ตั้ง ศาล ตา ยาย อย่าง เดียว ได้ ไหม

คนไทยนับถือบูชา “พระภูมิเจ้าที่” มาตั้งแต่โบราณ เชื่อว่าทุกถนนหนทางที่เราอาศัยอยู่จะมีเทพเทวดา หรือวิญญาณผู้ปกปักรักษาประจำพื้นที่นั้น นอกเหนือกล้องวงจรปิดก็มี “ท่านเจ้าที่” นี่แหละ ที่จะคอยสอดส่องดูแลความปลอดภัยผู้อยู่อาศัยได้ไม่ขาดตกบกพร่อง ดังนั้นแทบทุกบ้านจึงมี “ศาลพระภูมิ” หรือ “ศาลเจ้าที่” เพื่อให้ท่านสิงสถิตและเป็นที่กราบไหว้บูชานำพาความสุขความเจริญมาสู่คนในบ้าน

หลายคนอาจเคยเห็นศาลพระภูมิแต่ละที่มีรูปแบบไม่เหมือนกัน บางบ้านมีศาลพระภูมิโมเดิร์น, ตี่จู่เอี๊ยะ, ศาลตายาย หรือมีสามศาลในบ้านเดียวกันก็มี น่าสนใจตรงที่ศาลแต่ละแบบมีที่มา ประเพณีการจัดตั้งและการไหว้ที่ต่างกัน ซึ่ง ALTV จะพาทุกคนมาทำความรู้จักเพื่อใกล้ชิดท่านให้มากขึ้น

ศาลพระภูมิ, ศาลเจ้าที่, ศาลตายาย ความเหมือนที่แตกต่าง

ตั้ง ศาล ตา ยาย อย่าง เดียว ได้ ไหม

🏠ศาลพระภูมิ บ้านของ “รุกขเทวดา”

หากจะเรียกให้ถูกต้อง ศาลพระภูมิที่หลายคนคุ้นเคยมีชื่อเต็มว่า “ศาลพระภูมิชัยมงคล”  ตามตำนานเล่าว่า “พระชัยมงคล” เป็นเทวดาที่คอยรักษาบ้านเรือน ร้านค้า และเคหสถาน ท่านจะถูกอัญเชิญให้สถิตอยู่ใน "เจว็ด" ลักษณะเป็นแผ่นไม้คล้าย “ใบเสมา” สลักเป็นรูปเทวดา ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิ แต่ปัจจุบันมักทำเป็นรูปปั้นเทวดา มือซ้ายถือถุงเงินถุงทอง มือขวาถือพระขรรค์ ยืนอยู่บนดอกบัว กลายเป็นลักษณะประจำตัวขององค์พระภูมิ คอยดลบันดาลให้เกิดโชคลาภและความสุข ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาคนในบ้านให้แคล้วคลาดปลอดภัย

ศาลพระภูมิต้องมี “เสาต้นเดียว”

การตั้งศาลพระภูมิเป็นแนวคิดที่ได้มาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยมีวิวัฒนาการจากศาลที่ทำด้วยไม้ มาเป็นคอนกรีตทรงไทย ทรงโรมัน และทรงโมเดิร์น แต่ไม่ว่าจะเป็นทรงไหน การออกแบบศาลพระภูมิก็ยังอยู่บนหลักความเชื่อเดียวกัน โดยเชื่อว่า “พระภูมิ” มีฐานะเป็นรุกขเทวดา หรือเทวดาที่สิงสถิตอยู่ตามต้นไม้ ดังนั้นการเลือกบ้านให้เทวดาอาศัยจึงมี “เสาต้นเดียว” คล้ายวิมานของเทพบนสวรรค์ ภายในศาลพระภูมิต้องเปิดโถงด้านหน้า เพื่อให้มองเห็นท่านตั้งในวิหารอย่างสง่างาม ส่วนขนาด สี และความสูง ขึ้นอยู่กับความพอใจและงบประมาณของเจ้าของบ้าน 

การตั้งศาลพระภูมิ ตั้งตามใจไม่ได้

ตามประเพณีของคนโบราณ เมื่อปลูกอาคารบ้านเรือนเสร็จจะต้องทำพิธีสร้างศาลพระภูมิก่อนเข้าอยู่อาศัย เพื่อให้สถานที่แห่งนี้อยู่แล้วสุขสบาย เจริญรุ่งเรือง หากจะตั้งศาลพระภูมิให้มีความศักดิ์สิทธิ์ตามแบบแผน พราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีอัญเชิญเทพให้มาสถิตที่เจว็ดในศาลพระภูมิ รวมทั้งเป็นผู้ดูฤกษ์ยาม และทิศทางสำหรับตั้งศาลบนพื้นที่ดินของผู้อยู่อาศัยด้วย ทำเลตั้งศาลพระภูมิที่เหมาะสมควรตั้งห่างจากรั้วหรือกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร และเงาของตัวบ้านต้องไม่ทอดลงมาทับตัวศาล

