ตําแหน่ง content marketing

ณ ตอนนี้ Content Creator คือ หนึ่งในตำแหน่งมาแรงที่หลายคนใฝ่ฝันอยากจะเป็น เพราะ Content Creator ในมุมมองของหลาย ๆ คนที่ยังไม่ได้ทำความรู้จักอย่างลึกซึ้ง อาจมองว่านี่เป็นอาชีพ หรือตำแหน่งงานที่เริ่มต้นได้ง่ายดายที่สุดแล้วในสายการตลาดทั้งหมด ซึ่งมันก็ไม่ได้ผิดเสียทีเดียว เนื่องจากมันมีมุมความยากง่ายที่แตกต่างกันออกไป และเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสรู้จักว่า งาน Content Creator คือ อะไร, Content Creator หน้าที่ ที่แท้จริงต้องทำอะไรบ้าง รวมถึง Content Creator มีคุณสมบัติ อย่างไร สำหรับคนที่สนใจอยู่ เดี๋ยววันนี้ Digital Tips จัดเต็มให้แบบสับเลยค่ะ

สารบัญบทความ

Content Creator คืออะไร

เรามาเริ่มกันที่ความเข้าใจกันก่อนว่า Content Creator คือ อะไร คอนเทนต์ครีเอเตอร์ เป็นผู้ที่สร้างเนื้อหาด้านความบันเทิง หรือการศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดีย, เว็บไซต์ และอื่น ๆ เพื่อเชื่อมโยงแบรนด์กับผู้คนที่คาดหวังในเรื่องราวเหล่านั้น อธิบายเสริมอีกเล็กน้อยเกี่ยวกับ “คำจำกัดความของคอนเทนต์” เพื่อให้ทุกคนเข้าใจ Content Creator มากขึ้น โดยคอนเทนต์เป็นเนื้อหาที่ครอบคลุมหลายด้าน ทั้งการเขียน, การพูด และศิลปะ เป็นต้น

เหล่าบริษัท, องค์กร, ธุรกิจ และบุคคลทั่วไปที่มีความต้องการ Content Creator คือ เหล่าผู้คนที่อยากมีตัวตนบนโลกออนไลน์ จึงจำเป็นต้องมีเนื้อหาคอนเทนต์ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างมีแบบแผน เพราะโดยหลักแล้วสิ่งที่เหล่า Content Creator สร้างขึ้นมา ล้วนเป็นแรงผลักดันอยู่เบื้องหลังของกลยุทธ์การตลาดมากมายในโลกของ Digital Marketing ด้วยเช่นกัน

Content Creator มีหน้าที่อะไรบ้าง

ตําแหน่ง content marketing

ภาพรวมหน้าที่ของ Content Creator คือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่คิดว่าคลุมเครือมาตลอด แต่ถ้าหากเราลองจำแนกหน้าที่โดยอ้างอิงจากสิ่งที่ Content Creator ทำแล้ว เราจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า Content Creator มีหน้าที่ ที่แท้จริงคืออะไรบ้าง ซึ่งภาพรวมทั้งหมดที่เราทำการค้นคว้ามา อาจสรุปได้ถึง 9 หน้าที่ด้วยกัน

