โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

  • โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    การประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็น โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูห้วยเคียน

  • โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    การประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็น โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูห้วยต๋ำ

  • โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    KM4#การวิเคราะห์ทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยบวกหลวง

  • โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    KM3# วันที่ 19 ส.ค. 65 การวิเคราะห์ระบบกระจายน้ำด้วยแบบจำลอง epanet

  • โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    KM#2 วันที่ 5 ส.ค.65 การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นและการวางโครงการ

  • โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    KM1#วันที่ 22 ก.ค. 65 ธรรมมาภิบาลคุณธรรมจริยธรรมกับการปฏิบัติงานราชการ

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อาจแบ่งออกได้เป็น ๕ ประเภทดังต่อไปนี้

๑.โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก และอุปโภคบริโภคได้แก่ อ่างเก็บน้ำและฝายทดน้ำ

๒.โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร

๓.โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ

๔.โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม

๕.โครงการบรรเทาอุทกภัย


โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    อย่างไรก็ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษตรเป็นสำคัญ แต่มีการพัฒนาแหล่งน้ำหลายๆ โครงการที่มีวัตถุประสงค์หลายๆ อย่างพร้อมกันไป อาทิ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โครงการพัฒนาที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการแก้มลิง เป็นต้น 

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริสามารถก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พอสรุปได้ดังนี้

๑.ช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ช่วยให้ได้ผลิตผลมากขึ้นและสามารถทำการเพาะปลูกครั้งที่สองได้ เป็นการช่วยให้ราษฎรมีรายได้มากขึ้น

๒.ในบางท้องที่เคยมีน้ำท่วมขัง จนไม่สามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้ หรือไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรโครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น บริเวณขอบพรุ ทำให้พื้นที่แห้งจนสามารถจัดสรรให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองเข้าทำกินได้ ช่วยให้ไม่ไปบุกรุกทำลายป่าหาที่ทำกินแห่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งเป็นการช่วยรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรของธรรมชาติไว้ได้

๓.เมื่อมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่างๆ ไว้ และมีการปล่อยพันธุ์ปลา ทำให้ราษฎรตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงสามารถมีปลาบริโภคภายในครอบครัว หรือมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น

๔.ช่วยให้ราษฎรมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่สะอาดอย่างพอเพียงตลอดปี ทำให้ราษฎรมีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น และยังช่วยให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงสัตว์ด้วย

๕.บางโครงการจะเป็นประเภทเพื่อเทาอุทกภัยในเขตชุมชนเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชุมพร ซึ่งช่วยลดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจทั้งภาคเอชนและภาครัฐบาลเป็นอันมาก

๖.โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ   จะช่วยให้ราษฎรที่อยู่ในป่าเขาในท้องที่ทุรกันดารได้มีไฟฟ้าให้สำหรับแสงสว่างในครัวเรือนได้

๗.โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  โดยการสร้างฝายเก็บกักบริเวณน้ำลำธารเป็นชั้นๆ พร้อมระบบกระจายจากฝายต่างๆ ไปสู่พื้นที่สองฝั่งของลำธารทำให้พื้นดินชุ่มชื้น และป่าไม้ตามแนวสองฝั่งลำธารเขียวชอุ่มตลอดปี ลักษณะเป็นป่าเปียกสำหรับป้องกันไฟป่าเป็นแนวกระจายไปทุ่งบริเวณต้นน้ำลำธาร ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ต่อไป

กล่าวได้ว่างานพัฒนาแหล่งน้ำนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทำทุกอย่าง ทุกขั้นตอนดังที่นายปราโมทย์ ไม้กลัด เล่าให้ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ ๕-๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๘ ดังนี้

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    ...งานของพระองค์ท่านมีตั้งแต่ ถ้าน้ำขาดแคลนก็จัดหาน้ำ และเมื่อน้ำท่วม น้ำมากก็จัดการบรรเทาให้น้อยลง เมื่อมีน้ำเน่าเสียก็จ้องจัดการทำงานด้านน้ำทั้งหมด ท่านจะทราบปัญหาอย่างละเอียด…

