Floppy disk ทําหน้าที่อะไร

การจอดรถยนต์ตากแดดหรือขับรถตากแดดเป็นเรื่องที่ยากจะหลีกเลี่ยง บทความนี้ก็มาแนะนำอุปกรณ์ช่วยป้องกันแดด ป้องกันความร้อนให้กับรถยนต์แสนรัก ขณะจอดหรือ ขับขี่ เช่น การใช้แผ่นบังแดดขณะขับขี่กรณีใช้รถที่ไม่ติดฟิล์ม หรือการใช้ผ้าคลุมรถขณะจอด การใช้คิ้วกันสาดช่วยระบายความร้อน อุปกรณ์แต่ละแบบมีข้อดี และการใช้งานกับสถานการณ์ที่ต่างกันไป

อ่านเพิ่มเติม..


รวมความรู้เกี่ยวกับ สายพ่วงแบตเตอรี่ รถยนต์ วิธีใช้งาน การทำเอง

Floppy disk ทําหน้าที่อะไร

สายพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์มีประโยชน์มาก กรณีเวลาแบตเตอรี่หมดไฟ ซึ่งอาจจะเกิดจากเหตุไม่คาดคิด เช่น แบตเตอรี่เสื่อมตามอายุการใช้งาน เผลอลืมปิดไฟหน้ารถ หรือเปิดเพลงนานเกินไป ในรถเกียร์ธรรมดาสามารถสตาร์ทด้วยการเข็นได้ แต่รถยนต์เกียร์ออโต้ควรมีอุปกรณ์ตัวนี้ติดรถไว้เผื่อฉุกเฉิน โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางไกล

50 ปี แผ่น Floppy Disk โดย IBM ได้เปิดตัว Floppy Disk Drive ตัวแรกคือ IBM 23FD แผ่นดีสก์แบบ Floppy ทำให้แผ่นแบบมีรูตรงกลางแบบนี้  ไป ๆ มาๆจนถึงปัจจุบันนี้ แม้ไม่ได้ใช้จริงๆบนคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันนี้แล้ว แต่กลายเป็นไอคอนปุ่ม Save หรือปุ่มบันทึก ที่ทุกท่านได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ มาดูกันว่าฟลอปปีดิสก์ กลายเป็นไอคอนได้อย่างไรและเพราะเหตุใด

50 ปี แผ่น Floppy Disk ยุคการบันทึกข้อมูลที่ต้องใช้แผ่นดิสก์มานานหลายปี

Floppy disk ทําหน้าที่อะไร
Image : Pixabay

แผ่นดิสก์ยุคแรก มีขนาด 8 นิ้ว สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1971 เพื่อใช้กับเครื่อง System/370 ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) สร้างโดยเดวิด โนเบิล ในทีมงานของ อะลัน ซูการ์ต ซึ่งต่อมา ซูการ์ตแยกตัวออกไปตั้งบริษัททำวิจัยเกี่ยวกับหน่วยความจำ ชื่อบริษัทซูการ์ต ในปี ค.ศ. 1973 แต่เพียงหนึ่งปีต่อมา บริษัทก็ขาดทุนและซูการ์ตก็ถูกไล่ออกจากบริษัทตัวเอง

นักวิจัยของบริษัทซูการ์ต ชื่อ จิม แอดคิสสัน ได้รับการติดต่อจาก An Wang เพื่อให้ลดขนาดแผ่นดิสก์ให้เล็กลง การติดต่อเกิดขึ้นที่บาร์ในบอสตัน และขนาดแผ่นดิสก์ใหม่ที่คุยกันคือขนาดเท่ากระดาษเช็ดมือในร้าน ซึ่งมีขนาด 5¼ นิ้ว ต่อมาไม่นาน บริษัทซูการ์ต ก็ผลิตแผ่นดิสก์ขนาดนี้ได้และได้รับความนิยม ในตอนแรก แผ่นมีความจุ 110 กิโลไบต์ ต่อมา บริษัท Tandon พัฒนาให้ความจุสูงขึ้น โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลสองหน้า (double density) ทำให้สามารถเก็บได้ 360 กิโลไบต์

ด้วยแผ่นดิสก์เป็นที่นิยมในท้องตลาดอย่างสูง ทำให้หลาย ๆ บริษัททุ่มทุนวิจัยทางด้านนี้ ในปี ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล ผลิตเครื่องที่ใช้แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วของบริษัทโซนี่ และผลักดันให้แผ่น 3.5 นิ้ว เป็นมาตรฐานในวงการอุตสาหกรรมของอเมริกา ความจุเริ่มแรกของแผ่นดิสก์ คือ 360 กิโลไบต์ สำหรับหน้าเดียว (single density) และ 720 กิโลไบต์ สำหรับสองหน้า และต่อมาก็สามารถเพิ่มความจุเป็น 1.44 เมกะไบต์ โดยการเพิ่มความจุต่อหน้า (high-density) ต่อมา

ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ก็พบวิธีทำให้มีความจุเป็น 2.88 เมกะไบต์ โดยการเปลี่ยนวิธีการเคลือบแผ่น แต่รุ่นสุดท้ายนี้ไม่ได้รับความนิยม เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น ต้องการความจุที่สูงกว่านี้ แผ่นดิสก์จึงถูกแทนที่ด้วยหน่วยจัดเก็บข้อมูลแบบอื่นไป เช่น ซีดีรอม, ดีวีดีรอม และในปัจจุบันนี้ถูกแทนที่ด้วย USB FlashDrive กับ External Harddisk นั่นเอง

จาก Floppy Disk กลายเป็นไอคอน SAVE

Floppy disk ทําหน้าที่อะไร
iT24Hrs

ด้วยผู้คนจำนวนมากที่ใช้ Floppy Disk เพื่อเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในช่วงปี 1980 และ 1990 โปรแกรมซอฟต์แวร์ในยุค GUI เริ่มแสดงถึงการบันทึกข้อมูลลงดิสก์ด้วยไอคอนของ Floppy Disk ที่มีอยู่จริง ทศวรรษต่อมา แนวโน้มยังคงอยู่ในโปรแกรมต่างๆ เช่น Microsoft Word และ Microsoft Paint

Floppy disk ทําหน้าที่อะไร
Image : @Bill_Gross

สิ่งนี้นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากในปัจจุบันไม่ได้เติบโตมาโดยใช้ Floppy Disk  ดังนั้นพวกเขาจึงอาจไม่รู้ว่า Floppy Disk หรือ Diskette คืออะไร ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีเรื่องตลกเกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ตโดยมีคนแสดงไอคอน “SAVE” ที่พิมพ์ 3 มิติ ซึ่งของสิ่งนั้นคือ เป็นแผ่น Floppy Disk จริงๆ

ในขณะที่คนอายุน้อยบางคนอาจไม่รู้ว่า Floppy Disk คืออะไร แต่พวกเขาคงได้เรียนรู้แล้วว่า Floppy เป็นตัวแทนของการ “Save หรือ บันทึกข้อมูล” แม้ว่าพวกเขาจะไม่ทราบที่มาของ Floppy Disk ก็ตาม

แผ่นสี่เหลี่ยมขนาด 3 นิ้วครึ่ง ที่มีแผ่นแม่เหล็กกลม ๆ อยู่ตรงกลางแผ่นนี้มีชื่อเรียกว่า “ฟลอปปีดิสก์” (Floppy Disk) หรือที่เราคุ้นหูกันว่า “แผ่นดิสก์” (Diskette) หรือศัพท์บัญญัติภาษาไทยว่า “แผ่นบันทึก” ซึ่งเป็นอุปกรณ์เก็บความจำที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงยุค 90 แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไป มีอุปกรณ์ที่เก็บความจำชนิดใหม่ ๆ ที่ความจำมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นแผ่นซีดี แผ่นดีวีดี แฟลชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์พกพาที่มีความจุได้ถึงหลายเทราไบต์ หรือแม้กระทั่งการจัดเก็บข้อมูลขึ้นบนคลาวด์ 

