งานบอลจุฬา ธรรมศาสตร์ จัดช่วงไหน

"จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์" เห็นพ้องเลื่อนงานบอลประเพณีเหตุโควิด-19 ระบาด ยันจัดงานครั้งต่อไปให้คงอัญเชิญ "พระเกี้ยว" สืบสานประเพณีอันดีงาม "ชัยวุฒิ" โวย อบจ.ไม่มีอำนาจตัดสินแทนคนอื่น "หมอวรงค์" ห่วงเด็กตกเป็นเครื่องมือพวกหวังด้อยค่าสถาบัน

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศเรื่อง แนวทางการจัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ม.ธรรมศาสตร์ โดยระบุว่า "จากที่ได้จัดงานประเพณีฟุตบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ สืบเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ และหลอมรวมความสมัครสมานสามัคคีระหว่างนิสิตเก่า ศิษย์เก่า และนิสิต นักศึกษา ทั้งสองสถาบัน และร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับสังคมไทย ในการจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 นี้ สมาคมธรรมศาสตร์ในฐานะเจ้าภาพได้มีหนังสือแจ้งลงวันที่ 30 ก.ย.64 แจ้งขอเลื่อนกำหนดการแข่งขันฟุตบอลฯ ออกไปก่อน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ ซึ่งสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ก็เห็นพ้องด้วยเพื่อร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม

การจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ในครั้งต่อๆ ไป สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ยังคงสืบสานให้มีการอัญเชิญพระเกี้ยว อันเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระปิยมหาราช และสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจ และความภาคภูมิใจในจุฬาฯ ของเหล่านิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันทั้งมวล" แถลงการณ์ระบุ

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นนิสิตเก่า องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) เป็นเพียงผู้ประสานงาน ไม่มีอำนาจตัดสินใจอะไรแทนคนทั้งมหาวิทยาลัย กิจกรรมทั้งหมดเป็นเรื่องของนิสิตและศิษย์เก่าที่มาช่วยกัน อย่าไปมองว่าเป็นเรื่องของคณะกรรมการ อบจ.ที่มีอยู่ประมาณ 20 คน มาเป็นคนตัดสินให้ใครทำนั่นทำนี่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีวัฒนธรรม มีศักดิ์ศรี​ ความภาคภูมิใจ และมีศิษย์เก่ามากมาย ดังนั้น​การจะทำอะไรก็ขอให้คิดถึงเรื่องในอดีตและคิดถึงคนอื่นเขาด้วย

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อเรื่อง "ความเท่าเทียมไม่มีจริง" ว่า "กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว สนับสนุนและสะท้อนถึงระบอบอำนาจนิยม รวมถึงค้ำยันความเชื่อว่าคนไม่เท่ากัน ข้อความดังกล่าวของแถลงการณ์ที่นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ เผยแพร่ออกมา ไม่ใช่สะเทือนความรู้สึกของชาวจุฬาฯ เท่านั้น แต่สะเทือนความรู้สึกของคนไทยทั้งประเทศด้วย เพราะจุฬาฯ เป็นของประชาชน ไม่ใช่ของเขา ไม่เพียงแต่เขากำลังทำลายรากทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ที่คนไทยร่วมภูมิใจกับชาวจุฬาฯ แต่ลึกๆ แล้ว เขาต้องการด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างคำที่สวยหรูคือความเท่าเทียม

อยากจะบอกน้องๆ กลุ่มนี้ว่า ความเท่าเทียมไม่มีจริง ไม่ว่าประเทศไหนในโลก เป็นเพียงวาทกรรมไว้ปลุกระดม หลอกคนที่ไม่มีวุฒิภาวะ ไม่มีประสบการณ์ชีวิต เป็นเหยื่อให้เขาหลอกใช้ เพื่อให้เขาได้อำนาจ ไม่เชื่อไปดูที่บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ก็ได้ว่า คนที่นั่นเท่าเทียมกันไหม ในฐานะที่ผมก็เคยเป็นนายกสโมสรนักศึกษาเคยถูกปั่นมาแล้ว ขอแนะนำน้องๆ ว่า ถ้าคิดว่าคิดผิด ควรที่จะปรับปรุงตนเอง ตั้งใจเรียนให้จบ หางานทำ เพื่อสร้างชีวิตที่ดี เมื่อเหมาะสมให้มาเป็นนักการเมือง อย่าเข้ามาโกง แค่นี้ประชาชนก็จะสรรเสริญ ไม่ใช่เรียนเท่าไรก็ไม่ยอมจบ อยู่เพื่อถูกเป็นเครื่องมือ ให้เขาหลอกใช้ ด้วยวาทกรรมหลอกเด็ก สุดท้ายก็ติดคุกหลายคน ส่วนคนที่หลอกเด็กก็ยังสุขสบาย" นพ.วรงค์ระบุ

