นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

       นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเป็นไทย ที่มีมาตั้งแต่ช้านาน และได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสาน และนำมาปรับปรุงเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย  การแสดงนาฏศิลป์ไทยเป็นการแสดงที่มีความวิจิตรงดงาม ทั้งเสื้อผ้าการแต่งกายลีลาท่ารำดนตรีประกอบและบทร้อง นอกจากนี้การแสดงนาฏศิลป์ไทยยังเกิดจากการละเล่นพื้นบ้าน วิถีชีวิตของชาวไทยในแต่ละภูมิภาค
      นาฏศิลป์ไทย มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติไทย นักเรียนนาฏศิลป์ทุกคนต้องอดทน และต้องมีความพยายามในการฝึกซ้อมเพราะตัวละครในการแสดงนาฏศิลป์ไทยประเภทโขนนั้น มีต่างชนิดกัน จึงต้องอาศัยทักษะ การฝึกฝนเพื่อความชำนาญไว้ใช้ในการแสดงและเพื่อที่จะได้รักษาศิลปะประจำชาติไทย
ปัจจุบันได้มีวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้เด็กสมัยใหม่นี้อาจจะไม่ค่อยรู้จักการแสดงนาฏศิลป์ อย่างโขน ละครรำ เป็นต้น ดังนั้นกระทู้นี้จึงมุ่งให้ผู้คนรู้ถึง ความรู้เบื้องต้นของนาฏศิลป์ไทย เพื่อให้คนรุ่นหลังได้สืบทอด ได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของนาฏศิลป์ไทยและรักษาให้คงอยู่ต่อไป

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ คือ การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม  โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ

นาฏศิลป์ของไทย  แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ๆ  4 ประเภท คือ

1.โขน

โขนเป็นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยืนเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่างๆ

1.1 ประเภทของโขน
1.1.1 โขนกลางแปลง คือ การแสดงโขนบนพื้นดิน ไม่มีการสร้างโรง ผู้แสดงเล่นกลางสนาม คล้ายเช่นชักนาค ดึกดำบรรพ์ที่บันทึกไว้ในกฎมณเฑียรบาล การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์เป็นการเล่นตำนานกวนเกษียรสมุทรของพราหมณ์ เล่นในพิธีอินทราภิเษก โขนกลางแปลงส่วนใหญ่เล่นเกี่ยวกับการยกทัพ และการรบระหว่างฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฐ์ ดนตรีที่ใช้ประกอบเป็นวงปี่พาทย์อย่างน้อย 2 วง บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ บทที่เล่นส่วนมาก มีแค่คำพากย์และบทเจรจา

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

1.1.2 โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว คือ การแสดงโชนที่แสดงบนโรงมีหลังคา มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงสำหรับให้ตัวละครนั่งแทนเตียงซึ่งเพิ่งมีภายหลัง ตัวละครที่จะนั่งราวได้จะต้องเป็นตัวสูงศักดิ์ เช่น พระราม พระลักษณ์ สุครีพ ทศกัณฐ์ ตัวละครฝ่ายหญิง จะมีเตียงให้นั่งต่างหาก ดนตรีประกอบเหมือนโขนกลางแปลง และมีเพียงคำพากย์และบทเจรจาเช่นเดียวกัน

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

1.1.3 โขนหน้าจอ มีการปล่อยตัวโขนออกมาเล่นสลับกับการเชิดหนังใหญ่ เรียกกันว่า “หนังติดหัวโขน” ต่อมาเมื่อคนไม่นิยมดูหนังใหญ่จะดูโขนมากกว่าจังปล่อยโขนออกมาเล่นหน้าจอหนังตั้งแต่เย็นจนเลิกจอที่ขึงอยู่ยังคงขึงไว้เป็นพิธี

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

1.1.4 โขนโรงใน คือ โขนที่นำเอาศิลปะของละครในมาผสม มีการเต้น บทพากย์ บทเจรจา และเพลงหน้าพาทย์แบบโขนที่มีที่มาแต่เดิม แต่เพิ่มเพลงร้องและมีระบำรำฟ้อนแบบละครใน โขนโรงในเวลาแสดงจะมีเตียงให้ตัวละครนั่ง โดยวางอยู่ 2 ข้างหันหน้า

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

1.1.5 โขนฉาก เริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีผู้คิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขบทเวทีขึ้น มีการเปลี่ยนฉากตามท้องเรื่อง บทที่แสดงมีการปรับปรุงให้กระชับรวดเร็วทันใจ คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ วิธีแสดงเหมือนโขนโรงในทุกอย่าง มีการขับร้อง มีกระบวนการรำ มีท่าเต้น มีเพลงหน้าพาทย์ตามแบบละครในและโขนโรงใน ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อเรียกศิลปะการแสดงโขนชนิดนี้ว่า “โขนฉาก”

