Anything that can be connected will be connected คือเทคโนโลยีในยุคใด

ในขณะที่บริษัทหัวเว่ย ของจีน รุดหน้าในเรื่องเทคโนโลยี 5G จนคู่แข่งในประเทศตะวันตกออกอาการกังวล เพราะกลัวจีนล้ำหน้า กระทั่ง 5 G ได้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศไปเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี 5 G มีความสำคัญอย่างไร ? เทคโนโลยี 5 G จะเปลี่ยนโลกได้ขนาดไหน ?

นี่จึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรติดตาม และไปทำความรู้จัก…

เทคโนโลยี 5G คือ เทคโนโลยีสำคัญที่จะเข้ามามีบทบาทกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายๆ อย่าง ที่สามารถเชื่อมต่อกันด้วยระบบอินเตอร์เน็ต ก่อให้เกิดเป็น “Internet of Things” หรือ IOT  โดยจะทำให้สิ่งของต่างๆ เชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บันทึก และแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมถึงการควบคุมทางไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ Smart Home, Smart Infrastructure, Smart City, Smart Car เป็นต้น ตามคอนเซ็ปต์ “Anything that can be connected, will be connected.”

ดังนั้น เทคโนโลยี 5G จึงถูกมองว่า จะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับหลายๆ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น การศึกษา, การขนส่ง, การผลิต หรือ แม้แต่ การแพทย์

5 G กับ 7 การเปลี่ยนแปลง

งานวิจัยสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของจีน คาดว่า เทคโนโลยี 5G จะสร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจมูลค่า 10.6 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 1.54 ล้านล้านดอลลาร์ และสร้างงานกว่า 8 ล้านตำแหน่ง ระหว่างปี 2563-2568 โดยจีนคือหนึ่งในประเทศผู้นำเทคโนโลยี 5G ที่มีการเดินหน้าเต็มรูปแบบ

เว็บไซต์ PhoneArena ได้เผยถึง 7 แนวทาง ที่เทคโนโลยี 5G จะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลง ได้แก่

1. SMART CITY หรือเมืองอัจฉริยะ ทั้งในบ้านและในเมือง จะเชื่อมต่อกับโลกอินเทอร์เน็ต สิ่งของต่างๆ จะสามารถเชื่อมต่อและทำงานได้อัตโนมัติ อย่างเช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ไฟฟ้า ในบ้าน จะพูดคุยกับมือถือของคุณ และทำงานได้อัตโนมัติ โดยมีการประเมินว่า 5G สามารถจัดการได้มากถึงหนึ่งล้านอุปกรณ์

2.รถยนต์ไร้คนขับ 3.AR / VR เทคโนโลยี 5G จะช่วยให้ AR / VR ไม่จำเป็นต้องใช้สายในการเชื่อมต่อขณะที่ใช้งาน เพื่อทำให้การแสดงผลของเกม AR / VR มีความสมจริงมากขึ้น

4.บริการ Streaming การส่งต่อคอนเทนต์ที่มีความละเอียดสูง ภาพคมชัด เสียงใสแจ๋ว จะไม่มีปัญหาอีกต่อไป 5. เกมมือถือ ถ้าใช้ 5G จะไม่มีคำว่าหน่วงเลย

6.การดาวน์โหลดที่รวดเร็วขึ้น 5G มีความเร็วในการดาวน์โหลดที่เร็วกว่า 4G กว่า 20%

7. Healthcare การรักษาทางไกล การผ่าตัดทางไกล ทำได้ด้วยเทคโนโลยี 5G

Anything that can be connected will be connected คือเทคโนโลยีในยุคใด
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้จัดทำดาต้า HIE Alpha Test ระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล5Gเข้ามาสนับสนุนของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เชื่องโยงข้อมูลกับโรงพยาบาล มีโรงพยาบาลเข้าร่วมแล้ว 140 แห่ง

เสริมศักยภาพ Healthcare ไทย

สำหรับประเทศไทย ที่เห็นการเตรียมพร้อมแล้วคือ ด้าน Healthcare ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ DES ได้จัดทำดาต้า HIE Alpha Test  ระบบสารสนเททศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยี 5G ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เชื่อมโยงข้อมูลกับโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งขณะนี้เข้าร่วมแล้ว 140 แห่ง โดยจะเป็นการรวมฐานข้อมูลผู้ป่วยไปจัดเก็บไว้ในระบบคลาวด์ภาครับ (GDCC) ของ NT เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับโรงพยาบาลและผู้ป่วย

อีกหนึ่งเคสของ Healthcare ที่น่าสนใจคือ การจับมือกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และ ศิริราช ลงนามข้อตกลงโครงการต่อเนื่อง 5 ปี เพื่อยกระดับบริการสาธารณสุขด้วย Cloud และ AI  ซึ่งจะทำให้ศิริราชกลายเป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะ 5G แห่งแรกนอกแผ่นดินจีน ที่หัวเว่ยร่วมเป็นพันธมิตร ปูทางสู่ฮับทางการแพทย์อาเซียน ได้มีการวางโครง 8-9 โปรเจกต์ สำเร็จในเฟสแรก ในช่วง 1 ปี ที่จะให้ความสำคัญของการจัดเก็บข้อมูลปลอดภัยโดยเก็บบนไพรเวตคลาวด์ในประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ หัวเว่ยได้ร่วมทำโครงการนำร่อง ที่นำ 5G มาใช้ในโรงพยาบาลศิริราช คือการนำ 5G AI มาช่วยในการตรวจโควิด-19 และการพัฒนารถไร้คนขับสำหรับการขนส่งยา และปัจจุบันโครงการนี้ยังดำเนินการอยู่

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้แพทย์ที่มีความชำนาญของศิริราชสามารถให้คำปรึกษาคนไข้นอกพื้นที่ได้ด้วยเทคโนโลยี 5G ในอนาคตจะเกิดการเชื่อมโยงข้อมูลคนไข้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษา สำหรับเฟสแรก จะเริ่มต้นทดลองกับ 3 โรงพยาบาลในเครือ คือ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลปิยะมหาราชการุณย์ และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ก่อนจะขยายไปเชื่อมต่อกับหน่วยงานอื่นในกระทรวงสาธารณสุข

นอกจากนี้ หัวเว่ย ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในโครงการ Huawei ICT Academy สร้างความร่วมมือทางการศึกษา โดยหัวเว่ยจะสนับสนุนหลักสูตรอบรมด้านเทคโนโลยี เพื่อเสริมทักษะองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนของไทย อาทิ อุปกรณ์โครงข่ายสื่อสาร ระบบคลาวด์ และอื่นๆ

  • Anything that can be connected will be connected คือเทคโนโลยีในยุคใด
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลและหัวเว่ย ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในโครงการ Huawei ICT Academy สร้างความร่วมมือทางการศึกษา โดยหัวเว่ยจะสนับสนุนหลักสูตรอบรมด้านเทคโนโลยี เพื่อเสริมทักษะองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G

นำร่องอุตสาหกรรม 5G

ส่วนภาคอุตสาหกรรม ขณะนี้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ร่วมมือกับกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ในการร่วมกันศึกษาทดลอง นำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ตามแผนพัฒนาการบริหาร และการดำเนินงานของนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ. 14 แห่ง ด้วยเป้าหมายการผลักดันให้ทุกนิคมอุตสาหกรรมก้าวสู่นิคมอุตสาหกรรรมดิจิทัล (Smart Industrial Estate) เพื่อนำเทคโนโลยี 5G มาปประยุกต์ใช้ ส่งเสริมการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะเริ่มทดสอบการเชื่อมโยงข้อมูล (Cloud Digital Server) การบริหารจัดการ Big Data ขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภค (Digital Meter) และอื่นๆ

ส่วน เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์  อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ที่ได้ 5G ในคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มาแล้วจำนวน 20 MHz (2×10 MHz) และจะเข้าประมูลเพิ่มอีกเพิ่มอีก 10 MHz (2×5 MHz) โดยประกาศจะเข้าประมูลคลื่น 5G แบบเต็มบล็อกในทุกย่านความถี่ ทั้งย่านความถี่ต่ำ ย่านความถี่กลาง และย่านความถี่สูง ครอบคลุมการใช้งานทุกรูปแบบ ประกอบด้วย คลื่น 700 MHz จำนวน 30 MHz (2×15 MHz) คลื่น 2600 MHz จำนวน 100 MHz และคลื่น 26 GHz จำนวน 1200 MHz รวมเฉพาะคลื่นความถี่ที่จะนำมาให้บริการ 5G ทั้งหมดอยู่ที่ 1330 MHz และเมื่อรวมกับคลื่นความถี่เดิมที่มีจำนวนมากที่สุดอยู่แล้ว จะส่งผลให้เอไอเอสมีคลื่นความถี่ให้บริการ 3G, 4G และ 5G มากที่สุดในอุตสาหกรรม รวม 1420 MHz ไม่รวมคลื่นที่เกิดจากความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ

  • Anything that can be connected will be connected คือเทคโนโลยีในยุคใด

ในปีที่ผ่านมา เอไอเอส ได้จับมือกับพันธมิตรเพื่อขยายโครงข่าย 5G อย่างเต็มที่ โดบเฉพาะการร่วมมือกับ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เพื่อขยายเครือข่าย 5G ในพื้นที่วังจันทร์วัลเล่ย์ เพื่อเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี 5G สร้างอุตสสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ด้วยการร่วมทดสอบนำ IOT มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการท่อส่งก๊าซ การทดสอบอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรนวิศวกรรม และกล้องตรวจการ 360 องศา เพื่อช่วยบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในโรงงาน และการททดลองทดสอบหุ่นยนต์ลาดตระเวน 5G Self Control ที่ตอบโจทย์การทำงานในพื้นที่เสี่ยง

