การบําเพ็ญทุกรกิริยา

บำเพ็ญทุกรกิริยา
          “ ทุกร “ หมายถึง สิ่งที่ทำได้ยาก “ ทุกรกิริยา” หมายถึงการกระทำกิจที่ทำได้ยาก ได้แก่การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ” 
          เมื่อพระองค์ทรงหันมาศึกษาค้นคว้าด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแทนการศึกษาเล่าเรียนในสำนักอาจารย์ ณ ทิวเขาดงคสิริ ใกล้ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรานั้น พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา คือการบำเพ็ญอย่างยิ่งยวดในลักษณะต่างๆเช่น การอดพระกระยาหาร การทรมานพระวรกายโดยการกลั้นพระอัสสาสะ พระปัสสาสะ ( ลมหายใจ ) การกดพระทนต์ การกดพระตาลุ ( เพดาน) ด้วยพระชิวหา (ลิ้น) เป็นต้น พระมหาบุรุษได้ทรงทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลาถึง ๖ ปี ก็ยังมิได้ค้นพบสัจธรรมอันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ พระองค์จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง ในการคิดค้นวิธีใหม่ ในขณะที่พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยานั้น ได้มีปัญจวัคคีย์ คือ พราหมณ์ทั้ง ๕ คน ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เป็นผู้คอยปฏิบัติรับใช้ ด้วยหวังว่าพระมหาบุรุษตรัสรู้แล้วพวกตนจะได้รับการสั่งสอนถ่ายทอดความรู้บ้าง และเมื่อพระมหาบุรุษเลิกล้มการบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจัคคีย์ก็ได้ชวนกันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน นครพาราณสี เป็นผลให้พระองค์ได้ประทับอยู่ตามลำพังในที่อันสงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนทั้งปวง พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติดำเนินทางสายกลาง คือการปฏิบัติในความพอเหมาะพอควร นั่นเอง

ตรัสรู้
          พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เวลารุ่งอรุณ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ( เดือนวิสาขะ) ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี 
นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสเพื่อไปบวงสรวงเทวดา ครั้นเห็นพระมหาบุรุษประทับที่โคนต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทร)ด้วยอาการอันสงบ นางคิดว่าเป็นเทวดา จึงถวายข้าวมธุปายาส แล้วพระองค์เสด็จไปสู่ท่าสุปดิษฐ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงวางถาดทองคำบรรจุข้าวมธุปายาสแล้วลงสรงสนานชำระล้างพระวรกาย แล้วทรงผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ หลังจากเสวยแล้วพระองค์ทรงจับถาดทองคำขึ้นมาอธิษฐานว่า “ ถ้าเราจักสามารถตรัสรู้ได้ในวันนี้ ก็ขอให้ถาดทองคำใบนี้จงลอยทวนกระแสน้ำไป แต่ถ้ามิได้เป็นดังนั้นก็ขอให้ถาดทองคำใบนี้จงลอยไปตามกระแสน้ำเถิด “ แล้วทรงปล่อยถาดทองคำลงไปในแม่น้ำ ถาดทองคำลอยตัดกระแสน้ำไปจนถึงกลางแม่น้ำเนรัญชราแล้วลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไปไกลถึง ๘๐ ศอก จึงจมลงตรงที่กระแสน้ำวน ในเวลาเย็นพระองค์เสด็จกลับมายังต้นโพธิ์ที่

