คํานวณเงินชราภาพประกันสังคม มาตรา 39

          อย่างไรก็ตาม ในอนาคตทางประกันสังคมจะเปิดโอกาสให้เราสามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินบำเหน็จ หรือบำนาญ หลังจากเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการให้แก้ไขสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ  ซึ่งก็ต้องรอดูกันว่าทางประกันสังคมจะมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างไรบ้าง หากเรา "ขอเลือก" ว่าจะรับเงินชราภาพในรูปแบบไหน และกรณี "ขอคืน" เงินชราภาพบางส่วนก่อนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน อธิบาย เงินประกันสังคมที่จ่ายกันอยู่ทุก ๆ เดือน ส่วนหนึ่งจะถูกกันไว้ออมยามเกษียณ หรือที่เรียกกันว่า เงินบำเหน็จ และ เงินบำนาญ ชราภาพ

ต้องรู้! สิทธิประโยชน์จากส่วนนี้ได้เมื่อไหร่ และคิดเป็นจำนวนกันอย่างไร ดังนี้

เงินบําเหน็จ
จ่ายครั้งเดียวก้อนเดียว
ส่งเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี)
มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน เป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

คํานวณสิทธิที่ได้รับ
จ่ายสบทบน้อยกว่า 12 เดือน
ได้เงินสมทบเท่าที่ผู้ประกันตนจ่าย ได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว

จ่ายสบทบตั้งแต่ 12-179 เดือน
เงินออมชราภาพของผู้ประกันตน + เงินสมทบนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน

เงินบํานาญ
จ่ายรายเดือนตลอดชีพ
ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป
มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

คํานวณสิทธิที่ได้รับ
จ่ายสมทบ 180 เดือน (15 ปี) พอดี 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
ที่จ่ายประกันสังคม (คํานวณจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำ 1,650 บาท
สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท)

จ่ายสบทบเกิน 180 เดือน (15 ปี)
บวกเพิ่มปีละ 1.5% ต่อปี

มีผู้ประกันตนจำนวนมากที่ให้ความสนใจในส่วนของเงินกรณีชราภาพ โดยตั้งแต่งวดสมทบวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา ประกันสังคมเริ่มเก็บเงินสมทบเพิ่มในกรณีชราภาพเพื่อจัดเป็นกองทุนเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับผู้ประกันตนในวัยเกษียณให้สามารถมีเงินพอเพียงเลี้ยงชีพทุกเดือนไปตลอดชีวิต โดยที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติประกันสังคม มาตราที่ 77 ทวิ ดังนี้

ในกรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบเดือนให้มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่อายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ เว้นแต่เมื่อมีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์และความเป็นผู้ประกันตนยังไม่สิ้นสุดลงตามมาตรา ๓๘ หรือ มาตรา ๔๑ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ในกรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบหนึ่งร้อยแปดสิบเดือนและความเป็น ผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๔๑ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ

คํานวณเงินชราภาพประกันสังคม มาตรา 39
ผู้ประกันตนหลายท่านมีความสงสัยว่าหากเราส่งเงินสมทบเป็นเวลา 15 ปี หรือ 180 เดือน สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับกรณีชราภาพจะเป็นอย่างไร

จากมาตรา 77 ทวิ ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกันสังคมได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิ์ได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนไปจนกว่าจะเสียชีวิต ภายใต้ 2 เงื่อนไขที่สำคัญ คือ หนึ่งต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสองต้องสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนคือต้องลาออกจากประกันสังคมเท่านั้น กฎหมายประกันสังคมได้ระบุไว้ชัดเจนว่า หากส่งเงินสมทบถึง 180 เดือน ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นเงินบำนาญหรือเงินรายเดือนไปจนตลอดชีวิต หากผู้ประกันตนต้องการได้รับเงินบำนาญชราภาพต้องรอจนมีอายุครบ 55 ปีเท่านั้น และจะต้องลาออกจากประกันสังคมด้วย โดยเงินสมทบ 180 เดือน ให้นับเฉพาะเดือนที่มีการส่งเงินสมทบเข้ามาและจะส่งติดต่อกันหรือไม่ก็ได้

