พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัด

ครม.เห็นชอบจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ใน กทม. และ 10 จังหวัด ยกระดับการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ นำร่อง 538 โรงเรียน

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. เห็นชอบจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในกรุงเทพมหานคร และ 10 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย แม่ฮ่องสอน กระบี่ ตราด สระแก้ว จันทบุรี ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และอุบลราชธานี มีสถานศึกษานำร่องรวมทั้งสิ้น 538 โรงเรียน

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษานี้ เป็นพื้นที่การปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษาในพื้นที่ระดับจังหวัด ซึ่งสถานศึกษานำร่องสามารถจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา”

1. คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน

2. ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา

3. กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง

4. สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคมในพื้นที่

ส่วนเกณฑ์การคัดเลือกจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พิจารณาจากความเหมาะสมและความพร้อมของจังหวัด การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องและโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งมีกรุงเทพมหานคร และ 10 จังหวัด ที่ผ่านการคัดเลือกดังนี้

1. กรุงเทพมหานคร รวม 54 โรงเรียน มีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เช่น การคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ โดยปรับกรอบหลักสูตร อบรมพัฒนาครู เพิ่มทักษะ การใช้นวัตกรรมรูปแบบต่างๆ, การให้อิสระกับสถานศึกษาในการวางแนวทางการบริหารบุคลากรและงบประมาณ, มีการจัดตั้งภาคีเครือข่ายด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของเด็ก กทม.

2. สุโขทัย รวม 20 โรงเรียน มีการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมุ่งเน้นไปที่เด็กด้อยโอกาส

3. แม่ฮ่องสอน รวม 19 โรงเรียน มีการรวมกลุ่มเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา แก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูและผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสและผู้เรียนหลากหลายชาติพันธุ์

4. กระบี่ รวม 38 โรงเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองและเลือกการศึกษาต่อตามความถนัดและความสนใจ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่

5. ตราด รวม 22 โรงเรียน มีสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพด้านจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

6. สระแก้ว รวม 30 โรงเรียน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา พัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านวิชาการ ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่

7. จันทบุรี รวม 28 โรงเรียน ปลดล็อกกฎระเบียบต่าง ๆ และมุ่งเน้นที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดการศึกษาด้วยตนเองโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

8. ภูเก็ต รวม 32 โรงเรียน สร้างระบบการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่และความต้องการของประชาชน เช่น มุ่งเน้นให้เด็กภูเก็ตทุกคนต้องพูดได้มากกว่า 2 ภาษา และแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ

9. สงขลา รวม 13 โรงเรียน มีสถานศึกษาที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็กอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากเข้าร่วมโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองของ กสศ.

10. สุราษฎร์ธานี รวม 21 โรงเรียน ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยมีการศึกษาอย่างเท่าเทียม ช่วยเหลือเด็กตกหล่นและเด็กที่มีปัญหา ให้ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างเสมอภาค

11. อุบลราชธานี รวม 261 โรง จัดหลักสูตรที่ทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนตามสมรรถนะและบริบทของพื้นที่

น.ส.รัชดา กล่าวด้วยว่า การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นมาตั้งปี 2561 โดยในปีนั้นกระทรวงศึกษาได้กำหนดให้ 6 พื้นที่ 8 จังหวัด เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกอบด้วย สตูล ระยอง ศรีสะเกษ กาญจนบุรี เชียงใหม่ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส รวม 539 โรงเรียน และมีผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา อาทิ นราธิวาส มีการพัฒนาหลักสูตรอิสลามศึกษาเพื่อจัดการศึกษาบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม และลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการศึกษา, สตูล มีการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมโครงงานบนฐานวิจัย 14 ขั้นตอน ช่วยให้เด็กมีความสามารถด้านการคิด การสื่อสาร และนำความรู้ไปถ่ายทอดต่อ ให้ชุมชนได้ และ ระยอง มีการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัย (Rayong Inclusive Learning Academy : RILA) เพื่อเป็นกลไกการบริหารจัดการเพื่อการขับเคลื่อนระบบนิเวศการเรียนรู้ของจังหวัด

ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำร่อง จำนวน 6 พื้นที่ ใน 6 ภูมิภาค ได้แก่ พื้นที่ จังหวัดสตูล จังหวัดระยอง จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดชายแดนภาคใต้