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน


ตัวอย่างโครงการประกอบด้วย

โครงการแก้มลิง

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    ...เมื่ออายุ ๕ ขวบ มีลิงเอากล้วยไปให้มันเคี้ยว เคี้ยว แล้วใส่ในแก้มลิง ตกลง “โครงการแก้มลิง” นี้มีที่เกิด เมื่อเราอายุ ๕ ขวบ ก็นี่เป็นเวลา ๖๓ ปี มาแล้ว ลิงสมัยโน้นลิงโบราณเขาก็มีแก้มลิงแล้ว เขาเคี้ยว แล้วเอาเข้าไปเก็บในแก้ม น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ “โครงการแก้มลิง” เพื่อที่จะเอาน้ำนี้ไปเก็บไว้...

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘


โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    โครงการแก้มลิงเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยการขุดลอกคลองชายฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นคลองพักน้ำขนาดใหญ่หรือ “แก้มลิง” แล้วระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก หรือน้ำขึ้นน้ำลงตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันโครงการแก้มลิงยังได้ขยายการดำเนินงานไปที่โครงการบรรเทาอุทกภัยตามพระราชดำริ (แก้มลิงหนองใหญ่) จังหวัดชุมพร และโครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอีกด้วย 


เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    ...เขื่อนป่าสัก ที่ตอนแรกวางแผนให้จุได้ ๑,๓๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่แก้ไปแก้มาก็เหลือ ๗๕๐ ล้านกว่าๆ ตามตัวเลขที่ให้ไว้นี้ แม้เขื่อนป่าสักเขื่อนเดียว ก็พอ พอสำหรับการบริโภคแน่นอนไม่แห้ง...

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สร้างขึ้นเพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ในการเกษตรในฤดูแล้ง และเป็นการป้องกันบรรเทาน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูน้ำหลากและบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสียในกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่ในภาคกลาง อีกทั้งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย


โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก


โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    โครงการนี้คือสร้างอ่างเก็บน้ำ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งคือที่แม่น้ำป่าสัก อีกแห่งหนึ่งที่แม่น้ำนครนายก       สองแห่งรวมกันจะเก็บกักน้ำเหมาะสมพอเพียง สำหรับการบริโภค การใช้ในเขตกรุงเทพฯ และเขตใกล้เคียงที่ราบลุ่มของประเทศไทยนี้...

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

    โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย  แต่ถ้าดำเนินการไปเดี๋ยวนี้อีก ๕-๖ ข้างหน้า เราสบายและถ้าไม่ทำอีก ๕-๖ ปีข้างหน้า ราคาค่าก่อสร้าง ค่าดำเนินการก็จะสูงขึ้น ๒ เท่า ๓ เท่า ลงท้ายก็จะประวิงต่อไป และเมื่อประวิงต่อไป ก็จะไม่ได้ทำ เราก็จะต้องอดน้ำแน่จะกลายเป็นทะเลทรายแล้วก็จะอพยพไปที่ไหนก็ไม่ได้...

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

 โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นการช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนจากอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำนครนายก ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำใช้ในการเกษตร การอุปโภคบริโภคโดยไม่ขาดแคลน ที่สำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการเพาะปลูกอีกด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสาคัญในลักษณะ “น้ำคือชีวิต” ดังพระราชดำรัส ณ สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2529 ความว่าตอนหนึ่ง

“…หลักสำคัญว่า ต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้…”

การพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นมีหลักและวิธีการที่สำคัญๆ คือ
1. การพัฒนาแหล่งน้ำจะเป็นรูปแบบใด ต้องเหมาะสมกับรายละเอียดสภาพภูมิประเทศเสมอ
2. การพิจารณาวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ต้องเหมาะสมกับสภาพแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีในแต่ละท้องถิ่นเสมอ 3. พิจารณาถึงความเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจ และสังคมของท้องถิ่น หลีกเลี่ยงการเข้าไปสร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กับคนกลุ่มหนึ่งโดยสร้างประโยชน์ให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับการลงทุนนั้นจะมีความเหมาะสมเพียงใดก็ตาม