ทีนี้ก็มาถึงคำถามว่าแล้วเงินบำนาญรายเดือนที่ว่าจะได้เท่าไหร่ คิดคำนวณอย่างไรทางประกันสังคมก็ได้ให้รายละเอียดไว้ โดยสามารถเข้าไปอ่านศึกษาได้ที่ลิงค์เว็บไซต์ประกันสังคมตามนี้

โดยสรุปคือหากส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือน เงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่จะได้ คิดจากอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หากส่งเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน เงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่จะได้ ให้คิดเพิ่มจากอัตราร้อยละ 20 อีกร้อยละ 1.5 ต่อการจ่ายเงินสมทบเพิ่มทุก ๆ 12 เดือน สำหรับค่าจ้างเฉลี่ยที่ประกันสังคมให้นำใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ


  • หากเป็นกรณีที่ทำงานกับบริษัทเอกชนอยู่ในประกันสังคมมาตรา 33 ค่าจ้างสูงสุดที่ประกันสังคมให้คิดเป็นฐานส่งเงินสมทบคือ 15,000 บาท ก็ใช้ 15,000 บาท เป็นฐานในการคำนวณเงินบำนาญชราภาพนี้ด้วย หากค่าจ้างไม่ถึง 15,000 บาท ก็ให้นำค่าจ้างจริงมาคำนวณ
  • สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ที่ประกันสังคมให้ใช้ฐานเงินเดือนที่ 4,800 บาทต่อเดือน ในการคำนวณเงินสมทบก็ให้ใช้ 4,800 บาท เป็นฐานในการคำนวณเงินบำนาญชราภาพนี้เช่นกัน หากภายใน 60 เดือนสุดท้าย ก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมีทั้งช่วงเวลาที่ทำงานกับบริษัทเอกชนและช่วงที่ลาออกมาประกันตนเองตามมาตรา 39 ก็ให้คิดเฉลี่ยตามจำนวนเดือน

คํานวณเงินชราภาพประกันสังคม มาตรา 39
เรื่องเงินบำนาญชราภาพของประกันสังคมมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องทำความเข้าใจกันมาก จึงขอยกตัวอย่างการคำนวณเงินบำนาญชราภาพเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น สมมติว่าเราทำงานในบริษัทเอกชนเริ่มส่งเงินสมทบตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2540 ตอนอายุ 22 ปีพอดี เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 จึงได้ลาออกมาเพื่อประกอบอาชีพอิสระแต่ก็เลือกสมัครประกันตนเองโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในกรณีนี้จะคำนวณเงินบำนาญชราภาพอย่างไร

ก่อนจะถึงขั้นตอนการคำนวณ อยากให้เข้าใจก่อนว่าการคำนวณเงินบำนาญชราภาพ ณ ขณะนี้ก็เพื่อให้เราทราบถึงสถานะปัจจุบันของเงินบำนาญชราภาพของเราเท่านั้น แต่หากอายุของเรายังไม่ถึง 55 ปีบริบูรณ์ และก่อนจะถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ เงินเดือนหรือค่าจ้างรายเดือนของเราอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน รวมถึงระยะเวลาที่จะส่งเงินสมทบประกันสังคมก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาต่อจากปัจจุบันด้วย ว่าจะหยุดส่งหรือส่งต่อไปจนถึงอายุ 55 ปี ไม่ว่าจะหยุดส่งหรือส่งต่อไปจนถึงอายุ 55 ปี ก็จะมีโอกาสได้รับสิทธิเงินบำนาญชราภาพ เพียงแต่เงินรายเดือนที่ได้อาจมากน้อยต่างกันขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบส่วนที่เกิน 180 เดือน ว่านานกว่านั้นแค่ไหน

กลับมาที่ตัวอย่างของเรากันต่อ ในกรณีนี้เงินบำนาญชราภาพที่เราจะได้รับรายเดือนเมื่อมีอายุครบ 55 ปี และได้ลาออกจากประกันสังคมเพื่อรับสิทธิ์เงินบำนาญ คำนวณดังนี้

