การอนุมานจากเหตุไปหาผล ตัวอย่าง

ภาษากับเหตุผล 

        เหตุผล คือ ความคิดสำคัญซึ่งจะเป็นหลัก เป็นเกณฑ์หรือเป็นข้อเท็จจริง
ซึ่งมีข้อสรุปรอรับอยู่ ความคิดหลักดังกล่าว จะทำให้ข้อสรุปนั้นหนักแน่น
และน่าเชื่อถือ

โครงสร้างของการแสดงเหตุผล ต้องประกอบด้วย
๑. เหตุผล ,
ข้อรับรอง หรือ ข้อสนับสนุน
๒. ข้อสรุป

  ภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล
ใช้ในลักษณะดังนี้
๑. ใช้คำสันธาน เช่น เพราะ จึง ดังนั้น เพราะฉะนั้น
โดยที่
- ระยะนี้ต้องดูหนังสือหนัก เพราะใกล้สอบแล้ว
-
โดยที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับความสนใจจากผู้ชมมาก จึงต้องฉายนานถึง 6 เดือน
๒.
เรียบเรียงข้อความทั้ง ๒ ส่วนให้เหมาะสม โดยไม่ต้องใช้คำสันธาน เช่น
-
เมืองกาญจน์เป็นเมืองที่มีภูเขามาก อากาศดี ฉันอยากไปเที่ยวอีก
-
เช้านี้รถติดมาก ฉันจึงมาโรงเรียนสาย
๓.
ใช้กลุ่มคำเพื่อบ่งชี้ว่าเป็นเหตุหรือเป็นข้อสรุป เช่น
-
จากการประชุมของคณะกรรมการนักเรียน เรามีมติว่า
ให้กรรมการแต่ละฝ่ายไปเขียนโครงการของตนมาแล้วนำมาส่งที่ประธานสัปดาห์หน้า
๔.
ใช้เหตุผลหลาย ๆ ข้อประกอบกันเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้แก่ข้อสรุป
เช่น
“การที่ฉันลาออกจากราชการ
แล้วมาปลูกต้นไม้ขายก็เพราะเบื่อชีวิตราชการที่ต้องทำตามคำสั่งเจ้านายทั้งที่ไม่อยากทำ
ชอบปลูกต้นไม้เพราะทำให้เกิดความเพลิดเพลิน สบายใจ ต้นไม้ทำให้สดชื่น ผ่อนคลาย
ยิ่งปลูกก็ยิ่งเพลิน ก็เลยมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนพอที่จะขาย

วิธีการแสดงเหตุผลและการอนุมาน
การอนุมาน หมายถึง
กระบวนการคิดในการหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่ การอนุมาน มี ๒วิธี คือ
๑.
การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย
๒. การอนุมานด้วยวิธีอุปนัย
การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย
เป็นการแสดงเหตุผลโดยคิดถึงหลักความจริงของส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย
เป็นหลักที่จริงแท้แน่นอนเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
เหตุผลที่ยกขึ้นมาอ้างนั้นเชื่อถือได้สมเหตุสมผลและชัดเจน เช่น
-
ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
สุรชัยเป็นคนที่กตัญญูเป็นอย่างยิ่งจึงกล่าวได้ว่า
สุรชัยเป็นคนดี
การอนุมานด้วยวิธีอุปนัย
เป็นการอนุมานจากส่วนใดส่วนหนึ่งไปสู่ส่วนรวมทั้งหมด
เป็นการใช้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ มาสนับสนุนข้อสรุป
ข้อสรุปที่ได้มานั้นไม่แน่นอนเสมอไป การอนุมานวิธีอุปนัยนี้
อาจหาข้อสรุปได้ด้วยวิธีการใช้แนวเทียบก็ได้ โดยการนำเหตุการณ์ในกรณีหนึ่ง
ไปเทียบเคียงกับอีกกรณีหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน
ข้อสรุปที่ได้จากการอนุมานแบบอุปนัยจึงได้เพียง “น่าจะเป็นเช่นนั้น” เท่านั้น
ไม่ใช่แน่นอนตายตัวเหมือนการอนุมานด้วยวิธีนิรนัย
ข้อสนับสนุนที่นำมาอ้างนั้นก็ไม่สมเหตุสมผลเท่าใดนัก ตัวอย่างเช่น
-
คนไทยเป็นคนโอบอ้อมอารี ฉันสบายใจจริง ๆ ที่ได้อยู่กับคนไทย
เพราะเขาต้องเป็นคนโอบอ้อมอารีแน่นอน
การอนุมานด้วยวิธีอุปนัยนั้น
หากพิจารณาจากเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน จะแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
๑.
การอนุมานจากเหตุไปหาผล เริ่มจากพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น
แล้วคาดว่าสิ่งนั้นจะทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างไร
- น้ำมันขึ้นราคาอีกแล้ว
อีกหน่อยของทุกอย่างก็แพงขึ้น
๒. การอนุมานจากผลไปหาเหตุ
เป็นการพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมองย้อนกลับไปว่าอะไรเป็น
สาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิด เช่น
- น้ำมันขึ้นราคาอีกแล้ว
ประเทศในกลุ่มโอเปคคงไม่ยอมผลิตน้ำมันเพิ่ม
๓. การอนุมานจากผลไปหาผล
เป็นการพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เป็นผลลัพธ์เหตุการณ์หนึ่งแล้วคาดว่าจะเกิดผลลัพธ์อะไรอีกอย่างหนึ่งตามมา
เช่น

