมีตัวเชื่อมซึ่งกันและกัน และตัวเชื่อมคู่หนึ่งก็เป็นการเชื่อมระหว่างหัวโจกของทั้งสองกลุ่มคือ ข และ ง


Marc Display : E-mail record
จิตวิทยาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
�Դ˹�ҵ�ҧ

 ISBN 974962436X
 ����� ��þ� ��������
 ��������ͧ

�Ե�Է������ѹ��Ҿ = Psychology of interpersonal relations/ ��þ� ��������

 ��������ͧ���ᵡ��ҧ Psychology of interpersonal relations
 �����ѡɳ� ��ا෾� : �ҧ�͡-���෤ �Թ�����ô, 2548
 �Ţ���¡ BF637.C45 �852�
 ���駷������ �������駷�� 1
 �ٻ���� 296, [1] ˹��
 �������ͧ ���������ѹ��
 �������ͧ �ؤ�ԡ�Ҿ
 �������ͧ ���������������ҧ�ؤ��
 �������ͧ ��û�Ѻ��� (�Ե�Է��)
 �������ͧ ��������ѹ�������ҧ�ؤ��

จิตวิทยาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

��¡�ù���ѧ�������

�س�ѧ�������͡�Թ �س����ö�աԨ���������Ѻ���䫵��� ���ͧ��͡�Թ��͹ ::
 
จิตวิทยาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
��͡�Թ

��¡���������ʹ��

�ӴѺ��� ������ �Ţ���¡/������ ʶҹ��� ʶҹ�
1.
จิตวิทยาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

˹ѧ���
BF637.C45 �852�  
  Barcode: 015966
˹ѧ��ͷ���� �����
2.
จิตวิทยาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

˹ѧ���
BF637.C45 �852� �.2 
  Barcode: 015970
˹ѧ��ͷ���� �����

��¡�������§
    �������ͧ [���������ѹ��]

  •   ���������ѹ���ͧ���� = Human Relations in Organization / ����آ ��
  •   ���������ѹ�� / �بԵ�� ����تҸԻ
  •   ���������ѹ��Ѻ��ú����� / �� �ͧ�Ծ�� �����оѹ���
    �������ͧ [�ؤ�ԡ�Ҿ]
  •   ��ɮըԵ�Է�Һؤ�ԡ�Ҿ / ������͹ ��ǡѧ���.
  •   �Ѳ�Һؤ�ԡ�Ҿ / �ѹ��Ԫ ���ǹ���.
  •   ��ŻС�ô��Թ���Ե = Arts of Living / ��С�������Ԫ���ŻС�ô��Թ��
    �������ͧ [���������������ҧ�ؤ��]
  •   ���������ѹ��Ѻ��ú����� / �� �ͧ�Ծ�� �����оѹ���
  •   ���Ը��Ѻ��͡Ѻ��þٴ��·��س�Ӻҡ� = Difficultconversations : how
  •   ���Ե�բ�鹷ѹ���������Ժ����ͧ�Ҥ�������§ 30 �Թҷ� / ��� ��
    �������ͧ [��û�Ѻ��� (�Ե�Է��)]
  •   �ѡ�з�������ȵ���ɷ�� 21 = The Lost Skill / ���� ���⾸��
  •   �Ե�Է�ҡ�û�Ѻ��� / ����ó� ��С����ɴ��
    �������ͧ [��������ѹ�������ҧ�ؤ��]
  •   ������Ը���� ���Ѻ��������� ��������ҡ���� = Give and take / Ada
  •   ��þѲ�Ҿĵԡ��������� = Human behavioral development / ����� �¾�
  •   ���ҧ�Ե��Ҿ�������� = Making friends / �͹������������� ��¹����Ҵ

BibComment


�ѧ����¶١��������
���������Ѿ�ҡ���¡�ù��
 
จิตวิทยาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
��������: �Ե�Է������ѹ���..


จิตวิทยาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
 Copyright 2022. All Rights Reserved.
จิตวิทยาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
จิตวิทยาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล