เทียบเสียงภาษาอังกฤษ phonics

เชื่อว่าน้องๆ หลายๆ คนคงอยากพูดภาษาอังกฤษสำเนียงที่เหมือนกับเจ้าของภาษามาเอง เพราะมันดูน่าฟัง แถมดูมืออาชีพอีก ไม่ว่าจะไปพูดคุย หรือนำเสนองาน ถ้ามีสำเนียงดี ฟังเป็นธรรมชาติ และออกเสียงได้ถูกต้องชัดเจน ก็ดึงดูดผู้ฟังได้แล้ว บทความนี้ได้รวบรวม 5 เทคนิคการฝึกออกเสียงและสำเนียงภาษาอังกฤษให้เหมือนเจ้าของภาษามาฝากกัน 

เทียบเสียงภาษาอังกฤษ phonics

เทคนิคที่ 1 การออกเสียงพยัญชนะโดยใช้หลักสัทศาสตร์ (Phonetics) 

การฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษให้เหมือนเจ้าของภาษา เทคนิคแรก ก็คือ การออกเสียงให้ถูกต้องตามหลักสัทศาสตร์ อธิบายง่ายๆ ว่า สัทศาสตร์ (Phonetics) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการอ่านออกเสียงของมนุษย์ วิธีการเปล่งเสียง และอวัยวะในปากที่ใช้ในการออกเสียง ซึ่งสัทศาสตร์เปรียบเหมือนตัวกลางที่ช่วยให้เข้าใจวิธีการอ่านออกเสียงในแต่ละภาษา เนื่องจากมีการใช้สัทอักษรสากล หรือ International Phonetic Alphabet (IPA) ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในพจนานุกรม เช่น Ant = /ænt/ Believe = / bəˈliv/ Expert = /ˈekˌspərt/ และ Ecosystem /ˈēkōˌsistəm/ เป็นต้น

เทียบเสียงภาษาอังกฤษ phonics

โดยเสียงพยัญชนะ (Consonants) ในภาษาอังกฤษมีดังนี้

  • /p/ อ่านว่า [เพอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘พ’
  • /b/ อ่านว่า [เบอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘บ’
  • /t/ อ่านว่า [เทอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ท’
  • /d/ อ่านว่า [เดอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ด’
  • /k/ อ่านว่า [เคอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ค’
  • /g/ อ่านว่า [เกอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ก’
  • /tʃ/ อ่านว่า [เชอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ช’
  • /dʒ/ อ่านว่า [เจอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘จ’
  • /f/ อ่านว่า [เฟอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ฟ’
  • /v/ อ่านว่า [เวอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ว’
  • /θ/ อ่านว่า [เธอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ธ’
  • /ð/ อ่านว่า [เธ่อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ธ’
  • /s/ อ่านว่า [เสอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ส’
  • /z/ อ่านว่า [เสอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ส’
  • /ʃ/ อ่านว่า [เชอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ช’
  • /ʒ/ อ่านว่า [เฉ่อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ฉ’
  • /h/ อ่านว่า [เช่อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ฮ’
  • /m/ อ่านว่า [เม่อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ม’
  • /n/ อ่านว่า [เน่อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘น’
  • /ŋ/ อ่านว่า [เงอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ง’
  • /l/ อ่านว่า [เล่อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ล’
  • /r/ อ่านว่า [เรอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ร’
  • /j/ อ่านว่า [เยอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ย’ 
  • /w/ อ่านว่า [เยอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ว’ 

การออกเสียงพยัญชนะคู่คล้าย 

เมื่อสามารถอ่านตัวพยัญชนะได้แล้ว สิ่งที่ต้องระวังในการฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษ คือ การออกเสียงพยัญชนะ 2 ตัวที่มีเสียงคล้ายกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักเป็นเสียงพยัญชนะที่มีลักษณะการออกเสียง และเกิดบริเวณฐานกรณ์หรืออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงเดียวกัน แต่มีจุดแตกต่างกันอยู่ที่ความก้องของเสียงที่เปล่งออกมา ซึ่งในทางสัทศาสตร์ได้มีการแยกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