ด้วยเหตุนี้การทำงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทุกแห่ง จึงพระราชทานพระราชดำริไว้ว่า ราษฎรในหมู่บ้านซึ่งได้รับประโยชน์จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน โดยจัดการช่วยเหลือผู้ที่เสียประโยชน์ตามความเหมาะสมที่จะตกลงกันเอง เพื่อให้ทางราชการสามารถเข้าไปใช้ที่ดินทำการก่อสร้างได้โดยไม่ต้องจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นพระบรมราโชบายที่มุ่งหวังให้ราษฎรมีส่วนร่วมกับรัฐบาล และช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในสังคมของตนเองและมีความหวงแหนที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างนั้นต่อไปด้วย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

  

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

     การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ น้ำคือชีวิต ดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า

...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ไม่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...

:: ตัวอย่างโครงการ ::

  • โครงการแก้มลิง
  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
  • โครงการเขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จังหวัดลำพูน
  • โครงการห้วยองคต จังหวัดกาญจนบุรี
  • โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน
  • โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขื่อนขุนด่านปราการชล
  • โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย
  • การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา
  • โครงการฝนหลวง
  • โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "คลองลัดโพธิ์"
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำทอน จังหวัดหนองคาย 

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสละความสุขส่วนพระองค์ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อความสุขของปวงชนชาวไทย โดยมิได้ทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยาก หรือลำบากพระวรกาย และจากการเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นชนบทต่าง ๆ ได้ทรงตระหนักดีว่า หนึ่งในปัญหาสำคัญที่สร้างความเดือดร้อนทุกข์ยากให้กับราษฎร ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริ ให้กับกรมชลประทานในการพัฒนาแหล่งน้ำ ศึกษาวางแผน และก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ นอกเหนือจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่กรมชลประทานได้ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้แล้ว เพื่อช่วยให้ราษฎรได้มีชีวิต และสถานภาพความเป็นอยู่ที่สุขสบายทัดเทียมกัน

       สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำที่กรมชลประทานดำเนินการสนองพระราชดำริ จำแนกออกเป็น ๖ ประเภท คือ งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภคอุตสาหกรรม ฯลฯ งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิดกระแสไฟฟ้า งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร งานป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม งานระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม และงานแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ

       จนถึงปัจจุบัน มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว กว่าพันโครงการ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ สามารถอำนวยประโยชน์มหาศาล ให้เกิดกับราษฎรและประเทศชาติ ดังเช่น โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ความเป็นมา

      การพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักได้เริ่มมาตั้งแต่การก่อสร้างเขื่อนพระราม ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งในครั้งนั้นเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในระดับหนึ่ง เนื่องจากการพัฒนาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมมีไม่มากนัก แต่ในเวลาต่อมาเมื่อจำนวนประชาชนเพิ่มมากขึ้น มีการขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เป็นผลทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ เนื่องจากราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำ นำน้ำมาใช้โดยไม่ประหยัด ประกอบกับในช่วงฤดูน้ำหลาก บริเวณลุ่มน้ำป่าสัก และบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มักจะประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง และบางปีได้รับความเสียหายรุนแรงดังเช่น ปี ๒๕๓๘ ทำให้รัฐบาลหันมาให้ความสนใจในการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอย่างเร่งด่วน

      ลุ่มน้ำป่าสัก เป็นลุ่มน้ำขนาดกลางและเป็นสาขาสำคัญของลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ ๑๔,๕๒๐ ตารางกิโลเมตร และมีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปีประมาณ ๒,๔๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เนื่องจากลักษณะลุ่มน้ำแห่งนี้ มีความลาดชันสูง จึงมีผลทำให้ในฤดูฝน กระแสน้ำไหลหลากจากด้านบนลงมาอย่างรวดเร็ว บ่าล้นตลิ่ง ท่วมและทำความเสียหายให้กับเรือกสวนไร่นา ตลอดจนบ้านเรือนและทรัพย์สินของราษฎรเป็นประจำทุกปี ส่งผลกระทบถึงพื้นที่ในบริเวณกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลอีกด้วย ในทางกลับกัน ในฤดูแล้ง มักจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการเกษตร แม้จะได้รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาช่วยเสริมแต่ก็ยังไม่เพียงพอ

