งานบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ 2565

เลิกขบวน อัญเชิญพระเกี้ยว ลาม งานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ล่าสุด องค์การนักศึกษา มธ. ซาวด์เสียง เมื่อสังคมขยับ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ควรมีต่อ หรือ พอแค่นี้?

26 ต.ค.2564 - ยังเป็นประเด็นถกเถียงของสังคม ศิษย์เก่า - ศิษย์ใหม่อย่างต่อเนื่อง หลังจากองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ออกแถลงการณ์ คณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ยกเลิกกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ โดยอ้างเรื่องความเท่าเทียม

 

ขณะต่อมา สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแถลงการณ์ ขอเลื่อนกำหนดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีฯจุฬา-ธรรมศาสตร์ ปี 2564 ออกไปก่อน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรน่ไวรัส 2019 ที่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ในครั้งต่อๆไปยังคงจะสืบสานให้มีการอัญเชิญพระเกี้ยว อันเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าสืบไป 

กระแสยกเลิกขบวนพระเกี้ยวดังกล่าว มีผู้แสดงความเห็นอย่างหลากหลายในหลายแง่ ทั้งเห็นด้วยกับการยกเลิกขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว เนื่องจากมีการสืบค้นว่าที่ผ่านมา สร้างความอึดอัดทางใจและทางกายให้กับผู้ที่ทำหน้าที่แบกหาม มิใช่การสมัครใจอย่างในอดีต ขณะอีกฝั่ง มอง การอัญเชิญพระเกี้ยวไม่เกี่ยวศักดินา

 

โดยเฉพาะ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ออกมาระบุ ว่า แถลงการณ์ของ อบจ. จุฬาฯ นั้น เต็มไปด้วยการตีตรา คิดแบบติ้นเขิน และใช้เสรีภาพแบบผิดๆ ยืนยัน ประเพณีการแห่พระเกี้ยว เป็นความงดงามที่คนไทย นิสิตไทย มีความกตัญญูต่อพระผู้สถาปนามหาวิทยาลัยที่ใช้พระปรมาภิไธยเป็นมงคลนามของมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ จากประเด็นดังกล่าว ทำให้ แฮชแท็ก #พระเกี้ยว ยังคงติดเทรนด์ทวิตเตอร์อย่างต่อเนื่อง 

งานบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ 2565

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ควรมีต่อหรือพอแค่นี้?

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊กองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดประเด็นร้อน โดยมีการโพสต์ข้อความและภาพประกอบ ในหัวข้อ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ควรมีต่อหรือพอแค่นี้? เพื่อต้องการสำรวจความคิดเห็น ชาวธรรมศาสตร์ พร้อมระบุ ข้อสรุปดังกล่าวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยมีใจความสำคัญดังนี้ 


งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ควรมีต่อหรือพอแค่นี้?

“เมื่อสังคมขยับ วัฒนธรรมต้องปรับ คนต้องเปลี่ยน"

วัฒนธรรมศักดินา อภิสิทธิ์ชน และค่านิยมความงาม คือ ภาพที่ยังคงสะท้อนและฉายซ้ำแฝงตัวอยู่ในปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือ “งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์” กิจกรรมและวัฒนธรรมระหว่างสองมหาวิทยาลัยที่ได้ร่วมกันสืบสานมาอย่างเนิ่นนาน ซึ่งยังคงสะท้อนและฉายซ้ำภาพของสิ่งเหล่านี้ ถึงแม้จะมีความพยายามปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันเสมอมา แต่การปรับเปลี่ยนนั้นทำให้งานฟุตบอลประเพณีฯ เป็น “งานของทุกคน” และ “แบบอย่าง” ของสังคมปัจจุบัน แล้วจริงหรือ?

ขอเชิญชาวธรรมศาสตร์ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ 
"อนาคตงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์"
ได้ที่: (คลิก) https://bit.ly/3nwEQtZ

เพราะงานฟุตบอลประเพณีฯ ควรมาจากเจตนารมณ์ของประชาคมธรรมศาสตร์ทุกคน
#งานบอลคือเสียงของธรรมศาสตร์ทุกคน

 

เราได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจจากการถกเถียงในวงสังคมมาให้ทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็น ดังนี้

 

งานฟุตบอลประเพณีฯ ควรมีต่อไปหรือไม่?

