มารยาทในการรับประทานอาหาร10ข้อ

มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความเลื่อมใส หรืออาจตำหนี ดังนั้น เราควรฝึกมารยาทในการรับประทานอาหารให้ถูกต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยปฏิบัติให้เป็นนิสัย เพราะนอกจากจะรับประทานอาหารตามปกติในครอบครัวแล้ว เรายังใช้อาหารเป็นสื่อในการพบปะสังสรรค์ ดำเนินงานทางธุรกิจ หรือเข้าสังคมกับผู้อื่น การมีความรู้เกี่ยวกับมารยาทในการรับประทานอาหารตามหลักสากล จะช่วยให้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

๑ มารยาททั่วไปในการรับประทานอาหารตามหลักสากล

ในการรับประทานอาหารร่วมกับบุคคลอื่น ควรจะปฏิบัติตนดังนี้

๑. ไม่ทำเสียงดังในขณะรับประทาน

๒. อาหารแต่ละคำควรตักให้เล็ก และไม่เลือกเฉพาะอาหารที่ชอบ

๓. ไม่ควรตำหนิรสชาติของอาหาร ควรรับประทานอาหารทุกชนิดที่วางอยู่บนโต๊ะอาหาร

๔. ไม่ควรบังคับให้แขกรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินควร

๕. ควรเลือกเรื่องที่จะนำมาสนทนากับผู้รับประทานอาหารทุกครั้ง ไม่ควรตำหนิหรือว่ากล่าวสมาชิกในครอบครัวขณะรับประทานอาหาร

๖. ควรนั่งตัวตรง ไม่นำแขนขึ้นมาวางบนโต๊ะ และไม่ก้มศีรษะลงไปรับประทานอาหารจากจานเข้าปาก

๗. ไม่กระดิกเท้า หรือเคาะโต๊ะเป็นการทำความรำคาญให้แก่ผู้อื่น

๘. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง

๙. ถ้ามีอาหารมาเสิร์ฟในชามที่มีฝาปิด ให้เปิดฝาลงไว้ในจาน ถ้าอุปกรณ์ใดที่ใช้ไม่เป็น ให้สังเกตผู้ที่นั่งด้านข้างแล้วทำตาม

๑๐. ไม่รับประทานอาหารมูมมาม หรือทำอาหารหกเลอะเทอะ

๒ มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์

การรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ เป็นการรับประทานอาหารโดยให้ผู้รับประทานช่วยเหลือตนเอง มีการนำอาหารหลากหลายชนิดมาจัดวางเป็นจุด ๆ เพื่อให้ผู้รับประทานเลือกตักอาหารตามความพอใจ ขณะที่รับประทานอาหารอาจมีการสังสรรค์ เพื่อทำให้ประหยัดเวลาก็ได้

ในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ควรปฏิบัติดังนี้

๑. ควรลุกไปตักอาหารเอง โดยยืนต่อแถวและอย่าให้เป็นภาระของผู้อื่น ไม่หยิบอาหาร ช้อนส้อม หรือตักอาหารแจกผู้อื่น แต่ละคนต้องช่วยเหลือตนเอง

๑. ไม่พูดคุยขณะที่ตักอาหาร รีบตักอาหารเพื่อให้ผู้อื่นได้ตักอาหารบ้าง

๒. อย่าตักอาหารให้ล้นจาน

๓. ตักอาหารเป็นอย่าง ๆ อย่าวางสุมทับกัน ถ้าของเป็นชิ้นควรหยิบเพียงหนึ่งชิ้น จะหยิบเกินกว่าหนึ่งก็ต่อเมื่อผู้อื่นได้ครบแล้ว

๔. อาหารที่ตักมาต้องรับประทานให้หมด ถ้าไม่พอสามารถลุกเติมได้

๕. เมื่อรับประทานเสร็จต้องเขี่ยเศษอาหารในจาน และรวบช้อนส้อมให้เรียบร้อย

๖. กระดาษเช็ดมือไม่ควรใส่ในจานอาหาร เพราะจะทำให้ปลิว เก็บลำบาก ควรใช้จานวางทับไว้

๗. ถ้ามีการกำหนดให้เอาจานอาหารวางไว้ที่ใด เมื่อรับประทานเสร็จแล้วควรปฏิบัติตาม

๘. อย่าตักอาหารเผื่อผู้อื่น

๙. อาหารหวาน ควรตักเมื่อรับประทานอาคารคาวเสร็จแล้ว

๑๐. ไม่เบียดหรือแซงผู้อื่น ไม่ยื่นมือไปตักอาหารข้ามมือหรือแขน ควรคอยจังหวะให้ผู้อื่นตักเสร็จเสียก่อน แม้ว่าจะเป็นอาหารที่ชอบก็ตาม

3.มารยาทในการรับประทานอาหารแบบยุโรป

โดยทั่วไปการรับประทานอาหารแบบยุโรป มี ๒ แบบ คือ แบบอเมริกัน ซึ่งจะรับประทานอาหารจากส้อมด้วยมือขวา โดยยกปลายส้อมขึ้นข้างบน ใช้ส้อมตักอาหาร และวางมีดไว้ริมจานเมื่อไม่ใช้ส่วนแบบยุโรป จะรับประทานอาหารจากส้อมด้วยมือซ้าย ปลายส้อมคว่ำลง และถือมีดไว้ด้วยมือขวา