"ทิศต้องห้ามสำหรับหันหน้าศาลพระภูมิ คือ ทิศตะวันตกและทิศใต้"

เมื่อได้ทำเลที่ตั้งศาลพระภูมิแล้ว “เสาของศาล” จะต้องปักลงดิน โดยระดับความสูงของศาลเมื่อนำเจว็ดขึ้นประดิษฐานแล้ว ควรให้อยู่ระดับสายตาหากยืนบนพื้นดิน ตามที่คนโบราณมักกล่าวว่า “ปลูกศาลเพียงตา” 

ไหว้ศาลพระภูมิ จุดธูป 9 ดอก

สำหรับการไหว้ศาลพระภูมิ ทำได้ทุกวัน โดยจุดธูป 9 ดอก หมายถึงการสักการะบูชาเทวดา หรือรุกขเทวดา ในส่วนของไหว้ได้แก่ ของคาว ของหวาน และผลไม้ชื่อมงคลตามกำลังของผู้อยู่อาศัย

ตั้ง ศาล ตา ยาย อย่าง เดียว ได้ ไหม

🏠ตี่จู่เอี๊ยะ บ้านของเทพถู่ตี้กง

หน้าบ้านของคนไทยเชื้อสายจีนเราจะเจอบ้านหลังน้อยสีแดงที่ตั้งตระหง่านเป็นที่น่าเคารพ นั่นคือ “ตี่จู่เอี๊ยะ” ในภาษาจีนแปลว่า "เทพเจ้าแห่งผืนดิน" ซึ่งหมายถึง “เทพถู่ตี้กง” ตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีน ท่านเป็นเทพเจ้าที่ประจำชุมชนหรือสถานที่นั้นและเป็นเทพที่อยู่ใกล้ชิดมนุษย์ที่สุด มีตำนานเล่าว่า เทพถู่ที้กงมีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์จิว ชื่อเดิมว่า “เตียเม่งเต็ก” เคยเป็นข้ารับใช้ขุนนางผู้มั่งคั่งและเสียชีวิตลงด้วยความจงรักภักดีต่อเจ้านาย ภายหลังมีผู้สำนึกในความดีของท่าน จึงสร้าง "ศาลเจ้าฮกเต็ก" เพื่อนับถือท่านว่าเป็นเทพ ต่อมาฮ่องเต้องค์หนึ่งได้ตั้งชื่อใหม่ให้กับเทพฮกเต็กว่า "ถู่ที้กง" แปลว่าเทพเจ้าแห่งผืนดินทั้งหลาย

ตี่จู่เอี๊ยะ ไม่จำเป็นต้องสีแดง

การตั้ง “ตี่จู่เอี๊ยะ” คล้ายกับความเชื่อเรื่องศาลเจ้าที่ของคนไทย ในยุคแรกใช้หมึกสี เขียนที่ผนังเป็นตัวอักษรคำว่า “ตี่จู้” วัสดุส่วนใหญ่ทำจากไม้ แต่ยุคหลังเริ่มทำจากหินอ่อน เพราะเชื่อว่าหินอ่อน หินแกรนิต คือ ธาตุดิน จะช่วยเสริมพลังโดยสมบูรณ์ ลักษณะของตี่จู่เอี๊ยะจะคล้ายศาลเจ้าขนาดจำลองและทาสีแดง ความจริงแล้ว อาจารย์ เกรียงไกร บุญธกานนท์ ประธานชมรมภูมิโหราศาสตร์ เคยกล่าวไว้ว่า “ตี่จู่เอี้ยจะเป็นสีอะไรก็ได้” อีกทั้งยังใช้วัสดุอะไรก็ได้ ตามความสบายใจของเจ้าบ้าน 

ภายในศาลเจ้ามักมีรูปวาดหรือรูปปั้นเทพตี่จู้เอี๊ยะ เป็นชายสูงวัย ถือไม้เท้าและก้อนทอง มีหนวดเคราสีขาว บางครั้งท่านถูกเรียกว่า “แป๊ะกง” 

การตั้งศาลตี่จู่เอี๊ยะมีหลักการตั้งคล้ายศาลพระภูมิ โดยจะต้องตั้งให้ติดพื้นดินเพื่อให้ท่านรับพลังงานจากธาตุดิน เจ้าบ้านสามารถทำพิธีตั้งศาลด้วยตัวเองได้ หรือเชิญซินแสมาทำพิธีได้เช่นกัน สำหรับหลักการตั้งตี่จู้เอี๊ยะในบ้าน มีพื้นฐานง่าย ๆ 4 ข้อ