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

1.2 ตัวละครในการแสดงโขน

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

1.2.1 ตัวพระ การคัดเลือกตัวพระสำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่ลักษณะใบหน้ารูปไข่ สวยงาม คมคายเด่นสะดุดตา ท่าทางสะโอดสะองและผึ่งผาย ลำคอระหง ไหล่ลาดตรง ช่วงอกใหญ่ ขนาดลำตัวเรียว เอวเล็กกิ่วคอดตามลักษณะชายงามในวรรณคดีไทยเช่น พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ พระลอ สังคามาระตา ฯลฯ สวมพระมหามงกุฎหรือมงกุฎยอดชัย ห้อยดอกไม้เพชรด้านขวา สำหรับการแสดงโขนที่มีตัวละครเอกที่เป็นตัวพระ 2 ตัวหรือมากกว่านั้น และมีบทบาทในการแสดงสำคัญเท่า ๆ กัน แบ่งเป็นพระใหญ่หรือพระน้อย ซึ่งพระใหญ่ในการแสดงโขนหมายถึงพระเอก มีบุคลิกลักษณะเหนือกว่าพระน้อย เช่น ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ พระรามเป็นพระใหญ่ และพระลักษมณ์เป็นพระน้อย หรือตอนพระรามครองเมือง พระรามเป็นพระใหญ่ พระลักษมณ์ พระพรตและพระสัตรุตเป็นพระน้อย เป็นต้น

1.2.2 ตัวนาง การคัดเลือกตัวนางสำหรับการแสดง ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตัวละครที่เป็นตัวนางนั้นมีเป็นจำนวนมากเช่น เป็นมนุษย์ได้แก่ นางสีดา นางมณโฑ นางไกยเกษี นางเกาสุริยา เป็นเทพหรือนางอัปสรได้แก่ พระอุมา พระลักษมี เป็นกึ่งมนุษย์กึ่งสัตว์ได้แก่ นางสุพรรณมัจฉา นางกาลอัคคีนาคราช นางองนค์นาคี และเป็นยักษ์ซึ่งในที่นี้หมายถึงยักษ์ที่มีลักษณะรูปร่างเหมือนกับตัวนางทั่วไป ไม่ได้มีรูปร่างและใบหน้าเหมือนกับยักษ์ได้แก่ นางเบญจกาย นางตรีชฏา นางสุวรรณกันยุมา และยักษ์ที่มีลักษณะใบหน้าเหมือนยักษ์แต่สวมหัวโขนได้แก่ นางสำมะนักขา อากาศตะไล ฯลฯ ซึ่งตัวละครเหล่านั้นสามารถบ่งบอกชาติกำเนิดของตนเองได้ จากสัญลักษณ์ของการแต่งกายและเครื่องประดับ
สำหรับตัวนางนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ ตัวนางที่เป็นนางกษัตริย์และนางตลาด ซึ่งนางกษัตริย์จะคัดเลือกจากผู้ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับตัวพระ สวมมงกุฏ ห้อยดอกไม้เพชรด้านซ้าย กิริยามารยาทเรียบร้อย สุภาพ นุ่มนวลอ่อนหวานตามลักษณะหญิงงามในวรรณคดีเช่นกัน ยามแสดงอาการโศกเศร้าหรือยิ้มแย้มดีใจ ก็จะกรีดกรายนิ้วมือแต่เพียงพองาม ส่วนนางตลาดนั้นจะคัดเลือกจากผู้ที่มีท่าทางกระฉับกระเฉง คล่องแคล่วว่องไว มีจริต สามารถแสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

1.2.3 ตัวยักษ์ การคัดเลือกตัวยักษ์สำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายกับตัวพระ รูปร่างสูงใหญ่ วงเหลี่ยมของผู้แสดงเป็นตัวยักษ์ตลอดจนถึงการทรงตัวต้องดูแข็งแรง กิริยาท่าทางการเยื้องย่างแลดูสง่างาม โดยเฉพาะผู้แสดงเป็นทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นตัวละครสำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ จะฝึกหัดเป็นพิเศษเพราะถือกันว่าหัดยากกว่าตัวอื่น ๆ ต้องมีความแข็งแรงของช่วงขาเป็นอย่างมาก เนื่องจากในการแสดงจะต้องย่อเหลี่ยมรับการขึ้นลอยของตัวพระและตัวลิง ทศกัณฐ์เป็นตัวละครที่มีท่วงท่าลีลามากมายเช่น ยามโกรธเกรี้ยวจะกระทืบเท้าตึงตังเสียงดังโครมคราม หันหน้าหันหลังแสดงอารมณ์ด้วยกิริยาท่าทาง ยามสบายใจหรือดีใจ ก็จะนั่งกระดิกแขนกระดิกขา เป็นต้น