- นงลักษณ์ชอบเล่นดนตรีไทย คงจะชอบร้องเพลงไทยเดิมด้วย        

การวางโครงสร้างของเหตุผล

1. เหตุมาก่อนผลสังเกตจากคำเชื่อมจะใช้ "ดังนั้น,ก็เลย,จึง,เพราะ"

2. ผลมาก่อนเหตูสังเกตคำเชื่อมจะใช้ "เพราะ,เนื่องจาก,ด้วย"

เช่น เขาวิ่งมาอย่างเร็วจึงหกล้ม "เหตุมาก่อนผล"

เขาหกล้มเพราะวิ่งมาอย่างเร็ว "ผลมาก่อนเหตุ"

แต่เราว่านะของอย่างงี้บางทีมันก็อยู่ที่ตรรกะส่วนตัวของแต่ละคนด้วยล่ะ

คืออ่านแล้วเราควรจะวิเคราะห์ได้ด้วยตัวเองด้วยว่า อันไหนเป็นเหตุอันไหนเป็นผล 

วิธีการให้เหตุผล

มีวิธีการอยู่ 3 ขั้นตอน

1. ต้องแยกออกให้ได้ก่อนว่าอะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล

2.ดูก่อนว่าสิ่งที่เราแยกออกมา คือที่เรารู้แน่ๆว่าเกิด กับคาดว่าจะเกิดขึ้น

3. คำตอบของการอนุมานจะเขียนจากสิ่งที่เรารู้แน่ๆว่าเกิดไปหาสิ่งที่เราคาดว่าจะเกิด 

การอนุมานมี 3 แบบ

1.การอนุมานจาก"เหตุ"ไปหา"ผล"

2.การอนุมาจาก"ผล"ไปหา"เหตุ"

3.การอนุมานจาก"ผล"ไปหา"ผล"

(เหตุผลกับภาษา การอนุมาน การแสดงทรรศนะ การโต้แย้ง การโน้มน้าวใจ)

เหตุผลกับภาษา

            โจทย์จะถาม 3 ประเด็น

            1. มีการแสดงเหตุผลหรือไม่(ถ้ามีต้องมีเหตุ+ผล) ไม่ใช่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง

            2. ลำดับการแสดงเหตุผล(เหตุก่อนผลหรือผลก่อนเหตุ)

            3. ความสมเหตุสมผล    

คำเตือน                        เรื่องนี้ให้พยายามหา คำสำคัญ ดังนี้

                        หลัง  เพราะ  เพราะว่า ด้วย  เหตุที่ว่า โดยที่                       =          เหตุ (ข้อสนับสนุน)

                        หลัง  ดังนั้น เพราะฉะนั้น จึง ก็เลย                                    =          ผล (ข้อสรุป)

การอนุมาน

            อนุมาน = เดาอย่างมีเหตุผล

            1. นิรนัย เป็นการเดาที่อ้างกฎหรือหลักความจริง ดังนั้นเวลาเดาแล้วมันจะเป็นความจริง

            ตัวอย่าง        

                        1) คนทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย แม้ตัวเราเองก็ตายจากดลกนี้ไปในวันหนีงเป็นแน่

            2) อาจารย์วาดจันทร์เป็นคนดีมากๆเลยนะเพราะอาจารย์เป็นคนมีความกตัญญู(สัจธรรมก็คือ ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี)

            3) คุณสมบัติต้องเป็นผู้หญิงแน่ๆ เพราะเป็นป้าของคุณสมชาย(เดาจากความจริงที่ว่า ป้าต้องเป็นเพศหญิงเท่านั้น )

            2. อุปนัย เป็นการเดาจากสิ่งที่เห็นว่าหลายๆเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น เราก็เลยสรุปว่ามันน่าจะเป็นเช่นนั้นซะเลยซึ่งความจริงอาจไม่ใช่ก็ได้เพราะไม่ได้อ้างจากกฎความจริงหรือสัจธรรม(แบบนี้เป็นการคาดเดาเอามากๆเลยให้พยายามสังเกตจากคำว่า คง คงจะ อาจ อาจจะ น่า น่าจะ)           ตัวอย่าง (ตัวละครและเรื่องเหล่านี้เป็นการสมมุตินะคะ )

            1) ใครๆ เห็นอาจารย์ทิวลิปก็หลงเสน่ห์กันทั้งนั้น ฉันว่าถ้าไอซ์มาเจออาจารย์ทิวลิปก็คงหลงเสน่ห์ไปอีกคน