กสทช.เดินหน้าประมูล 5G ต่อ

ในขณะที่ภาคธุรกิจกำลังตั้งตารอ และเตรียมความพร้อมสำหรับเทคโนโลยี 5G เต็มรูปแบบ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เตรียมความพร้อมในการประมูลคลื่นความถี่เพื่อรองรับการใช้งาน 5G คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์, 3500 เมกะเฮิรตซ์ และ 28 กิกะเฮิรตซ์ พร้อมจัดทำมาตรฐานการให้บริการ 5G หรือ (Quality of Service : QoS) รวมถึงผลักดันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคส่วนต่างๆ เช่น การขนส่งอัจฉริยะ (Smart Logistic) และภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Manufacturing ผลักดัน 5G use case ใหม่ๆ

ขณะที่ 5G use case ที่เริ่มดำเนินการแล้ว ในปี 2563 และอยู่ระหว่างดำเนินได้การ ได้แก่ ด้านการเกษตร (Smart Agriculture) และด้านการแพทย์ (Smart Hospital) นอกจากนี้ สำนักงาน กสทช. จะเดินหน้าผลักดันสถานีรถไฟสู่ 5G Train Station ซึ่งเป็นโครงการที่จะนำเข้าเสนอต่อคณะกรรมการในปี 2564 โดยนำร่องสถานีรถไฟบางซื่อเป็นแห่งแรก

ส่วนการประมูล 5G คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์, 2600 เมกะเฮิรตซ์ และ 26 กิกะเฮิรตซ์ ตั้งเป้าในปี 2564 นี้ จะเข้าถึง 50% ของพื้นที่ EEC และเข้าถึง 50% ของประชากรเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ภายในปี 2566

สรุปแล้ว เทคโนโลยี 5G จะเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเป็นตัวเชื่อมโยงระบบต่างๆ ทั้งในการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงานเข้าด้วยกัน ช่วยให้การใช้ชีวิตของมนุษย์ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งนั่นคือด้านบวกของเทคโนโลยี ขณะที่ด้านลบของเทคโนโลยีนี้ หากมีการใช้แบบสมบูรณ์เต็มรอบ มันคือเครื่องมือ disrupt ชีวิตของทั้งคน และสินค้า ที่ไม่ปรับไปตามกระแสของความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องเตรียมตัว เรียนรู้ พัฒนา และปรับตัวให้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลง ทั้งในฐานะของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ.

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ศิริราช ตั้งเป้า เปลี่ยนโลกการแพทย์ภายใน 10 ปี ผ่านเทคโนโลยี 5 G

  • Anything that can be connected will be connected คือเทคโนโลยีในยุคใด

นับตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนเป้าหมายของ โรงพยาบาลศิริราช สู่การเป็น Smart Hospital กำลังเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น หลังจากการร่วมมือกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด จัดทํา “โครงการนําร่องรถอัจฉริยะไร้คนขับ ยกระดับการแพทย์ไทยสู่ยุค 5G” โดยนําร่องใช้ในโรงพยาบาลศิริราช โดยโรงพยาบาลนํามาใช้ในการขนส่งเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อลดการสัมผัส และเพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในเดือน มิถุนายน 2563

ต่อด้วยการลงนามบันทึกความร่วมมือกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ว่าด้วยการพัฒนาบริการอัจฉริยะ 5G ที่ขับเคลื่อนด้วย Cloud และ AI (5G Powered Smart Hospital Enabled with Cloud and AI) โดยสร้างแพลตฟอร์มอัจฉริยะที่ช่วยพัฒนาบริการทางการแพทย์

สำหรับภาพใหญ่ของการเปลี่ยนโลกทางการแพทย์ของศิริราชด้วยเทคโนโลยี 5G จะเป็นอย่างไร  ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์  วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวว่า

Anything that can be connected will be connected คือเทคโนโลยีในยุคใด
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่าทำไม 5G มันถึง fit in กับคณะแพทย์ หลักใหญ่ๆ คุณสมบัติเด่น 3 ประการของแพลตฟอร์ม 5 G ประการแรก คือ มันป็นถนนข้อมูลที่กว้างมาก และข้อมูลที่มีจำนวนมากสามารถผ่านไปได้ในเวลาอันสั้น ซึ่งในระบบการบริการสุขภาพสิ่งนี้มีความสำคัญ เช่น ภาพหนึ่งภาพ เวลาเราเอ็กซ์เรย์ ถ้ามันไม่ละเอียด การแปลจะผิดไปเยอะ ดังนั้นเทคโนโลยีนี้จะทำให้เราส่งผ่านภาพต่างๆ ไปได้เร็ว การผ่าตัดทางไกล ซึ่งการผ่าจะต้องเห็นภาพทันที 5G จะรองรับได้

