การเลือกรับวัฒนธรรม สากล ด้านอาหาร

วัฒนธรรมในแต่ละสังคมย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะนำเสนอความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล โดยเน้นไปที่วัฒนธรรมของโลกตะวันออกซึ่งมีความใกล้ตัว และเป็นกระแสที่ถาโถมเข้ามายังวัฒนธรรมไทยอย่างมากในปัจจุบัน 


   วัฒนธรรมสากล คือวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งอาจเป็นของโลกตะวันออกอันมีวัฒนธรรมยุโรปและอเมริกาเป็นจุดเด่น และโลกตะวันออกอันมีวัฒนธรรมของเอเชียเป็นจุดเด่น 


1.วัฒนธรรมด้านอาหาร 

 อาหารของโลกตะวันตกเน้นความสะดวกสบาย ทั้งขึ้นตอนการทำและการเข้าถึงในการบริโภค เน้นแป้งและเนื้อสัตว์ เพื่อให้ร่างกายมีไขมัน สร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายที่มีอากาศหนาวเย็น ส่วนโลกตะวันออกจะรู้จักนำสมุนไพรมาปรุงแต่งเป็นอาหาร มีความพิถีพิถันในการปรุงแต่งจัดวางสร้างคุณค่าแก่ผู้บริโภคทั้งร่างกายและจิตใจ 

  อาหารประจำชาติไทย ประเทศไทยมีทั้งอาหารคาวและอาหารหวานสำอาหารคาวของไทยนั้นจะมีทุกรส ทั้งเค็ม หวาน เปรี้ยว และเผ็ด โดยปรุงขึ้นมาในหลายลักษณะดังนี้ แกง ผัด ยำ ทอด หรือย่าง เครื่องจิ้ม และเครื่องเคียง และแห้ง ขนมหวานชนิดแห้ง ปกติจะทำเป็นขนมอบใส่ขวดโหล เพื่อให้เก็บไว้ได้นาน 

 อาหารประจำชาติเกาหลี อาหารสำคัญของเกาหลี ได้แก่ กิมจิ เป็นผักดองที่มีรสเปรี้ยว เค็มและเผ็ด มีพริกแดงและกระเทียมเป็นส่วนประกอบกิมจิเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดของเกาหลีในนานาชาติ 

การเลือกรับวัฒนธรรม สากล ด้านอาหาร

 อาหารประจำชาติญี่ปุ่น อาหารญี่ปุ่นทั่วไปประกอบด้วย ข้าว ผัก ซุปปรุงจากเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น มิโซะ ผักดองและปลาหรือเนื้อ เป็นข้าวมักรับประทานกับสาหร่ายทะเลตากแห้ง

2.วัฒนธรรมการอยู่อาศัย มีความแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ทั้งในเรื่องของการใช้วัสดุและรูปทรง เช่น คนไทยนิยมสร้างบ้านด้วยไม้ มีใต้ถุนสูง เพื่อให้บ้านโปร่ง สบาย น้ำไม่ท่วม เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจึงนิยมปลูกบ้านริมแม่น้ำ ออกแบบให้หลังคาทรงสูง เพื่อให้อากาศถ่ายเทและให้ความร่มเย็นแก่ผู้อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังมีชายคาที่ยื่นยาวออกมาปกคลุมตัวบ้านมากกว่าบ้านทรงยุโรป เพื่อป้องกันแดดและฝน เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในภูมิประเทศเขตร้อน มีผนตกชุก ในขณะที่คนจีนนิยมสร้างสร้างบ้านด้วยดินเหนียวผสมหญ้าหรือหญ้าฟาง รูปทรงคล้ายตึด เพราะอยู่ในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาว จึงต้องสร้างบ้านให้กันลมหนาวได้ ส่วนชาวยุโรปมักสร้างบ้านเรือนเป็นตึกก่ออิฐหรือเทคอนกรีต 

