ลงทะเบียนหนี้นอกระบบ นร.1 ออนไลน์

 หลังจากที่คุณได้ยื่นเรื่องขอกู้สินเชื่อธนาคารออมสินปลดหนี้นอกระบบไปแล้ว อย่าลืมว่าการผ่อนชำระค่างวดเป็นสิ่งที่คุณต้องทำอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้ค้างชำระเป็นดินพอกหางหมูเหมือนที่เคย ไม่เช่นนั้นคุณอาจจะต้องกลับสู่วังวนหนี้นอกระบบอีกได้! ปรับเปลี่ยนนิสัยการใช้เงิน วางแผนรายรับ รายจ่ายให้ดี เพียงแค่นี้หนี้สินนอกระบบที่มีอยู่ ก็จะลดน้อยลงและหมดไปในที่สุดยังไงล่ะ! 

เปิดวิธีออกจากวงจร "หนี้นอกระบบ" ที่เริ่มต้นได้จากตัวเอง พร้อมทั้งช่องทางช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

"หนี้นอกระบบ" หนึ่งใน "ปัญหาทางการเงิน" ของคนไทย ที่จูงใจให้กู้ง่ายๆ ไม่ต้องใช้หลักฐาน ไม่ตรวจเครดิตบูโร ที่มักต้องแลกมาด้วยดอกเบี้ยสูงลิบ หรือบางครั้งมีการทวงถามสุดโหดตามมาด้วย 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งที่ทำให้หนี้นอกระบบกระจายไปในวงกว้าง คือการเข้าไม่ถึงสินเชื่อของประชาชนบางกลุ่ม โดยเฉพาะในยุคโควิด-19 ที่ประชาชนได้รับผลกระทบทางการเงินกันถ้วนหน้า 

ใครที่กำลังตกอยู่ในวงจรเหล่านี้ "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ชวนหาทางออก และรวบรวมตัวช่วย "ปลดหนี้" ให้ไม่บานปลายไปกว่าเดิม 3 วิธี ดังนี้

 1. หาทางปิดหนี้ 

“เงิน” คือสิ่งที่เจ้าหนี้นอกระบบต้องการ และแน่นอนว่าการออกจากวงจรนี้ต้องใช้เงินในการแก้ไข ทว่าไม่ได้หมายถึงการกู้อีกรายมาใช้คืนอีกราย แต่หมายถึงการจัดการเงินของตัวเองให้มีเงินมาปิดหนี้

เบื้องต้นอาจเริ่มต้นจากการปรับพฤติกรรมต่างๆ เพื่อ “หาเงินเพิ่ม” เช่น ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้มีเงินเหลือสำหรับการจ่ายหนี้ ที่อาจเริ่มต้นด้วยการลดรายจ่ายไม่จำเป็นลง อย่างค่าอาหารมื้อพิเศษ ค่ากาแฟที่แพงเกินตัว หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในตอนนี้ แล้วหันมามองหาโอกาสในการเพิ่มรายได้

หรืออาจแปลงทรัพย์สินที่มีมูลค่าบางให้กลายเป็นเงิน รวมถึงพยายามหารายได้เพิ่มเติมจากความถนัดหรืองานอดิเรกของตัวเองเป็นจุดตั้งต้น เพื่อให้มีรายได้เข้ามาจากหลายทาง หรือเป็นจุดเริ่มต้นของแหล่งรายได้ที่ต่อเนื่องในอนาคต

 2. หันมาอาศัยแหล่งเงินกู้ในระบบ 

แหล่งกู้เงินในระบบ คือ อีกทางเลือกที่สามารถช่วยให้ปลดหนี้นอกระบบได้ โดยการปิดหนี้นอกระบบจากสินเชื่อในระบบที่ดอกเบี้ยต่ำกว่า และมีหน่วยงานกำกับดูแลชัดเจน

ปัจจุบัน ธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ที่มักจะมีโครงการช่วยเหลือประชาชน “แก้หนี้นอกระบบ” ออกมาเป็นระยะๆ ที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เช่น

2.1) โครงการธนาคารประชาชน เพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ จากธนาคารออมสิน 

สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน เพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ ตามนโยบายรัฐบาล วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) 1% ต่อเดือน 

โดยมีเงื่อนไขว่าต้องนำไปแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เกิดจากการประกอบอาชีพ หรือการอุปโภคบริโภค แต่ต้องไม่เป็นการนำไปชำระ (Re-Finance) หนี้ในระบบ โดยคุณสมบัติผู้ที่สามารถขอสินเชื่อได้ คือ

- เป็นผู้ที่มีการประกอบอาชีพ มีรายได้

- สัญชาติไทย มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เมื่อรวมอายุของผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ ต้องไม่เกิน 65 ปี

- มีถิ่นที่อยู่แน่นอน มีสถานที่ประกอบอาชีพ สามารถติดต่อได้

- เป็นผู้ลงทะเบียนหนี้นอกระบบ (นร.1) สามารถลงทะเบียนได้ในวันที่ขอกู้จากธนาคาร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : "ออมสิน" ปล่อยสินเชื่อแก้หนี้นอกระบบวงเงิน 50,000 ยื่นสมัครง่ายๆ ไม่ยาก

 2.2) โครงการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรและบุคคลในครัวเรือน จาก ธ.ก.ส. 

เป็นการชำระหนี้นอกระบบที่เกิดจากเกษตรกรลูกค้า คู่สมรส บุตร บิดามารดาของเกษตรกรลูกค้า หรือของคู่สมรสที่อยู่ในอุปการะของเกษตรกรลูกค้า

รายละเอียดเบื้องต้น คือ

- วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท/ราย 

- วงเงินกู้ไม่เกิน 150,000 บาท/ราย (กรณีมีวัตถุประสงค์ในการสงวนที่ดินทำกินที่ลูกหนี้ใช้ที่ดินในการจำนอง)

- อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี 

- ระยะเวลาชำระหนี้ 10 ปี สูงสุดไม่เกิน 12 ปี 

- ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองสินเชื่อ กรณีเสียชีวิตไม่เกิน 100,000 บาท/ราย และการคืนดอกเบี้ย 30% ของดอกเบี้ยที่ชำระหนี้

นอกจากธนาคารของรัฐแล้วยังมีสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างๆ เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งมีทั้งแบบที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน (เช่น บ้านหรือทะเบียนรถ) รวมถึง สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์และสินเชื่อพิโกพลัส ซึ่งดอกเบี้ยของสินเชื่อเหล่านี้น้อยกว่าดอกเบี้ยของหนี้นอกระบบ มีสัญญาชัดเจน และมีหน่วยงานทางการกำกับดูแลอีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: เช็ครายละเอียด 3 โครงการ ธ.ก.ส. 'แก้หนี้นอกระบบ' ช่วยเกษตรกร

 3. หาคนกลางมาช่วยไกล่เกลี่ย ประนอมหนี้ 

ข้อมูลจากคู่มือแนวทางการไกล่เกลี่ย "ประนอมหนี้" นอกระบบ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) สำนักงานอัยการสูงสุด ระบุว่า ผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบสามารถติดต่อ สคช. สำนักงานอัยการสูงสุด สายด่วน 1157 เพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องหนี้นอกระบบได้

โดยคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจำจังหวัดจะช่วยเป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้นอกระบบให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้ง 2 ฝ่าย

ทั้งนี้ สำหรับลูกหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้น้อย จะมีคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการหารายได้ของลูกหนี้นอกระบบในทุกจังหวัดช่วยฝึกอบรมอาชีพ ฝีมือแรงงาน และให้ความรู้ทางการเงิน โดยลูกหนี้นอกระบบสามารถขอคำปรึกษาและร้องเรียนปัญหาหนี้นอกระบบได้ที่หน่วยงานราชการ ประกอบด้วย

ยกตัวอย่าง: “สมรัก” เป็นหนี้นอกระบบ 20,000 บาท และต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่นายทุนในอัตรา 20% ต่อเดือน โดยมีระยะเวลาผ่อน 1 ปี


ดอกเบี้ยที่สมรักต้องจ่ายสามารถคำนวณได้ดังนี้

ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x ระยะเวลาผ่อน (ปี)

หรือจากตัวอย่างจะเท่ากับ 20,000 x (20% x 12) x 1

คำนวณแล้วดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้กับหนี้นอกระบบจะอยู่ที่ 48,000 บาทต่อปี


แต่หากสมรักเปลี่ยนมากู้เงินในระบบกับธนาคาร หรือสถาบันการเงิน ก็จะไม่ต้องนำอัตราดอกเบี้ยมาคูณด้วย 12 เหมือนตัวอย่างด้านบน เพราะเรทที่ได้มาเป็นอัตราดอกเบี้ยต่อปีอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะเอาเรทที่แพงสุดๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้อย่าง 28% มาคำนวณ ก็ยังจ่ายน้อยกว่าดอกเบี้ยนอกระบบหลายเท่าตัวมาก โดยจะเหลือแค่ 20,000 x 28% x 1


โดยคำนวณแล้วดอกเบี้ยที่สมรักต้องจ่ายให้กับสถาบันการเงินจะอยู่ที่ประมาณ 5,600 บาทต่อปี เท่านั้นเอง

ลงทะเบียนหนี้นอกระบบ นร.1 ออนไลน์

มาถึงบรรทัดนี้ เราน่าจะเห็นแล้วว่าดอกเบี้ยของหนี้นอกระบบโหดแค่ไหน ซึ่งหากเรามีหนี้แบบนี้หลายก้อน ก็จะเป็นภาระดอกเบี้ยระยะยาวไม่จบไม่สิ้น วิธีที่จะช่วยให้ชีวิตเดินต่อได้ก็คือ การปิดหนี้พวกนี้ให้เร็วที่สุดโดยไม่ต้องใช้เงินตัวเอง หรือที่เรียกว่าการ “รวมหนี้” โดยนำหนี้ที่มีดอกเบี้ยแพงทั้งหลายมารวมไว้เป็นก้อนเดียวกัน เพื่อขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงินในระบบมาปิดหนี้ดอกแพงทั้งหมดนี้ทันที แล้วมาเลือกผ่อนสบายๆ เป็นรายงวดคืนให้กับธนาคารแทน ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง ซึ่งการรวมหนี้ยังสามารถนำหนี้ในระบบที่เกิดจากการรูดเพลินเกินรายได้อย่างหนี้บัตรเครดิตมารวมได้ด้วย