กิจกรรม การสร้างสัมพันธภาพ

บุคคลเรียนรู้จักตนเองได้จากการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น จากสัมพันธภาพนี้ บุคคลจะได้รู้จุดเด่น และจุดด้อยของตนเอง รู้และเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งเรียนรู้ความเป็นจริงของโลก โดยสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคลจะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปโดยไม่บิดเบือน มีการยอมรับและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างที่เป็นจริง ดังนั้นสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคล จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำบุคคลไปสู่ การพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเอง การมีความรู้สึกว่าชีวิตมีความหมายและมีคุณค่า และการมีสุขภาพจิตที่ดีและสามารถพัฒนาตนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ แต่บุคคลที่ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย และนำไปสู่ความรู้สึกซึมเศร้า และท้อแท้ในชีวิต และการมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ เช่น พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม การติดยาเสพติด เป็นต้น

การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยคุณลักษณะที่สำคัญของบุคคลในการยอมรับและส่งเสริมซึ่งกันและกัน และนอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น อันได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจ

คุณลักษณะสำคัญของบุคคลในการสร้างสัมพันธภาพ (Relationship or Rapport)

ความสัมพันธ์ระหว่าง คน 2 คน จะเป็นสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ต้องอาศัยคุณลักษณะภายในหรือทัศนคติของบุคคลที่สำคัญบางประการ ได้แก่

การยอมรับและให้เกียรติ หมายถึง การยอมรับลักษณะส่วนตัวหรือลักษณะเฉพาะของบุคคลตามที่เขาเป็น ให้เกียรติและเคารพในคุณค่าของบุคคล มีความเป็นมิตร และความอบอุ่นใจแก่ผู้อื่น
การเข้าใจสาระและความรู้สึก หมายถึง การเข้าใจในเนื้อหาสาระของสิ่งที่สื่อสารระหว่างกัน และเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่นเสมือนเราเป็นตัวเขา ซึ่งในสัมพันธภาพที่ขาดความเข้าใจความรู้สึกซึ่งกันและกัน สัมพันธภาพนั้นไม่สามารถดำเนินไปถึงขั้นที่ลึกซึ้งได้
การจริงใจ หมายถึง การไม่เสแสร้งในการแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก และทัศนคติของตนเอง
คุณลักษณะของบุคคล 3 ประการนี้ จะส่งผลต่อสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้มากน้อยเพียงใดนั้น ไม่ใช่เพียงแต่มีคุณลักษณะเช่นนี้อยู่ภายในเท่านั้น สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความสามารถในการสื่อ หรือแสดงออกถึงคุณลักษณะเหล่านี้ออกมาให้ผู้อื่นรับรู้ด้วย ซึ่งความสามารถในการแสดงออก หรือการสื่อสารให้ผู้อื่นทราบถึงคุณลักษณะสำคัญเหล่านี้ เรียกว่า ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็น

สัมพันธภาพระหว่างบุคคลเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ บางคู่เกิดขึ้นเป็นแค่เพียงความรู้จัก บางคู่เป็นความสนิทสนม กลายเป็นเพื่อนรัก คู่รัก หรือคู่สมรส บางคู่สัมพันธภาพมีอันต้องสิ้นสุดลง ด้วยความเบื่อหน่ายหรือทุกข์ใจ ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างบุคคลจะเริ่มต้นและดำเนินไปอย่างลึกซึ้ง หรือมีอันต้องสิ้นสุดลงนั้น ขึ้นกับทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล จะช่วยให้สัมพันธภาพได้มีโอกาสเริ่มต้นขึ้นและดำเนินต่อไป เป็นสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นลึกซึ้งยิ่งขึ้น และคงไว้ซึ่งสัมพันะภาพที่ดีต่อกันได้ ด้วยบรรยากาศของความเชื่อใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจต่อกัน