ประทับ คนหาบหญ้าชื่อโสตถิยะได้ถวายหญ้าปูลาดที่ประทับ ณ ใต้ต้นโพธิ์ พระองค์ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า “ แม้เลือดในกายของเราจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตาม ถ้ายังไม่บรรลุธรรมวิเศษแล้ว จะไม่ยอมหยุดความเพียรเป็นอันขาด “ เมื่อทรงตั้งจิตอธิษฐานเช่นนั้นแล้ว พระองค์ก็ทรงสำรวมจิตให้สงบแน่วแน่ มีพระสติตั้งมั่น มีพระวรกายอันสงบ มีพระหทัยแน่วแน่เป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากกิเลส ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนโยน เหมาะแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ทรงน้อมพระทัยไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ( ญาณเป็นเหตุระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยในชาติปางก่อนได้ )ในปฐมยามแห่งราตรี ต่อจากนั้นทรงน้อมพระทัยไปเพื่อจูตุปาตญาณ ( ญาณกำหนดรู้การตาย การเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ) ในมัชฌิมยามแห่งราตรี ต่อจากนั้นทรงน้อมพระทัยไปเพื่ออาสวักขยญาณ ( ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวกิเลสทั้งหลาย) คือทรงรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อทรงรู้เห็นอย่างนี้ จิตของพระองค์ก็ทรงหลุดพ้นจากกามสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วพระองค์ก็ทรงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ทรงรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป นั่นคือพระองค์ทรงบรรลุวิชชาที่ ๓ คือ อาสวักขยญาณ ในปัจฉิมยาม แห่งราตรีนั้นเอง ซึ่งก็คือการตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จากการที่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาอย่างยิ่งยวด พระองค์ทรงตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ ปีระกา ขณะพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา นับแต่วันที่สด็จออกผนวชจนถึงวันตรัสรู้ธรรม รวมเป็นเวลา ๖ ปี 
พระธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น คือ อริยสัจ ๔ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )

พระมหาบุรุษเสด็จเข้าสำนักดาบส-เริ่มทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา ลำดับนั้น พระมหาบุรุษก็เสด็จจาริกจากที่นั้น ไปสู่สำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร
ซึ่งสร้างอาศรมอยู่ในพนาสณฑ์ตำบลหนึ่ง ขอพำนักศึกษาวิชาและข้อปฏิบัติอยู่
ทรงศึกษาอยู่ไม่นาน ก็ได้สำเร็จสมาบัติ ๗ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ สิ้นความรู้ของอาฬารดาบส

ทรงเห็นว่าธรรมเหล่านี้มิใช่ทางตรัสรู้ จึงได้อำลาอาฬารดาบส
ไปสู่สำนักอุทกดาบส รามบุตร ขอพำนักศึกษาอยู่ด้วย ทรงศึกษาไดอรูปฌาน ๔ ครับสมาบัติ ๘
สิ้นความรู้ของอุทกดาบส ครั้นทรงไตร่ถามถึงธรรมวิเศษขึ้นไป อุทกดาบสก็ไม่สามารถจะบอกได้
และได้ยกย่องตั้งพระมหาบุรุษไว้ในที่เป็นอาจารย์เสมอด้วยตน

การบําเพ็ญทุกรกิริยา

แต่พระมหาบุรุษทรงเห็นว่า ธรรมเหล่านี้มิใช่ทางตรัสรู้
จึงได้อำลาอาจารย์ออกแสวงหาธรรมวิเศษสืบไป ทั้งมุ่งพระทัยจะทำความเพียรโดยลำพังพระองค์เดียว
ได้เสด็จจาริกไปยังมคธชนบท บรรลุถึงตำบลอุรุเวลา เสนานิคม ได้ทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ราบรื่น
แนวป่าเขียวสด เป็นที่เบิกบานใจ แม่น้ำไหล มีน้ำใสสะอาด มีท่าน่ารื่นรมณ์ โคจรคาม
คือ หมู่บ้านที่อาศัยเที่ยวภิกษาจาร ก็ตั้งอยู่ไม่ไกล ทรงเห็นว่าประเทศนั้น
ควรเป็นที่อาศัยของกุลบุตรผู้มีความต้องการด้วยความเพียรได้ จึงเสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้น

ส่วนบรรพชิตทั้ง ๕ อันมีนามว่า ปัญจวัคคีย์ คือ พระโกณทัญญะ
พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัสสชิ พากันเที่ยวติดตามพระมหาบุรุษในที่ต่าง ๆ
จนไปประสบพบพระมหาบุรุษยังตำบลอุรุเวลา เสนานิคม จึงพากันเข้าไปถวายอภิวาทแล้ว
อยู่ปฏิบัติบำรุง จัดทำธุระกิจถวายทุกประการ โดยหวังว่าเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จะได้แสดงธรรมโปรดตนบ้าง

พระมหาบุรุษทรงเริ่มทำทุกกรกิริยา ซึ่งเป็นปฏิปทาที่นิยมว่าเป็นทางให้ตรัสรู้ได้ในสมัยนั้น
โดยทรมานพระกายให้ลำบาก ซึ่งเป็นกิจยากที่บุคคลจะกระทำได้ ด้วยการทรมานเป็น ๓ วาระ ดังนี้

