บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย มีอะไรบ้าง

บทที่3

วิธีดำเนินงานการวิจัย

การดำเนินการวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาคณะศึกษาสตร์ชั้นปีที่4 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพรเชิงสำรวจ(Surer Research) เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนศึกษาระดับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาและเพื่อศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมที่มีผลต่อการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2. เครื่องมือและวีการสร้างเครื่องมือ

3. การหาคุณภาพเครื่องมือ

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล

5. การวิเคราะห์ข้อมูล

6. สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

            ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักษาคณะศึกษาสตร์ชั้นปีที่ 4 สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตชุมพร จำนวน 92 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักษาคณะศึกษาสตร์ชั้นปีที่ 4 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร จำนวน 30 คนที่ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษา ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแบบสอบถามทั่วไป ของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ การศึกษา ระดับการศึกษา ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ

ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักศึกษาต่อพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาคณะศึกษาสตร์ชั้นปีที่ 4 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร

4 ด้าน ได้แก่ 

                                                                    1. ด้านการศึกษา                                       จำนวน 3 ข้อ

                                                                    2. ด้านสังคม                                             จำนวน 4 ข้อ

                                                                    3. ด้านธุรกิจ                                               จำนวน 3 ข้อ

                                                                    4. ด้านบันเทิง                                            จำนวน 5 ข้อ

รวมทั้งหมด 15 ข้อ ลักษณะแบบสอบถามความพึ่งพอใจ 5 ระดับ โดยกำหนดเกณฑ์ในการให้คะแนน ดังนี

                                                                                    ความพึงพอใจระดับดีมาก                    ได้ 5 คะแนน

                                                                                    ความพึงพอใจระดับดี                           ได้ 4 คะแนน

                                                                                    ความพึงพอใจระดับปานกลาง              ได้ 3 คะแนน

                                                                                    ความพึงพอใจระดับน้อย                       ได้ 2 คะแนน

                                                                                    ความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด                ได้ 1 คะแนน

1.  ศึกษาค้นคว้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต บทความ หลักการ ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยงข้องกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชะอวด

 2.  ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักเรียนเพื่อนำข้อมูลการสร้างแบบสอบถาม ให้สอดคล้องและครอบคลุมเนื้อหา และวัตถุประสงค์ของการวิจัยกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนคำถามเป็นแบบตามมาตราประมาณค่า (Rating Scale)  5 ระดับ

3. นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อตรวจสอบเนื้อหาและภาษาที่ใช้ในแบบสอบถาม และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไข

4. นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน คือ

                                            1. นางวิไลวรรณ์ ชื่นใจ

                                            2. นายวีระ เส้งเอียด

                                            3. นางโศภิดา เพชรสุวรรณ

เพื่อหาความเที่ยงตรงของเนื้อหาความชัดเจนของภาษา และความสอดคล้องวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า โดยกำหนดคะแนนได้ดังนี้

                                                                                ถ้าเห็นว่าสอดคล้อง                       ให้คะแนน   +1

                                                                                ถ้าเห็นว่าไม่แน่ใจ                          ให้คะแนน    0

                                                                                ถ้าเห็นว่าไม่สอดคล้อง                   ให้คะแนน  -1

จากนั้นนำค่าคะแนนของผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละข้อมารวมกัน เพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)

จากสูตร IOC=R/N

เมื่อ  IOC  คือ  ดัชนีความสอดคล้อง

                                                                    R  คือ  คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทุกคน

                                                                             N      คือ  จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

5. นำแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน

            การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยขอความช่วยเหลือจากนักศึกษาคณะศึกษาสตร์ชั้นปีที่4 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร

            การจัดทำข้อมูล

1. ได้รับแบบสอบถามกลับคืนและตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม มีความสมบูรณ์จำนวน 30 ฉบับ

2. นำแบบสอบถามมาตรวจให้คะแนน ดังนี้

                                    ความพึงพอใจระดับดีมาก                ได้ 5 คะแนน

                                    ความพึงพอใจระดับดี                       ได้ 4 คะแนน

                                    ความพึงพอใจระดับปานกลาง          ได้ 3 คะแนน

                                    ความพึงพอใจระดับน้อย                   ได้ 2 คะแนน

                                    ความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด            ได้ 1 คะแนน

3. นำคะแนนที่ได้หาค่าทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

            การวิเคราะห์ข้อมูล

            ผู้ศึกษาค้นคว้าดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

1. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ

2.  นำผล ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษา มาวิเคราะห์และแปลงผลโดยหาค่าเฉลี่ย(ArthmeticMean,X) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation,S.D.)โดยกำหนดเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

                                                                                   ค่าเฉลี่ย                                   ระดับความพึงพอใจ

                                        4.51-5.00              หมายถึง                      มากที่สุด

                                        3.51-4.50              หมายถึง                      มาก

                                        2.51-3.50              หมายถึง                      ปานกลาง

                                        1.51-2.50              หมายถึง                      น้อย

                                        1.00-1.50              หมายถึง                       น้อยที่สุด

1.  เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย พฤติกรรมที่มีผลต่อการใช้โทรศัพท์มือถือ

จำแนกตามตัวแปร ที่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการใช้ค่าการทดสอบค่าที่ t-test

2.  เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมที่มีผลต่อการใช้โทรสัพท์มือถือ

จำแนกตามตัวแปรอายุ ที่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ถ้าพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  

สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามีดังนี้ คือ

1.  ค่าร้อยละ (Percentage)

2.  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (AritmeticMean,X)

3.  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation (S.D.))

4.  ค่าสถิติแบบ Independard sample (t-test)

5.  การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายของการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้