  1. หันหน้าศาลประจันกับทางเข้าประตูหน้าบ้าน เอาไว้เปิดรับโชคลาภ
  2. ข้างหลังของศาลไม่ติดบันได ห้องน้ำ ห้องครัว
  3. ไม่อยู่ใต้คาน
  4. พื้นที่หน้าศาลโล่ง เอาไว้สำหรับกราบไหว้

องค์ประกอบของตี่จู่เอี๊ยะ ที่ขาดไม่ได้เลย คือ กระถางธูป คนโบราณเชื่อว่า เทพถู่ตี้ จะอยู่ในกระถางธูป เมื่อมีการเปลี่ยนบ้านหลังใหม่ให้ตี่จู่เอี๊ยะจึงใช้กระถางธูปเดิม ผงขี้เถ้าเดิม

ไหว้ตี่จู่เอี๊ยะใช้ธูป 5 ดอก

ธรรมเนียมการไหว้ตี่จู่เอี๊ยะนิยมไหว้ทุกวันและตามเทศกาลสำคัญในปฏิทินจีน โดยจะไหว้ในช่วงเช้าตรู่ เพื่อเป็นการเปิดรับวันดี ๆ และขออธิษฐานขอพร สำหรับของไหว้ ได้แก่ น้ำชา 5 ถ้วย น้ำเปล่า 3 ถ้วย และกระดาษไหว้ 1 ชุด 

ขั้นตอนการไหว้ทุกวัน

  • เริ่มจากจุดธูป 7 ดอก ไหว้เคารพเทพตี่จู่เอี๊ยะในบ้านก่อน
  • จากนั้นขอพรแล้วปักธูป 5 ดอกลงกระถาง
  • ธูปที่เหลืออีก 2 ดอก นำไปปักบริเวณหน้าบ้าน ทิศซ้ายและขวา ทิศละ 1 ดอก
  • ลำดับสุดท้าย นำกระดาษไปเผาในถังเผาบริเวณหน้าบ้าน ปล่อยให้ขี้เถ้าในถังมอดไปเอง 
รู้หรือไม่! ตี่จู่เอี๊ยะรุ่นโบราณเป็นเพียงลังไม้ใส่นมกระป๋อง ปิดด้านในด้วยกระดาษสีแดงเขียนคำว่า "ตี่จู้" ซึ่งแปลว่าเจ้าที่ บางคนมีทรัพย์น้อยใช้เพียง "ฝาบ้าน" มาปิดกระดาษแดง แล้วก็เขียนคำเดียวกัน

ตั้ง ศาล ตา ยาย อย่าง เดียว ได้ ไหม

🏠ศาลตายาย บ้านของวิญญาณบรรพบุรุษ

คนไทยสมัยก่อนเชื่อว่าทุกผืนแผ่นดินจะมีวิญญาณบรรพบุรุษหรือวิญญาณเจ้าของที่ดินเก่าสถิตอยู่ ด้วยความหวงแหนและผูกพัน ท่านจึงคอยดูแลรักษาที่ดินผืนนั้น จึงมีการสร้าง “ศาลเจ้าที่” ไว้ตามที่อยู่อาศัยหรือไร่นาต่าง ๆ เพื่อให้ท่านช่วยปกปักรักษาผู้อยู่อาศัยและที่ทำกินจากภยันตราย คนไทยจึงมักแสดงความนับถือด้วยการเรียกว่า “ศาลตายาย” 

ตามความเชื่อของคนโบราณ เจ้าของที่ดั้งเดิมของแต่ละที่มีแตกต่างกันไป เช่น ตายาย นางไม้ พ่อปู่ โดยทั่วไปจะใช้หุ่นตายายเป็นตัวแทน

ศาลตายาย สังเกตุง่าย มี “สี่เสา”

ด้วยความที่ท่านเป็นวิญญาณเจ้าที่ไม่ใช่เทพ จึงสร้างศาลตายายให้คล้ายกับบ้านเรือนมนุษย์ เช่น เรือนไม้ทรงไทย หรือเรือนปูน ส่วนใหญ่ศาลตายายมักตั้งอยู่คู่กันกับศาลพระภูมิและไหว้พร้อมกันทั้งสองศาล ศาลตายายรุ่นแรก ๆ จะเป็นเรือนไทยเล็ก มีเพียง 4 เสา ปัจจุบันเริ่มทำเรือนขนาดใหญ่ขึ้นและมี 6 เสา โดยศาลตายายจะเตี้ยกว่าศาลพระภูมิเล็กน้อย

การตั้งศาลตายายให้ดูตามหลักของฮวงจุ้ย สามารถเชิญซินแสหรือหมอดูเป็นผู้กำหนดพื้นที่ โดยใช้หลักการตั้งในทิศทางเหมือนกันการตั้งศาลพระภูมิ

