ท่อ ประปา แตก ใน ผนัง

ท่อน้ำในผนังบ้านรั่วซึม จะซ่อมอย่างไร

  • ใช้สว่านโรตารี่ (สว่านและหัว สำหรับเจาะผนังปูน) กะเทาะผนังปูนออกมาจนถึงแนวท่อประปาเดิม
  • เมื่อเปิดแผลออกก็จะรักษาได้ถูกจุดใช่ไหม ต่อไปก็ซ่อมท่อประปาที่รั่วแล้วแต่บุญแต่กรรมว่ารั่วตรงไหน แล้วทำตามคู่มือที่หาได้ทั่วไปตามกูเกิ้ล อันนี้ไม่ยาก
  • INSEE Mortar 11 ปูนฉาบทั่วไป และ INSEE Mortar 16W ปูนฉาบแต่งผิวบางพิเศษสำเร็จรูป(สกิมโค้ท) สีขาว ทั้งสองชนิดเป็นปูนสำเร็จรูป ฉีกถุงปุ๊บ ผสมน้ำ
  1. INSEE Mortar 11 ปูนฉาบทั่วไป
  2. INSEE Mortar 16W ปูนฉาบแต่งผิวบางพิเศษสำเร็จรูป(สกิมโค้ท)
  3. ถังน้ำหรือถังใส่ปูน แนะนำว่าถังขนาดไม่ต้องใหญ่มาก และควรจะมีหูหิ้ว จะเคลื่อนย้ายง่าย ยิ่งสะดวก
  4. เกรียงเหล็ก ใช้ทั้งแบบสามเหลี่ยมไว้ ตัก กวน ผสม จะได้ง่าย ส่วนสี่เหลี่ยมเป็นแบนๆนั้นเอาไว้ฉาบ
  5. น้ำสะอาด
  6. ทรายละเอียด
  • นี่คือเนื้อสัมผัสของ INSEE Mortar 11 ปูนฉาบทั่วไป สังเกตดีๆจะเห็นได้ว่าเนื้อจะออกสีเทาสว่าง กว่าปูนทั่วไป นั่นเพราะในกรรมวิธีการผลิตนั้นไม่ได้ใช้ทรายเป็นส่วนผสม แต่เหนือกว่าด้วยการใช้หินบดคัดคุณภาพที่มีขนาดคละเหมาะสม หากท่านเอาปูนถุงนี้ไปฉาบผนัง ก็จะลื่น สวย เรียบ และหากขัดมันก็จะได้สีเทาสว่าง
  • กรณีนี้เราไม่ได้ใช้ปูนเพื่อฉาบ แต่เป็นการซ่อมแซมรอยรั่ว ที่ต้องใช้ความหนาของปูนเกือบเท่ากับงานก่อเลยหละ เราจึงผสมทรายละเอียดเพิ่ม เพื่อช่วยให้ปูนมีมวลเนื้อที่หยาบแน่นขึ้น
  • ใช้เกรียงสามเหลี่ยม ตักปูน และบรรเลงลงไปยังร่องที่กะเทาะไว้ 
  • นำอิฐมอญไปแช่น้ำ แล้วเอาปูนก่อลงบนตัวอิฐด้วย
  • เราจะใช้คุณสมบัติที่แข็งแรงของอิฐมอญ บวกกับขนาดที่ใหญ่ เข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับผนัง และช่วยทำให้การฉาบง่ายขึ้น 
  • INSEE Mortar 11 ช่วยทำให้งานฉาบเรียบ เนียนสวย ได้ดั่งใจ แล้วก็ปล่อยให้เขาเซ็ตตัวแข็งแรง ซัก 1 คืน 
  • ใช้  INSEE Mortar 16W ปูนฉาบแต่งผิวบางพิเศษสำเร็จรูป(สกิมโค้ท) สีขาว เนื้อด้านในขาว นวล ละเอียด 
  • ง่ายกว่านี้มีอีกไหม เพียงแค่ผสมน้ำ คลุกเคล้าให้เข้ากัน จนได้เนื้อปูนเหนียวนุ่ม เหมือนวิปครีมเลย ลืมบอกว่าอุปกรณ์ ให้ใช้สะดวก ก็ใช้คู่กับ กระบะยางไนล่อน และเกรียงโป้วสี ต้องปล่อยให้แห้ง และขัดให้เรียบด้วยกระดาษทรายอีกที

ริวิวโดย: TheRoomMaker

ปัญหาท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน น้ำรั่ว น้ำซึม ตามพื้น ตามผนังบ้าน เป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยครั้ง ซึ่งนอกจากจะสร้างความรำคาญให้แก่ผู้อยู่อาศัยแล้ว หลายครั้งที่มักจะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ไปจนถึงโครงสร้างบ้านได้รับความเสียหาย จากการที่เหล็กเสริมในคอนกรีตเป็นสนิม โดยมีสาเหตุ และแนวทางการแก้ไขต่างกันไป บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน ที่เราสามารถแก้ได้ ก่อนปัญหาจะบานปลาย ไปดูกัน

สาเหตุ ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน

  • รอยแตกร้าว รอยแตกร้าวของผนัง หรือระหว่างผนัง และพื้น อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ไปกระทบกับท่อน้ำ ที่ถูกฝังอยู่ในผนังบ้าน หรือใต้พื้นบ้าน
  • ข้อต่อท่อ เป็นจุดที่เกิดปัญหาค่อนข้างบ่อย เพราะตอนวางระบบน้ำ ช่างอาจจะใช้แรงมากเกินไปจนท่อร้าวได้ หรือบางกรณีอัดกาวไม่แน่นพอ จะเกิดท่อหลวม ซึ่งเมื่อเป็นการร้าวของท่อที่ฝังอยู่ใน พื้นใต้บ้าน หรือกำแพง อาจจะต้องสกัดปูน เพื่อเปลี่ยนข้อต่อท่อในส่วนนั้น 
  • แรงดันภายในท่อน้ำ ช่วงที่ไฟฟ้าดับ ทำให้เครื่องสูบน้ำหยุดทำงานฉับพลัน แต่เมื่อไฟฟ้ากลับมาปกติ อาจเกิดการกระแทกกลับของน้ำในท่อ เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ท่อประปาแตกได้ หรือการที่ปล่อยให้ ถังเก็บน้ำแห้งเป็นประจำ อากาศจะเข้าไปแทนที่ภายในท่อ และเมื่อเปิดใช้น้ำ จะเกิดแรงอัดจนท่อแตกได้
  • ดินทรุด เป็นสาเหตุที่สังเกตได้ค่อนข้างยาก เพราะบ้านที่ปลูกสร้างไว้หลายปี อาจเกิดปัญหาดินทรุดแบบไม่รู้ตัว หรืออาจทรุด เฉพาะส่วนที่ต่อเติมบ้านออกไป จนกระทบท่อน้ำขยับ จนหลุดตามไปด้วย 
  • งานติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน ความชำนาญของช่าง เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ถ้าได้ช่างที่ไม่ได้มาตรฐาน มักทำให้งานมีปัญหาหลังจากที่ใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง ที่พบมาก คือ น้ำรั่วบริเวณข้อต่อต่าง ๆ เนื่องจากการต่อท่อไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ทดสอบแรงดันน้ำในเส้นท่อก่อน ส่งผลให้เกิดปัญหาในภายหลัง อีกทั้งขั้นตอนในการต่อท่อ ก็ต้องทำให้เรียบร้อย เลือกช่างที่ไว้ใจได้ เพื่อที่จะได้งานระบบประปาที่มีคุณภาพ ใช้ไปได้นาน