วาระแรก ทรงกดพระทนต์(ฟัน)ด้วยพระทนต์
กดพระตาลุ(เพดานปาก)ุด้วยพระชิวหา(ลิ้น)ไว้ให้แน่น จนพระเสโท(เหงื่อ)ไหลจากพระกัจฉะ(รักแร้)
ในเวลานั้นได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง
จับบุรุษมีกำลังน้อยไว้ที่ศรีษะ หรือที่คอ บีบให้แน่น ฉะนั้น
แม้พระกายจะกระวนกระวายไม่สงบระงับอย่างนี้ ทุกขเวทนานั้นก็ไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่าย
พระองค์มีพระสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียรไม่ท้อถอย ครั้นทรงเห็นว่า
การกระทำอย่างนั้น ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงทรงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

วาระที่ ๒ ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสสะ(ลมหายใจเข้าออก)
เมื่อลมไม่ได้ทางเดินสะดวก โดยช่องพระนาสิก(จมูก)และช่องพระโอฐ(ปาก)
ก็เกิดเสียงดังอู้ทางช่องพระกรรณ(หู)ทั้งสอง ให้ปวดพระเศียร(หัว) ร้อนในพระกายเป็นกำลัง
แม้จะได้เสวยทุกขเวทนากล้าถึงเพียงนี้ ทุกขเวทนานั้น ก็ไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่าย
มีพระสติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ครั้นทรงเห็นว่า
การกระทำอย่างนี้ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ ก็ทรงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

วาระที่ ๓ ทรงอดพระอาหาร ผ่อนเสวยแต่วันละน้อย ๆ บ้าง เสวยอาหารละเอียดบ้าง
จนพระกายเหี่ยวแห้ง พระฉวี(ผิว)เศร้าหมอง พระอัฏฐิ(กระดูก)ปรากฏทั่วพระกาย
เมื่อทรงลูบพระกาย เส้นพระโลมามีรากเน่าร่วงจากขุมพระโลมา
พระกำลังน้อยถอยลง จะเสด็จไปข้างไหนก็ซวนเซล้ม วันหนึ่งทรงอ่อนพระกำลัง
อิดโรยโหยหิวที่สุด จนไม่สามารถจะทรงพระกายไว้ได้ ก็ทรงวิสัญญีภาพ(สลบ)ล้มลงในที่นั้น

การบำเพ็ญทุกรกิริยาในวาระที่ 1 ทำอย่างไร

วาระที่ ๑ ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุด้วยชิวหาไว้ให้แน่นจนพระเสโทไหลโซมจากพระกัจฉะ ในเวลานั้นได้เสวยทุกขเวทนากล้า เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังมากจับบุรุษที่มีกำลังน้อยที่ศีรษะหรือที่คอ บีบให้แน่นฉะนั้น แม้พระกายจะกระวนกระวายไม่สงบอย่างนี้ แต่ทุกขเวทนานั้นไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่ายได้ พระองค์มีพระสติมั่นไม่ ...

การบําเพ็ญทุกรกิริยาของพระสิทธัตถะ หมายถึงข้อใด

เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัย ที่จะคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เอง แทนที่จะ ทรงเล่าเรียนในสำนักอาจารย์ทั้งสองแล้ว พระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี เรียกว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา ณ บริเวณแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มีปัญจวัคคีย์ ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัทิยะ มหานามะ และอัสสชิ เป็นอุปัฏฐาก

พระพุทธเจ้าทรงบําเพ็ญทุกรกิริยาที่ใด

เขาสูงชันแห่งนี้ มีชื่อว่า "ดงคสิริ" เป็นสถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หรือโมกขธรรม หมายถึง หลักธรรมแห่งการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งมวล

พระพุทธเจ้าบําเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลากี่ปี

การบำเพ็ญทุกรกิริยา เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัยที่จะคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เองแทนที่จะทรงเล่าเรียนในสำนักอาจารย์แล้วพระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี เรียกว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา บริเวณแม่น้ำ เนรัญชรานั้น พระมหาบุรุษได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลาปี พระองค์ก็ยังคงมิได้ค้นหาทางหลุดพ้นจาก ...