ส่งผลให้ความนิยมของเจ้าแผ่นดิสก์นี้ก็ลดลงไปตามกาลเวลา Sony บริษัทเทคโนโลยีของญี่ปุ่น ประกาศหยุดการผลิตฟลอปปีดิสก์ในเดือนมี.ค. 2554 เนื่องจากความต้องการลดลงอย่างมาก เครื่องที่อ่านแผ่นดิสก์ หรือที่เรามักเรียกว่า ไดร์ฟ เอ (Drive A) ถูกตัดออกจากคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ 

แผ่นดิสก์ค่อย ๆ หายไปหาจากความทรงจำของใครหลายคน เหลือทิ้งไว้แค่เป็นสัญลักษณ์ของปุ่มเซฟตามโปรแกรมต่าง ๆ เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่ยังใช้แผ่นดิสก์อยู่

  • อุตสาหกรรมการบินลูกค้าหลักของแผ่นดิสก์

ทอม เพอร์สกี เจ้าของเว็บไซต์ floppydisk.com บริการรีไซเคิลดิสก์ออนไลน์ในแคลิฟอร์เนีย ระบุว่ายังสามารถขายแผ่นดิสก์ได้ประมาณ 500 แผ่นต่อวัน โดยกลุ่มลูกค้าหลักของเขานั้นมีทั้งอุตสาหกรรมเย็บปักถักร้อย แม่พิมพ์และการขึ้นรูป ตลอดจนผู้คนในสายการแพทย์ก็เป็นลูกค้าด้วยเช่นกัน เนื่องจากยังมีอุปกรณ์บางอย่างที่ใช้ในการผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ฟลอปปีดิสก์มาจนถึงทุกวันนี้ 

“ลองนึกภาพว่านี่คือปี 1990 และคุณกำลังสร้างเครื่องจักรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่  คุณออกแบบมันให้ใช้งานได้ไปตลอดเวลา 50 ปี และคุณจึงต้องการใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในตอนนั้น” เพอร์สกีระบุ ซึ่งแน่นอนว่าเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในตอนนั้นคือฟลอปปีดิสก์นั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักสะสมที่มักจะซื้อแผ่นดิสก์หลากสีสันตั้งแต่ 10-50 แผ่น แต่ลูกค้ารายใหญ่ของเพอร์สกีคืออุตสาหกรรมการบิน ที่จำเป็นต้องใช้แผ่นดิสก์ในการบำรุงรักษาเครื่องบิน

“ถ้าคุณมีเครื่องบินอายุตั้งแต่ 20-40 ปีขึ้นไป คุณจะต้องใช้แผ่นดิสก์เพื่อถ่ายโอนข้อมูลจากระบบเอวิโอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมอากาศยานและการสื่อสาร ซึ่งกว่าครึ่งของเครื่องบินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอายุมากว่า 20 ปีทั้งนั้น” เพอร์สกีระบุ

ก่อนหน้านี้ ในปี 2563 เครื่องบินโบอิ้ง 747 เกิดพบข้อผิดพลาด (Bug) ร้ายแรงทำให้ต้องอัปเดตซอฟต์แวร์ ซึ่งด้วยความที่เครื่องบินรุ่นนี้เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2531 ทำให้ต้องโหลดข้อมูลผ่านแผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว 

แม้ว่าในระยะหลังสายการบินหลายแห่งจะยกเลิกใช้แผ่นดิสก์ไปแล้ว แต่สายการบินส่วนใหญ่ยังคงต้องให้วิศวกรการบินถือแผ่นดิสก์ 8 แผ่นคอยอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับสนามบิน เส้นทางบิน รันเวย์ และอื่น ๆ ที่จำเป็นทุกเดือน