ท่อ ประปา แตก ใน ผนัง

วิธีแก้ไขท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน

สำหรับท่อประปาใต้ดิน หรือใต้บ้านนั้น ค่อนข้างยากที่จะตรวจสอบ หรือพบเห็น แต่ก็สามารถสังเกตได้จากการใช้น้ำในชีวิตประจำวันว่า น้ำประปา ไหลอ่อนกว่าปกติ ซึ่งถ้าไม่พบความผิดปกติที่จุดอื่น ให้ลองตรวจสอบดูทั้งบริเวณภายใน และภายนอกบ้าน ว่ามีน้ำรั่วซึมจนขังที่พื้นบ้าน หรือสนามหญ้าตลอดเวลาหรือไม่ และกรณีที่ท่อน้ำรั่วซึมจากการทรุดตัวของบ้าน หรือส่วนต่อเติมบ้านทรุด สังเกตได้ว่า บริเวณที่ อาจเป็นปัญหาจะมีการทรุดตัวมากกว่าส่วนอื่น ๆ เนื่องจากดิน หรือทรายใต้ดิน มีการเคลื่อนตัว

การแก้ไขเบื้องต้น หากพบว่า มีท่อน้ำรั่วใต้ดิน หรือท่อน้ำประปารั่วใต้พื้นบ้าน ต้องใช้วิธีขุดเข้าไปในบริเวณที่มีปัญหา เพื่อทำการซ่อมแซม แต่จะขุดมากน้อยแค่ไหน อาจต้องประเมินดูตามโครงสร้างของบ้าน ซึ่งโดยปกติแล้ว ตัวโครงสร้างบ้าน จะมีฐานรากรองรับอยู่ ซึ่งจะมีช่องว่างพอ ที่จะสามารถมุดเข้าไปซ่อมแซม แก้ไขท่อบริเวณใต้บ้านได้ ดังนี้

  1. ทำการสกัดผิวพื้น ด้วยสว่านไฟฟ้า แบบเจาะกระแทก หรือค้อน โดยค่อย ๆ เจาะ ตามแนวท่อ ควรระวัง ไม่ให้กระทบกระเทือนโครงสร้าง หากเกรงว่าโครงสร้างข้างเคียง จะได้รับความเสียหาย สามารถเลือกใช้เครื่องตัดไฟเบอร์ ช่วยในการเปิดพื้นผิวแทน แต่การใช้เครื่องตัดไฟเบอร์ จะทำให้เกิดฝุ่นฟุ้งกระจายเป็นจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการควบคุมความสะอาด
  2. เมื่อเปิดพื้นผิวคอนกรีต จนพบจุดที่รั่วซึม ให้ตัดต่อท่อ PVC ส่วนที่เสียหายทิ้ง แล้วต่อใหม่ ในจุดที่ประเมินว่า โครงสร้างบ้าน ยังเกิดการทรุดตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง การเดินท่อ PVC ใหม่ ก็อาจเกิดปัญหาเช่นเดิมขึ้นได้อีกในอนาคต ให้เปลี่ยนไปใช้ท่อ PE ซึ่งเป็นท่อที่มีความแข็งแรงทนทาน ยืดหยุ่น สามารถโค้งงอได้ แม้ว่าโครงสร้างจะเกิดการทรุดตัว ท่อ PE จะมีการยืดหยุ่นตัว ไม่แตกหัก หรือเกิดการคลายตัวบริเวณข้อต่อเหมือนท่อ PVC
  3. ทดสอบปล่อยน้ำเข้าท่อประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้แน่ใจว่า จุดที่ทำการซ่อมแซมนั้น ไม่มีการรั่วซึมออกมา จากนั้น ให้ใช้ปูนประเภทที่ใช้สำหรับงานซ่อมแซมอุดฉาบ ทำการฉาบ พร้อมตกแต่งผิวให้เรียบร้อย

ท่อ ประปา แตก ใน ผนัง

การแก้ปัญหา ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน น้ำรั่ว น้ำซึม ที่เราเคยมองข้ามจริง ๆ เพราะหากเกิดปัญหาแล้ว ไม่เร่งแก้ไขให้เรียบร้อย จะเกิดปัญหาอื่น ๆ ที่คาดไม่ถึงตามมาอีกแน่นอน รู้อย่างนี้ แล้วอย่าลืม เช็คความเรียบร้อยของ ระบบน้ำในบ้านกันด้วยนะจ๊ะ 😊