เทียบเสียงภาษาอังกฤษ phonics
  • เสียงก้อง (Voiced Sound): เป็นเสียงที่เกิดจากลมที่ออกจากปอด ผ่านเส้นเสียง ต้องใช้แรงในการออกเสียง โดยใช้อวัยวะที่ช่วยในการออกเสียง เช่น ริมฝีปาก และลำคอ ซึ่งมีเทคนิคในการสังเกตง่ายๆ คือ เวลาออกเสียง ให้ลองจับลำคอบริเวณลูกกระเดือก ถ้าเป็นเสียงก้อง จะรู้สึกว่ามีแรงสั่นออกมาจากเส้นเสียงค่อนข้างชัดเจน โดยตัวอย่างพยัญชนะที่เป็นเสียงก้อง คือ /b/, /d/, /g/, /j/, /l/, /ʤ/, /n/, /ŋ/,/m/,/r/, /v/,/ð/, /z/,/Ʒ/
  • เสียงไ่ม่ก้อง (Voiceless Sound): หรือเสียงเปิดกว้าง เป็นเสียงที่เกิดจากลมที่ออกจากปอดเหมือนกัน แต่ลมออกมาได้สะดวกมากกว่า เป็นเสียงที่สามารถเปล่งออกมาได้ง่ายกว่า ใช้แรงน้อยกว่าเสียงก้อง ซึ่งมีเทคนิคในการสังเกตง่ายๆ คือ ให้น้องๆ ลองถือกระดาษบังหน้าตนเอง แล้วลองออกเสียงดู จะพบว่า เวลาที่ออกเสียงไม่ก้อง กระดาษจะขยับตามลมที่ออกจากปากได้มากกว่าเสียงก้อง โดยตัวอย่างพยัญชนะที่เป็นเสียงไม่ก้อง เช่น  /p/, /t/, /k/,/t∫/, /f/,/θ/, /s/,/∫/, /h/ เป็นต้น
เทียบเสียงภาษาอังกฤษ phonics

ตัวอย่างของเสียงพยัญชนะที่มีความคล้ายคลึงกัน เช่น  

  • /b/ ออกเสียงว่า [เบอะ] และ /p/ ออกเสียงว่า [เพอะ] จัดเป็นพยัญชนะเสียงระเบิด (Plosive) ที่มีฐานกรณีอยู่ที่ริมฝีปาก (Bilabial) โดย /b/ เป็นเสียงก้อง และ /p/ เป็นเสียงไม่ก้อง 
  • /t/ ออกเสียงว่า [เทอะ] และ /d/ ออกเสียงว่า [เดอะ] เป็นพยัญชนะเสียงระเบิด (Plosive) ที่มีฐานกรณีอยู่ที่ปุ่มเหงือก (Alveolar) โดย /t/ เป็นเสียงก้อง และ /d/ เป็นเสียงไม่ก้อง
  • /v/ ออกเสียงว่า [เวอะ] และ /f/ อ่านว่า [เฟอะ] เป็นพยัญชนะเสียงเสียดแทรก (Fricative) ที่มีฐานกรณีอยู่ที่ริมฝีปากกับฟัน (Labiodental) โดย /f/ เป็นเสียงไม่ก้อง และ /v/ เสียงก้อง

โดยเทคนิคในการสังเกต เมื่อฝึกออกเสียงคู่คล้ายในภาษาอังกฤษ ว่าตนเองออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นๆ ถูกหรือไม่ คือ ถ้าพยัญชนะเสียงก้อง บริเวณลูกกระเดือกจะสั่น ส่วนเสียงไม่ก้องจะมีลมออกจากริมฝีปากมากกว่า

เทียบเสียงภาษาอังกฤษ phonics

การออกเสียง -ed 

น้องๆ คงเคยสับสนเกี่ยวกับการออกเสียง -ed กันมาแล้ว ว่าคำไหน ควรออกเสียงลงท้าย -ed หรือไม่ออกกันแน่ ซึ่งจริงๆ แล้ววิธีการออกเสียงท้ายพยางค์ของ -ed มีทั้งหมด 3 แบบ

  • T sound = -ed ที่ตามพยัญชนะด้วยเสียงไม่ก้อง เช่น /p/, /t/, /k/ จะไม่ออกเสียง -ed แต่จะใช้เสียง T แทน เช่น Liked, Thanked, Hoped, Stopped เป็นต้น
  • D sound = -ed ที่ตามพยัญชนะด้วยเสียงก้อง เช่น /b/, /d/, /g/ จะไม่ออกเสียง -ed แต่จะใช้เสียง D แทน เช่น Lived, Fined, Grabbed
  • ID sound = -ed ที่ตามพยัญชนะ ตัว T  จะไม่ออกเสียง -ed แต่จะใช้เสียง ID แทน เช่น Wanted, Decided, Headed 

สามารถฝึกออกเสียง ED ในภาษาอังกฤษเพิ่มเติมได้ที่: ออกเสียง ED ยังไงให้คะแนน Speaking IELTS 7.0

