โรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เชียงใหม่

วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ดร.ยุพิน บัวคอม ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการนำรูปแบบ/แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา สู่สถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย ตามโครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ณ โรงแรมวินทรีซิตี้ รีสอร์ท อำเภอเมืองเชียงใหม่

โรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เชียงใหม่

ซึ่งในการดำเนินการได้มีการคัดเลือกสถานศึกษา ที่เป็นโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมโครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 9 โรงเรียน ประกอบด้วย 1. โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ สพม.เชียงใหม่ 2. โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม สพม.เชียงใหม่ 3. โรงเรียนพร้าวบูรพา สพป.เชียงใหม่ เขต 2 4. โรงเรียนบ้านสะลวงนอก สพป.เชียงใหม่ เขต 2 5. โรงเรียนบ้านต้นรุง สพป.เชียงใหม่ เขต 2 6. โรงเรียนบ้านยางครก สพป.เชียงใหม่ เขต 5 7. โรงเรียนบ้านทุ่งแก สพป.เชียงใหม่ เขต 6 8. โรงเรียนบ้านนากลาง สพป.เชียงใหม่ เขต 6 และ 9. โรงเรียนบ้านนากลาง สาขาห้วยผักกูด สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ซึ่งโรงเรียนทั้ง 9 โรงเรียน ในการประชุมครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากร รศ.ดร.สมบัติ ท้ายเรือคำ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เชียงใหม่

อีกทั้งได้มีพิธีมอบโล่และเกียรติบัตรรางวัลสถานศึกษา ที่มีนวัตกรรมการปฏิบัติที่ดี (Best of the best Innovation Education Chiangmai) โครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานศึกษาธิการภาค 15 และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งขับเคลื่อนโรงเรียนเอกชนนำร่อง 11 แห่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่สู่การเป็นต้นแบบโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา และเพื่อพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการสู่การเสริมสร้างและพัฒนาสมรรถนะครูในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณาจารย์ ได้รับมอบหมายจากศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ให้ลงพื้นที่โรงเรียนเอกชน 11 แห่งเพื่อดำเนินโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับการประกาศให้เป็นหนึ่งในพื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษาตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 มี???สถานศึกษาโรงเรียนเอกชนนำร่องทั้ง 11 แห่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 1) โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย 2) โรงเรียนดาราวิทยาลัย 3) โรงเรียนสวนเด็กสันกำแพง 4) โรงเรียนอนุบาลร่มแก้ว 5) โรงเรียนเอื้อ????วิทยา 6) โรงเรียนพิมานเด็กเชียงใหม่ 7) โรงเรียนสหวิทย์พิมานเชียงใหม่ 8) โรงเรียนบ้านปลาดาว 9) โรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน 10) โรงเรียนรัตนาเอื้อวิทยา และ11) โรงเรียนอนุบาลสุมาลี ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว

ในการนี้ทางคณะผู้ดำเนินโครงการได้นำแนวคิด การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community- Based Learning) โดยใช้คุณลักษณะของผู้เรียนมาบูรณาการร่วมกับปรากฎการณ์ทางสังคม ภาพอนาคต และอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ในการพัฒนา ซึ่งคณะผู้ดำเนินโครงการได้ร่วมมือกับโรงเรียนในโครงการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่บุคลากรครู รวมทั้งเข้าไปเสริมพลัง (Empowerment) ให้โรงเรียนได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งร่วมเป็นโค้ชและพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งถอดบทเรียนโดยการสะท้อนคิด (Reflection) ด้วยการจุดประกายความคิดเกี่ยวกับบทบาทของโรงเรียน เพื่อให้ทางโรงเรียนสามารถนำแนวคิดไปวางแผนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของตนเองได้ในอนาคตอย่างยั่งยืน

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข กล่าวว่าตั้งแต่ปี 2557 จังหวัดเชียงใหม่ได้มีความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาโดยคนเชียงใหม่และยึดพื้นที่เชียงใหม่เป็นตัวตั้งเพื่อประโยชน์สูงสุดของคนเชียงใหม่ ในรูปแบบการรวมกลุ่ม “ภาคีเชียงใหม่เพื่อการปฏิรูปการศึกษา” โดยทำให้รัฐบาลเห็นว่าระบบการศึกษาในทุกวันนี้ไม่สามารถใช้ได้กับทุกพื้นที่ เพราะแต่ละพื้นที่มีบริบทและความต้องการที่แตกต่างกันไป เช่น คนในชนบทไม่ได้ต้องการให้ลูกหลานเรียนเก่งมาก แต่ขอเพียงแค่มีทักษะชีวิตที่จะสามารถทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ก็เพียงพอแล้ว ส่งผลให้เกิดข้อเรียกร้องข้อหนึ่งตามมาก็คือ เรื่องการขออิสระในการกระจายอํานาจการบริหารและจัดการศึกษา นั่นคือที่มาของ “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” ที่ถูกนำไปใช้ใน 8 จังหวัดนำร่องคือ จังหวัดเชียงใหม่ กาญจนบุรี ศรีสะเกษ ระยอง สตูล ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส เพื่อก้าวสู่เป้าหมายที่ท้าทายของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาต่อไป

กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศให้ 6 พื้นที่  8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง ศรีสะเกษ สตูลกาญจนบุรี เชียงใหม่ และจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา) เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ต่อมาได้มีประกาศให้จังหวัดชายแดนภาคใต้แยกจังหวัดแต่ละจังหวัดเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทำให้ ณ ปัจจุบัน พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ กาญจนบุรี ศรีสะเกษ ระยอง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดย พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 มีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ต้องพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาคนไทย