การสร้างขวัญและ กํา ลัง ใจ ให้พนักงาน

การสร้างขวัญและ กํา ลัง ใจ ให้พนักงาน

เรียก ขวัญกำลังใจ พนักงาน กันเถอะ ก่อนที่พวกเขาจะหมดไฟ ไปมากกว่านี้

Dec 11, 2019

“หมดไฟในการทำงาน” นี่มันค่อนข้างน่ากลัวเลยนะ ไม่อยากทำงาน อะไรที่เทได้ก็เท ตื่นสายเหรอ ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย ไม่แคร์เพราะว่าจะ ลาออกจากงาน อยู่แล้วนี่ งานที่ได้รับหมอบหมายก็ทำเสร็จนะ แต่ Performance ไม่ดีเท่าเดิม ในมุมมองของนายจ้างก็คงจะคิดมากบ้างแหละ เรากำลังจะเสียคนทำงานเก่งๆ ไปอย่างนั้นหรือ? ทำเฉยไปก็คงจะไม่ดีสักเท่าไหร่ kinkao.co คิดว่า ต้องแย่แน่ๆ ถ้าอย่างนั้นมาสร้าง ขวัญกำลังใจ พนักงาน ก่อนที่เขาจะหมดไฟในการทำงานกันดีกว่า

3 วิธี สร้าง ขวัญกำลังใจ พนักงาน ป้องกันพวกเขาลาออกจากงาน

นายจ้างมักจะรู้อยู่แล้วว่าตอนไหนและเมื่อไหร่ ที่ควรสร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า บรรยากาศในที่ทำงานในทุกๆ วันนั้นเปลี่ยนไป บรรยากาศการทำงานที่ครื้นเครง จู่ๆ มาวันหนึ่งกลายเป็นบรรยากาศมาคุ ก็ต้องมีใครสักคนสังเกตได้นั่นแหละ คนคนนั้นก็คือ นายจ้างหรือหัวหน้า โดยบรรยากาศมาคุที่ว่าคือ

  • ความสัมพันธ์ของพนักงานแปลกๆ ไป
  • จับกลุ่มกัน แบ่งพรรคแบ่งพวก
  • ทีมเวิร์คหายไปทีละนิด
  • กินข้าวกลางวันด้วยกัน ไม่ถี่เท่าเมื่อก่อน

บรรยากาศที่มาคุก็เหมือนเมฆสีดำที่กำลังปกคลุม มองไปทางไหนก็เห็นแต่ความหม่นหมอง เอาจริงๆ เรื่องแบบนี้มันคือความรู้สึกของใครก็ต้องจัดการเอง แต่ในเมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในที่ทำงาน หน้าที่ของนายจ้างคือจัดการกับความมาคุที่ทำให้พนักงานในองค์กรหมดไฟในการทำงาน ดังนั้นนี่คือ 3 วิธีที่เราเห็นว่าดีและเป็นประโยชน์กับทุกองค์กรเลยค่ะ

เรียกขวัญกำลังใจวิธีที่ 1 : เปิดโอกาสให้พนักงานได้พูดในสิ่งที่คิด

ลาออกจากงาน คือคำตอบสุดท้ายของพนักงานที่กำลังจะหมดไฟในการทำงาน เอาอะไรมารั้งไว้ก็ไม่อยู่ เหตุการณ์ต่อมาที่เห็นได้บ่อยคือ เมื่อมีคนหนึ่งลากออกอีกหลายคนก็ทำท่าทีว่าจะลาออกกันตามไป เหมือนมีคนเปิดทางให้แล้ว ก็ต้องไปต่อให้สุด หรือในเรื่องของความผูกพันกัน เช่น เป็นเพื่อนที่สนิทกัน ทำงานด้วยกันมาตลอด เรียกได้ว่าเป็น ทีมเวิร์ค ทีดี อยู่มาวันหนึ่งลาออกไป ก็จะทำให้เกิดผลกระทบกับอีกคน 

เมื่อมีเพื่อนคนที่สนิทลาออกจากที่ทำงานไป อีกคนเกิดผลกระทบแน่ๆ จากทีมเวิร์คที่ดี จากมีเพื่อนช่วยคิดช่วยกันทำงาน ก็เหลือเพียงคนเดียว ดังนั้น นายจ้าง ควรเปิดโอกาสให้พวกเขาได้แลกเปลี่ยนความรู้สึกที่มีต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะอย่างน้อยๆ พวกเขาก็ได้ระบายสิ่งที่อยู่ในใจออกมา

เรียกขวัญกำลังใจวิธีที่ 2 : ให้รางวัลในการทำงาน

ในบางครั้ง พนักงานในองค์กร ก็มีความคิดว่างานที่ทำอยู่นั้นไร้ความหมาย หมายถึงว่า การโดนบังคับให้ทำตามคำสั่งจนมากเกินไป บางทีมีการ Brain Strom กันเกิดขึ้นก็จริงระหว่างทีม ความคิดที่ Brain Strom นั้นเปล่าประโยชน์ เพราะสุดท้ายแล้ว นายจ้าง ก็จะเลือกความคิดของตัวเองเป็นใหญ่เสมอ ในฐานะพนักงานก็คงรู้สึกว่า งานที่ทำอยู่นั้นไร้ความหมาย เพราะไม่ได้ใส่ความคิดของตัวเองลงไป จริงๆ มีอยู่ 3 วิธีในการแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งก็คือ

อิสระในการทำงาน เพื่อเพิ่มความคิดสร้างสรรค์

พนักงานในองค์กรมีสิทธิ์ในการทำงานของตัวเอง ไม่ต้องตีกรอบในการทำงานพวกเขามาเกินไป การได้ปล่อยให้ความคิดโลดแล่นนอกกรอบ ย่อมทำให้งานที่ออกมาดีเสมอ นายจ้างก็เพียงแค่เตรียมเครื่องมือที่เหมาะกับการชิ้นงานนั้นๆ จะเห็นได้เลยว่า เมื่อมีอิสระในการทำงาน บวกกับเครื่องมือที่พร้อม งานจะดีมาก

การสร้างขวัญและ กํา ลัง ใจ ให้พนักงาน

งานจำเจก็เหมือนไม่ได้กระตุ้น ความคิดสร้างสรรค์

การทำงานเดิมๆ ซ้ำๆ ทุกวัน หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้ผิดพลาดในการทำงานน้อยที่สุด แต่มองอีกมุม งานที่จำเจ เหมือนไม่ได้ Boots สมอง ความคิดสร้างสรรค์ก็ไม่เกิด พอไม่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ก็จะหมดไฟในการทำงาน ผลสุดท้ายก็คือ ลาออกจากงาน ในฐานะพนักงาน ก็อยากจะได้ทำงานใหม่ๆ บ้าง ไม่ได้หมายความว่าเปลี่ยนตำแหน่ง แต่ได้รับโปรเจคใหม่ๆ โปรดักส์ตัวใหม่ บ้างก็ดีเหมือนกัน

รางวัลตอบแทน ในการทำงานอย่างหนัก เช่น โบนัส ค่าเบี้ยขยัน หรือ คำชื่นชม

บางคนก็ทำงานหามรุ่มหามค่ำ  เพราะหวังเอาไว้ว่าการทำงานต้องเห็นผลลัพธ์และได้ผลตอบแทนที่ดี จะดีกว่ามากหากเจ้านายเอ่ยถึงพวกเขาที่ทำงานอย่างหนัก รางวัลตอบแทนอย่างหนักก็คือ คำชม นี่แหละ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เงิน ก็เป็นอีกหนึ่งรางวัลตอบแทนที่งดงามเหมือนกัน ดังนั้น ถ้าทำงานล่วงเวลา หรือ Over Timeคงจะดีมาก หากได้รับเงินในส่วนนี้ด้วย

เรียกขวัญกำลังใจวิธีที่ 3 : บรรยากาศในออฟฟิศ น่าทำงานมากแค่ไหนกันนะ

ทำงานในแต่ละวันก็ปวดหัวจะแย่ แถมบางทีก็น่าเบื่ออีกด้วยซ้ำ มองไปทางไหนก็มีแต่ผนังสีขาวๆ แย่หน่อยก็มีคอกกั้นโต๊ะใครโต๊ะมัน การสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้ดี นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เพราะนอกจากจะทำให้ พนักงานในองค์กร รู้สึกผ่อนคลายแล้ว ก็ยังเป็นประโยชน์กับองค์กรอีกด้วยเหมือนกัน เช่น

