ความ แตก ต่าง ระหว่าง ภาษา ใน ข่าว กับ ภาษา ใน โฆษณา

ความ แตก ต่าง ระหว่าง ภาษา ใน ข่าว กับ ภาษา ใน โฆษณา

หลายๆคน มักจะสับสนว่า public relations (PR) กับ Advertising (AD) มันมีความคล้ายหรือเหมือนกันยังไงนะ? เพราะจริงๆแล้วถ้าเราเห็นโดยทั่วไป มักแยกไม่ค่อยออกกัน ซึ่งในความเป็นจริง 2 สิ่งนี้มีความต่างที่ซ่อนอยู่ วันนี้แอดมินจะมาทำให้ทุกคนไขข้อสงสัยกันค่ะ
public relations (PR) คือ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เพื่อก่อให้เกิดการรับรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยมีความเชื่อมโยงกับงานบริหารองค์กร

Advertising (AD) คือ กิจกรรมสื่อสารมวลชนที่ผู้ซื้อโฆษณาจ่ายเงินไป เพื่อหวังผลในการจูงใจ ให้ผู้รับสารแสดงพฤติกรรมเชิงบวกต่อธุรกิจ

ความแตกต่างของ 2 อย่างนี้มีอะไรบ้างล่ะ?

1. วัตถุประสงค์

การโฆษณา กระทำโดยผู้ขายสินค้า เพื่อที่จะประกาศให้ประชาชนรับรู้เรื่องราวและรายละเอียดต่างๆของเขาว่าขายอะไร มีคุณภาพ ประโยชน์ อย่างไร

ตัวอย่างเช่น อาจจะเป็นการใช้วิธีการชักจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า ผู้ขายมีผลกำไรให้ได้มากที่สุด

การประชาสัมพันธ์ มุ่งถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในระยะยาวและมีวัตถุประสงค์คือ ต้องการเปลี่ยนแปลงท่าที ความคิดเห็น ทัศนคติและพฤติกรรม

ตัวอย่างเช่น เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการยอมรับ ศรัทธา และสนับสนุนในตัวขององค์กร

2. วิธีการ

การโฆษณา ต้องใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจูงใจและดึงดูดความสนใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า

ตัวอย่างเช่น เป็นวิธีการเลือกข่าวสารและเลือกสื่อที่จะต้องใช้เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มเป้าหมาย

การประชาสัมพันธ์ ใช้วิธีการที่จะให้ข่าวสารคลอบคลุมประชาชนโดยทั่วไป

ตัวอย่างเช่น เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารแบบที่ไม่เฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย คือใครก็ได้ที่ต้องการจะรับรู้ข้อมูลข่าวสารขององค์กร

3. เทคนิคที่ใช้

การโฆษณา ใช้เทคนิคการโจมตีตรงหน้าและเป็นการสื่อสารทางเดียวให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ

ตัวอย่างเช่น เป็นการให้ข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา เพื่อต้องการขายสินค้ากับลูกค้า

การประชาสัมพันธ์ ใช้เทคนิคทางอ้อมเพื่อปลูกฝังให้ประชาชนค่อยๆรู้จักและกล่าวขวัญถึงองค์กรหรือสถาบันในแง่ที่ดี

ตัวอย่างเช่น จะเป็นการให้ข้อมูลล่าวสารในเชิงต่าง ๆ ที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการซึมซับข้อมูลข่าวสารขององค์กรโดยองค์กรจะดำเนินการในระยะยาวเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความจดจำในตัวขององค์กร

4. งบประมาณ

การโฆษณา มีค่าใช้จ่ายสูงมากทั้งในแง่การผลิตงานโฆษณาและการใช้สื่อ สื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

ตัวอย่างเช่น เป็นการใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเพื่อที่ของสื่อต่าง ๆ เพื่อนำมาโฆษณา อาจมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของการจัดจ้างบริษัทรับจัดทำโฆษณา  ค่าใช้จ่ายในเกี่ยวกับพรีเซ็นเตอร์ และทีมงาน