  1. การวิเคราะห์และประเมินภาพรวมของแบรนด์ด้วย SWOT หรือวิธีอื่น ๆ เพื่อทำความเข้าใจเอกลักษณ์ และแนวทางที่แบรนด์ต้องการนำเสนออย่างแท้จริง สามารถนำไปวางแผนสร้าง content ได้ต่อไป
  2. การคิดค้นเนื้อหา content ที่สร้างสรรค์ มีความเหมาะสมกับแบรนด์หรือธุรกิจที่รับผิดชอบ ให้ออกมาตามแผนที่วางเอาไว้ โดยมีเอกลักษณ์ที่สื่อสารออกไปอย่างชัดเจน
  3. การจัดการโปรเจกต์ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของโปรเจกต์ต่าง ๆ ที่ดูแล
  4. การเขียนคำโฆษณาที่ครอบคลุมเนื้อหาหลายประเภท ทั้งการบรรยายผ่านแคปชันบนโซเชียลมีเดีย ไปจนถึงการเขียนบทความลงเว็บไซต์
  5. การออกแบบภาพ มีทั้งการออกแบบภายถ่ายเพื่อให้ได้สิ่งที่ยอดเยี่ยม สำหรับใช้ยกระดับเนื้อหา content พร้อมนำภาพเหล่านั้นไปต่อยอดเป็นภาพกราฟิกประกอบเนื้อหาด้วย
  6. การถ่ายวิดีโอ โดยเฉพาะการสร้างเนื้อหาที่เหมาะสมกับแพลตฟอร์มชื่อดังอย่าง YouTube และ TikTok เพื่อเชื่อมโยงผู้ใช้งานให้เข้าหาแบรนด์ ผ่าน content ที่น่าสนใจ
  7. การตัดต่อ เนื่องจาก Content Creator เป็นผู้ริเริ่มการสร้างเนื้อหาตั้งแต่ขั้นตอนการขีดเขียน, ถ่ายวิดีโอหรือผลิตงานกราฟิกขึ้นมา ทำให้งานตัดต่อ กลายเป็นส่วนหนึ่งที่เหล่า Content Creator มีหน้าที่ สำคัญในการสร้างสรรค์ขึ้นมาเป็น content นั่นเอง
  8. SEO หนึ่งในหน้าที่สำคัญมาก โดยเฉพาะเหล่า Content Creator สายงานเขียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาให้ชุดงานเขียนเหล่านั้น มีโอกาสถูกค้นหาเจอง่ายขึ้นบน Search Engine 
  9. การส่งเสริมการขาย ที่ได้รับความนิยมในยุคปัจจุบันคงหนีไม่พ้น การสร้างเนื้อหาประชาสัมพันธ์โปรโมชัน หรือข่าวสารจากแบรนด์ 

ดูรวม ๆ แล้วมีเสน่ห์เหลือเกินใช่ไหมละคะกับตำแหน่งนี้ หากพูดว่า Content Creator คือ ทุกอย่างให้คุณแล้วก็คงไม่ผิด แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เราสามารถพัฒนาฝีมือในแต่ละสาย ให้สามารถเชี่ยวชาญไปได้ทีละอย่าง แล้วค่อย ๆ เริ่มต้นไปทีละนิดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเก่งหรือทำได้ทั้งหมดในรวดเดียว

Content Creator มีคุณสมบัติอย่างไร 

พอได้รู้จักมุมมองต่าง ๆ ของ Content Creator มากขึ้น แล้วรู้สึกว่านี่แหละ คือทางที่อยากเดินต่อจากนี้ อยากพัฒนาตัวเองให้สามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยม งั้นการจะเตรียมตัวให้พร้อม ต้องรู้ก่อนว่า Content Creator มีคุณสมบัติ อะไรบ้างที่จำเป็น โดยเฉพาะทางด้าน Hard Skill และ Soft Skill 

ทักษะด้าน Hard Skill ของ Content Creator

การจะเป็น Content Creator ที่เก่งกาจ ต้องมี Hard Skill ทักษะวิชาชีพที่สามารถวัดผลได้อย่างมีรูปธรรม โดยสรุปแล้วสิ่งที่ต้องมีและขาดไม่ได้ มีดังนี้

  1. Research Skill ทักษะด้านการค้นคว้าข้อมูลที่สำคัญมาวิเคราะห์ แล้วปรับใช้งานกับ content ที่เราต้องการสร้างขึ้นมา เพื่อความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจในเรื่องความถูกต้องแม่นยำ
  2. Creation Skill ความสามารถในการผลิต content ที่ได้รับมอบหมายอย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นด้านงานเขียน, การสร้างภาพกราฟิก หรือตัดต่อวิดีโอ
  3. SEO Skill ความเข้าใจในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหา ให้กับ content ที่ผลิตขึ้นมา เพื่อให้ผู้คนมีโอกาสเข้าถึงงานที่สร้างมากยิ่งขึ้น
  4. Tech & Tool Skill สนับสนุนกระบวนการทำงานด้วยเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่ทันสมัย เพราะทั้งหมดนั้นช่วยให้เรามีโอกาสค้นหาปัจจัยที่เหมาะสมกับการสร้าง content ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  5. Marketer Skill ทักษะที่ต้องมองเห็นโอกาสสร้าง content เพื่อส่งเสริมการขายให้ถูกที่ถูกเวลา ดังนั้นจึงต้องมีความเข้าใจในการขายผ่านหลายแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Social Media Marketing, เว็บไซต์ และ E-commerce ต่าง ๆ 