  • Snack Bar ประจำออฟฟิศ
  • อาหารกลางวัน ฟรี
  • โต๊ะปิงปอง โต๊ะบอล มุมผ่อนคลาย

ลองนึกภาพอตามที่บอกไปข้างบนว่า มีแต่ผนังสีขาว หรือมีคอกมากั้น ก็เหมือนถูกตีกรอบความคิด แถมยังไม่ได้สนทนากับ เพื่อนร่วมงาน ด้วย ยิ่งต้องทำงานเป็นทีม (ทีมเวิร์ค)จบแน่ๆ และปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกเพียบ จากที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ถ้ามี Snack Bar , โต๊ะปิงปอง , มุมนั่งเล่น ต้นไม้สีเขียว อย่างมากที่สุดก็มีอะไรให้ทำแก้เบื่อ แถมยังมีของว่างให้กินเพื่อไม่ให้เหงาปากอีกด้วย

และ อาการกลางวัน ฟรี ของพนักงาน ก็เหมาะเป็น สวัสดิการพนักงาน เหมือนกัน เพราะนี่คือสิ่งที่จะทำให้พนักงานได้ประหยัดค่าอาหารได้มากโขเลยทีเดียว ซ้ำยังเป็นการสานสัมพันธ์ให้พนักงานไปในตัวอีกด้วย คนที่ไม่เคยคุยกัน ก็อาจจะมีเรื่องให้คุยกันมากขึ้น ระหว่างที่กินข้าวกลางวันนี่แหละ

และนี่คือ 3 วิธีเรียก ขวัญกำลังใจ ให้กับพนักงาน ที่กำลังจะ หมดไฟในการทำงาน ที่เรานำมาบอกต่อกัน ไฟในการทำงาน อาจจะมอดดับไป แล้วมีแต่กำลังใจในการทำงานกลับมาก็ได้ ใครจะยอมเสียพนักงานเก่งๆ พนักงานที่ขยัน พนักงานที่ทำงานดีไป จริงไหมล่ะคะ

ขวัญและกําลังใจในการทํางานมีอะไรบ้าง

ขวัญกำลังใจ หมายถึง สภาพที่เกิดขึ้นและสะท้อนให้เห็นถึงสภาพจิตใจและสภาพ การทำงาน เช่น ความกระตือรือร้น อารมณ์ความหวัง ความเชื่อมั่นและทัศนคติของบุคคล หรือกลุ่มคนที่มีต่อสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานและต่อความร่วมมือกันอย่างเต็ม ความสามารถของบุคคลในหน่วยงาน (เดย์วิส (Davis) (1964) อ้างใน สิริพร ทองจินดา)

ขวัญในการทำงานคืออะไร

ขวัญในการทํางาน หมายถึง องค์ประกอบแห่งพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานที่แสดง ออกในรูปของความรู้สึก ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะแสดงให้ทราบถึงความรู้สึกของผู้ปฏิบัติงาน ที่มีต่อการทำงานนั้น ๆ เช่น ความสัมพันธ์ในการทำงานของผู้บังคับบัญชา หรือผู้ร่วมงาน อื่นๆ เป็นต้น

การสร้างเสริมขวัญและกำลังใจ” มีความหมายว่าอย่างไร

กล่าวโดยสรุปว่า การสร้างขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นเรื่องของความรู้สึก ความพึง พอใจ ความสบายใจ มีความหวังในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมั่นคง ไร้ภาวะความขัดแย้ง มีสัมพันธภาพที่ดีต่อเพื่อน ร่วมงาน ร่วมทั้งผู้บังคับบัญชามีความเข้าใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร นอกจากลักษณะของท่าทางและบทบาท ของผู้น า บุคลากรมีความ ...

ขวัญและกำลังใจของพนักงานในองค์กรธุรกิจ หมายถึงข้อใด

"ขวัญและกำลังใจในการทำงาน" คือ สภาพทางจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน เช่นความรู้สึก นึกคิดที่ได้รับอิทธิพล แรงกดดัน หรือสิ่งเร้าจากปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมในองค์การที่อยู่ รอบตัวเขา และจะมีปฏิกิริยาโต้กลับ คือพฤติกรรมในการทำงาน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อผลงานของบุคคลนั้น