การประชาสัมพันธ์ มักจะใช้ค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า เพราะส่วนใหญ่มักเป็นการขอความอนุเคราะห์ และงานประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่ใช้วิธีการพูด เขียน และการพบปะกันเป็นส่วนตัว

ตัวอย่างเช่น เป็นการขอความอนุเคราะห์จากสื่อมวลชนเพื่อที่จะนำข้อมูลข่าวสารขององค์กรลงในสื่อต่าง ๆ อาจเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับสื่อมวลชน

สรุปแล้วการประชาสัมพันธ์ จะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร เน้นความเป็นจริง และไม่คาดหวังผลตอบแทนจากการPR ส่วนการโฆษณา เน้นการสร้างภาพจดจำ ขายสินค้า โดยใช้เครื่องมือทางการตลาด เพื่อทำให้เกิดอยากซื้ออยากขายนั้นเอง..

✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨

เทเลคอม เอ็กซ์เพิร์ท แมเนจเม้นท์

“ที่หนึ่งเรื่องไอทีเทคโนโลยี.. ให้คุณก้าวล้ำไปกับเรา..”

✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨

———————–

ติดต่อสอบถามได้ที่ : For more information

☎️ : 02-0989566

🌍 : www.tem.co.th

📨 : [email protected]

#WEBSITE #APPLICATION #Software #MAINTENANCE

#MARKETING #SocialMedia #ITSolutions #ITconsultant

#smarthome #smartcity #โควิด19 #ลดความเสี่ยงโควิด19

#TEMCOTH #PR #AD #โฆษณา #ประชาสัมพันธ์

การใช้ภาษาในการโฆษณา
การโฆษณา มีความจำเป็นต้องใช้ภาษาที่ดึงดูดความสนใจของคนอ่านคนฟัง นักโฆษณาจึงมักคิดค้นถ้อยคำ สำนวนภาษาแปลก ๆ ใหม่ ๆ นำมาโฆษณาอยู่เสมอ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนซื้อ ในขณะเดียวกันการโฆษณาต้องใช้ภาษาที่ง่าย ๆ กะทัดรัด ได้ใจความชัดเจนดี น่าสนใจ ให้ทันเหตุการณ์ รวดเร็ว มีเสียงสัมผัสคล้องจอง จดจำได้ง่ายด้วย จึงมีถ้อยคำเกิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ
                วิเศษ  ชาญประโคน (2550, หน้า 48-50)  กล่าวถึงภาษาโฆษณาไว้สรุปได้ดังนี้ ภาษาโฆษณาเป็นภาษาที่มุ่งโน้มน้าวจิตใจให้ผู้รับสารเปลี่ยนความคิด  และเกิดการกระทำตาม  ลักษณะของภาษาจึงมีสีสัน เน้นอารมณ์ด้วยการใช้ภาษาต่างระดับในข้อความเดียวกัน  ส่วนมากเป็นภาษาทางการกับกึ่งทางการ  ภาษาโฆษณามีลักษณะดังนี้
           1. เรียกร้องความสนใจ คือเลือกใช้ภาษาที่ง่าย สุภาพ กระตุ้นความรู้สึกของลูกค้า
           2. ให้ความกระจ่างแก่ลูกค้า  เป็นการใช้ภาษาที่ง่ายชัดเจนในการกล่าวถึงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ
           3. ให้ความมั่นใจ เป็นการอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ
          4. ยั่วยุให้เกิดการตัดสินใจ เป็นการใช้ถ้อยคำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการโดยเร็วที่สุด