ม.จ.จุลเจิม ยุคล หรือท่านใหม่ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก พร้อมโฉนดที่ดินระบุว่า "มิใช่เป็นการทวงบุญคุณ น้ำพระทัยอันประเสริฐยิ่งและเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลของปวงชนชาวไทยและนิสิตจุฬาฯ ตั้งแต่รุ่น 1 ลงมาจนปัจจุบัน ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลเกินกว่าใครๆ ในหล้า พระราชทานที่ดิน 700 ไร่ให้เป็น 'สถานศึกษา' ระดับอุดมศึกษาแห่งแรกอายุครบร้อยปีแล้ว และเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากลและที่แห่งนั้น คือ 'จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย'

และใครได้ประโยชน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมิใช่หรือ และจุฬาฯ คืนอะไรๆ ให้แก่สังคมมากน้อยแค่ไหน นอกจาก 'สอนหนังสือให้ความรู้' อยากรู้จริงๆ มาวันนี้ 'ผู้บริหารจุฬาฯ' ควรต้องทำหน้าที่ปกป้อง 'ชาติบ้านเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์' อย่างเป็นรูปธรรมให้คนไทยทั้งชาติด้วยนะครับ".

“งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์” กิจกรรมและวัฒนธรรมระหว่างสองมหาวิทยาลัยที่ได้ร่วมกันสืบสานมาอย่างเนิ่นนาน แต่จากแถลงการณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ยกเลิกกิจกรรมขบวน “อัญเชิญพระเกี้ยว” ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ เนื่องจากกิจกรรมขัดต่อหลักความเท่าเทียม และยังเป็นการใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้องในการบังคับให้นิสิตทั่วไปมาแบกเสลี่ยง จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เรื่อง “พระเกี้ยว” ทั้งศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน จนล่าสุด เพจ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำแบบสำรวจ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ควรมีต่อหรือพอแค่นี้? เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ "อนาคตงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์" ที่ https://bit.ly/3nwEQtZ

ประวัติ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หรือ งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯเป็นการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น 2 มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของประเทศไทย เริ่มจัดกิจกรรมครั้งแรกในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 แต่ละมหาวิทยาลัยจะสลับกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันทุกปี ชื่อของมหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าภาพจะได้รับเกียรติให้ขึ้นต้นชื่องานฟุตบอลประเพณีในปีนั้น สถานที่จัดการแข่งขันจะไม่สลับตามเจ้าภาพ แต่จะจัดงานที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี กองเชียร์ของมหาวิทยาลัยเจ้าภาพจะใช้อัฒจันทร์ฝั่งทิศเหนือ อีกฝ่ายจะใช้อัฒจันทร์ฝั่งทิศใต้

กิจกรรมภายในงานอาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การแข่งขันฟุตบอล และกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างนิสิตจุฬาฯ กับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น การเดินพาเหรด การเชียร์ การแปรอักษร ขบวนพาเหรดล้อการเมืองและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์

ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว และตราธรรมจักร

ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว และตราธรรมจักร เป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยทั้งสองสถาบัน จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ซึ่งในแต่ละปีแต่ละสถาบันจะจัดขบวนอัญเชิญในงานฟุตบอลประเพณี การอัญเชิญตราสัญลักษณ์เข้ามาในสนามแข่งขัน “งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์” เป็นการเปิดงาน โดยทางจุฬาฯ จะอัญเชิญตราพระเกี้ยว ทางธรรมศาสตร์จะมีตราธรรมจักร 

ด้าน “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าหลวงทั้ง 2 พระองค์ ซึ่งเป็นผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัย เข้ามาในงาน และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่นักกีฬาและกองเชียร์งานฟุตบอล ดังประโยคของชาวจุฬาฯ ที่ว่า "สีชมพูจักอยู่ในกายเจ้า พระเกี้ยวเกล้าจักอยู่เป็นคู่ขวัญ" นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคน สามารถเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยวได้ เนื่องจากเป็นผู้ใช้พระเกี้ยวเป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันการศึกษา แต่ในงานฟุตบอลประเพณีฯ ไม่สามารถให้นิสิตจุฬาฯ ทุกคนขึ้นอัญเชิญพระเกี้ยวได้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องคัดเลือกนิสิตจุฬาฯ ที่มีความเหมาะสม

  • พระเกี้ยว คืออะไร? เปิดประวัติ “พระเกี้ยว” มีความสำคัญอย่างไรต่อ งานบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

