มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ค่าเทอม

มาดูราคาค่าเทอมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กันบ้างค่ะ ในที่นี่จะเป็นอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาชั้นปริญญาตรี โครงการปกติ นะคะ ใครคิดที่จะเข้ามาเป็นลูกแม่โดมควรมาเก็บไว้เป็นข้อมูล คณะไหนจะราคาสูงที่สุดตามมาดูกันเลยยย..

ค่าเทอม ม.ธรรมศาสตร์ แต่ละคณะ

(ข้อมูลปี 2558)

– คณะนิติศาสตร์ (รังสิต) 13,800 บาท

– คณะนิติศาสตร์ (ลำปาง) 18,800 บาท

– คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 14,200 บาท

– คณะรัฐศาสตร์ 13,000 บาท

– คณะเศรษฐศาสตร์ 14,200 บาท

– คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (รังสิต) 13,800 บาท

– คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์(ลำปาง) 18,800 บาท

– คณะศิลปศาสตร์ 15,300 บาท

– คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 14,800 บาท

– คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 13,000 บาท

– คณะสหเวชศาสตร์ 16,500 บาท

– คณะวิทยาลัยสหวิทยาการ (ลำปาง) 18,000 บาท

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ (รังสิต) 17,000 บาท

– คณะศิลปกรรมศาสตร์(ลำปาง) 22,100 บาท

– คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 17,300 บาท

– คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ลำปาง) 22,300 บาท

– คณะแพทย์ศาสตร์(แผนไทย) 16,800 บาท

– คณะวิศวกรรมศาสตร์ 18,200 บาท

– คณะพยาบาลศาสตร์ 15,800 บาท

– คณะสาธารณสุขศาสตร์ 16,500 บาท

– คณะแพทยศาสตร์ 21,100 บาท

– คณะทันตแพทยศาสตร์ 21,200 บาท

– คณะเภสัชศาสตร์ 52,000 บาท

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ค่าเทอม

เครดิตภาพจาก: Kanomsaimai Photo

*สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีสัญชาติไทย

ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ ต้องชำระค่าบำรุงมหาวิทยาลัยเพิ่มเติมจากอัตราเหมาจ่าย ภาคการศึกษาปกติภาคละ 9,550 บาท ภาคฤดูร้อน ภาคละ 4,775 บาท

หมายเหตุ

1. ในภาคการศึกษาปกติจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต คณะสายสังคมศาสตร์จดทะเบียนสูงสุดไม่เกิน 22 หน่วยกิต คณะสายวิทยาศาสตร์และนักศึกษาหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิตจดทะเบียนสูงสุดไม่เกิน 22 หน่วยกิต

2. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง หน่วยกิตละ 2,000 บาท (ประมาณ ภาคละ 50,000 – 60,000 บาท) เฉพาะหลักสูตรการออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง (หลักสูตรนานาชาติ) หน่วยกิตละ 5,000 บาท (ประมาณภาคละ 110,000– 120,000 บาท)

3. สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร อัตราค่าธรรมเนียมสูงกว่าภาคปกติ วิชาบรรยายหน่วยกิตละ 3,060 บาท วิชาปฏิบัติหน่วยกิตละ 4,080 บาท ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 27,805 บาท ค่าข้ึนทะเบียนนักศึกษา (จ่ายคร้ังเดียว) 400 บาท ค่าประกันทรัพยสินเสียหาย (จ่ายคร้ังเดียว) คืนให้เมื่อสำเร็จการศึกษาหรือพ้นสภาพนักศึกษา 5,000 บาท รายละเอียดค่าธรรมเนียมการศึกษา และโครงการทุนการศึกษา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.siit.tu.ac.th

4. โครงการปริญญาตรีภาคพิเศษ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอัตรา ค่าธรรมเนียม สูงกว่าโครงการปกติ

5. คณะวิศวกรรมศาสตร์ โครงการ TEP, TEPE และ AUTO ค่าจดทะเบียนศึกษาลักษณะวิชา หน่วยกิตละ 2,500 บาท ค่าธรรมเนียมพิเศษ ภาคการศึกษาละ 18,000 บาท ค่าธรรมเนียมในการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยในความร่วมมือเป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยในความร่วมมือกำหนด

6. วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการปกติ หลักสูตรภาษาไทย หน่วยกิตละ1,500 บาท (ประมาณ ภาคละ 45,000 – 50,000 บาท ค่าธรรมเนียมการศึกษา ตลอดหลักสูตรปริญญาตรี 3.5 ปี จำนวน 325,360 บาท และปริญญาตรี-โทต่อเนื่อง5 ปี จำนวน 510,280 บาท) หลักสูตรนานาชาติหน่วยกิตละ 2,500 บาท (ประมาณ ภาคละ 48,000 –53,000 บาท ค่าธรรมเนียมการศึกษา ตลอดหลักสูตร 4 ปี จำนวน 448,120 บาท)

7.โครงการหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์-ศูนย์ลำปาง สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ เป็นหลักสูตรภาคพิเศษ ค่าใช้จ่ายประมาณ ภาคแรก 45,000 บาท และภาคสอง 26,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร3 ปีครึ่ง (แบ่งเป็น 7 ภาคการศึกษาปกติและ 1 ภาคการศึกษาฤดูร้อน ประมาณ 260,000 บาท)

ศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจทางการเงินเพื่อสร้างมูลค่าแก่กิจการ การลงทุนในโครงการต่างๆ การจัดหาเงินทุน การบริหารสภาพคล่อง การลงทุนในหลักทรัพย์และอนุพันธ์ทางการเงิน และการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน ผู้เรียนควรมีความสนใจในพื้นฐานหลัก 3 ด้าน คือ คณิตศาสตร์และสถิติ เศรษฐศาสตร์ และการบัญชี

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่การเงิน นักวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน นักวิเคราะห์การลงทุนและโครงการ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และบริหารความเสี่ยง ตำแหน่งงานเหล่านี้ยังสามารถพัฒนาให้เป็นผู้บริหารระดับสูง (CFO และ CEO) ได้ทั้งในธุรกิจเอกชน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยราชการ ตลอดจนองค์กรการกุศลและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่  https://www.tbs.tu.ac.th/fn-home/

- บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกการตลาด

ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยนำความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคและการวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาด มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้บริโภค โดยคำนึงถึงจริยธรรม และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

นักการตลาดที่มีความรู้ความสามารถยังเป็นที่ต้องการอีกมาก ทั้งในภาคราชการและเอกชน โดยเฉพาะในภาคเอกชน ความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะขึ้นอยู่กับนักการตลาดที่มีความสามารถ แม้กระทั่งการทำธุรกิจส่วนตัวหรือธุรกิจขนาดย่อมให้ประสบผลสำเร็จได้ดี ก็ต้องอาศัยความรู้ทางด้านการตลาดเข้ามาช่วยดำเนินการ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.tbs.tu.ac.th/mk-home/

- บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกการบริหารองค์การ การประกอบการและทรัพยากรมนุษย์

ศึกษาเกี่ยวกับการตลาดและการเงินระบบปฏิบัติการ ในบริบทของธุรกิจขนาดเล็กและกลางหรือ SME (Small-and Medium Enterprise) โดยเน้นการเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติจริง สอนให้คิดแตกต่างและสร้างสรรค์ บ่มเพาะให้เป็นนักแสวงหาโอกาสทางธุรกิจที่มีจริยธรรม ส่งเสริมให้ได้เรียนรู้ใกล้ชิดกับเจ้าของธุรกิจตัวจริง เรียนรู้การทำแผนธุรกิจอย่างมืออาชีพและนำเสนอต่อกลุ่มนักลงทุนและ/หรือเจ้าของธุรกิจ เพื่อโอกาสต่อยอดให้ธุรกิจเป็นจริง

บัณฑิตสาขานี้ สามารถจบไปเป็นเจ้าของธุรกิจ บริหารธุรกิจครอบครัว ทำงานเป็นที่ปรึกษาฝ่ายพัฒนาธุรกิจขององค์กรชั้นนำ นักวิเคราะห์กลยุทธ์ SME ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างธุรกิจ (Start-up)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.tbs.tu.ac.th/moeh-home/

- บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกบริหารการปฏิบัติการ

ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งระบบอุตสาหกรรมการผลิต ระบบการให้บริการ รวมทั้งงานบริหารสำนักงานทั่วไป โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ และตัดสินใจอย่างเป็นระบบ คำนึงถึงผลิตภาพ (Productivity) คุณภาพ (Quality) และสามารถประสานความสัมพันธ์เชิงรวมในการปฏิบัติงานเพื่อองค์กรได้

บัณฑิตสาขานี้ สามารถทำงานได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมบริการ และกิจการทุกประเภท ซึ่งต้องทำการบริหารคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต การพัฒนาระบบงาน การประหยัดต้นทุน และการส่งงานอย่างตรงเวลา เช่น ธนาคาร กิจการขนส่งทางเรือ ท่าอากาศยาน ตลาดกลางขายสินค้า ห้างสรรพสินค้า กิจการจัดจำหน่าย กิจการก่อสร้าง และบริษัทที่ปรึกษา