  • ฟลอปปีดิสก์ยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในโกดังของเพอร์สกีนั้นเต็มไปด้วยแผ่นดิสก์สีสันสดใส ไม่ว่าจะเป็นสีเขียว สีส้ม สีฟ้า สีเหลือง หรือสีดำที่ส่งมาจากทั่วโลก โดยเขาจะใช้เครื่องแม่เหล็กขนาดใหญ่ล้างข้อมูลเก่าภายในแผ่นดิสก์ และนำแผ่นดิสก์เหล่านั้นส่งต่อด้วยสายพานลำเลียงไปยังเครื่องจักรแปะฉลากลงบนแผ่นดิสก์ เพื่อนำไปขายให้ลูกค้ารายใหม่ต่อไป

นอกจากนี้ บนชั้นวางในโกดังของเพอร์สกี มีฟลอปปีดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ที่เป็นแผ่นดิสก์รุ่นแรก ซึ่งบนหน้าแผ่นระบุว่าเป็นบันทึกเหตุการณ์การดีเบตของผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ในปี 1960 ระหว่าง จอห์น เอฟ เคนเนดี้ และ ริชาร์ด นิกสัน ถือว่าเป็นมรดกชิ้นสำคัญจากโลกยุคสมัยใหม่ มาจนถึงปัจจุบันเพอร์สกียังคงยืนยันว่าแผ่นดิสก์มีคุณสมบัติที่ดีในการใช้งาน

“ฟลอปปีดิสก์สามารถใช้งานได้ดี มีความเสถียรมสูง ใช้รับข้อมูลเข้าและออกจากเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังไม่สามารถแฮ็กข้อมูลได้โดยง่ายอีกด้วย”

แต่ต้องยอมรับว่าจุดอ่อนที่สำคัญของฟลอปปีดิสก์คือจำนวนความจุที่น้อยจนแทบไม่สามารถเก็บข้อมูลอะไรได้เลยในปัจจุบัน ด้วยความจุไม่ถึง 1 เมกะไบต์ด้วยซ้ำ แม้ว่าในช่วงสุดท้ายที่มีการพัฒนาแผ่นดิสก์ของบริษัท Lomega จะสามารถทำความจุไปได้ถึง 750 MB. ก็ไม่ทันเสียแล้ว เพราะแผ่นซีดีได้เข้ามาแทนที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการจัดเก็บหรือหยิบจับที่ต้องระวังไม่ให้โดนกับแม่เหล็กที่อยู่ตรงกลาง อีกทั้งยังไวต่อคลื่นวิทยุ เช่น ไวไฟ และ คลื่นโทรศัพท์ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลเสียหายและไดร์ฟล้มเหลวได้

เดิมทีเพอร์สกีเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ลงบนแผ่นดิสก์ให้แก่บริษัทแห่งหนึ่งตั้งแต่ยุค 1990 แต่หลังจากทีบริษัทปิดตัวลง เขาก็เริ่มดำเนินกิจการรับซื้อแผ่นดิสก์ แต่เขาก็ไม่คาดคิดเช่นกันว่าจะอยู่รอดมาได้ถึง 20 กว่าปี

“ผมจะยังคงทำงานนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่ยังมีคนต้องการแผ่นดิสก์ แม้ว่ามันจะไม่อยู่ตลอดไปก็ตาม”

หลายประเทศเริ่มมีท่าทีต่อต้านการใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบเก่า พร้อมหันหน้าเข้าสู่ระบบคลาวด์ เมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา ทาโร คาโนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลของญี่ปุ่น ได้ประกาศผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่าจะประกาศสงครามกับฟลอปปีดิสก์และแผ่นซีดี ด้วยการเปลี่ยนข้อบังคับเพื่อให้ภาคธุรกิจที่ต้องยื่นเอกสารต่าง ๆ กับหน่วยงานรัฐบาลเป็นรูปแบบดิจิทัล  รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นแบบดิจิทัลทั้งหมดเพื่อให้สามารถจัดการง่ายขึ้น