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสภาพสังคมปัจจุบันเห็นได้ว่าการสร้างสัมพันธภาพต่อเพศตรงข้ามในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ต้องศึกษา เพื่อเรียนรู้หลักการปฏิบัติตน ในการปรับตัว การวางตัว ในแต่ละสถานภาพให้เกิดความเหมาะสม กับสถานภาพของวัยรุ่นในสังคมยุคปัจจุบัน โดยวัยรุ่นจะต้องตระหนัก เห็นความสำคัญ คำนึงถึงจุดหมายในชีวิต บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของตนเองเป็นหลัก ซึ่งปัญหาการสร้างสัมพันธภาพทางเพศที่เกิดขึ้นมาจากพฤติกรรมส่วนบุคคลในการสร้างสัมพันธภาพทางเพศที่ไม่เหมาะสม ซึ่งมีปัจจัยมาจากพื้นฐานการอบรมสั่งสอนของครอบครัว อิทธิพลกลุ่มเพื่อน อิทธิพลสื่อ สิ่งพิมพ์ สังคม และโรงเรียน เป็นต้น การมีทัศนคติและค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง เหมาะสม การปฏิบัติตน ตามวัฒนธรรม ประเพณีความเป็นไทยจะก่อให้เกิดคุณค่าที่ดีงาม มีศักดิ์ศรีในตนเอง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาในสังคมได้อีกมากมาย

            การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวสามารถทำได้ ดังนี้

ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของตนด้วยความรัก

สร้างโอกาสให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสพบปะสนทนา ปรึกษาหารือกัน

ให้สมาชิกมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานหรือปัญหาครอบครัว

ฝึกให้เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี 

ยอมรับนับถือในความคิดของผู้อื่น

มอบหมายงานให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถ

รู้จักหลีกเลี่ยงการขัดแย้ง พยายามทำความเข้าใจ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และคิดกลับกันว่า ถ้าเราเป็นเขา เราจะทำอย่างไร และรู้จักการให้อภัยซึ่งกันและกัน

มีกิจกรรมหรือทำงานร่วมกัน จะช่วยให้เกิดความสามัคคี เกิดการเรียนรู้ อุปนิสัยใจคอและการปรับตัวเข้าหากัน

มีสัมมาคารวะ ประพฤติตนให้เหมาะสมกับวัย และกาลเทศะ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน 

ให้ความเคารพนับถือต่อผู้อาวุโส

ให้ความช่วยเหลือ เอื้ออาทร และมีน้ำใจอันดีต่อกัน ไม่นิ่งดูดาย รู้จักเสียสละตามสมควรแก่โอกาส

การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน

             การทำงานของคนเรานั้น ไม่ว่าจะเป็นงานธุรกิจส่วนตัว หรือทำงานในองค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าขนาดใหญ่ หรือเล็กเพียงใด คงไม่มีใครที่จะทำงานโดยลำพังแต่ผู้เดียวโดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ นั่นคือคนต้อง ทำงานร่วมกับคนอื่น ทั้งที่อาวุโสกว่าตน อ่อนอาวุโสกว่าตน และเพื่อนร่วมงานที่อยู่ในระดับเดียวกัน หรือที่มัก เรียกกันว่า "เพื่อนฝูง" หรือ "เพือ่นร่วมงาน" หรือ "เพื่อน" มีท่านผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่า คนเราจะมีความเจริญ ก้าวหน้านั้น นอกจากจะมีผู้ใหญ่ที่อยู่ในระดับสูง ดึงเราขึ้นไปข้างบน คนที่เป็นลูกน้อง ช่วยสนับสนุน ดัน ให้เราขึ้นไป ยังไม่พอ เพื่อนร่วมงานในระดับเดียวกัน หรือ เพื่อนฝูง ต้องคอยช่วยเหลือ ประคับประคอง เมื่อเราเสียหลักหรือหกล้ม นั่นคือเราต้องมีเพื่อนที่ดีด้วย ดังคำกลอนที่เราเคยได้ยินกันจนคุ้นหูว่า มีเพื่อนดีแม้เพียงหนึ่งถึงจะน้อย ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา 

เหมือนน้ำจืดบ่อน้อยด้อยราคา ยังดีกว่าน้ำเค็มเต็มทะเล การใช้ชีวิตอยู่ในสังคม เราต้องหาเพื่อนที่ดี และต้องเป็นเพื่อนที่ดีกับผู้อื่นด้วยคนจึงอยากจะคบหา สมาคมอยากอยู่ใกล้ เพราะรู้สึกอบอุ่น เป็นมิตร ปลอดภัย เป็นที่พึ่ง เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ ดังนั้น เราจึงควรรู้จัก

วิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน อันได้แก่ 

1. เปิดฉากทักทายติดต่อก่อน ลดทิฐิลงเสียบ้าง หัดเป็นคนรู้จักทักทายคนอื่นก่อนเสียบ้าง 

3. ไม่นินทาเพื่อนแม้ว่าจะเป็นที่ถูกใจของคู่สนทนา 

4. ไม่ซัดทอดความผิดให้เพื่อน 

5. ยกย่องชมเชยเพื่อนในโอกาสอันควร(ชมมากกว่าติ) 

6. ให้ความช่วยเหลือกิจการงานของเพื่อนด้วยความเต็มใจ 

7. ให้เพื่อนรับทราบเรื่องที่เขารับผิดชอบหรือเกี่ยวข้อง 

8. หลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเพื่อน 

9. ทำตนให้เสมอต้นเสมอปลาย 

10. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนฝูง 

11. ออกไปพบปะสังสรรค์บ้างตามโอกาสอันควร 

12. ช่วยเหลือเพื่อน เป็นที่พึ่งแก่เพื่อนยามทุกข์ร้อน 

13. ให้เกียรติและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน 

14. เก็บความลับของเพื่อน รักษาสัจจะ 

15. แนะนำเพื่อนไปในทางที่ดี ไม่พาไปสู่ทางเสื่อม ในทางพุทธศาสนาได้กล่าวถึงเพื่อนแท้ว่ามี 4 จำพวก คือ

จำพวกที่ 1 เพื่อนมีอุปการะ มีลักษณะ 4 อย่าง คือ 

1. ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว 

2. ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว 

3. เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งได้ 

4. เมื่อมีธุระ ช่วยออกทรัพย์ ออกแรง มากกว่าออกปาก จำพวกที่ 2 เพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์

     1. ขยายความลับของตนแก่เพื่อน 

     3. ไม่ละทิ้งเพื่อนยามวิบัติ 

     4. แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้ จำพวกที่ 3 เพื่อนแนะนำประโยชน์

2. แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี 

3. ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง 

4. บอกทางสวรรค์ให้ จำพวกที่ 4 เพื่อนมีความรักใคร่ มีลักษณะ 4 อย่าง คือ 

1. เมื่อมีทุกข์ก็ทุกข์ด้วย 

3. โต้เถียงคนที่ติเตียนเพื่อน 

4. รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน 

หน้าที่ของคนที่ควรปฏิบัติต่เพื่อน ตามหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ 5 ประการ ได้แก่ 

2. การกล่าวถ้อยคำอันเป็นที่รัก 

3. ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อน 

5. ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง 

สิ่งต่าง ๆ ที่ได้เขียนไปแล้วนั้น เป็นเพียงหัวข้อย่อ ๆ มิได้ขยายความอะไรให้เยิ่นเย้อ คิดว่าท่านผู้อ่าน จะขยายความได้และเข้าใจ ทำให้ไม่เสียเวลาในการอ่าน และประหยัดพื้นที่ด้วย

วิธีสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง

ก่อนที่เราจะสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่น ก่อนอื่นเราต้องค้นพบให้ได้ก่อนว่า คนเราต้องการสิ่งใดบ้างในการสร้างมิตรภาพกับผู้หนึ่งผู้ใด สิ่งที่มนุษย์ต้องการเป็นขั้นพื้นฐานประกอบไปด้วย

1.ความใส่ใจและเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน คือ มีความต้องการที่จะรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับคนรอบข้างบ้าง แต่ละคนชอบคนที่ให้ความสนใจในเรื่องราวของตนอย่างจริงใจ แต่ในทางกลับกันทุกคนจะไม่อยากคบกับคนที่สนใจแต่เรื่องของตน สิ่งที่ควรทำ มนุษย์เราควรสนใจเรื่องของผู้อื่นด้วยความจริงใจ