1.2.4 ตัวลิง การคัดเลือกตัวลิงสำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะท่าทางไม่สูงมากนัก กิริยาท่าทางคล่องแคล่วว่องไวตามแบบฉบับของลิง มีการดัดโครงสร้างของร่างกายให้อ่อน ซึ่งลีลาท่าทางของตัวลิงนั้นจะไม่อยู่นิ่งกับที่ ตีลังกาลุกลี้ลุกลนตามธรรมชาติของลิง สำหรับผู้ที่จะหัดเป็นตัวลิงนั้น ตามธรรมเนียมโบราณมักเป็นผู้ชาย โดยเริ่มหัดตั้งแต่อายุ 8-12 ขวบ เป็นต้น ในอดีตจะมีการฝึกเฉพาะเด็กผู้ชาย ปัจจุบันวิทยาลัยนาฏศิลป์ได้เริ่มให้มีการคัดเลือกเด็กผู้หญิง เข้ารับการฝึกเป็นตัวลิงแล้ว เรียกว่า “โขนผู้หญิง” ในการการฝึกตัวลิงให้สามารถแสดงเป็นตัวเอกได้ดีนั้น จะต้องใช้เวลา 10 ปีขึ้นไปเป็นอย่างน้อย
ในการฝึกท่าพื้นฐานในการหัดเป็นตัวลิง ผู้แสดงจะต้องฝึกความแข็งแกร่งและความอดทนของร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเริ่มหัดเทคนิคกระบวนท่าพื้นฐานธรรมดาเป็นระยะเวลา 2 ปี และเริ่มพัฒนาในการฝึกเทคนิคกระบวนท่าเฉพาะอีก 5 ปี ปัจจุบันในการแสดงโขน ผู้แสดงเป็นตัวลิงเช่นหนุมาน องคต ชมพูพาน จะมีการแต่งเติมเทคนิคลีลาเฉพาะตัวของลิงเพิ่มเติมเข้าไปด้วย เพื่อเป็นการแสดงออกถึงลักษณะท่าทางเฉพาะของลิง

2.ละคร

ละครเป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว  มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน  ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ  เข้าบทร้อง  ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า  ละครโนราชาตรี  ละครนอก  ละครใน  เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ  พระสุธน  สังข์ทอง คาวี  อิเหนา  อุณรุท  นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด  การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์  เรียกว่า  การแต่งการแบบยืนเครื่อง  นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

3.รำ และ ระบำ

เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป ดังนี้
3.1  รำ  หมายถึง  ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง  ตั้งแต่  1-2  คน  เช่น  การรำเดี่ยว  การรำคู่  การรำอาวุธ  เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง  ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี  มีกระบวนท่ารำ  โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ  เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน  และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้นๆ  เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว  รำแม่บท  รำเมขลา –รามสูร  เป็นต้น

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

3.2 ระบำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่ 2คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งกายคล้ายคลึงกัน กระบวนท่าร่ายรำคล้ายคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งกายนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนางหรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่งเป็นต้น

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

 4.การแสดงพื้นเมือง

เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภาค ดังนี้
4.1  การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ  เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่  ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเจิง

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

4.2 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง  เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทิง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

4.3 การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน  เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง   ฟ้อน  และหมอลำ” เช่น เซิ้งบังไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร  มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือรำกระทบสาก รำกระเน็บติงต็อง หรือระบำตั๊กแตนตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลาง วงดนตรี ที่ใช้บรรเลง คือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี คือ ซอด้วง ซอครัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาด เอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

4.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้  เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปะต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็นต้น

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ระบําแบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง

การแต่งกายตามประเพณีในแต่ละท้องถิ่นระบำ แบ่ง ออกเป็น ๒ ชนิด คือ ระบำดั้งเดิมหรือระบำ มาตรฐานและระบำปรับปรุงหรือระบำเบ็ดเตล็ด ระบำดั้งเดิมหรือระบำมาตรฐาน หมายถึง การแสดงที่ได้กำหนดเนื้อร้อง ทำนองเพลง

ที่มาของท่ารำนาฏศิลป์ มีกี่ประเภท

ที่มาของภาษาท่า ที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ๑. ภาษาท่าที่มาจากธรรมชาติ เป็นท่าทางที่ดัดแปลงมาจากท่าทางตามธรรมชาติของคนเรา แต่ปรับปรุงให้ดูสวยงามอ่อนช้อยมากยิ่งขึ้น โดยใช้ลักษณะการ ร่ายรำเบื้องต้นมาผสมผสาน เช่น ท่ายิ้ม ท่าเรียก ท่าปฏิเสธ ท่าร้องไห้ ท่าดีใจ ท่าเสียใจ ท่าโกรธ