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำร่องเป็นพื้นที่พิเศษด้านการศึกษา ที่เอื้อให้คนในพื้นที่ทุกภาคส่วนรวมพลังร่วมจัดการศึกษา สร้างนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ตอบโจทย์คุณภาพการศึกษาของผู้เรียนและพื้นที่ เป็นพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน และสร้างองค์ความรู้เพื่อการขยายผลสู่การเปลี่ยนแปลงการศึกษาชาติ

ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำร่อง จำนวน 6 พื้นที่ ใน 6 ภูมิภาค ได้แก่ พื้นที่ จังหวัดสตูล จังหวัดระยอง จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดชายแดนภาคใต้

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 19 จังหวัด มติ ครม.เพิ่ม 11 จังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 8 จังหวัดโดยrachasit-พฤศจิกายน 30, 2022578Facebook (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); TwitterPinterestLINEพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 19 จังหวัด มติ ครม.เพิ่ม 11 จังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 8 จังหวัด

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 19 จังหวัด มติ ครม.เพิ่ม 11 จังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 8 จังหวัด ครม.ได้มีมติประกาศกำหนด 11 จังหวัดให้เป็นพื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษา เพิ่มเติม ดังนี้ จังหวัดสุโขทัย แม่ฮ่องสอน กระบี่ ตราด สระแก้ว กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และอุบลราชธานี ซึ่งเป็นการประกาศเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่มี 8 จังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ ศรีสะเกษ เชียงใหม่ ระยอง กาญจนบุรี นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสตูล

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัด
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัด
พื้นที่ นวัตกรรมการศึกษา 19 จังหวัด มติ ครม.เพิ่ม 11 จังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 8 จังหวัด

พื้นที่ นวัตกรรมการศึกษา คืออะไร คลิกที่นี่

พื้นที่ นวัตกรรมการศึกษา ตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เกิดจาก 2 แนวคิดหลัก คือ 1. Bottom-Up Solution แนวคิดการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการลองผิดลองถูกของผู้ปฏิบัติในพื้นที่ต่างๆ และ 2.Sandbox (กระบะทราย) แนวคิดการสร้างพื้นที่ที่มีปัจจัยเกื้อหนุนให้ผู้ปฏิบัติสามารถทำการทดลองเพื่อสร้างนวัตกรรมได้ ดังนั้น พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จึงเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องกล้าทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ แก้ปัญหาด้วยแนวคิดใหม่ หากล้มเหลว ไม่ประสบผลสำเร็จก็ลุกขึ้นมาปรับปรุงทดลองพัฒนาใหม่ จนกว่าจะได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดี ซึ่งทั้ง 11 จังหวัดดังกล่าวก็ได้ดำเนินการเสนอความพร้อมและคำขอจัดตั้งตามกระบวนการและผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแล้วว่า มีความพร้อมที่จะใช้แนวคิด Sandbox ในการนำร่องยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่

มติประกาศกำหนด 11 จังหวัดให้เป็นพื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษา เพิ่มเติม คลิกที่นี่

ปัจจุบันมีสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 8 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 541 โรงเรียน แยกเป็น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 444 โรงเรียน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) 45 โรงเรียน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 52 โรงเรียน โดยตั้งอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ 163 โรงเรียน เชียงใหม่ 104 โรงเรียน ระยอง 82 โรงเรียน กาญจนบุรี 60 โรงเรียน นราธิวาส 53 โรงเรียน ปัตตานี 32 โรงเรียน ยะลา 30 โรงเรียน และสตูล 17 โรงเรียน

ขอบคุณเนื้อหาจาก ศธ.360 องศา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ก.ค.ศ. ประชุมหารือเตรียมทดลองใช้ระบบประเมินวิทยฐานะใหม่ (PA) ในโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 177 โรงเรียน

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มีกี่จังหวัด

กระทรวงศึกษาธิการ – เปิดเผยเหตุผลที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา* เพิ่มเติม 11 จังหวัด และเมื่อรวมกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในปัจจุบันที่มีการจัดตั้งแล้ว 8 จังหวัด (ศรีสะเกษ เชียงใหม่ ระยอง กาญจนบุรี นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสตูล) ส่งผลให้ปัจจุบันมี ...

โรงเรียนนวัตกรรม มีที่ไหนบ้าง

รายชื่อสถานศึกษาในโครงการฯ.
1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ... .
2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ... .
3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ... .
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ... .
5. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ... .
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ... .
7. มหาวิทยาลัยบูรพา ... .
8. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อดำเนินการให้มีการขยายผลไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่น (๒) ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษาหมายถึงอะไร

นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่ง ...