2.ความไว้เนื้อเชื่อใจ การอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขและราบรื่น เราจำเป็นต้องให้ผู้อื่นไว้วางใจในตัวคุณ เช่น การตรงต่อเวลา การรักษาสัญญาในเรื่องที่เอ่ยปากสัญญาไปแล้ว จำไว้เสมอว่าผู้ที่ไม่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ ก็ยากที่ใครจะคบเป็นเพื่อนได้อย่างสนิทใจ สิ่งที่ควรทำ การต้องการความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้อื่น เราควรต้องทำตัวให้น่าเชื่อถือเกือบจะทุกๆ เรื่อง

3.การยอมรับนับถือ ทุกคนควรรู้จักนับถือตัวเอง แต่ก่อนที่จะรู้จักนับถือตนเอง เราควรรู้จักนับถือผู้อื่นก่อน สิ่งที่ควรทำ ควรให้ความนับถือทั้งตนเองและผู้อื่นอย่างสนิทใจ

4.มีส่วนร่วมและรู้จักการแบ่งปัน สัมพันธภาพที่ดีที่สุด คือการได้มีส่วนร่วมและรู้จักการแบ่งปันในเรื่องต่างๆ เช่น การมีส่วนร่วมในประสบการณ์ รวมถึงการรับฟังความฝันของเพื่อน รวมทั้งความไม่สมหวังของเขา สิ่งที่ควรทำ พูดให้น้อย และรับฟังผู้อื่นให้มาก

5.มีความยืดหยุ่น สัมพันธภาพที่ดีระหว่างความเป็นเพื่อนคือความยืดหยุ่นสำหรับความผิดพลาด เช่น การที่คนคนหนึ่งสามารถยอมรับและปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ คนที่ยืดหยุ่นได้มากก็จะสามารถมีความสุขได้มาก สิ่งที่ควรทำ ไม่ยึดติด ยอมอภัยให้ผู้อื่น

6.เห็นอกเห็นใจผู้อื่น คือการเข้าใจความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้อื่น แต่การเห็นอกเห็นใจผู้อื่นนั้นจะต้องมาจากการพิจารณาและให้การสังเกตอย่างใกล้ชิด การแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นจะยิ่งทำได้ง่ายขึ้น หากมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน สิ่งที่ควรทำ ให้เวลาในการเรียนรู้ผู้อื่น และพยายามเข้าใจในสิ่งที่เขาทำหรือเป็น

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ มีอะไรบ้าง

การสร้างสัมพันธภาพ (Rapport).
1. การแสดงความพร้อม และความยินดีในการได้การช่วยเหลือ (Readiness).
2. การต้อนรับอย่างจริงใจ และอบอุ่น (Genuine and warm welcome).
3. การแสดงท่าทีเป็นมิตร (Being friendly).
4. สื่อความตั้งใจและใส่ใจที่จะให้ความช่วยเหลือ (Attentiveness).
5. แสดงความสนใจอย่างจริงใจ (Genuine interest).

ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพ มีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันมี 3 ปัจจัยใหญ่ คือ.
การชมเชยหรือชื่นชมที่เหมาะสม.
การติเพื่อก่อ.
การแก้ไขความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์.

การรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นควรปฏิบัติอย่างไร

การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารความเข้าใจ การยอมรับและส่งเสริมซึ่งกันและกัน

วิธีการอย่างไรในการสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อน

10 วิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน.
1.กล้าแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ... .
2.พูดในเชิงบวกเกี่ยวกับคนที่คุณทำงานด้วย ... .
3.พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของคุณด้วยการสนับสนุนงานของคนอื่น ... .
4.ขอให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในโครงการหรือกิจกรรมของคุณ ... .
5.เขียนคำขอบคุณ ... .
6.เริ่มบทสนทนาด้วยคำถาม ... .
7.การมีปฎิสัมพันธ์ต่อกันเรื่อยๆ.