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

      ความแห้งแล้งเพราะขาดแคลนน้ำ และอุทกภัย เกิดขึ้นเกือบเป็นประจำทุกปี ในตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา สร้างความเดือดร้อนให้กับราษฎร และทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กระทบกระเทือนฐานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ประกอบด้วยโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรม และชุมชนต่าง ๆ ที่นับวันจะหนาแน่นยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณ ด้วยทรงห่วงใยยิ่ง ได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ ให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสม เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำป่าสัก โดยได้ดำเนินการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างเขื่อน แนวทางแก้ไข และเลือกจุดที่เหมาะสมที่จะก่อสร้างเขื่อน โดยได้เลือกจุดที่จะก่อสร้างเขื่อนเก็บน้ำแม่น้ำป่าสักไว้ ๓ แห่งประกอบด้วย

      แห่งที่ ๑ อยู่ที่ตำบลท่าคล้อ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

      แห่งที่ ๒ อยู่ที่ตำบลมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

      แห่งที่ ๓ อยู่ที่ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

  ผลจาการศึกษาปรากฏว่า เขื่อนแห่งที่ ๓ ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุด มีความเหมาะสมที่จะดำเนินการก่อสร้าง โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๓๗ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๒ 
งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และการอุปโภคบริโภค เป็นงานจัดหาน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก และชุมชนที่ขาดแคลนน้ำ โดยโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ช่วยพัฒนาแหล่งน้ำ และจัดการทรัพยากรน้ำ เสริมน้ำชลประทานให้กับพื้นที่โครงการชลประทานเดิม ในบริเวณทุ่งเจ้าพระยาตะวันออกตอนล่างประมาณ ๒,๒๐๐,๐๐๐ ไร่ รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับพื้นที่ชลประทานที่จะเปิดใหม่ ในเขตจังหวัดลพบุรีและสระบุรี คิดเป็นพื้นที่ ๑๔๔,๕๐๐ ไร่ เป็นงานก่อสร้างระบบชลประทาน ดำเนินการในปี พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๘ รวม ๖ ปี

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภค

      การอุปโภคบริโภค และการอุตสาหกรรม มีความต้องการใช้น้ำในปริมาณที่มาก รองลงไปจากการเกษตร การเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แล้วระบายลงมาในลำน้ำป่าสัก โดยการจัดสรรน้ำให้มีน้ำอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี จะช่วยให้ประชาชนสองฝั่งลำน้ำป่าสัก ในเขตอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย และอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี มีน้ำใช้สำหรับอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งการผลิตน้ำประปาของอำเภอเมืองสระบุรี และชุมชนใกล้เคียง ตลอดจนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยเหตุนี้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะน้ำกินน้ำใช้ สำหรับคนในเมืองจึงไม่ใช่เรื่องที่จะน่าวิตกอีกต่อไป

      นอกจากนี้นักธุรกิจและนักลงทุนจำนวนมาก ที่ได้เข้าไปขยายกิจการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี ซึ่งถือเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของภาคกลาง จะมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะได้รับน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ส่งมา เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอแก่งคอย และอำเภอเมืองสระบุรี อันจะทำให้การส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ ที่ได้มีการดำเนินมาอย่างต่อเนื่องขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้รายได้จากสินค้าส่งออกในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นด้วย