เทียบเสียงภาษาอังกฤษ phonics

การออกเสียง -s, -es 

น้องๆ หลายคนอาจจะเคยงงกันว่า หากคำศัพท์เติม -s หรือ -es จะมีวิธีการออกเสียงอย่างไร โดยมีเทคนิคในการสังเกตได้จาก 3 ลักษณะ ดังนี้

  • ออกเสียง s เป็น /s/ เมื่อคำกริยาเหล่านั้นลงท้ายด้วยเสียงไม่ก้อง (Voiceless Sound) เช่น /f/, /k/, /p/, /t/, /θ/  จะต้องออกเสียง /s/ เช่น talk = talks, walk = walks, jump = jumps, sit = sits
  • ออกเสียง s เป็น /z/ จะใช้เมื่อคำกริยาลงท้ายด้วยเสียงก้อง (Voiced Sound) เช่น /b/, /d/, /g/, /l/, /m/, /n/ จะต้องออกเสียงเป็นเสียง /z/ หรือ [เสอะ] ตัวอย่างเช่น card = cards, run = runs
  • ออกเสียง s เป็น /iz/ เมื่อคำกริยาลงท้ายด้วยเสียง /s/, /t/, /dz/, /z/ เช่น kiss = kisses, freeze= freezes

เทคนิคที่ 2 รู้จักเสียงสระ  (Vowels) 

น้องๆ หลายคนจะคุ้นเคยว่า สระในภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 5 ตัว คือ a, e, i, o, u แต่ในทางสัทศาสตร์ เสียงสระในภาษาอังกฤษสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ สระเดี่ยว (Monophthong) และสระประสม (Diphthong) ซึ่งจะมีเสียงที่แตกต่างกันทั้งสิ้นจำนวน 20 ตัว ดังนี้

เทียบเสียงภาษาอังกฤษ phonics

สระเดี่ยว

  • /ɪ/ อ่านว่า [อิ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระอิ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น ship [ชิพ]
  • /і/ อ่านว่า [อี] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระอี ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น sheep [ชีพ]
  • /ʊ/ อ่านว่า [อู] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระอู ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น look [ลูค]
  • /u:/ อ่านว่า [อู:] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระอู แต่ออกเสียงยาวกว่า/ʊ/ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น shoot [ชูท]
  • /e/ อ่านว่า [เอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระเอะ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น pen [เพน]
  • /Ə / อ่านว่า [เออะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระเออะ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น  the [เดอะ]
  • /ɜ:/ อ่านว่า [เออ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระเออ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น  bird [เบิด]
  • /Ɔ:/ อ่านว่า [ออ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระออแต่ลากเสียงยาวกว่า ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น  door [ดอ]
  • /æ/ อ่านว่า [แอ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระแอ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น  apple [แอปเปิล]
  • /Λ / อ่านว่า [อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระอะ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น  up [อัพ]
  • /a: / อ่านว่า [อา] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระอา ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น car [คา]
  • /ɒ / อ่านว่า [ออ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระออ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น what [วอท]
เทียบเสียงภาษาอังกฤษ phonics

สระประสม

  • /ɪə/อ่านว่า [เอีย] เช่น ear [เอีย], here [เฮีย]
  • /ɛɪ/ อ่านว่า [เอ] เช่น say [เซย์], pay [เปย์]
  • /ʊə/ อ่านว่า [อัว] เช่น tour [ทัว], pure [พัว]
  • /ɔɪ/อ่านว่า [ออย] เช่น boy [บอย], toy [ทอย]
  • /əʊ/ อ่านว่า [โอว] เช่น phone [โฟน], show [โชว์]
  • /ɛə/ อ่านว่า [แอ] เช่น air [แอ]
  • /ai/ อ่านว่า [อาย] เช่น buy [บาย]
  • /aʊ/ อ่านว่า [อา,อาว] เช่น how [ฮาว]

เมื่อรู้วิธีการอ่านออกเสียงทั้งพยัญชนะ และ สระ เรียบร้อยแล้ว ในการฝึกเทคนิคออกเสียงภาษาอังกฤษให้เหมือนกับเจ้าของสำเนียง ให้ลองนำพยัญชนะ + สระ มารวมกัน เช่น pet เมื่อเราอ่านออกมาจะได้คำว่า  พ-เอะ-ท อ่านว่า [เพ็ท] หรือ bat = /bæt/ จะได้คำว่า บ-แอ-ท อ่านว่า [แบท] นั่นเอง

เทคนิคที่ 3  รู้จักลงน้ำหนักเสียงหนัก-เบา (Stressed and Unstressed) ตามแต่ละพยางค์ 

ในการฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษ จะต้องเรียนรู้วิธีการลงน้ำหนักเสียงหนักและเสียงเบาในแต่ละพยางค์ รวมถึงการเลือกใช้น้ำเสียงในแต่ละประโยคให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถพูดคุยกับเจ้าของภาษาได้อย่างถูกต้อง น้องๆ ที่อยากมีสำเนียงเหมือนเจ้าของภาษาจะต้องเข้าใจเรื่องของ Word Stress และ Intonation ให้ดีก่อน

เทียบเสียงภาษาอังกฤษ phonics

Word Stress

Word Stress คือ การเรียนรู้การออกเสียงโดยเลือกใช้น้ำเสียงหนักหรือเสียงเบาตามแต่ละพยางค์ ในหนึ่งคำสามารถมีทั้งเสียงหนักและเสียงเบาได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงเดียวกันทั้งประโยค หรือทั้งคำ

  • คำนามและคำคุณศัพท์ส่วนใหญ่จะเน้นน้ำหนักเสียงที่พยางค์แรก เช่น garden = gar’ den, kitten = kit’ ten 
  • คำกริยาที่มี 2 พยางค์ มักเน้นเสียงที่พยางค์สุดท้าย เช่น relax, enjoy 
  • คำที่มักลงท้ายด้วย -sion, -tion, -ic มักออกเสียงที่พยางค์ก่อนสุดท้าย เช่น pollution, romantic, information
  • คำที่เกิดจากการนำคำนาม 2 คำมารวมกัน มักออกเสียงที่พยางค์แรก เช่น bookstore, highway, skytrain
เทียบเสียงภาษาอังกฤษ phonics

น้ำเสียง หรือทำนองเสียง (Intonation)

น้ำเสียง (Intonation) หรือทำนองเสียง เป็นสิ่งที่จำเป็นในการสื่อสาร ใช้บ่งบอกอารมณ์ และความรู้สึก ซึ่งจะทำให้เข้าใจบริบทที่ต้องการจะสื่อออกมา มีทั้งหมด 2 รูปแบบ  

  • การลงเสียงต่ำ (Falling Intonation) ใช้กับประโยคทั่วไป, ใช้กับคำลงท้ายคำถาม WH Questions หรือใช้ในประโยคคำสั่ง เช่น How are you?, What’s the matter? หรือ Don’t move.
  • การขึ้นเสียงสูง (Rising Intonation) ใช้กับประโยคคำถาม หรือประโยคที่ต้องการคำตอบ เช่น Are you okay? หรือ Are you serious? 

เทคนิคที่ 4 รู้จักการใช้เสียงเชื่อมให้เหมือนเจ้าของภาษา (Linking Sounds) 

โดยปกติเจ้าของภาษามักออกเสียงเชื่อมระหว่างคำเป็นหลัก ไม่นิยมพูดแยกเป็นคำๆ เน้นพูดให้คล่องปาก ไม่ติดขัด ทำให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาฟังไม่ทัน หรืออาจจับใจความประโยคได้ไม่ครบถ้วน ดังนั้น หากอยากมีสำเนียงเหมือนเจ้าของภาษา จะต้องใช้เสียงเชื่อม (Linking Sound) ให้เป็น โดยหลักการเชื่อมนั้น จะดูจากพยัญชนะท้ายของคำ ผสมกับเสียงสระของอีกคำหนึ่งเข้าด้วยกัน เช่น พยางค์ตามหลังเป็นเสียงสระ เช่น -ing  คำว่า running หากอ่านแยกจะอ่านออกเสียงว่า รัน-อิง แต่เจ้าของภาษามักพูดเชื่อมเสียงว่า รัน-นิง 

เทียบเสียงภาษาอังกฤษ phonics

เทคนิคที่ 5 หาตัวช่วยด้วยการลงเรียนกับผู้เชี่ยวชาญ (Consultants and Professional)

ในโลกปัจจุบัน มีตัวเลือกในการฝึกภาษาอังกฤษมากมาย ทั้งหนังสือสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษหรือแม้แต่การเริ่มฝึกอ่านออกเสียงด้วยตนเอง แต่ที่จริงแล้วนั้น การฝึกด้วยตนเองเพียงอย่างเดียว อาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการออกเสียงที่ถูกต้องได้ เนื่องจากไม่ได้ฝึกพูดกับเจ้าของภาษาโดยตรง ดังนั้น การหาตัวช่วยด้วยวิธีการลงเรียนกับผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าของภาษา จะช่วยยกระดับการอ่านออกเสียงและสำเนียงภาษาอังกฤษได้อย่างดี