ไหว้ศาลตายายใช้ธูป 5 ดอก

มีความเชื่อว่า ก่อนจะไหว้ศาลตายายทุกครั้งต้องทำความสะอาดพื้นที่เสียก่อน จากนั้นนำของไหว้ที่ประกอบด้วย ผลไม้มงคล, อาหารคาวหวาน, หมากพลู, ดอกไม้หรือพวงกมาลัย และธูปเที่ยน ในการไหว้เจ้าที่จะใช้ธูป 5 ดอก กล่าวคำอธิษฐานและขอขมาเพื่อให้เกิดความสบายใจ จากนั้นรอจนธูปเทียนดับหมดจึงค่อยลาของไหว้มารับประทาน

ตั้ง ศาล ตา ยาย อย่าง เดียว ได้ ไหม

อย่างไรก็ตาม ทั้งศาลพระภูมิ ตี่จูเอี๊ยะ และศาลตายาย ล้วนเป็นสิ่งศักดิ์ที่ทำหน้าที่เหมือนกันในการปกป้องคุ้มครองคนในบ้าน ถึงแม้จะมีที่มาและความเชื่อจะต่างกันแต่การไหว้บูชาท่านก็เพื่อความสบายใจส่วนบุคคล

เปิดโลกการเรียนรู้เรื่องการออกแบบศาล "ตี่จู่เอี๊ยะ" แบบรู้ลึกรู้จริงได้ในรายการ "หนังสือเดินทาง" ตอน อาคิเต็กเจอ (คลิก) ทาง ALTV

ขอบคุณที่มาและภาพประกอบ

บ้านและสวน, สยามรัฐออนไลน์, หนังสือชุดความรู้ไทยเรื่องพระภูมิเจ้าที่, go ayutthaya, อัศวศิลป์, ศรีทัยแกรนิต, เฮงเฮงหินอ่อน, สุขสมบัติจิตรกรรม

ศาลตายายควรตั้งแบบไหน

1. การตั้งศาลตายาย ตั้งศาลออกมาให้ไกลจากตัวบ้าน และห้ามตั้งไปทางทิศตะวันตกโดยตรง ไม่ตั้งศาลหลบมุม ใกล้ของมีกลิ่น เช่น ถังขยะ ห้องน้ำ บ่อบำบัด เป็นต้น รวมถึงไม่กีดขวางประตูอาคารและประตูรั้ว ห้ามตั้งไว้ใต้บันได เพราะเป็นพื้นที่สัญจรทำให้ไม่สงบ ไม่ตั้งในตำแหน่งใต้คานบ้าน จะส่งผลให้ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าที่ลดลง

ขึ้นศาลพระภูมิเองได้ไหม

ดูฤกษ์วันในการตั้งศาลให้ดี ซึ่งในแต่ละเดือนจะมีวันที่ห้ามตั้งศาล เช่น เดือน 2 ห้ามตั้งศาลวันพุธและวันศุกร์ เวลาที่ควรตั้งศาลพระภูมิคือ ช่วงเช้าหรือก่อนดวงอาทิตย์ตกดิน เจ้าของบ้านสามารถตั้งศาลพระภูมิเองได้ แต่โดยปกติจะให้พราหมณ์หรือผู้รู้เป็นผู้ประกอบพิธี

ศาลตายายสีอะไรดี

หากอ้างอิงจากหลักฮวงจุ้ยจะถือว่าศาลพระภูมิเป็นธาตุไฟ และสีที่เหมาะกับธาตุไฟก็คือสีแดง แต่หากเป็นตามตำราทั่วไปศาลพระภูมินั้นจะมีลักษณะของธาตุต่างๆ ดังนั้นสีที่ควรใช้กับศาลพระภูมิจะไม่ได้ใช้สีแดงเป็นหลัก แต่ส่วนใหญ่จะเลือกศาลพระภูมิที่มีสีขาวเป็นพื้นส่วนใหญ่จะตัดขอบด้วยสีทอง ส่วนศาลพระภูมิที่มีพื้นสีแดงส่วนใหญ่จะตัดขอบ ...

ศาลพระภูมิ เกิดขึ้นได้อย่างไร

ศาลพระภูมิ แท้จริงแล้วมีชื่อเต็มมาจากศาลพระภูมิชัยมงคลและพระภูมิยังแปลแบบตรงตัวได้ว่า เจ้าที่ ๖(คนจีนเรียกว่า ตี่จู้เอี๊ยะ) หมายถึง เจ้าที่ผู้ดูแลแผ่นดิน ที่จะช่วยปกป้องดูแลบ้านเรือน เคหสถาน อาคาร สถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งสวนไร่นา ซึ่งมีที่มาของความเชื่อทั้งจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน