เงินชดเชยรายได้ ประกันสังคม

ผู้ประกันตน ม.33 รับสิทธิเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

เผยแพร่: 4 พ.ย. 2565 14:25   ปรับปรุง: 4 พ.ย. 2565 14:25   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Show



นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ระบุว่าผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่มิใช่เนื่องจากการทำงานนั้น จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

โดยหากเป็นการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยปกติทั่วไป ผู้ประกันตนจะได้รับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนมีสิทธิ และไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่หากผู้ประกันตนต้องหยุดพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์ในช่วง 30 วัน จะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้จากนายจ้างก่อนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและหลังจากวันที่ 31 เป็นต้นไปจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับตามใบรับรองแพทย์ที่ระบุวันให้หยุดพักรักษาตัวครั้งละไม่เกิน 90 วัน และไม่เกิน 180 วันต่อปี
 
เว้นแต่ผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วันต่อปี นอกจากนี้หากผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เมื่อเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีตายอีกด้วย

ผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ /จังหวัด / สาขาทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง หรือ Line : @ssothai และทางเว็บไซต์ www.sso.go.th

#Website: www.sso.go.th
#Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Instagram: sso_1506
#Twitter: @sso_1506
#YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
#LINE: @SSOTHAI
#TikTok: @SSONEWS1506

                 



  • เงินทดแทนการขาดรายได้
  • ผู้ประกันตน ม.33
  • สำนักงานประกันสังคม

กำลังโหลดความคิดเห็น

ผู้ประกันตนมาตรา 33 กรณีลาป่วย 30 วันแรกจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง สามารถเบิกกรณีขาดรายได้ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% โดยคิดจากฐานค่าจ้างอยู่ที่จำนวน 4,800 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
  • ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะต้องส่งสมทบมาอย่างน้อย 3 เดือน ในระยะเวลา 4 เดือนก่อนจะเบิกเงินชดเชยรายได้ซึ่งจะได้เงินทดแทนสำหรับทางเลือก 1 , 2 และ 3

  • รูปบน ของ desktop
    รูปล่าง ของ mobile

    เงินชดเชยรายได้ ประกันสังคม

    เงินชดเชยรายได้ ประกันสังคม

    ช่วงนี้โรคระบาดยอดฮิตที่หันไปทางไหนก็ถามกันว่า “เกมรึยัง?” อยู่เสมอ ก็คือ “โควิด-19” แล้วถ้าติดขึ้นมาจะทำยังไงต่อ คนที่อยู่ในประกันสังคมเบิกอะไรได้ไหม วันนี้พี่ทุยเลยพามาดูวิธี เบิกประกันสังคม ในกรณีผู้ประกันตน “ม.33-39-40” ติดโควิด-19 ฉบับปี 2565 กัน ไปฟังกัน 

    กรณีที่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมติดโควิด-19 สามารถใช้สิทธิในการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล และเงินทดแทนรายได้ โดยผู้ประกันตนแต่ละมาตราจะต้องเข้ารับการรักษาในระบบสำนักงานประกันสังคม หรือ สปสช. เพื่อขอรับใบรับรองแพทย์มาเบิกประกันสังคม

    การเบิกค่าชดเชยค่ารักษา เมื่อหยุดงาน กรณีติดโควิด-19 จากประกันสังคม 

    1. เข้ารักษาตัวตามระบบที่ สปสช. กำหนด

    2. ทำเรื่องขอใบรับรองแพทย์ ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ระบุการติดเชื้อ ระบุวันหยุดงาน

    3. เตรียมเอกสารเบิกค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยรายได้จากสำนักงานประกันสังคม

    เอกสาร/หลักฐาน เพื่อ เบิกประกันสังคม เมื่อ ติดโควิด-19 

    1. แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01) ดาวน์โหลด หรือขอแบบฟอร์ม “แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)” จากสำนักงานประกันสังคม กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และเลือก “ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย” แล้วเลือกค่ารักษาพยาบาล จำนวนเงินตามใบเสร็จรับเงิน จากนั้นเลือกเงินทดแทนการขาดรายได้ ตั้งแต่วันที่…. ถึงวันที่….. กลับเข้าทำงานวันที่….

    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ สำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)

    3. สำเนาบัตรประกันสังคม

    4. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง (ระบุวันหยุดงาน)

    5. ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (กรณีเบิกค่ารักษา)

    6. หนังสือรับรองการหยุดงานจากนายจ้าง

    7. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารออมทรัพย์ หน้าแรก

    8. กรณีเปลี่ยนชื่อ สกุล แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อสกุลด้วย

    เงินชดเชยรายได้ ประกันสังคม

    เงื่อนไข เบิกประกันสังคม หาก ติดโควิด-19 สำหรับปี 2565 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 

    กรณีลาป่วย 30 วันแรกจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือ กรณีจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยรับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หากป่วยเรื้อรังได้รับไม่เกิน 365 วัน

    เงื่อนไขการเบิกประกันสังคมโควิด 2565 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39

    ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างอยู่ที่จำนวน 4,800 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง จะสามารถได้เงินทดแทน ไม่เกิน 365 วัน 

    ทั้งนี้ ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

    ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39

    สปสช. จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับทางโรงพยาบาลตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ และผู้ป่วยจะได้รับการช่วยเหลือครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ดังนี้ 

    1. ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ

    2. ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตน (ค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามอาการ และการให้คำปรึกษา)

    3. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่น ๆ

    4. ค่ายาที่ใช้รักษา

    5. ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล

    6. ค่าบริการ X-ray

    7. ค่า Oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์

    เงื่อนไขการเบิกประกันสังคมโควิด 2565 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40

    ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะต้องส่งสมทบมาอย่างน้อย 3 เดือน ในระยะเวลา 4 เดือนจนเกิดสิทธิ์ก่อน จึงจะเบิกเงินชดเชยรายได้กับประกันสังคมได้ โดยมี 3 ทางเลือกดังนี้

    • ทางเลือกที่ 1 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 700 บาท
    • ทางเลือกที่ 2 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท
    • และทางเลือกที่ 3 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาท

    ซึ่งจะแบ่งกรณีการเบิกสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้เป็น จะได้เงินทดแทนวันละ 300 บาท กรณีเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป แต่ไม่ถึง 30 วันต่อปี (สำหรับทางเลือก 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วันต่อปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)

    หรือได้เงินทดแทนวันละ 200 บาท กรณีแพทย์ให้รักษาตัวที่บ้าน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี (สำหรับทางเลือก 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วันต่อปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)

    หรือได้เงินทดแทนวันละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี กรณีไม่ได้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน หรือไม่ได้กักตัว มีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลเท่านั้นมาแสดงต่อสำนักงาน (เฉพาะทางเลือกที่ 1 และ 2 เท่านั้น สำหรับทางเลือกที่ 3 ไม่คุ้มครอง)

    เบิกประกันสังคม กรณี ติดโควิด-19 ต้องใช้เวลากี่วัน

    การเบิกเงินชดเชยต่างๆ จากประกันสังคม อยู่กับระยะเวลาการพิจารณาเอกสารของเจ้าหน้าที่ประกันสังคม ซึ่งเร็วสุดอาจจะได้เงินภายใน 7 วัน หรือภายในวันที่ 30 หรือ 31 ของเดือนที่ทำเรื่องเบิก ผู้ประกันตนสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานะการจ่ายเงินได้ที่ www.sso.go.th โทร 1506

    เงินชดเชยขาดรายได้ประกันสังคมกี่วันได้

    ที่ระบุวันให้หยุดพักรักษาตัวครั้งละไม่เกิน 90 วัน และไม่เกิน 180 วันต่อปี เว้นแต่ผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 365 วันต่อปี นอกจากนี้หากผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เมื่อเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีตายเช่นเดียวกับกรณีตายตามสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 อีก ...

    เงินชดเชยรายได้ประกันสังคมคิดยังไง

    กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

    ลาออกจากงานประกันสังคมอยู่ได้กี่เดือน

    ทั้งนี้ หากภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนยังไม่ได้กลับเข้าทำงานกับนายจ้าง หรือกลับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมจะสิ้นสุดลงอัตโนมัติ

    ลาออกจากงานจะได้อะไรบ้าง

    กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา : รับเงินทดแทน 30 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน กรณีไม่ได้ทำงานจากเหตุสุดวิสัย : รับเงินทดแทน 50 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน.
    ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย.
    ทุพพลภาพ.
    คลอดบุตร.
    สงเคราะห์บุตร.
    ชราภาพ.