ทุกวันนี้แผนดิสก์ถูกคนรุ่นใหม่จดจำในฐานะสัญลักษณ์ปุ่มเซฟ ซึ่งเป็นมรดกชั้นสุดท้ายที่แผ่นดิสก์เหลือไว้เท่านั้น

“เมื่อผมเห็นปุ่มเซฟ ผมจะนึกถึงแผ่นดิสก์เสมอ แต่คนส่วนใหญ่จะนึกถึงแค่การบันทึก โดยอาจลืมหรือไม่รู้แล้วด้วยซ้ำว่าที่มาของสัญลักษณ์คืออะไร มันมีเรื่องตลกอยู่ว่าเด็ก 6 ขวบคนหนึ่งไปเจอแผ่นดิสก์ แล้วเธอก็ถามพ่อว่า ใครปรินท์รูปปุ่มเซฟแบบ 3 มิติออกมาหรอ?” เพอร์สกีพูดติดตลก

ไม่มีใครรู้ว่าอีกนานแค่ไหนแผ่นดิสก์จะหมดวาระการใช้งานในทุกอุตสาหกรรมจริง ๆ แต่ในทุกวันนี้แผ่นดิสก์ก็ถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในคอนเทนต์ดักแก่ และกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญในยุค 90 ซึ่งไม่แน่ว่าในอนาคตแผ่นดิสก์อาจจะกลับมาอยู่ในกระแสอีกครั้งเช่นเดียวกับเทปและแผ่นเสียงที่ได้รับความนิยมอีกครั้งในปัจจุบัน (แต่แผ่นดิสก์ต้องเพิ่มความจำและแก้ปัญหาเรื่องไวต่อคลื่นวิทยุก่อน)

Floppy Disk Drive มีหน้าที่อะไร

3.2 เครื่องขับจานบันทึกแบบอ่อนหรือฟลอปปี้ดิสก์ ( Floppy Disk Drive : FDD )เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและบันทึกคำสั่งหรือข้อมูลลงบนแผ่นบันทึกแบบอ่อนซึ่งมีอยู่หลายขนาด แต่ที่ใช้กันมากคือ ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 1.44 เมกะไบต์ ปัจจุบันมีผู้นิยมใช้กันน้อยลงเพราะฟลอปปี้ดิสก์ชำรุดเสียหายง่าย และมีอุปกรณ์ชนิด ...

Floppy Disk ใช้ยังไง

ด้วยความที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้งาน แผ่น Floppy Disk ในการบันทึกงานในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์เริ่มออกแบบหน้าจอผู้ใช้งานแบบกราฟิก หรือ GUI (Graphical User Interface) ซึ่ง "ปุ่มบันทึกงาน" ก็เลยนิยมออกแบบเป็นรูปแผ่น Floppy Disk ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมใช้งานกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

ปัจจุบันนิยมใช้อะไรแทนที่ "ฟลอปปีดิสก์

ฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีให้เห็นมาตั้งแต่ยุคแรก ๆ ของการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในสำนักงาน สถานศึกษาและภายในบ้าน ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ก็เริ่มถูกแทนที่ด้วยหน่วยจัดเก็บข้อมูลแบบอื่น เช่น ซีดีรอมและดีวีดีรอม จนล่าสุดที่ใช้กันทั่วไปก็คือ แฟลชไดรฟ์ หรือ SSD, HDD External เพราะมีความจุในการ ...

ขั้วต่อไฟ Floppy Disk คืออะไร

Floppy Disk Connector คอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับ Disk Drive ซึ่งเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ไว้ให้หนึ่งช่อง ซึ่งก็เพียงพอต่อการ ใช้งาน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะติดตั้งดิสก์ไดร์ฟเพียงแค่หนึ่งไดร์ฟเท่านั้น