3.วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย

แต่ละประเทศล้วนมีชุดแต่งกายประจำชาติ ซึ่งสะท้อนถึงภูมิปัญญาและความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งประจำชาติ 

 ชุดประจำชาติไทย เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์เพื่อการสวมใส่มีทั้งของบุรุษและสตรี เครื่องแต่งกายของบุรุษเรียกว่า ชุดพระราชทาน เสื้อชุดพระราชทานใช้กับกางเกงแบบสากลนิยมสีสุภาพ หรือสีเดียวกับเสื้อ ส่วนการแต่งกายแบบไทยของสตรี เช่น ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ เป็นต้น 

การเลือกรับวัฒนธรรม สากล ด้านอาหาร

 "กิโมโน" เป็นชุดประจำชาติของญี่ปุ่น กิโมโนเป็นที่พันรอบตัวและผูกด้วยผ้าคาด (โอบิ) ชุดของผู้ชายค่อนข้างอนุรักษ์นิยม คือ มักจะใช้สีดำ น้ำตาล เทา และขาว ชุดกิโมโนสำหรับหญิงรุ่นสาวมีสีสว่างสดใสและสีสันลวดลายสวยงาม

การเลือกรับวัฒนธรรม สากล ด้านอาหาร

"ฮันบก" เป็นชุดประจำชาติเกาหลี ฮันบกเป็นชุดตัดเย็บในลักษณะหลวมๆ เพื่อปกปิกสรีระตามธรรมชาติของร่างกาย ผู้ชายจะสวมชอโกรี(เสื้อคอปิด แขนยาว) กับพาจิ (กางเกงขายาวโป่งพ่อง) ขณะที่ผู้หญิงจะสวมกระโปรงยาวถึงพื้นเอวสูงมาก เรียกว่า "ซีม่า" และเสื้อแขนยาวหลวมๆ ตัวเสื้อสั้นมาก 

การเลือกรับวัฒนธรรม สากล ด้านอาหาร


4.วัฒนธรรมด้านศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
 ศิลปะป้องกันตัว คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งที่เน้นการเรียนและฝึกฝนด้านการต่อสู้และป้องกันตัว ซึ่งมีหลายลักษณะด้วยกันแตกต่างกันไปด้วย 
 ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติไทย มวยไทยเป็นศิลปะประจำชาติของไทยที่คนไทยสามารถใช้ได้อย่างคล่องแคล่วมวยไทยเป็นศิลปะชั้นสูงของการใช้อวัยวะ 6 ประเภท ได้แก่ หมัด ศอกแขน เท้า แข้ง และเข่า มาใช้ในต่อสู้การป้องกันตัว 

การเลือกรับวัฒนธรรม สากล ด้านอาหาร


 ศิลปะการต่อสู้ป้องกันประจำชาติญี่ปุ่น คือ ยูโด เป็นศิลปะการต่อสู้ที่ใช้เมื่ออยู่ในจังหวะประชิดตัว โดยใช้หลักการยืมพลังของคู่ต่อสู้มาเป็นพลังของตนเอง และคาราเต้ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างเป็นจังหวะ เช่น การชก การเตะ การกระแทก การผสมผสานระหว่างการปัดป้องและการจู่โจมในเวลาเดียวกัน 

การเลือกรับวัฒนธรรม สากล ด้านอาหาร


 ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติเกาหลี คือ เทควันโด เป็นศิลปะการเคลื่อนไหวที่เน้นการใช้เท้าเตะสูงและรวดเร็ว ในกระบวนท่าร่ายรำของเทควันโดประกอบไปด้วยกาปัด ปิด ปกป้อง การชก ใช้กำปั้นสันมือ และนิ้วมือ การหัก การเตะ การขยับหมุนเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกาย เช่นการหมุนตัว เหวี่ยงเท้า การเตะ การกระโดด เป็นต้น 

การเลือกรับวัฒนธรรม สากล ด้านอาหาร


 ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติจีน คือ กังฟู หรือ วูซู ศิลปะนี้จะว่าด้วยการใช้กลยุทธ์ทั้งมือและเท้าในการเข้าต่อสู้เป็นสาระสำคัญ มีรูปแบบการร่ายกนะบวนยุทธ และชั้นเชิงต่อสู้เป็นหลักในการฝึก โดยมุ่งเน้นการประสานพลังภายในและภายนอก 

การเลือกรับวัฒนธรรม สากล ด้านอาหาร


5.วัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดง 
ละคร เป็นมหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็นเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละชาติ
ละครไทย แบ่งออกเป็นละครรำแบบดั้งเดิม ได้แก่ ละครพันทาง ละครเสภา ละครสังคีต ละครร้อง ละครพูด
ละครของญี่ปุ่น มีการแสดงละคร 3 รูปแบบคือ ละครโน เป็นละครที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 14 ละครโนมีลักษณะเรียบง่าย ตัวละครจะสวมหน้ากากและการแต่งกายแบบโบราณ การพูดและการเคลื่อนไหวของตัวละครจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า ละครบุนระกุ เป็นละครหุ่นที่เริ่มแสดงฝนศตวรรษที่ 16 ตัวหุ่นจะมีการสร้างขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของมนุษย์ และคล้ายกับมนุษย์มาก การแสดงจะใช้คนจริงเล่นรวมกับหุ่นโดยคนเป็นผู้ชักหุ่นให้เคลื่อนไหวไปมาบนเวทีด้วยกันกับหุ่น ละครคาบูกิ เป็นละครที่พัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 17 การแสดงจะเน้นไปที่ความตื่นเต้นเร้าใจ เช่น การต่อสู้ การร่ายรำอาวุธ เป็นต้น 



การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและแนวทางอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม

           วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นมรดกทางสังคม แต่เนื่องด้วยยุคสมัยเปลี่ยนไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม ดังนั้นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะวัฒนธรรมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อปนะเทศ ย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความเจริญก้าวหน้าของประเทศ 


การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย

๑.การทำงาน คนไทยมักทำงานจับจด ชอบทำงานสบายที่ได้เงินดีโดยไม่ต้องเปลืองแรง มักโทษโชคชะตาที่ไม่เข้าข้างตน ไม่มีระเบียบวินัย สิ่งที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้น คือ

 ๑.๑ ความขยันและอดทน ทำงานหนัก และพึ่งตนเอง พื้นฐานของความสำเร็จของชีวิตและสังคมจะขึ้นอยู่กับความขยันและอดทนของแต่คนเป็นสำคัญ ในระบบการศึกษาของชาติที่พัฒนา เช่น ยุโรป สหัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้สอนให้คนในชาติขยัน อดทน ทำงานหนักมาตั้งแต่เด็ก ต้องอดทนต่อการเรียนอย่างเต็มที่ ดังนั้นความสำเร็จจในการศึกษาของนักเรียนของชาติที่พัฒนาจึงขึ้นอยู่กับความขยัน การอดทนและการทำงานหนักของเด็ก

 ๑.๒ การมีระเบียบวินัย ในสถาบันศึกษาต้องสอนให้เด็กปฏิบัติตามระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ ไม่คุยกันหรือใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะอยู่ในห้องเรียน ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นคือเด็กจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีระเบียบวินัย

๒.ความเป็นระบบและบูรณาการ สังคมไทยจะสอนให้คนมองแบบอยกส่วน ไม่เชื่อมต่อกัน ไม่นิยมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม สิ่งที่ควรปรับเปลี่ยนคือ การมองสิ่งต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เช่นศิลปะ ดนตรี พลศึกษา การทำงานบ้าน การบำเพ็ญประโยชน์ การทำงานร่วมกับชาวบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ควรนำมาเชื่อมโยงและชี้ให้เนถึงความสำคัญ ที่เท่าเทียมกันกับวิชาในชั้นเรียนกล่าวคือ ในกระบวนการเรียนการสอน นักเรียนจะต้องถูกเข้มงวดในเรื่องวิชาการ แต่ในขณะเดียวกัน นักเรียนจะต้องเคร่งครัดในเรื่อวหารทำกิจกรรมนในโรงเรียน สอนให้รักธรมมชาติ สอนให้ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน อบรมการเข้ากลุ่ม และการเป็นเพื่อนที่ดี

 ๓.ระบบอุปถัมภ์ ความสัมพันธ์ในลักษณะของการออุปถัมภ์ค้ำจุนกันระหว่างบุคคลในสังคมไทยถือเป็นวัฒนธรรมที่หนั่งรากฝังลึกกันมานาน การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานมักแต่งตั้งจากผู้อยู่ใกล้ชิด หรือคนที่โปรดปรานเป็นพิเศษ โดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นเกณฑ์ มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การพัฒนาประเทศไทยไม่ก้าวไปข้างหน้าเท่าที่ควร ดังนั้นจึงควรมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ให้เป็นระบบคุณธรรม ดังเช่นที่มีการใช้กันทั่วไปในประเทศพัฒนา ได้แก่ ยึดถือความรู้ความสามารถเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคล ปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเสมอกน้ากันโดยใช้ระเบียบและมาตรฐานเดียวกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ยึดมั่นในเส้นทางที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

4.การฉ้อราษฏร์บังหลวง ในสังคมไทยการฉ้อบังหลวงเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทราบกันโดยทั่วไป เช่นการจ่ายสินบนเพื่อให้ได้การผูกขาดกิจการปางประเภท การยักยอกเงินค่าธรรมเนียมโดยไม่นำเงินส่งหน่วยงาน การรับเงินค่านายหน้า เมื่อมีการจัดซื้อของให้หน่วยงาน การสมยอมกันในการจัดซื้อจัดจ้าง หรอให้สิทธิในการดำเนินการเพื่อจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ อันทำให้มิได้มีการแข่งขันเสนอประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และประเทศชาติอย่างแท้จริง


แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

1.บุคคลซึ้งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การยำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
2.บุคคลมีหนา้ที่ป้องกันประเทศ รับราชการ และเสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรมพิทักษ์ ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ตามที่กฏหมายบัญญัติ 
3.รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่วัฒนธรรม จัดให้มีกฏหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่นยแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกคริงในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4.องค์ประกอบครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น องค์กรปกครองส้วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นนั้นและเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐซึ่งการจัดการศึกษาอบรมภายในท้องถิ่น 
  ดังนั้นการรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยก็คือ
1) ส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยให้ดำรงคงอยู่อย่างยั่งยืนและมีพัฒนาการที่ดี
2) ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรรมและภูมิปัญญาไทยเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต
3) สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในความสำคัญของของวัฒนธรรม
4) ปฏิบัติตนตามกรอบที่ดีงามของวัฒนธรรมไทย ทั้งต่อคนไทยด้วยกัน และต่อชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะการแสดงต่อชาวต่างชาติจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก
5) เผยแพร่วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยของทุกท้องถิ่นไปให้ประชาชนไทยทั้งประเทศได้รับรู้อย่างกว้างขวาง
6) สนับสนุนส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยกับต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ 
7) วางมาตรการให้หน่วยงานของรัฐและของเอกชน ที่ดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิด
  วัฒนธรรมไทยจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วยมีการเผยแพร่และสืบทอดต่อกันมา ที่สำคัญคือ คนรุ่นหลังต้องซึมซับ
ในปัจจุบันได้มีการนำวัฒนธรรมไทยมาใช้ในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น เช่น สมุนไพร การรักษาโรค การช่าง ศิลปะการแสดง ครอบครัว การศึกษา นันทนาการ ศาสนา ภาษาและการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ การเมือง การบริหารเป็นต้น