คุณสมบัติข้อที่ 2 คือ ระบบความหน่วงน้อยมาก อันที่ 3 ถ้าเปรียบคือ มันจะมีตรอกซอยเยอะ พอตรอกซอยเยอะ ข้อมูลมันไหลเชื่อมต่อกันได้เยอะมาก สามข้อนี้คือสิ่งที่ตอบโจทย์คณะแพทย์ ซึ่งเราทำทั้ง 3 พันธกิจ

หนึ่ง การบริการผู้ป่วย มันสามารถตอบโจทย์ทันที เราสามารถให้คำปรึกษาทางไกล ตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งในอนาคตที่เราจะมีการผ่าตัดทางไกล หมอผ่าตัดอยู่ในห้องที่ศิริราช อีกฝั่งอาจอยุ่ภาคใต้ก็ได้

สอง คือเรื่องการศึกษา 5G ในอนาคตผมคิดว่าจะต้องมี Virus Pandemic อย่างนี้อีกแน่นอน ดังนั้นการเรียนทางไกลมีความจำเป็น การแพทย์ศึกษาก็อาจจะต้องเรียนทางไกล แต่การเรียนแพทย์ศึกษามีความพิเศษคือ ต้องเรียนกับสิ่งที่เหมือนกับของจริง จริงๆ ซึ่งตอนนี้เราทำเรื่องโฮโลแกรม ก็เหมือนผมยืนตอบอยู่ตรงนี้ แต่ก็เปรียบเสมือนกับตัวผมอยู่ศิริราชได้ด้วย นอกจากนั้น เราจะมีการสอนที่จะเป็นภาพสามมิติ ซึ่ง 5G จะรองรับกับ imaging

สาม คือ งานวิจัย ปัจจุบันเรามีการลงนามกับบริษัท หัวเว่ย แล้ว อีกบริษัทที่เราจะเซ็นคือ CAS (China Academy of Science)  ของรัฐบาลจีน ต่อไปนักเรียนแพทย์ของเราอาจจะเรียนพร้อมกับนักเรียนแพทย์ของจีน เหมือนอยู่ในห้องเดียวกัน โดยนักเรียนจีนฟังเป็นภาษาจีน นักเรียนไทยก็จะได้ฟังเป็นภาษาไทย ซึ่ง 5G สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้

Anything that can be connected will be connected คือเทคโนโลยีในยุคใด
รถอัจฉริยะไร้คนขับนําร่องใช้ในโรงพยาบาลศิริราช โดยโรงพยาบาลนํามาใช้ในการขนส่งเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อลดการสัมผัส และเพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในเดือน มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา

เพราะฉะนั้นตอนนี้เรานำ 5G เข้ามาอิมพลีเมนต์เต็มรูปแบบ อยู่ในช่วงการดีไซน์ ออกแบบระบบ ซึ่งผมเชื่อว่าในระยะยาวสิ่งที่เกิดขึ้นจะไม่เฉพาะในศิริราช ในระบบการบริการสุขภาพ เรามีพยาธิแพทย์ไม่เพียงพอทั่วประเทศ ต่อไปในต่างจังหวัด เข่น ตัดชิ้นเนื้อก่อนจะผ่าตัด เราสามารถแปลงให้เป็น digital file ส่งมาที่ศิริราช ตอนนี้เรามี AI แอดออนเข้าไปแล้ว ก็จะสามารถวินิจฉัยโรคให้กับเคสในต่างจังหวัดได้เลย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ขณะนี้หลักสูตรทางการศึกษานักเรียนชองเราจะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้ด้วย

เราพูดว่า เราจะเปลี่ยนโลกภายใน 10 ปี แต่เราไม่ได้รอ มันจะทยอยไปได้เรื่อยๆ เดี๋ยวนี้เอไอ ก็ทำอะไรให้เราได้เยอะมาก แต่ภายใน 10 ปี คือ เราจะเปลี่ยนทั้ง 3 พันธกิจ คำว่าเปลี่ยนโลก หมายความว่า สิ่งอะไรที่เกิด และพัฒนาได้เองที่ศิริราช สุดท้ายประเทศอื่นเอาไปใช้ เมื่อใช้แล้วเกิดผลก็จะ refer ว่าเกิดจากศิริราชทำ เราอยากให้คนไทยภูมิใจว่าเมืองไทยมีศักยภาพพอ และสิ่งที่จะต่อยอด คือเราดึงน้องๆ เด็กไทยเก่งมาก ก็มาหลอมรวมกับพวกเรา มาพัฒนาให้ประเทศไทยเข้มแข็งขึ้น.