.  มารยาทการรับประทานอาหาร  มีดังนี้
                   1.  เวลารับประทานอาหารต้องรับประทานโดยระมัดระวัง  ไม่ทำให้เลอะเทอะมูมมาม  ควรหุบปากเวลาเคี้ยวอาหารเพื่อระวังมิให้มีเสียงดัง
                   2. ไม่ใช้มือของตนเองแตะต้องหรือหยิบอาหารที่ผู้อื่นจะบริโภค หรืออาหารที่เป็นของกลาง
                   3.  ในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นต้องรอให้ผู้มีอาวุโสกว่านั่ง
ก่อนจึงนั่ง  และผู้มีอาวุโสเริ่มรับประทานก่อนจึงรับประทาน
                   4.  ถ้านั่งเก้าอี้ควรนั่งตัวตรง  ไม่ท้าวศอกบนโต๊ะอาหารถ้านั่งกับพื้นควรนั่ง   พับเพียบเรียบร้อยและตั้งตัวตรงไม่ท้าวแขน
                   5.  การใช้ผ้าเช็ดมือ เมื่อเข้านั่งโต๊ะอาหารก่อนจะรับประทานควรหยิบผ้าเช็ดมือปูที่ตัก  ก่อนดื่มควรใช้ผ้าเช็ดมือ  เช็ดปากก่อนทุกครั้งเพื่อกันมิให้แก้วเป็นคราบ  ดื่มเสร็จแล้วเช็ดอีกครั้ง  วิธีเช็ดคือซับพลิกผ้าเช็ดมือทางด้านในซับที่ริมฝีปากไม่ยกขึ้นทั้งผืน  เมื่อเช็ดแล้วคาบรอยริมฝีปากจะอยู่ทางด้านในไม่เป็นที่น่ารังเกียจ  ไม่ต้องใช้ผ้าเช็ดมือ  เช็ดช้อน ส้อม จาน ชาม ใช้เสร็จแล้วไม่ต้องพับควรวางไว้บนโต๊ะซ้ายมือของตน ระหว่างรับประทานอาหารถ้ามีความจำเป็นต้องลุกไปจากโต๊ะควรวางผ้าเช็ดมือไว้ที่เก้าอี้กล่าวคำขอโทษเสียก่อนจะลุกไป
                   6. ถือช้อนด้วยมือขวาและส้อมด้วยมือซ้ายในเวลารับประทานอาหารแบบไทย ถ้ารับประทานอาหารแบบฝรั่งที่ต้องใช้มีดกับส้อม  ถือมีดด้วยมือขวา  ถือส้อมด้วยมือซ้าย
                   7.  การซดน้ำซุปหรือน้ำแกง  ไม่ตักเต็มช้อนเพราะจะหกง่าย  ไม่ยกถ้วยขึ้นซด  ถ้าจะรับประทานให้หมดจะต้องตะแคงถ้วยแล้วใช้ช้อนตัก  การตักซุปนั้นย่อมซดจากข้างช้อนและซดอย่างเงียบอย่าให้มีเสียงดัง  วิธีตักจะใช้จากริมนอกเข้าไปหาด้านในหรือจากข้างในออกมาข้างนอกก็ได้
                   8. การใช้มีด มีไว้สำหรับตัดอาหาร จะนำไปจิ้มอาหารเข้าปากไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใดๆ   ผู้ใดใช้มีดส่งอาหารเข้าปาก  ผู้นั้นเสียมารยาทอย่างมาก
                   9.  ในการรับประทานน้ำชาหรือกาแฟ  ช้อนกาแฟหรือช้อนชามีไว้สำหรับใช้คนเท่านั้น  เมื่อคนเสร็จแล้วต้องวางไว้ในจานรองถ้วยอย่าคาช้อนไว้ในถ้วย และอย่าซดจากช้อนเป็นอันขาด
                   10.  การดื่มควรดื่มช้าๆ  ระวังไม่ดื่มให้มีเสียง ควรมีการเว้นระยะบ้าง ไม่ควรดื่มรวดเดียวหมด   ไม่ดื่มขณะที่ยังมีอาหารอยู่ในปาก  และไม่ทิ้งรอยลิปสติกที่ทาปากไว้ที่ถ้วย
                   11.  ในการตักอาหาร  ไม่ควรเลือกตักอาหารที่ขอบอย่างใดอย่างหนึ่งมากจน
เกินไปหรือตักจนล้นจาน
                   12.  ไม่อมอาหารจนกระพุ้งแก้มพองโป่งออกมา  ก่อนกลืนอาหาร ควรเคี้ยวให้ละเอียด
                   13. ในการรับประทานอาหารควรรับประทานพอประมาน  และเอื้อเฟื้อเพื่อนร่วมโต๊ะอาหาร  โดยเลื่อนจานอาหารหรือตักอาหารให้กับผู้ที่อยู่ใกล้
                   14. ไม่ควรใช้มือของตนเองแตะต้องหรือหยิบอาหารที่ผู้อื่นบริโภค หรืออาหารที่เป็นของกลาง
                   15.  ผู้มีมารยาทไม่ดูดมือแทนการล้างมือ เมื่อมือเปื้อนอาหาร
                   16.  ผู้มีมารยาทไม่พูดถึงสิ่งที่น่าเกลียดหรือน่าหวาดเสียวให้เป็นที่รังเกียจขณะ
รับประทานอาหาร
                   17.  ไม่ควรกล่าวคำติเตียนต่อหน้าผู้อื่นในขณะรับประทานอาหาร
                   18. ห้ามทิ้งเศษอาหารลงในท่อหรือซุกหมกวางตามกระถางไม้และในที่ทั่วไป  ให้นำไปทิ้งในภาชนะที่จัดไว้