  • ถ้ายังมีต่อไปควรจะเป็นไปในรูปแบบเดิมหรือมีความเปลี่ยนแปลง?
  • ควรใช้วิธีอื่นแทนการใช้คนแบกเสลี่ยงในขบวนตรามหาวิทยาลัยหรือไม่?
  • นักฟุตบอลควรเป็นนักศึกษาปัจจุบันหรือไม่?
  • ทบทวนประเด็น Beauty Privillege และ Beauty Standard อย่างจริงจัง
  • เพิ่มพื้นที่การแสดงออกทางการเมืองในขบวนพาเหรดและการแปรอักษร
  • ทำให้งานฟุตบอลประเพณีฯ เป็นพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงออกอย่างอิสระ
  • นักศึกษาปัจจุบันต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ
  • ยกเลิกถ้วยพระราชทานและการเปิดงานโดยผู้แทนพระองค์
  • บทบาทของสมาคมศิษย์เก่าภายในงานฟุตบอลประเพณีฯ

 

ในข้อความยังระบุว่า หากท่านมีประเด็นที่น่าสนใจอื่น ๆ ก็สามารถเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นเข้ามาได้ โดยเราจะรวบรวมความคิดเห็นเหล่านี้ เพื่อนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมต่อไป

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกประกาศ แนวทางการจัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2564 มีเนื้อหาโดยสรุปว่า ในการจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 สมาคมธรรมศาสตร์ฯ ในฐานะเจ้าภาพได้มีหนังสือลงวันที่ 30 กันยายน 2564 แจ้งขอเลื่อนกำหนดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีฯออกไปก่อน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ ซึ่งทางสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ เห็นพ้องด้วย โดยในการจัดงานครั้งต่อๆไปทาง สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ จะสืบสานผลักดันให้มีการอัญเชิญพระเกี้ยวต่อไป

งานบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ 2565

"จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์" เห็นพ้องเลื่อนงานบอลประเพณีเหตุโควิด-19 ระบาด ยันจัดงานครั้งต่อไปให้คงอัญเชิญ "พระเกี้ยว" สืบสานประเพณีอันดีงาม "ชัยวุฒิ" โวย อบจ.ไม่มีอำนาจตัดสินแทนคนอื่น "หมอวรงค์" ห่วงเด็กตกเป็นเครื่องมือพวกหวังด้อยค่าสถาบัน

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศเรื่อง แนวทางการจัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ม.ธรรมศาสตร์ โดยระบุว่า "จากที่ได้จัดงานประเพณีฟุตบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ สืบเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ และหลอมรวมความสมัครสมานสามัคคีระหว่างนิสิตเก่า ศิษย์เก่า และนิสิต นักศึกษา ทั้งสองสถาบัน และร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับสังคมไทย ในการจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 นี้ สมาคมธรรมศาสตร์ในฐานะเจ้าภาพได้มีหนังสือแจ้งลงวันที่ 30 ก.ย.64 แจ้งขอเลื่อนกำหนดการแข่งขันฟุตบอลฯ ออกไปก่อน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ ซึ่งสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ก็เห็นพ้องด้วยเพื่อร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม

การจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ในครั้งต่อๆ ไป สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ยังคงสืบสานให้มีการอัญเชิญพระเกี้ยว อันเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระปิยมหาราช และสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจ และความภาคภูมิใจในจุฬาฯ ของเหล่านิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันทั้งมวล" แถลงการณ์ระบุ

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นนิสิตเก่า องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) เป็นเพียงผู้ประสานงาน ไม่มีอำนาจตัดสินใจอะไรแทนคนทั้งมหาวิทยาลัย กิจกรรมทั้งหมดเป็นเรื่องของนิสิตและศิษย์เก่าที่มาช่วยกัน อย่าไปมองว่าเป็นเรื่องของคณะกรรมการ อบจ.ที่มีอยู่ประมาณ 20 คน มาเป็นคนตัดสินให้ใครทำนั่นทำนี่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีวัฒนธรรม มีศักดิ์ศรี​ ความภาคภูมิใจ และมีศิษย์เก่ามากมาย ดังนั้น​การจะทำอะไรก็ขอให้คิดถึงเรื่องในอดีตและคิดถึงคนอื่นเขาด้วย

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อเรื่อง "ความเท่าเทียมไม่มีจริง" ว่า "กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว สนับสนุนและสะท้อนถึงระบอบอำนาจนิยม รวมถึงค้ำยันความเชื่อว่าคนไม่เท่ากัน ข้อความดังกล่าวของแถลงการณ์ที่นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ เผยแพร่ออกมา ไม่ใช่สะเทือนความรู้สึกของชาวจุฬาฯ เท่านั้น แต่สะเทือนความรู้สึกของคนไทยทั้งประเทศด้วย เพราะจุฬาฯ เป็นของประชาชน ไม่ใช่ของเขา ไม่เพียงแต่เขากำลังทำลายรากทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ที่คนไทยร่วมภูมิใจกับชาวจุฬาฯ แต่ลึกๆ แล้ว เขาต้องการด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างคำที่สวยหรูคือความเท่าเทียม