ทักษะด้าน Soft Skill ของ Content Creator

นอกจากทักษะด้าน Hard Skill แล้ว การเป็น Content Creator ที่ดีควรจะต้องมี Soft Skill หรือทักษะด้านจิตวิทยาและสังคมที่มีผลต่ออาชีพ โดยทักษะเหล่านี้จะสามารถสัมผัสได้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วยกันเอง พื้นฐานแล้ว Soft Skill ที่ ตำแหน่ง content creator ควรมีคือ 

  1. Adaptability Skill ความสามารถในการปรับตัว เพราะการสร้าง content ให้ก้าวหน้า ต้องตามเทรนด์โลกให้ทันอยู่เสมอ ซึ่งหากพูดถึงเทรนด์แบบภาพรวมแล้ว จะมีการอัปเดตในช่วงเวลาที่ยิบย่อยตั้งแต่หลักชั่วโมง จนถึงปีเลยทีเดียว
  2. Collaboration Skill ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น แน่นอนอยู่แล้วว่าการเป็น Content Creator เราไม่ได้ทำงานเพียงคนเดียว ยังมีตำแหน่งอื่น ๆ ที่ทำงานร่วมกัน ฉะนั้นการมีทักษะนี้ เราควรจะต้องมีความสามารถทั้งด้านการสื่อสาร เพื่อต่อยอดงานซึ่งกันและกัน จนถึงขั้นตอนการออกความเห็นร่วมกัน เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด
  3. Creativity Skill ในฐานะ Content Creator ที่ต้องสร้าง content ใหม่ ๆ เกือบตลอดเวลา จึงต้องมีความคิดสร้างสรรค์เป็นทุนเดิมแบบไม่มีที่สิ้นสุด 
  4. Curiosity Skill ความอยากรู้อยากเห็นแบบไม่มีที่สิ้นสุด แล้วหาโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนา content และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
  5. Emotional Intelligence ความฉลาดทางอารมณ์ เพราะเมื่อเราเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกเป็นอย่างดี นั่นช่วยให้เราเข้าใจด้วยว่าการสื่ออารมณ์ในลักษณะต่าง ๆ ถึงผู้อื่น จะให้ผลลัพธ์ตอบแทนอย่างไรบ้าง

การหยิบยก Soft Skill เหล่านี้มาใช้งานตลอดช่วงเวลาการเป็น Content Creator จะช่วยให้ผลงานของเราออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้นในหลาย ๆ ด้าน ฉะนั้นการพัฒนาตัวเองทั้ง 2 ด้านที่กล่าวมา จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะพัฒนาคู่ไปกับทักษะด้านการตลาดอื่นด้วยนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : Inbound Marketing คืออะไร ทำไมธุรกิจควรทำการตลาดแบบดึงดูด

6 ขั้นตอนสู่การเป็น Content Creator มีอะไรบ้าง 

ตําแหน่ง content marketing

มาถึงหัวข้อสำคัญเกี่ยวกับ Content Creator กันแล้ว ว่าถ้าต้องการเริ่มต้นเส้นทางแห่งผู้สร้างเรื่องราว ต้องเริ่มต้นอย่างไรบ้าง แม้เส้นทางการสร้าง งาน Content Creator คือ ปลายทางที่เหมือนกัน แต่ระหว่างทางขั้นพื้นฐาน มักจะมีลักษณะที่ชัดเจนตาม 6 ขั้นตอนต่อจากนี้