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร

       นอกเหนือจากประโยชน์ที่ได้รับข้างต้นแล้ว ลักษณะโครงการของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่พิเศษแตก ต่างไปจากเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วไป คือ มีลักษณะทางกายภาพค่อนข้างแบนราบพื้นที่ผิวน้ำกว้างใหญ่ ลึกโดยเฉลี่ยประมาณ ๑๕-๑๗ เมตร มีความเหมาะสมกับการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และแหล่งประมงที่สำคัญแห่งใหม่ของประเทศ การสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ยังช่วยทำให้เพิ่มความชุ่มชื้นในบริเวณน้ำใต้ดิน บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำ และบริเวณท้ายน้ำ มีระดับสูงขึ้น เป็นการฟื้นฟู และพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศน์โดยรวม ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยทิวทัศน์ที่สวยงาม การคมนาคมเข้าสู่โครงการสะดวกสบาย จึง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่ง อีกทั้งมีการจัดโครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวรถไฟ และการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งจัดแสดงอารยธรรมและวัตถุโบราณที่ขุดค้นได้จากพื้นที่อ่างเก็บน้ำ

งานบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและน้ำเน่าเสีย งานระบายน้ำออกจากพื้นลุ่มน้ำ และงานแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ

       โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักฯ โดยการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ นอกจากจะเป็นโครงการที่ให้ประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูกของลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างอย่างกว้างขวางแล้ว ยังสามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วม และน้ำเสียให้กับกรุงเทพมหานครได้อีกส่วนหนึ่งด้วย เนื่องจากสามารถควบคุมปริมาณน้ำไม่ให้ไหลบ่าสู่พื้นที่ตอนล่าง และการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ยังช่วยเหลือเจือจางน้ำเน่าเสีย เป็นการรักษาคุณภาพน้ำในแม่น้ำป่าสักตลอดปี นอกจากนั้นยังนำมาใช้ในการไล่น้ำเค็มบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 
นอกจากนี้สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ภาคกลางประกอบด้วย แม่น้ำลำคลองหลายสาย การสัญจรทางน้ำ เป็นการคมนาคม และขนส่งสินค้าเกษตรอีกทางหนึ่ง แต่เดิมการขนส่งสินค้าทางเรือในแม่น้ำป่าสัก สามารถดำเนินการได้เฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ในฤดูแล้งปริมาณน้ำในแม่น้ำจะลดลง และบางช่วงมีตะกอนทับถมสูง ร่องน้ำตื้นเขิน ปัจจุบันเมื่อมีการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทำให้สามารถระบายน้ำจากเขื่อนลงสู่แม่น้ำ เพื่อเพิ่มระดับน้ำในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งจะทำให้การเดินเรือสะดวกตลอดทั้งปี และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วงประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางบกได้มาก

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน

      การพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก โดยการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นวิธีการจัดการทรัพยากรน้ำแนวทางหนึ่ง โครงการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งมีปริมาณน้ำจำนวนมาก ที่จะนำไปใช้ได้อย่างพอเพียงกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ประโยชน์นานัปการจากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กล่าวคือ ด้วยปริมาณน้ำที่เก็บกักได้ จะสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตร อุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมได้อย่างครบถ้วน รวมไปถึงการเกิดแหล่งประมง และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งใหม่ ตลอดจนเพิ่มความสะดว กและความคล่องตัวในด้านการคมนาคมขนส่งทางน้ำในพื้นที่ภาคกลาง นอกจากนั้นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ยังช่วยลดความรุนแรง อันเกิดจากอุทกภัยในลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ทั้งยังเอื้อประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ จะชุ่มชื้นไปด้วยน้ำ และดินที่มีคุณภาพ ป่าไม้ที่สมบูรณ์ และสัตว์นานาชนิด ยิ่งกว่านั้นในด้านสังคม จะเกิดชุมชนท้องถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ ผู้คนที่อาศัยอยู่ต่างมีความสุข สร้างหลักปักฐานมั่นคง ไม่ต้องเร่ร่อนไปแสวงหาที่ทำกินใหม่ เป็นการช่วยลดปัญหาสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างดีที่สุด

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชุมชน


แหล่งอ้างอิง

1.http://www.ku.ac.th/e-magazine/jun49/agri/water.htm

2.http://www.xn--12co9drbac8a9as5aiidh8isei1npa.com/content/index.php?page=category&type=view&cat=17

3.http://www.wrp.or.th/%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3/

4.http://www.rdpb.go.th/RDPB/front/Projects/RDPBProjectType.aspx?p=39