คำนวณภาษีร้านค้า บุคคลธรรมดา

หมายเหตุ: เครื่องมือคำนวณภาษีนี้ เป็นการคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น หากท่านต้องการทราบรายละเอียดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.rd.go.th

เงินได้เงินเดือนต่อปีโบนัส ดอกเบี้ยและรายได้อื่นๆเงินปันผลรวมรายได้ก่อนหักค่าลดหย่อน0

ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนค่าใช้จ่าย 0ค่าลดหย่อนส่วนตัว 0สถานะสมรสค่าลดหย่อนคู่สมรส 0ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตรค่าลดหย่อนบุตรค่าลดหย่อนบุตรบุญธรรมค่าลดหย่อนบุตร0ค่าลดหย่อนบุตรบุญธรรม0ค่าลดหย่อนบิดา-มารดา 0 1 20ค่าลดหย่อนบิดา-มารดาคู่สมรส 0 1 20เงินสะสม ค่าประกันชีวิตค่าดอกเบี้ยกู้บ้านเงินสะสมประกันสังคมค่าเลี้ยงดูบุคคลทุพพลภาพ x 60,0000ช็อปดีมีคืนเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน0ค่าบริจาคการศึกษา x 20เงินได้หลังหักค่าบริจาคการศึกษา0ค่าบริจาคอื่นๆรวมเงินได้สุทธิ0ภาษีเงินได้ของท่าน0

SSF , RMF , ประกันชีวิตแบบบำนาญ และ SSFX ช่วยท่านประหยัดภาษีกองทุนรวม RMF + SSF + ประกันบำนาญ และเงินที่สะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)จำนวนเงินที่ซื้อ SSF สูงสุดเพื่อการยกเว้นภาษี

0 บาท

ท่านต้องการที่จะซื้อ SSF (บาท) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)จำนวนเงินที่ซื้อ RMF สูงสุดเพื่อการยกเว้นภาษี

0 บาท

ท่านต้องการที่จะซื้อ RMF (บาท) ประกันชีวิตแบบบำนาญจำนวนเงินที่ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ

0 บาท

ท่านต้องการซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ (บาท) กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX)จำนวนเงินที่ซื้อ SSFX สูงสุดเพื่อการยกเว้นภาษี

200,000 บาท

ท่านต้องการซื้อ SSFX (บาท)

ภาษีที่ท่านประหยัดได้

0 บาท

% ที่ลงทุน0รวมเงินได้สุทธิหลังซื้อกองทุนรวม SSF และ/หรือ RMF และ/หรือ ประกันชีวิตแบบบำนาญ และ/หรือ SSFX

0

รวมภาษีเงินได้ของท่านหลังจากทำการซื้อ

0



รายได้รวมตลอดทั้งปี ตั้งแต่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม ทั้งรายได้จากงานประจำและรายได้เสริมอื่น ๆ เช่น ปล่อยค่าบ้าน

คำนวณภาษีร้านค้า บุคคลธรรมดา

ต้นทุนในการทำธุรกิจ หรือหากรับเป็นเงินเดือนสามารถหักลดค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยไม่เกิน 100,000 บาท 

คำนวณภาษีร้านค้า บุคคลธรรมดา

สิทธิขอลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนพื้นฐาน, ครอบครัว, การลงทุน, กองทุน หรือแม้แต่การทำประกัน 

คำนวณภาษีร้านค้า บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคิดอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได หรือแบบเหมาจ่าย ขึ้นอยู่กับว่าแบบใดจะเสียภาษีมากกว่าให้ยึดจ่ายตามนั้น

คำนวณหาเงินได้สุทธิบุคคลธรรมดา

สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนเริ่มคำนวณภาษีคือการคำนวณรายได้สุทธิ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการลดภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปี แถมยังช่วยให้เราได้เงินคืนหากเราถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งมีสูตรง่าย ๆ ดังนี้

สูตรการคำนวณหาเงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งปี-หักค่าใช้จ่าย-หักค่าลดหย่อน

สมมติว่า นาย A เป็นพนักงานเงินเดือนมีรายได้ทั้งปีรวมกัน 300,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 100,000 บาท และมีรายการลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท ประกันสังคม 9,000 บาท ไม่มีกองทุนหรือประกันอื่น ๆ

เงินได้สุทธิ  = เงินได้ทั้งปี-หักค่าใช้จ่าย-หักค่าลดหย่อน

300,000-100,000-(60,000+9,000) = 131,000 บาท

เท่ากับว่า นาย A จะมีรายได้สุทธิ 131,000 บาทต่อปี ก็จะนำจำนวนดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับตารางภาษีขั้นบันไดแล้วดูว่าตัวเองต้องเสียภาษีถึงขั้นไหน ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าถ้าเรานำค่าเบี้ยประกัน หรือกองทุนที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ นอกจากจะช่วยลดภาษีในแต่ละขั้นลงแล้ว จะช่วยลดภาษีที่ต้องจ่ายได้มากเลยทีเดียว เนื่องจากการคำนวณอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันไดจะคิดไล่จากปริมาณภาษีที่ละขั้น โดยไล่จากขั้นที่น้อยที่สุดไปหาขั้นที่สูงขึ้น สรุปก็คือยิ่งจำนวนขั้นภาษีที่ต้องจ่ายน้อยเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเสียภาษีน้อยเท่านั้น

สูตรการคำนวณหาเงินได้สุทธิ

ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

โดยปกติการคำนวณภาษีจะใช้การคำนวณแบบอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันไดเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นผู้ที่เสียภาษีนั้นมีรายได้เพิ่มขึ้นจากช่องทางอื่น ๆ เช่น ค่าปล่อยเช่าบ้าน ค่างานพิเศษ หรืองานเสริม จึงจะต้องคำนวณภาษีอีกแบบเพิ่มขึ้นมานั้นก็คือ การคำนวณภาษีแบบเหมา 

วิธีที่ 1 คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบขั้นบันได (ฉบับย่อ)

เนื่องจากการคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดมีวิธีการคำนวณที่ยุ่งยากหลายขั้นตอน อาจไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ เพราะต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจ อาจสับสนได้ยิ่งเวลามีตัวเลขเยอะ ๆ วันนี้จึงขอนำเสนอสูตรคำนวณภาษีง่าย ๆ ที่สามารถคำนวณได้ด้วยตัวเอง 

สูตรการคำนวณหาภาษีที่ต้องจ่าย

[ (เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิสูงสุดในขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี ] + ภาษีสะสมที่ต้องจ่ายในขั้นก่อนหน้า

เพียงหารายได้สุทธิที่ผ่านการหักลบค่าลดหย่อนภาษีเรียบร้อยแล้ว นำมาเปรียบเทียบตารางด้านล่างว่าอยู่ในช่วงไหน จากนั้นก็นำเงินได้สุทธิของตัวเองไปคำนวณในสูตรได้เลย เพียงเท่านี้เราก็จะรู้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในปีนั้นแล้ว

(เงินได้สุทธิ – 150,000) x 0.05

[ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x 0.10 ] + 7,500

[ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x 0.15 ] + 27,500

[ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x 0.20 ] + 65,000

[ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x 0.25 ] + 115,000

[ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x 0.30 ] + 365,000

[ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x 0.35 ] + 1,265,000

วิธีที่ 2 คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบเหมา 0.5%

หากผู้ที่มีเงินได้จากช่องทางอื่น ๆ นอกจากเงินได้ประเภทที่ 1 หรือเงินเดือน รวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป จะต้องคำนวณภาษีแบบเหมาในอัตราร้อยละ 0.5 ด้วยโดยนำรายได้ต่าง ๆ มารวมกันแล้วคูณด้วย 0.005 เพื่อที่จะหาค่าภาษีที่ต้องจ่าย และถ้าหากไม่เกิน 5,000 บาทจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าไม่มีรายได้อื่น ๆ สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย

ภาษีแบบเหมา = (เงินได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.005

เมื่อคำนวณเสร็จแล้วให้นำภาษีที่ต้องจ่ายมาเปรียบเทียบกันดูว่าวิธีไหนต้องเสียภาษีมากกว่า ให้เลือกเสียภาษีตามวิธีนั้น