1. เริ่มต้นศึกษาหาความรู้ให้ตัวเอง

ส่วนใหญ่ผู้คนที่สนใจอยากเป็น Content Creator มักเริ่มต้นจากการเข้าเรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น การสื่อสาร และ Content Marketing เพื่อมองหาแนวคิดที่เกี่ยวข้อง กับโอกาสการเรียนรู้พื้นฐานของ content รวมถึงการเข้าใจในเรื่อง digital content creator คือ อะไร ต้องมีความสามารถ หรือทักษะไหน ถึงจะสามารถเริ่มต้นอาชีพนี้ได้อย่างเพียบพร้อม

2. ศึกษาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของตัวเอง 

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า Content Creator คือ อาชีพที่สามารถทำได้หลายมิติอย่างมาก แต่เราไม่จำเป็นต้องทำได้ทั้งหมดภายในครั้งเดียว ดังนั้นการเริ่มต้นในช่วงแรก เราอาจต้องมองหาสิ่งที่ชื่นชอบ หรือมีความถนัดมาเป็นพิเศษ เพื่อพัฒนาแนวทางนั้นสู่การสร้าง content ที่เราทำได้อย่างเชี่ยวชาญ

3. เก็บประสบการณ์และสร้างความท้าทายใหม่

พอได้เส้นทางที่แน่ชัดถึงความเชี่ยวชาญแล้ว การเดินหน้าต่อไปของ Content Creator ที่เก่งกาจ ต้องเก็บประสบการณ์ให้มากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งการเผชิญหน้ากับอุปสรรค และความท้าทายใหม่ ๆ ในสายอาชีพ เพื่อให้ตัวเราก้าวข้ามขีดจำกัดความสามารถเดิม จนพัฒนาตัวเองในด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม และเชี่ยวชาญสายอื่นมากกว่าที่เคยเป็น

4. รักษาเอกลักษณ์ของตัวเองไว้ให้ได้

หลังจากที่เราสะสมประสบการณ์ในสายงาน Content Creator มาอย่างเข้มข้น เราจะพบความสามารถที่แท้จริงของตัวเอง ถึงเอกลักษณ์ในด้านความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ และตรงนี้เองที่สำคัญมาก คือ เราต้องรักษาเอกลักษณ์ความเป็นตัวเองเอาไว้ให้ได้ เพราะลายเซ็นที่ปรากฏในงานของเราแต่ละชิ้น จะไม่มีทางเหมือนกับผู้อื่นแน่นอน

5. เข้าร่วมสังคมของเหล่า Content Creator

การมี Community ที่เป็นศูนย์รวมของเหล่า Content Creator จะช่วยให้คุณมีเครือข่ายผู้สร้างสรรค์ในทิศทางเดียวกัน ไว้คอยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แชร์ประสบการณ์ เพื่อสร้างโอกาสพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

6. อย่าหยุดที่จะเรียนรู้

สร้างความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เส้นทางการเป็น Content Creator ของเราเดินไปข้างหน้า พร้อมกับเทรนด์โลกที่เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอ อย่าหยุดตัวเองเอาไว้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่อย่างนั้น content ที่คุณจะสร้างขึ้น อาจกลายเป็นของโบราณที่ไม่มีใครสนใจแล้วก็เป็นได้ 

ประเภท Content ที่ Content Creator สร้างขึ้น 

เนื่องด้วยประเภทของเนื้อหาที่ Content Creator สร้างขึ้นนั้นค่อนข้างมีความแตกต่างและหลากหลายอย่างมาก ทำให้ต้องมีการจำแนกประเภทหลัก ๆ ของ content ออกมาเป็นหมวดอยู่ 3 รายด้วยกัน เพื่อให้สามารถแยกแต่ละรูปแบบออกจากกันได้ชัดเจนมากขึ้น 