            2) ปีที่แล้วนะอาจารย์ทิวลิปอกหักวันวาเลนไทน์ เดี๋ยวปีนี้อาจารย์ก็คงอกหักอีกรอบ

            3) โดมและ ฟิล์มก็เคยเป็นแฟนกับอาจารย์ทิวลิป เรนก็ยังเคย ไอซ์เองก็น่าจะเคยเป็นแฟนอาจารย์นะ

การอนุมานจากสาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน

            1.  การอนุมานจากเหตุไปหาผล    เห็นเหตุ แล้ว เดา ผล

                        - นักเรียนตั้งใจเรียน คงจะสอบติดจุฬาฯกันทุกคนแน่เลย

                        - อาจารย์ทิวลิปทำตัวน่ารัก ผู้ชายน่าจะมารักเป็นร้อยจนเลือกไม่ไหว

                        - อาจารย์ทาทายังสอนภาษาไทยได้มันสะใจสุด ไม่นานก็คงจะดังระเบิดเถิดเทิง

            2. การอนุมานจากผลไปหาเหตุ     เห็นผล  แล้ว เดา เหตุ

                        - ฟิล์มแลดูหน้าตาอิดโรย เมื่อคืนคงทำงานดึกไปหน่อย (หรือไปทำอย่างอื่นก็ไม่รู้นะ)

                        - อาจารย์ทิวลิปแลดูสวยขึ้น อาจารย์น่าจะไปทำศัลยกรรมที่ยันฮีมานะ

                        - พี่จวงนมใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย พี่จวงคงจะกินยาคุมเพิ่มเป็นวันละ 2 แผงแน่ๆ

            3. การอนุมานจากผลไปหาผล      เห็นผลตัวที่ 1 เดา ผลตัวที่ 2

                        - อาจารย์วสีแลดูสวยขึ้นนะ เดี๋ยวก็คงมีผู้ชายมาตามจีบกันจนหัวกระไดไม่แห้ง

                        - โดมสอบตกตั้งหลายวิชา เกรดเฉลี่ยก็คงลดลงด้วย

                        - บีมได้เกรดเฉลี่ยตั้ง 3.80 ยังงี้คงจะได้เกียรตินิยมด้วยชัวร์เลย

การแสดงทรรศนะ

            โจทย์จะถาม 3 ประเด็นหลักๆ คือ

            1. โครงสร้าง (ที่มา/ข้อสนับสนุน/ข้อสรุป) ถามว่าอยู่ตรงไหน ส่วนไหนเป็นอะไร โดยเฉพาะข้อสรุปโจทย์ถามหาบ่อยมาก

            2. ข้อความนั้นๆ มีการแสดงทรรศนะหรือไม่ ให้สังเกตคำที่ใช้แสดงทรรศนะ เช่น คิดว่า เห็นว่า คงจะ อาจจะ น่าจะ ควรจะ พึงจะ ขอสรุปว่า ฯลฯ

            3.  ประเภทของทรรศนะ (ระวังใน 1 ทรรศนะ อาจมีได้หลายประเภท)

                        - ทรรศนะเชิงข้อเท็จจริง               แสดงความเห็นทั่วไป เน้นความจริง ความเท็จ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น

                        - ทรรศนะเชิงนโยบาย                  เน้นการเสนอแนะสิ่งต่างๆ เช่น แผนงาน โครงการ ข้อควรทำ เป็นต้น

                        - ทรรศนะเชิงคุณค่าหรือค่านิยม    เน้นการตัดสินว่าเป็นอย่างไร ดี/ไม่ดี ควร/ไม่ควร  เหมาะ/ไม่เหมาะ

การโต้แย้ง

การโต้แย้ง  ใช้ความรู้จากเรื่องทรรศนะมาเชื่อมโยง เพราะการโต้แย้งคือการแสดงทรรศนะที่ต่างกันนั่นเอง

            Key Words แสดง การโต้แย้ง=  แต่ แต่ทว่า มิใช่ ใช่ว่า ไม่ว่า หาก

            โจทย์จะถามเกี่ยวกับประเด็นการโต้แย้ง บ่อยมากๆ นั่นก็แปลว่าเขาชอบให้เราตั้งชื่อหัวข้อการโต้แย้งนั่นเอง จ้ะ

การโน้มน้าวใจ

            โจทย์จะถามเกี่ยวกับกลวิธีการในการโน้มน้าวใจและสารโน้มน้าวใจ

          กลวิธีการโน้มน้าวใจมี 6 วิธี คือ

            1. แสดงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ

            2. แสดงความหนักแน่นของเหตุผล

            3. แสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน

            4. แสดงทางเลือกด้านดีและด้านเสีย

            5. สร้างความหรรษาแก่ผู้รับสาร

            6. เร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า

          สารโน้มน้าวใจ มี 3 ประเภท คือ

            1. คำเชิญชวน

            2. โฆษณาสินค้าและบริการ

            3. โฆษณาชวนเชื่อ