อยากจะบอกน้องๆ กลุ่มนี้ว่า ความเท่าเทียมไม่มีจริง ไม่ว่าประเทศไหนในโลก เป็นเพียงวาทกรรมไว้ปลุกระดม หลอกคนที่ไม่มีวุฒิภาวะ ไม่มีประสบการณ์ชีวิต เป็นเหยื่อให้เขาหลอกใช้ เพื่อให้เขาได้อำนาจ ไม่เชื่อไปดูที่บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ก็ได้ว่า คนที่นั่นเท่าเทียมกันไหม ในฐานะที่ผมก็เคยเป็นนายกสโมสรนักศึกษาเคยถูกปั่นมาแล้ว ขอแนะนำน้องๆ ว่า ถ้าคิดว่าคิดผิด ควรที่จะปรับปรุงตนเอง ตั้งใจเรียนให้จบ หางานทำ เพื่อสร้างชีวิตที่ดี เมื่อเหมาะสมให้มาเป็นนักการเมือง อย่าเข้ามาโกง แค่นี้ประชาชนก็จะสรรเสริญ ไม่ใช่เรียนเท่าไรก็ไม่ยอมจบ อยู่เพื่อถูกเป็นเครื่องมือ ให้เขาหลอกใช้ ด้วยวาทกรรมหลอกเด็ก สุดท้ายก็ติดคุกหลายคน ส่วนคนที่หลอกเด็กก็ยังสุขสบาย" นพ.วรงค์ระบุ

ม.จ.จุลเจิม ยุคล หรือท่านใหม่ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก พร้อมโฉนดที่ดินระบุว่า "มิใช่เป็นการทวงบุญคุณ น้ำพระทัยอันประเสริฐยิ่งและเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลของปวงชนชาวไทยและนิสิตจุฬาฯ ตั้งแต่รุ่น 1 ลงมาจนปัจจุบัน ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลเกินกว่าใครๆ ในหล้า พระราชทานที่ดิน 700 ไร่ให้เป็น 'สถานศึกษา' ระดับอุดมศึกษาแห่งแรกอายุครบร้อยปีแล้ว และเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากลและที่แห่งนั้น คือ 'จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย'

และใครได้ประโยชน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมิใช่หรือ และจุฬาฯ คืนอะไรๆ ให้แก่สังคมมากน้อยแค่ไหน นอกจาก 'สอนหนังสือให้ความรู้' อยากรู้จริงๆ มาวันนี้ 'ผู้บริหารจุฬาฯ' ควรต้องทำหน้าที่ปกป้อง 'ชาติบ้านเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์' อย่างเป็นรูปธรรมให้คนไทยทั้งชาติด้วยนะครับ".

 

งานบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ 2565

งานบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ 2565

Tagsจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์พระเกี้ยวหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สภาฯล่มรับปีใหม่! พ.ร.บ.กัญชายังไม่จบ/เปิดซักฟอกปลายเดือนนี้

ของขวัญปีใหม่จาก ส.ส. สภาล่มตั้งแต่นัดแรกของปี "ชวน" บรรจุแล้ว

งัดกม.แจงยิบ ย้ายเพื่อสอบ! ฟันอธิบดีฉาว

โฆษกรัฐบาลเผย การโยกย้ายอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ นายกฯ ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 11 เพื่อให้ฝ่ายการสืบสวนหาข้อเท็จจริงได้อย่างเต็มที่

แนวโน้มดีขึ้น 7วันอันตราย 'ตาย-เจ็บ'ลด

ผู้ช่วย ผบ.ตร.เผยสถิติ 6 วันอันตรายมีแนวโน้มลดลงในทุกมิติ

รัฐบาลโชว์ผลงานแก้จน พุ่ง6.5แสนกว่าครัวเรือน

"ทิพานัน" โชว์ตัวเลข  "บิ๊กตู่" แก้จนแบบพุ่งเป้าในระดับพื้นที่ปี 65 กว่า 6.5

9ม.ค.'บิ๊กตู่'เป็นนักการเมือง

"บิ๊กตู่" ได้ฤกษ์เป็นนักการเมืองเต็มตัว 9 ม.ค. สมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ

สแกนหลังบ้าน ‘รทสช.’ ผนึกกำลังปึ้กพร้อมลต.

สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มคึกคัก แต่ละพรรคเตรียมพร้อมสำหรับศึกเลือกตั้งที่จะถึงนี้ รวมถึงพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)