Content สำหรับ Social Media 

ตําแหน่ง content marketing

ประเภทที่ 1 เป็นสิ่งที่ Content Creator ยุคปัจจุบันน่าจะใช้งานเพื่อสร้าง content กันมากที่สุดแล้ว กับโซเชียลมีเดีย ด้วยแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ที่สามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง จึงทำให้เกิดเนื้อหาที่น่าสนใจขึ้นมากมายจากทั่วทุกมุมโลก สำหรับเนื้อหาที่ปรากฏบนโซเชียลมีเดีย จะถูกแบ่งแยกตามรูปแบบของแต่ละแพลตฟอร์มออกไปอีกเช่นกัน

  • Facebook โซเชียลมีเดียที่ช่วยให้คุณมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนผ่านชุมชน หรือกลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ โดยเนื้อหาของ content บนแพลตฟอร์มนี้จะมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น รูปภาพ, การเขียน และวิดีโอ 
  • Instagram โซเชียลมีเดียที่จะเน้น content ด้านรูปภาพและวิดีโอเป็นหลัก มีฟีเจอร์เกี่ยวกับวิดีโอที่หลากหลาย ทำให้ Content Creator สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างต่อเนื่อง
  • YouTube แพลตฟอร์มที่เน้นการนำเสนอ content ผ่านรูปแบบวิดีโอเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาแนววิดีโอยาว, วิดีโอสั้น หรือการไลฟ์ถ่ายทอดสด
  • Twitter เน้นการโปรโมตสิ่งที่ผู้คนในสังคมออนไลน์นั้น ๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพื่อการรีทวีตหรือการแชร์ออกไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีทั้งงานเขียน, รูปภาพ และวิดีโออยู่ในนั้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : Marketing Funnel คืออะไร กลยุทธ์การตลาดพื้นฐานสำหรับการทำธุรกิจ

Content สำหรับ Website

ตําแหน่ง content marketing

ต่อมาเป็นการสร้างเนื้อหาสำหรับ Website ที่เหล่า Content Creator ต้องโฟกัสเกี่ยวกับแบรนด์และธุรกิจเพิ่มเติม เพื่อให้ลูกค้าหรือ Lead ที่คลิกเข้ามาชมหน้าเว็บไซต์ได้เข้าถึงข้อมูลสำคัญ ว่าสินค้าหรือบริการของแบรนด์ เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างไรได้บ้าง นั่นยังรวมถึงข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์เรื่องราวใหม่ ๆ ที่อัปเดตเข้ามาในแต่ละช่วงเวลา ส่วน content ที่สำคัญจนขาดไม่ได้สำหรับการขายบนหน้าเว็บไซต์ คือ ข้อมูลจำพวกโปรโมชันส่งเสริมการขาย มีหน้าที่ช่วยสร้างแรงดึงดูดมากพอ จนปิดการขายได้ โดยภาพรวมของข้อมูลทั้งหมดที่นำเสนอ ต้องมีความถูกต้อง เข้าใจง่าย และไม่ซับซ้อนเกินไป ถึงจะให้ผลลัพธ์ที่ดี

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : Customer Journey คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อธุรกิจในปัจจุบัน

Content สำหรับ Blog

ตําแหน่ง content marketing

ประเภทสุดท้ายที่ Content Creator สายนักเขียนยังคงเจออยู่เป็นประจำ กับการสร้าง content สำหรับ Blog เพราะจุดประสงค์หลักของการเขียนเนื้อหาลงบล็อกนั้น มีขึ้นเพื่อตอบสนองต่อ Customer Insight ความสนใจของผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าที่เข้ามาค้นหาข้อมูล สิ่งที่ต้องการรู้เกี่ยวกับแบรนด์, สินค้า และบริการ ด้วยเนื้อหาที่ประโยชน์ต่อผู้คนที่เข้ามาชม จะยิ่งช่วยสร้างโอกาสการขายได้มากขึ้น จากความไว้วางใจและความเชื่อถือที่ได้รับจากข้อมูลที่เรานำเสนอ

5 ข้อที่ Content Creator ระดับท็อปไม่ได้บอกคุณ! 

