เปลี่ยนจากมาตรา 33 เป็น 39

ประชาชนที่เคยทำงานและตกงาน หรือลาออกจากงาน สามารถสมัครเป็นผู้มาตรา 39 ผ่านช่องทางออนไลน์สำนักงานประกันสังคม

Show

มาตรา 39 คือหนึ่งในมาตราของ ประกันสังคม ที่สำนักงานประกันสังคมเปิดให้ประชาชนที่ต้องการเป็นผู้ประกันตนสามารถสมัครได้โดยสมัครใจ ซึ่งเป็นหนึ่งในสวัสดิการภาครัฐที่เปิดโอกาสให้กับผู้ที่เคยทำงานและตกงาน หรือลาออกจากงาน สามารถรับสิทธิประกันสังคมได้อย่างต่อเนื่อง


มาตรา 39 คืออะไร

ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และจ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนแล้วลาออกหรือตกงาน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมอยู่ โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 มีสิทธิประโยชน์คุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่

- กรณีเจ็บป่วย

- กรณีคลอดบุตร

- กรณีทุพพลภาพ

- กรณีเสียชีวิต

- กรณีสงเคราะห์บุตร

- กรณีชราภาพ


โดยปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนโดยการสามารถสมัครประกันสังคม มาตรา 39 ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งมีเอกสารและวิธีการดังนี้


เอกสารการสมัคร มาตรา 39

- แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)

- บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา


วิธีการสมัครมาตรา 39 แบบออนไลน์

  1. 1. ดาวน์โหลดเอกสาร แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
  2. 2. แนบบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่มีเลขบัตรประชาชนและรูปถ่ายที่ราชการออกให้ พร้อมสำเนา

3. ส่งแบบคำขอและเอกสารการสมัครมาตรา 39 ผ่านช่องทางที่สะดวก

- สมัครทางสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน

- สมัครทางไปรษณีย์ระบบลงทะเบียน

- สมัครทางโทรสาร (FAX)

- สมัครทางออนไลน์ผ่านระบบอีเมลล์

- สมัครทางออนไลน์ผ่านระบบไลน์

4. ตรวจสอบผลการสมัครมาตรา 39 อย่างใกล้ชิด


เงินสมทบมาตรา 39 ต้องส่งประกันสังคมเท่าไหร่


ผู้สมัครมาตรา 39 ต้องนำส่งเงินสทบเข้าประกันสังคมเดือนละ 432 บาท โดยเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน ซึ่งคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)


วิธีจ่ายเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 39

  1. 1. จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมแบบส่งเงินสมทบฯ (สปส. 1-11) โดยหักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มี 7 ธนาคาร ดังนี้

1. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

3. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

6. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

7. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)


หมายเหตุ

- กรณีหักผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ขอรับหนังสือยินยอมให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาที่เปิดบัญชี หรือ สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่)

- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ปรับลดค่าธรรมเนียมรายการละ 5 บาท (เดิมคิดค่าธรรมเนียม 10 บาท)

2. จ่ายด้วยเงินสดที่

  1. - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  2. - ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. - ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  4. - จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7- ELEVEN ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท สามารถจ่ายเงินสมทบได้ทุกสาขา
  5. - จ่ายเป็นธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ พร้อมแบบส่งเงินสมทบ สปส. 1-11 ถึงสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (กรณีจ่ายผ่านธนาณัติ แนะนำให้สอบถามเจ้าหน้าที่ด้วยว่า สั่งจ่าย ตู้ ป.ณ. ใด)
  6. - จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ จะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท
  7. - จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เพย์สบายที่มีสัญลักษณ์ "แจ๋ว" ทุกสาขาทั่วประเทศ จะมีค่าธรรมเนียม 10 บาท


หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีอะไรบ้าง

  1. 1. ต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน
  2. 2. แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงให้สำนักงานประกันสังคมดังนี้

- กรณีเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ (สปส. 1-34)

- กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล หรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ต้องแจ้งทันทีพร้อมแนบสำเนาหลักฐาน

- กรณีประสงค์ลาออกหรือกลับเข้าทำงานและมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีตามแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 (สปส.1-21)

ประกันตนมาตรา 33 เป็นหนึ่งในแรงงานสำคัญที่เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ดังนั้นสำนักงานประกันสังคมจึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างหลักประกันในการดำเนินชีวิตให้แก่ผู้ประกันตนมาโดยตลอด ซึ่งครอบคลุมถึงสิทธิประโยชน์รอบด้าน โดยเฉพาะกรณีว่างงาน ที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 เท่านั้นจะได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองนี้เมื่อถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง โดยหากผู้ประกันตนออกจากงานแล้วไม่เกิน 6 เดือนและสมัครใจที่จะอยู่ในระบบประกันสังคมต่อไปจะต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 เพื่อรักษาสิทธิประกันสังคมให้คุ้มครองต่อเนื่อง

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ผู้ที่ต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 จะต้องเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน ซึ่งผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับสิทธิประโยชน์ 6 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33

เปลี่ยนจากมาตรา 33 เป็น 39

สำหรับการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 นั้นจากเดิมปกติที่ผู้ประกันตนจะต้องนำส่งเงินสมทบทุกเดือน ในอัตราเดือนละ 432 บาท ซึ่งใช้ฐานการคำนวณเงินสมทบเดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (9% x 4,800) แต่ล่าสุดได้มีประกาศกฎกระทรวงลดอัตราเงินสมทบเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 เหลือเดือนละ 240 บาท ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 เพื่อเป็นการช่วยเหลือนายจ้างและผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนเมื่อตาย กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ลาออก ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ) หรือภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 9 เดือน (สิ้นสภาพในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน) ดังนั้น ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน

ทั้งนี้ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ โดยผู้ประกันตนสามารถส่งเงินสมทบได้หลายช่องทางผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร/หน่วยบริการ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เคาน์เตอร์โลตัส เคาน์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่น-อีเลฟเว่น) ทุกสาขา เคาน์เตอร์ CenPay Powered by บุญเติม ผ่านระบบ Pay at Post ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ หรือชำระเงินสมทบโดยหักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง ทาง Line ID: @ssothai และทางเว็บไซต์ www.sso.go.th

Website: www.sso.go.th
Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Instagram: sso_1506
Twitter: @sso_1506
YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
LINE: @SSOTHAI
TikTok: @SSONEWS1506

เปลี่ยนจากมาตรา 33 เป็น 39

เปลี่ยนจากมาตรา 33 เป็น 39

Tagsนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ผู้ประกันตนผู้ประกันตนมาตรา 33มาตรา 39รักษาสิทธิสำนักงานประกันสังคมออกจากงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สปส.พร้อมส่งมอบของขวัญปีใหม่ 2566 เร่งขับเคลื่อนนโยบายปี 66 พัฒนางานประกันสังคมเพื่อผู้ประกันตนได้ประโยชน์สูงสุด

ในงานแถลงข่าวสรุปผลงานเด่น ปี 2565 เมื่อวันที่ 23 ม.ค.2566 นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้กล่าวถึงของขวัญปีใหม่ ที่นายสุชาติ ชมกลิ่น

รมว.“สุชาติ” ส่ง ที่ปรึกษาฯ “ธิวัลรัตน์” มอบเงินกรณีเสียชีวิต เหตุเรือบรรทุกน้ำมันระเบิด

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์

เปลี่ยนสถานะเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 33 ไร้กังวล เมื่อนายจ้างขึ้นทะเบียนให้ภายใน 30 วัน

แนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้เกิดธุรกิจการค้ากลับมาเปิดทำการ ส่งผลให้เกิดการจ้างงานได้เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นหากเกิดกรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 หรือมาตรา 40 ที่ส่งเงินสมทบเองเป็นประจำทุกเดือน ได้กลับเข้าไปเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ

ผู้ประกันตน ปลื้ม ยื่นขอสินเชื่อโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ย้ำ รีบจับจองขอรับสิทธิ ภายใน 19 ธันวาคม 2566

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่ผู้ใช้แรงงาน เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาล กระทรวงแรงงาน

ลูกจ้างต้องรู้! สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน เมื่อถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง

สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 นั้น ถือเป็นสิทธิที่ช่วยคุ้มครองลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง

“ขอบคุณที่ไม่ทิ้งเราไปไหน” เสียงแห่งความยินดี จากครอบครัวผู้ทุพพลภาพ จังหวัดลำปางส่งถึง สปส.มอบสุข

จากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ทำให้ครอบครัวต้องทนทุกข์ทรมานใจกับความเจ็บปวดและความสูญเสียของสมรรถภาพร่างกายที่ไม่เหมือนเดิม จากเคยแข็งแรงกลับต้องมาเป็นผู้ป่วยติดเตียง เหมือนดั่งชีวิตของ นายอนุชา อาษาวงค์ อายุ 48 ปี ผู้ประกันตนมาตรา 33