  • ฐานค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนล่าสุด คิดจากปัจจุบันคือเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2559
  • ย้อนกลับไปวันที่เราลาออกจากบริษัท คือเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 นับรวมได้ 42 เดือน
  • ช่วง 42 เดือนนี้เป็นช่วงที่เราประกันตนเองตามมาตรา 39 คิดฐานเงินเดือนที่เดือนละ 4,800 บาท
  • เหลืออีก 18 เดือนก่อนหน้าที่ต้องนำมาคิดเฉลี่ยด้วย เงินเดือนต่อเดือนเกิน 15,000 บาท ให้คิดสูงสุดที่ 15,000 บาท 18 เดือน นั้น ก็คิดฐานเงินเดือนตามนี้ ดังนั้น

ฐานค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนล่าสุด = [(4,800 x 42) + (15,000 x 18)] / 60 = 7,860 บาท

เริ่มส่งเงินสมทบเดือนแรกเดือนมีนาคม พ.ศ. 2540 แต่เงินกรณีชราภาพทางประกันสังคมเริ่มเก็บเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 ดังนั้น เงินสมทบที่ส่งมาก่อนหน้านั้นไม่นับรวมเป็นงวดสมทบกรณีชราภาพ ให้เริ่มนับตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 รวมส่งเงินสมทบทั้งหมด 216 เดือน เมื่อย้อนกลับไปดูในเงื่อนไขเป็นการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน เกินอยู่ 36 เดือน เมื่อคิดส่วนเกินทุก ๆ 12 เดือน ก็จะมีส่วนเกินอยู่ 3 ขั้น (36/12 =3 )

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ
=  15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%
=  5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% (ปรับเพิ่ม) × 3 ปี ) = 4.5%
รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี = 20% + 4.5% = 24.5%
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน 24.5 % x 7,860 = 1,925.70 บาท

เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และลาออกจากประกันสังคมเพื่อได้รับเงินบำนาญชราภาพ ผู้ประกันตนก็จะได้รับเงินบำนาญเป็นรายเดือน 1,925.70 บาท เท่ากันไปจนกว่าจะเสียชีวิต


 

อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าเงินบำนาญรายเดือนที่คำนวณได้ในตอนนี้ อาจมีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการเป็นผู้ประกันตนและระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ หากกรณีตามตัวอย่างปัจจุบันเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 เรามีอายุ 41 ปี หากเราส่งเงินสมทบต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 55 ปี การคำนวณนี้ก็จะเปลี่ยนไป เงินบำนาญรายเดือนก็จะต้องคำนวณใหม่ด้วย

รับเงินชราภาพแล้วสมัครม39ได้ไหม

8.ถาม กรณีรับเงินบำนาญชราภาพอยู่ ต่อมาได้รับการอนุมัติเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 จะมีสิทธิได้รับบำนาญต่อหรือไม่ ตอบ ไม่มีสิทธิ เพราะเมื่อเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แล้ว จะหยุดจ่ายเงินบำนาญให้จนกว่าจะสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ถึงจะได้รับเงินชราภาพตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข

บํานาญประกันสังคม ม.33 คิดยังไง

ผู้ประกันตน .33 ที่เกษียณอายุครบ 55 ปี และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ยื่นเรื่องขอรับเงินกรณีชราภาพ รับเงินสะดวกผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน - ผู้ประกันตนชำระเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาชราภาพเป็นรายเดือนตลอดชีวิต - ชำระเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ รับเป็นเงินก้อนครั้งเดียว

ผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้อะไรบ้าง

ผู้ประกันตน มาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ซึ่งได้แก่ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และชราภาพ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่นเดียวกับ ผู้ประกันตน มาตรา 33.

รับเงินชราภาพ ประกันสังคม ทำ อย่างไร

1. ผู้ประกันตน / ทายาทผู้มีสิทธิต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือ ชื่อ และนํามายื่นที่สํานักงานประกันสังคมจังหวัด / สํานักงาน ประกันสังคมเขตพื้นที่หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน 2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา 3. สํานักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา 4. พิจารณาสั่งจ่าย