การสร้างเนื้อหาให้มีคุณภาพนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องอยู่แล้ว แต่ถ้าเราเดินไปถาม Content Creator ระดับท็อปที่เป็นแนวหน้าของประเทศ ทุกคนจะบอกเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า การทำ content ให้มีคุณภาพ เป็นเพียงเรื่องพื้นฐานที่ต้องมีอยู่แล้ว แต่การทำให้ดี ให้ประสบความสำเร็จ มันต้องมีอะไรมากกว่านั้น และนั่นเองที่เป็นเคล็ดลับที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

  1. รับข้อมูลข่าวสาร และอัปเดตให้เป็นปัจจุบันเสมอ ไม่ว่าคุณจะเชี่ยวชาญด้านไหนเป็นพิเศษ คุณควรจะต้องรู้เท่าทันเทรนด์ล่าสุด และติดตามแบบไม่ขาดสาย
  2. รู้จักกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มผู้ชมของคุณให้ดี ยิ่งรู้จักมากเท่าไหร่ เรายิ่งมีโอกาสสร้าง content ให้โดนใจมากขึ้นเท่านั้น
  3. ใช้เครื่องมือช่วยสร้างเนื้อหาที่ยอดเยี่ยม เพราะบางครั้งเราไม่ต้องเริ่มงานใหม่หมดตั้งแต่ 0 แต่สามารถใช้เครื่องมือออนไลน์ ช่วยเริ่มต้นได้อย่างมีคุณภาพ และรวดเร็ว เช่น การใช้เทมเพลตเพื่อสร้างภาพกราฟิก 
  4. เขียนให้บ่อย หมั่นสร้างสรรค์ content ให้มาก เพื่อฝึกฝนความคิด และความคล่องตัวต่องานที่จะเจอในอนาคต
  5. ใช้ทักษะ SEO ให้มีประโยชน์ เพราะมันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหา ที่ทำยอด Engagement โตขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Content Creator 

อยากเป็น content creator ต้องเรียนจบสาขาไหน

ถึงเวลาตอบคำถามสำหรับคนที่อยากเป็น Content Creator แบบเต็มตัว ว่าต้องเรียนจบสาขาไหนถึงจะเป็นได้ หากต้องการสาขาที่ตรงสาย ได้ทั้งปูพื้นฐานและความรู้ที่สามารถเอามาต่อยอดได้ รวมถึงโอกาสการได้รับประสบการณ์จากการฝึกฝน ฝึกงานก่อนเรียนจบ ก็คงต้องเป็นคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน กับคณะสื่อสารมวลชน จะถือว่าตรงสายมากที่สุดแล้ว เหตุผลหลัก ๆ เพราะว่า

  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เป็นคณะที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิตสื่อต่าง ๆ ที่มีทั้งการยิงแอด, การเขียน และการวิเคราะห์ข่าว ที่ค่อนข้างพิเศษเลยก็คือ การประยุกต์สิ่งพิมพ์ให้เข้ากับเทคโนโลยีปัจจุบัน
  • คณะสื่อสารมวลชน ศึกษาเกี่ยวกับการผลิตและสื่อสารผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้คนจำนวนมาก 

นอกจากรายละเอียดเบื้องต้นที่เราอธิบายไปในแต่ละคณะ ยังมีสาขาที่แตกย่อยออกมาตามรูปแบบการเรียนอีกด้วย เช่น สาขาการแสดง ที่จะสอนด้านการแสดงเป็นหลัก สามารถนำไปต่อยอดเป็น content creator สายวิดีโอ content ได้ และยังมีสาขาการโฆษณา เรียนเกี่ยวกับการสร้างโฆษณาเป็นหลัก ทำให้ต่อยอดความรู้ออกไปได้อีกหลายสาย 

ตำแหน่ง content creator ได้เงินเดือนเท่าไหร่ 

มาถึงหัวข้อสุดท้ายที่เกี่ยวกับ Content Creator กันแล้ว นั่นคือเรื่องราวเกี่ยวกับเงินเดือนที่สามารถสร้างได้จากอาชีพนี้ ซึ่งก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนเลยว่า ช่วงเงินเดือนขึ้นอยู่กับประเภทงานที่เจอ, ความสามารถและประสบการณ์, หน้าที่ที่รับผิดชอบ และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่หากเราแบ่งเป็นช่วงตามประสบการณ์ จะสามารถประเมินเงินเดือนขั้นต้น จนถึงตอนปลายของ ตำแหน่ง content creator คือ ลิสต์ตามนี้เลย