ด้าน “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์” ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำในขบวนอัญเชิญธรรมจักร และดรัมเมเยอร์ ได้มาจากการคัดเลือกเช่นเดียวกับการอัญเชิญ “พระเกี้ยว” ของจุฬาฯ และเคยถูกยกเลิกการคัดเลือกไปเมื่อปี 2516 จนเป็นที่มาของคำขวัญว่า "ธรรมจักรเป็นของชาวธรรมศาสตร์ทุกคน ทุกคนจึงมีสิทธิในการอัญเชิญได้" ก่อนจะกลับมาคัดเลือกผู้นำในขบวนอัญเชิญธรรมจักรและดรัมเมเยอร์อีกครั้ง เพื่อทำหน้าที่ในการบำเพ็ญประโยชน์ ตลอดจนการรณรงค์และส่งเสริมให้นักศึกษาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมกันมากขึ้นกลับมา ในชื่อว่า "ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" จะพิจารณาถึงทั้งลักษณะ บุคลิก ความรู้ความสามารถ ทั้งในด้านการเรียน และในความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การมีจิตอาสา มีคุณธรรมและพร้อมที่จะช่วยเหลือแก่สังคม โดยเริ่มตั้งแต่ 2545 เป็นต้นมา 

งานเชียร์จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

ประธานเชียร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือฝั่งจุฬาจะเรียกว่า "ประธานเชียร์" นอกจากจะทำหน้าที่นำเชียร์ ควบคุมจังหวะการร้องเพลงเชียร์ของสแตนด์แล้ว ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของนิสิตจุฬา ในการประชาสัมพันธ์งานฟุตบอลประเพณีฯ และบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณะอีกด้วย

แม่ทัพเชียร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้นำเชียร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือฝั่งธรรมศาสตร์จะเรียกว่า "แม่ทัพเชียร์" เป็นตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสำหรับทำหน้านำกองเชียร์ร้องเพลง ส่งเสียงเชียร์ ปโดยทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีแนวคิดและต้นแบบแรงบันดาลใจจาก ผู้ควบคุมวงดนตรีหรือวาทยากร ที่ทำหน้าที่นำการเล่นดนตรีวงใหญ่หรือการร้องประสานเสียง ผู้นำเชียร์นั้นนอกจากจะมีท่วงท่าสง่างาม ยังมีรหัสสัญญาณมือที่สื่อความหมายสามารถประยุกต์ใช้กับการร้องเพลงเป็นหมู่คณะของกองเชียร์

เพลงประจำการแข่งขัน

  • เพลงพระราชนิพนธ์ของทั้งสองมหาวิทยาลัย
  • เพลงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง
  • เพลงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ เพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์
  • เพลงจามจุรีประดับโดมในดวงใจ เป็นการนำเพลงของทั้งสองมหาวิทยาลัยมาร่วมกันคือเพลงจามจุรีประดับใจ และเพลงโดมในดวงใจ
  • เพลงชั่วดินฟ้า เป็นเพลงของจุฬา และธรรมศาสตร์บอกถึงความรักความสามัคคีของทั้งสองสถาบันนี้
  • เพลงธรรมศาสตร์-จุฬา สามัคคี แต่งโดยจิตร ภูมิศักดิ์
  • เพลงธรรมศาสตร์-จุฬา ภาราดรณ์ ไม่ปรากฏผู้แต่ง


ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย , หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

งานบอลจุฬา ธรรมศาสตร์ จัดวันไหน

4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 (ธรรมศาสตร์) จัดขึ้นทุก 1 ปี

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ

ส่วนขบวนพาเหรดนั้นมีขึ้นอย่างจริงจังในงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๕ ปีพ.ศ. ๒๔๘๑ เมื่อย้ายมาจัด ณ สนามศุภชลาศัย ซึ่งเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ มีพื้นที่กว่างขวางโดยขบวนพาเหรดสมัยก่อนจะมีความยาวมากประกอบด้วยดรัมเมเยอร์ วงดุริยางค์ ขบวนนิสิตนักศึกษา รวมทั้งขบวนล้อการเมือง ต่อมาได้มีการลดขบวนลงเพื่อประหยัดค่าใช้ ...

ผู้ อัญเชิญ พระ เกี้ยว มี ใคร บ้าง

#แต้ว ณฐพร #นุสบา ปุณณกันต์ #ปันปัน เต็มฟ้า #ฟาง ธนันต์ธรญ์ นีระสงิห์

ทูตกิจกรรม คือ อะไร

ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือตัวแทนนักศึกษาในการบำเพ็ญประโยชน์ทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยค่ะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เราทำกันตลอดมา ทั้งลุย ทั้งจิตอาสา แต่ในช่วงของงานฟุตบอลประเพณีที่ธรรมศาสตร์และจุฬาฯ สลับกันเป็นเจ้าภาพ เอินและเพื่อนๆ ก็จะมีหน้าที่ในส่วนพิธีการด้วย มีทั้งด้านผู้อัญเชิญ นำขบวน ...