นอกจากนี้  สุภาวดี  สุประดิษฐ์อาภรณ์ (2550, หน้า 17)  กล่าวถึง  การใช้ภาษาโฆษณาสรุปได้ดังนี้
          1. มีการใช้ประโยคที่สั้น กะทัดรัด  ไม่ยาวหรือสั้นจนเกินไป ไม่ใช้คำพูดหรือข้อความ ฟุ่มเฟือยไม่จำเป็นแต่อ่านแล้วสามารถที่จะจับใจความ ได้ทันที
          2. มีความชัดเจน  ไม่กำกวมในข้อความโฆษณา คือใช้คำพูดที่ผู้รับสารอ่านหรือได้ยินแล้ว ปราศจากข้อสงสัย เพื่อที่จะสามารถตอบคำถามที่คาดว่าผู้รับสารต้องการที่จะทราบได้หลีกเลี่ยงการใช้คำพูด สำนวนโวหาร หรือข้อความ ที่กำกวมทำให้ตีความได้หลายทาง หรือสามารถที่จะตีความได้หลายทาง หรือสามารถที่จะ ตีความได้หลายความหมาย
         3. ใช้ภาษาที่อ่าน หรือฟัง เข้าใจง่ายกับการบรรยายถึงสรรพคุณสินค้า  อาจมีการใช้ สำนวนภาษาที่แตกต่างจากโครงสร้างในภาษาไทย กล่าวคือไม่ยึดติดกับหลักภาษาไทย มากจนเกินไปเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันใน อายุ อาชีพ และเพศ  แต่ต้องคำนึงถึงว่าจะทำให้เกิดผลให้ผู้อ่านเข้าใจผิดหรือเกิดผลในทางลบได้ อย่ามุ่งแต่จะใช้ความแปลกใหม่ แต่เพียงอย่างเดียว ภาษาที่ใช้กันทั่วไปเป็นสิ่งที่ดีถ้านำมาใช้อย่างเหมาะสม เนื่องจากเป็นสิ่งที่คุ้นเคย กันเป็นอย่างดี แต่ต้องระวังไม่ให้ผู้รับสารรู้สึกว่าเป็นภาษาที่หยาบคาย

สันทนี  บุญโนทก, รักษ์ศิริ  ชุณหพันธรักษ์ และสิริมา  เชียงเชาว์ไว (ม.ป.ป., หน้า 100-101)  กล่าวถึงหลักการเขียนข้อความโฆษณา  ไว้ดังนี้
        1. ต้องทำให้ผู้รับสารเกิดความสะดุดตา  สะดุดใจ (attention) โดยอาจใช้คำพูด  ถ้อยคำให้ผลกระทบในทันที  ทำให้อยากจะฟังหรืออ่านข้อความต่อไป
        2. เพื่อกระตุ้นความสนใจให้เกิดแก่ผู้รับสาร (interest) การทำงานโฆษณาจะต้องทำให ้ผู้รับสารเกิดความสนใจในสารทันที
        3. เพื่อสร้างความปรารถนาให้เกิดขึ้นแก่ผู้รับสาร (desire) งานโฆษณาที่ดีต้องสามารถสร้างความรู้สึก ให้ผู้รับสารเกิดความต้องการที่จะใช้ผลิตภัณฑ์  เกิดความต้องการในการบริโภค
        4. เพื่อให้เกิดการปฏิบัติ (action) งานโฆษณาต้องสามารถโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารมีความรู้สึกคล้อยตาม  จนเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า

ข้อควรคำนึงในการใช้ภาษาเพื่อการโฆษณา มีดังนี้
1. ใช้ภาษาสามัญ ง่าย ๆ สุภาพเข้าใจง่าย  สละสลวยหนุ่มนวล  ชวนสนใจ
2. ใช้ถ้อยคำภาษาที่ตรงความหมายที่ต้องการ สอดคล้องกับวัฒนธรรมของการใช้ภาษา
3. ใช้ถ้อยคำ ภาษาที่ถูกต้อง เหมาะสม ไม่ใช้ภาษาแสลง วิบัติ หรือคำต่ำกว่ามาตรฐาน
4. ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามแบบแผน ไม่ใช้ถ้อยคำที่ตัด หรือย่อที่รู้กันเฉพาะกลุ่ม
5. ไม่ใช้คำที่มีความหมายกำกวม เข้าใจได้สองแง่สองมุม  คำผวน  คำภาษาตลาด
6. ไม่ใช้คำวิชาการหรือศัพท์เทคนิคเกินความจำเป็น
7. ควรใช้คำที่เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล  ไม่ส่อเสียด  ไม่ทับถมผู้อื่น
9. ไม่ใช้ภาษาโลดโผนและโฆษณาเกินความจริง เป็นการดูถูกสติปัญญาผู้รับสาร