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.tbs.tu.ac.th/om-home/

- บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง

ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลและทางอากาศ ในด้านการบริหารและการจัดองค์การขั้นพื้นฐานของบริษัท ประวัติการเดินเรือและการบิน โครงสร้างและลักษณะของอุตสาหกรรมการเดินเรือและการขนส่งทางอากาศ บทบาทของผู้ประกอบกิจการ ตัวแทนประเภทต่างๆ บทบาทของรัฐ หลักและการปฏิบัติของบริษัทเดินเรือ บริษัทสายการบิน และบริษัทผู้รับจัดการขนส่ง การจัดทำเอกสาร ข้อตกลง และสัญญาการขนส่ง การจัดทำตารางเดินเรือ การเช่าเหมาเรือ ระบบการขนถ่ายและการจัดวางสินค้า

บัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้ สามารถประกอบธุรกิจหรือทำงานในธุรกิจด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ประกอบธุรกิจหรือเข้าร่วมงานในธุรกิจการนำเข้า-ส่งออก ธุรกิจผู้ให้บริการขนส่ง เช่น บริษัทเรือ บริษัทสายการบิน ธุรกิจผู้ให้บริการรับจัดการขนส่ง เช่น Freight Forwarder ธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ธุรกิจท่าเรือ และสนามบิน ธุรกิจคลังสินค้าหรือการกระจายสินค้า ธุรกิจประกันภัยสินค้า ธุรกิจวิเทศธนกิจ เช่น ฝ่ายวิเทศธนกิจในสถาบันการเงิน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่  https://www.tbs.tu.ac.th/iblt-home/

- บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาและการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติงานและช่วยในการตัดสินใจ เรียนรู้การออกแบบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ การใช้และการบริหารทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทั้งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารงานด้านต่างๆ ในองค์การ

บัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้ เหมาะสมจะทำงานด้านสารสนเทศเป็นหลัก เช่น นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer) ผู้ตรวจสอบคอมพิวเตอร์ (IT Audit) ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Consultant) ที่ปรึกษาด้านระบบ ERP ผู้ทดสอบและควบคุมคุณภาพระบบ (Tester) ผู้ดูแลและจัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator: DBA) และผู้พัฒนาโปรแกรม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.tbs.tu.ac.th/mis-home/

- บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ศึกษาเกี่ยวกับการบริหาร การตลาด การลงทุน การพัฒนา และการประเมินมูลค่า ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เน้นการเพิ่มพูนความเข้าใจในศาสตร์ทางด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเชิงบูรณาการอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการพัฒนาที่เป็นระบบ ควบคู่ไปกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการบริหารจัดการที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคอย่างเป็นรูปธรรม

ผู้สำเร็จการศึกษาด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีช่องทางในการทำงานที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ 
การบริหารจัดการทรัพย์สิน การตลาด และการขายทรัพย์สิน โดยสามารถทำงานร่วมกับบริษัทเอกชนที่พัฒนาและลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ บริษัทให้คำปรึกษา หน่วยงานราชการ และบริษัทหรือสถาบันการเงิน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ค่าเทอมกี่บาท

ค่าเทอม หรือ ค่าธรรมเนียมการศึกษา คณะต่างๆ ของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1. คณะสหเวชศาสตร์ : 16,500 บาท / เทอม (โครงการปกติ) 2. คณะเศรษฐศาสตร์ : 14,200 บาท / เทอม 3. คณะนิติศาสตร์ : 13,800 บาท / เทอม (ศูนย์รังสิต) และ 18,800 บาท / เทอม (ศูนย์ลำปาง)

ม.ธรรมศาสตร์ มีคณะอะไรบ้าง

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คณะนิติศาสตร์.
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
คณะรัฐศาสตร์.
คณะเศรษฐศาสตร์.
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.
คณะศิลปศาสตร์.
วิทยาลัยนวัตกรรม.
วิทยาลัยสหวิทยาการ.

ม.ธรรมศาสตร์ มีกี่ที่

ธรรมศาสตร์ จัดการเรียนการสอนใน 4 ศูนย์ หรือวิทยาเขต ได้แก่ ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์พัทยา และศูนย์ลำปาง

ธรรมศาสตร์ มีคณะพยาบาลไหม

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 ได้รับการสถาปนาเป็นคณะลำดับที่ 14 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในการจัดการศึกษาสาขาวิชาชีพการพยาบาล ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นจัดตั้งเพื่อผลิตพยาบาล ในการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแก่สังคม และเพื่อปฏิบัติงาน โดยเน้นความ ...