  •     เด็กจบใหม่: 15,000 – 20,000 บาท
  •     ประสบการณ์ 1-5 ปี: 20,000 – 35,000 บาท
  •     ประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไป: 35,000 – 50,000 บาท

อย่างไรก็ตามในเรื่องของเงินเดือน Content Creator ล้วนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความสามารถ และโอกาสที่เหมาะสม หากใครที่ทำมาอย่างยาวนาน จนมีความเชี่ยวชาญในหลาย ๆ สาย ก็อาจเรียกเงินเดือนได้สูงมากขึ้น หรือใครที่เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะทางไปเลย ก็ขอแค่สมัครตรงตามตำแหน่ง Content Creator หน้าที่ ที่แต่ละบริษัทต้องการ ก็มีโอกาสเรียกเงินเดือนสูงได้เหมือนกัน

สรุปหัวข้อ Content Creator 

สรุปเรื่องราวเกี่ยวกับ Content Creator ผู้สร้างสรรค์เนื้อหาให้มีความน่าสนใจบนสื่อออนไลน์หลายช่องทาง ให้สามารถดึงดูดผู้คนให้เข้าไปชมเนื้อหา โดยที่แฝงวัตถุประสงค์เอาไว้ตามที่แต่ละคนต้องการ ทุกคนสามารถทำ content ได้ในยุคสมัยนี้ แต่การสร้างเนื้อหาที่ดีมีคุณภาพ ต้องมีความใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ พร้อมกับมีคุณสมบัติและทักษะตามที่เราได้กล่าวไปในข้อความด้านบน ถ้าตอนนี้คุณอยากทำงานในหน้าที่นี้ ถึงเวลาแล้วที่จะเริ่มศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้เชี่ยวชาญมากขึ้น จนมีงานที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในที่สุด 

ตําแหน่ง Marketing มีอะไรบ้าง

ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา (Advertising Manager) ... .
ผู้จัดการแบรนด์ (Brand Manager) ... .
ผู้จัดการฝ่ายการตลาดเนื้อหา/ ผู้จัดการ SEO (Content Marketing Manager/ SEO Manager) ... .
นักเขียนคำโฆษณา (Copywriter) ... .
ผู้จัดการฝ่ายการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Manager) ... .
นักวางแผนงานอีเวนท์ (Event Planner) ... .
ผู้ระดมทุน (Fundraiser).

Content Marketing มีความสําคัญอย่างไร

Content Marketing คือ การสร้างเนื้อหาและแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้กลุ่มเป้าหมายประทับใจและจดจำสินค้าหรือแบรนด์ได้ และเปลี่ยนสถานะจากผู้อ่านมาเป็นลูกค้า

ข้อใดมีส่วนสําคัญในการทํา Content Marketing

สิ่งสำคัญในการทำ Content Marketing คือเราต้องเข้าใจถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคก่อน รู้ว่าสิ่งใดหรือปัจจัยใดมีผลต่อการตัดสินใจกับผู้บริโภคบ้าง ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Digital Customer's Journey มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ

ตําแหน่ง Digital Marketing มีอะไรบ้าง

ชี้เป้า 5 ตำแหน่งงาน Digital Marketing ที่มาแรงปี 2020!.
1.Strategic Planner หรือ นักวางกลยุทธ์ ... .
2.Content Strategy / Content Creator หรือ นักวางแผนทางด้านคอนเทนต์และนักเขียนคอนเทนต์ ... .
3. Graphic & Website Design หรือ นักออกแบบกราฟิกและเว็บไซต์ดีไซน์เนอร์ ... .
4. Ads Manager หรือ ผู้จัดการดูแลโฆษณา.